Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รัฐธรรมนูญกับการศึกษาของชาติ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

รัฐธรรมนูญกับการศึกษาของชาติ

การร่างรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่โดยตรงของสภา ร่างรัฐธรรมนูญ แต่ก็เปิดโอกาสให้หน่วยงาน องค์กร ตลอดจนประชาชนมีส่วนแสดงความคิดเห็นในขั้นของการยกร่าง ซึ่งมีรายงานว่าองค์กรต่าง ๆ กำลังเสนอความคิดเห็น ในจำนวนนี้กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตกลงในหมู่ผู้บริหารระดับสูง กำหนดเนื้อหาสาระเพื่อเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีสาระสำคัญ ที่แตกต่างจากสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับเดิม โดยตัดความที่เคยกำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายออกไป

 
ร่างที่เสนอโดยกระทรวงศึกษาธิการ ให้บัญญัติ ใหม่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดสรรทรัพยากรให้อย่างเป็นธรรมและเพียงพอ เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และการจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งการจัดการศึกษาขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติ
 
ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงการเสนอร่างว่า การยกเลิกหลักการที่รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อย กว่า 12 ปีอย่างทั่วถึงโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ไม่ได้เป็นการปลดล็อก เพียงแต่ เมื่อรัฐตั้งเป้าจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีไว้ หากไม่เขียนกฎหมายบังคับรัฐต้องให้การอุดหนุนอย่างเพียงพอ ก็จะเกิดช่องโหว่ เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับเก่า ที่ไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่ก็เปิดช่องให้โรงเรียนเก็บค่ากิจกรรมเสริมนอกหลักสูตรปกติ ด้วยการให้ระดมทรัพยากรและรับบริจาคได้ จนเกิดปัญหาบานปลายเพราะโรงเรียนไม่ได้เก็บมาเสริม แต่จะไปเปิดสอนในส่วน ต่าง ๆ เพิ่ม  เช่น คอมพิวเตอร์ ว่ายน้ำ จนเป็นภาระกับผู้ปกครอง
 
การเสนอให้ตัดสาระว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้น พื้นที่ไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายออกไป แม้จะให้เปลี่ยนเป็นการบังคับให้รัฐต้องจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและเพียงพอ โดยมีเหตุผลว่าของเดิมมีช่องโหว่ให้สถานศึกษาเลี่ยงไปเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอย่างอื่น แต่แท้จริงเท่ากับเป็นการยอมรับว่ารัฐไม่ได้แสดงความพร้อมหรือพยายามทุ่มเททางการศึกษาอย่างแท้จริง ทั้งที่ทราบกันดีว่าการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาทั้งปวง อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงที่ประชาชนสามารถจะติดตาม ร่วมแสดงความคิดเห็น และแสดงออกผ่านประชามติได้ จึงควรระวังเฝ้าจับตาว่าจะมีสิทธิใดถูกตัดไปอีก.

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น