Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

<<<โลจิสติกส์>>> คืออะไร ??? เรียนแล้วจะตกงานไหม เข้ามาดูกัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โลจิสติกส์
 

ในยุคของโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่การค้าระหว่างประเทศมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับนโยบายการเปิดเสรีการค้าตามข้อตกลง FTA ที่ประเทศไทยจะต้องเข้าร่วมทั้งในฐานะผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และนักลงทุน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนที่จะขับเคลื่อนสินค้าบริการ ข้อมูลและการเงิน จึงมีความสำคัญที่จะทำให้ประเทศสามารถแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้ โลจิสติกส์นับเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะนำมาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าซึ่งจะทำให้สินค้าและบริการมีต้นทุนถูกลง สินค้าและบริการถึงมือผู้บริโภคเร็วขึ้นและถูกต้องตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ซึ่งจะทำให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศขยายตัวและก่อให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ความหมายของโลจิสติกส์

The Council of Logistics Management (CLM) ได้ให้คำนิยามของโลจิสติกส์ ดังนี้

โลจิสติกส์ หมายถึงกระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

กระบวนการจัดการโลจิสติกส์จะครอบคลุมกิจกรรม 2 ประเภทดังนี้

1. กิจกรรมหลัก (Key Activities) ประกอบด้วย

1.1 การบริหารสินค้าคงคลัง

1.2 การบริหารการขนส่ง

1.3 การบริหารการสั่งซื้อ

1.4 การบริหารข้อมูล

1.5 การบริหารการเงิน

2. กิจกรรมสนับสนุน (Supporting Activities) ประกอบด้วย

2.1 การบริหารคลังสินค้า

2.2 การดูแลสินค้า

2.3 การบริหารการจัดซื้อ

2.4 การบริหารบรรจุภัณฑ์

2.5 การบริหารอุปสงค์

ดังนั้นหัวใจสำคัญของการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ คือการจัดหาสินค้าหรือบริการตามความต้องการของลูกค้า และส่งมอบสินค้าไปยังสถานที่ที่ลูกค้าระบุไว้ถูกต้องตรงตามเวลา และสินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

พัฒนาการของระบบโลจิสติกส์

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมวลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ จากการศึกษาวิเคราะห์ระดับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศต่าง ๆ ได้รวม 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. Physical Distribution

เป็นการให้ความสำคัญเฉพาะด้านของการขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยอาจครอบคลุมกิจกรรมต่างๆได้แก่ การขนส่ง การเก็บสินค้า การจัดการวัสดุ และการบรรจุบห่อเพื่อป้องกันการสูญเสียระหว่างการขนส่ง การพัฒนาระดับนี้ยังไม่มุ่งเน้นการลดต้นทุนในส่วนที่เป็นสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าระหว่างผลิต

2. Internally Integrated Logistics

เป็นการพัฒนาที่รวมกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการผลิต มีการเชื่อมโยงการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนถึงการจัดส่งถึงผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนจากการลดสินค้าคงคลังเป็นเพิ่มความถี่ในการระบายสินค้า การพัฒนาในขั้นตอนนี้จะมีการใช้ IT/Software จัดการกิจกรรมทั้งระบบ

3. Externally Integrated Logistics

เป็นการพัฒนาที่มีการเชื่อมโยงใช้รูปแบบ (Mode) การขนส่งทุกรูปแบบ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การมีจุดขนถ่ายสินค้าที่มีมาตรฐาน มีระบบ IT ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบริษัท นอกจากนี้ยังมีการใช้ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์เฉพาะด้าน เช่น Third Party Logistics Provider เป็นต้น

4. Global Logistics Management

เป็นการพัฒนาที่เกิดจากการตื่นตัวของบริษัทข้ามชาติที่กำลังเผชิญกับปัญหากำไรลดลงในประเทศที่ตนตั้งอยู่ ดังนั้นจึงเริ่มหาแหล่งจัดซื้อที่ถูกกว่าในต่างประเทศ ลักษณะของการพัฒนาในขั้นตอนนี้คือ การจัดซื้อวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าจะครอบคลุมแหล่งวัตถุดิบทั่วโลก ด้านการขนส่ง การเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการท่าเรือ ขั้นตอนการส่งสินค้าชายแดน การให้ความสำคัญกับผลกระทบของการขนส่งต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านการขนส่ง ด้าน IT มีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศและมีการพึ่งพาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

ในส่วนของประเทศไทยระดับการพัฒนาโลจิสติกส์ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น คืออยู่ในขั้นตอนระหว่างการพัฒนาจากช่วง Physical Distribution เข้าสู่ช่วง Internally Integrated Logistics

