Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การฟ้อนเจิง การฟ้อนเพื่อออกกำลังกายของชาวล้านนา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

               ชุมชนล้านนาในอดีต เป็นชุมชนใหญ่มีอาณาเขตกว้างขวาง ถึงขั้นเป็นอาณาจักร  การต่อสู้เพื่อรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นอาณาจักร ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่ง  การฝึกปรือฝีมือของทะแกล้วทหารต้องมีอยู่ประจำ  และถึงแม้จะออกมาในรูปแบบของการแสดงไปแล้ว แต่ก็ยังคงรูปแบบความมีเอกลักษณ์อยู่อย่างชัดเจน

                ร่องรอยในอดีตที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารโบราณ เรา ยังมีข้อมูลจำนวนจำกัด เพราะยังไม่ได้มีการศึกษาเชิงวิชาการอย่างจริงจัง  อย่างไรก็ตาม ชื่อท่ารำอาวุธของล้านนาก็ยังมีตัวอย่างให้เห็น  ดังปรากฏในคัมภีร์ใบลาน ซึ่งจารด้วยอักษรล้านนา เรื่องมหาชาติฉบับ      “พู่ชมดวง” กัณฑ์มหาราช  ตอนที่พระยา สัญชัยสั่งเสนาให้เตรียมทหารกองเกียรติยศ ไปรับพระเวสสันตระที่ไปบวชเป็นฤๅษี ณ เขาวงกต ความตอนหนึ่งกล่าวถึงท่ารำอาวุธของล้านนาว่า  “คนฝูงช่างเชิงลา เชิงหอกอันนึ่ง ชื่อว่าแม่มอมเกี้ยวเกล้าวิ่งไปแทง เป็นเชิงชาย วิ่งเข้าไปแทงสามสุ้ม พลิกหลังหงายเชิงชายลายถี่ ถอยหาที่จักแทง  อันนึ่งชื่อ นางหยื้อเหยี่ยมป่อง ผ่อเล็งหาที่จักแทง พลิกมาเร็วแรงยืนบ่ตั้ง บ่เฟือนฟั่งกวนลาย ตามเชิงชายอันฉลาด แม่นึ่งชื่อชะดาองอาจรุมแสน เป็นเชิงแมวแมนลายถี่ อันนึ่งช้องนางหยุ้งขะแจขำ...” และมีตำราฟ้อนเชิงฟ้อนดาบที่เขียนลงในพับสา มีผังการเดินของเท้า ที่เรียกว่า ขุม  ตัวอย่างเช่น ๘ ขุม ๙ ขุม และ ๑๗ ขุม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลายฟ้อน เช่น คุมหน้า วาดบน ช้างงาแบนพาดพก แทงบน ฯลฯ  คัมภีร์ดังกล่าวเขียนด้วยอักษรล้านนา พบที่วัดป่าบง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

                ปัจจุบัน แม้จะหมดสมัยการต่อสู้ด้วยอาวุธโบราณไปแล้วก็ตาม กระนั้นก็ยังมีร่องรอยหลงเหลืออยู่ หากแต่ปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของการแสดง เช่น ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง รวมไปถึงการตีฆ้อง กลอง ประกอบการฟ้อน เช่น กลองสะบัดชัย มองเซิง อุเจ่  สิ่งเหล่านี้ยังมีการถ่ายทอดสืบต่อกันอยู่ มิได้สูญหายไปแต่อย่างใด

                พื้นฐานอย่างหนึ่งของการต่อสู้ที่สำคัญมาก คือ ผังการเดินเท้าที่เรียกว่า “ขุม”หรือ “ขุมเชิง” การฝึกชั้นเชิงแรกต้องฝึก “ย่างขุม”  คือฝึกย่างย้ายไปตามผังที่กำหนด  ซึ่งการย่างย้ายหรือการเดินเท้าจะเดินตามขุมทั้งในจังหวะรุก จังหวะรับ และจังหวะหนี  พร้อมกันนั้นการวาดมือออกไปให้สัมพันธ์กันกับเท้าที่เดิน ไม่ว่าจะมีอาวุธอยู่ในมือหรือไม่ก็ตาม

                ขุม สำหรับเป็นผังการเดินเท้าของครูแต่ละคนก็มีมากบ้างน้อยบ้าง อย่างน้อยก็ตั้งแต่ ๓ ขุมขึ้นไป ถึงมากที่สุด ๓๒ ขุม

                แต่เดิมมา การฟ้อนเชิง จะเป็นศิลปะส่วนตัวคน ๒ คน จะฟ้อนเชิงประชันกัน แต่จะทำท่าไม่เหมือนกัน  แต่บัดนี้ เครือข่ายหมอเมืองเชียงใหม่ ร่วมกับกลุ่มลายเมือง โดยการสนับสนุนของ สสส. ได้ร่วมกันประยุกต์เอาศิลปะการฟ้อนเชิงมาเป็นต้นแบบ  แล้วพัฒนาให้ได้เป็นการออกกำลังครบทุกส่วนของร่างกาย  โดยใช้ขุม ๔ เป็นหลัก  เพื่อที่จะสามารถให้ทำร่วมกันได้ โดยไม่รบกวนกัน

                หากท่านใดสนใจอยากได้วิทยากร ติดต่อได้ที่ นาย ทรงพล จรรย์สืบศรี เครือข่ายหมอเมือง เชียงใหม่ ๑๕ ถนนหมื่นด้ามพร้าคต ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๓๐๐ หรือ โทร. ๐-๙๗๕๘-๖๐๑๒

                การฟ้อนเชิงจังหวะช้า จะใช้เสียงฆ้องเป็นตัวกำหนด ในการเปลี่ยนท่าและเปลี่ยนลมหายใจด้วย


PS.  ++หญิJรักชาE ชาEรักหญิJ หญิJรักหญิJ ชาEรักชาE ไม่ว่าความรักllUUไหu ต่าJก้oรักด้วEหัวใจlหมืouกัaส์ * ปa : จ๊ะใดๆlกาะllวะไปllอ่วไoดีคulมืoJจิ่มlน้olจ้า สาวน้oEล้าuuายิuดีต้ouฮั๊Ulจ้า++

แสดงความคิดเห็น

>