ประเทศไทยกับการพัฒนาโลจิสติกส์

ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมามีการกล่าวขานถึงโลจิสติกส์กันมากทั้งในภาครัฐและเอกชน โดยยังไม่มีนโยบายโลจิสติกส์ที่ชัดเจนและไม่มีกลไกในการผลักดันนโยบายดังกล่าว หน่วยงานของภาครัฐและเอกชนต่างเดินไปกันคนละทิศละทางขาดการประสานงานกัน ต่อมารัฐบาลเริ่มเห็นความสำคัญในการพัฒนาโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ เนื่องจากเมื่อพิจารณาต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของไทย สูงถึงร้อยละ 25-30 ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วจะอยู่ระหว่างร้อยละ 7 - 11 จากปัญหาดังกล่าวสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปีข้างหน้า ระบบโลจิสติกส์ไทยจะมีต้นทุนที่ร้อยละ 15 ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 ทั้งนี้ มีการแต่งตั้งคณะทำงานด้านโลจิสติกส์ จำนวน 4 ชุด จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชน อาทิ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข) กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท) ทำการศึกษา ด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลโลจิสติกส์ และการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยมีแนวทางสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

1. โครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย

เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้

1.1 การปรับปรุงการบริหารจัดการรูปแบบการขนส่งที่สำคัญที่ยังมีการใช้งานน้อย อาทิ การขนส่งระบบรางและการขนส่งทางน้ำ ที่จะช่วยประหยัดต้นทุนด้านการขนส่ง

1.2 การปรับปรุงจุดเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบ (Mode) การขนส่งให้สามารถเปลี่ยนถ่ายจากการขนส่งรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขนส่งสินค้าทางบกไปยังคลังสินค้าสู่ท่าเรือและลงเรือสินค้าเพื่อส่งสินค้าไปยังลูกค้า ได้ทันเวลาและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

1.3 การพัฒนาเส้นทางการขนส่งให้เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม

ดังนั้นเพื่อที่จะให้โครงสร้างพื้นฐานรองรับโลจิสติกส์ จึงจำเป็นต้องเร่งให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการและให้ความร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง

2. การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูล

เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเอกสารการค้าระหว่างประเทศที่ผู้ส่งออก/นำเข้าต้องมีการติดต่อกับหน่วยราชการหลายหน่วยงาน รวมทั้งต้องกรอกข้อมูลในเอกสารต่าง ๆ หลายชุดทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้นการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การนำเข้า การส่งออก และโลจิสติกส์จะต้องมีแนวทางดังนี้

2.1 การให้บริการที่ไม่ยึดรูปแบบการแบ่งส่วนราชการ แต่มุ่งสร้างพันธกิจในลักษณะให้บริการครบวงจรจากจุดเดียว

2.2 สร้างมาตรฐานกลางและกลไกการทำงานระหว่างระบบ เช่น มาตรฐานระบบข้อมูล มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานที่ภาคเอกชนจะพัฒนาระบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป

ดังนั้น การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลจึงมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านเอกสารและบุคลากร ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการกรอกข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพบริการ ตลอดจนสร้างความเป็นสากลที่จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับต่างประเทศ

3. ฐานข้อมูลโลจิสติกส์

ประเทศไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาโลจิสติกส์ ดังนั้นข้อมูลโลจิสติกส์ยังเป็นที่รับทราบอยู่ในวงจำกัดหรืออาจจะกระจัดกระจาย จึงจำเป็นต้องสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและระดับจุลภาค โดยมีแนวทางดังนี้

3.1 การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์และส่วนผลกระทบที่มีต่อมวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ซึ่งจำเป็นต้องสร้างแบบจำลองในการคำนวณต้นทุนดังกล่าว

3.2 สำรวจการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อจะทำให้ทราบทิศทางรูปแบบ และปริมาณการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในประเทศจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคโดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โลจิสติกส์ในภาพรวม เพื่อที่จะเห็นช่องทางการเคลื่อนย้ายสินค้าในรูปแบบขนส่งต่าง ๆ คลังสินค้า และการขนถ่ายสินค้า

3.3 การจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานของบุคลากรด้านโลจิสติกส์

3.4 การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ของแต่ละอุตสาหกรรม

4. การพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์

เนื่องจากโลจิสติกส์ยังอยู่ในวงจำกัด ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์มีจำนวนเล็กน้อย อุปสรรคที่สำคัญคือขาดแคลนอาจารย์ที่สอนด้านโลจิสติกส์ หลักสูตรโลจิสติกส์โดยตรงมีน้อย ผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการจัดการโลจิสติกส์แต่ยังไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันภาครัฐยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจด้านโลจิสติกส์หรือมีความรู้ก็มีอยู่เพียงเล็กน้อย สำหรับแนวทางในการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์มีดังนี้

4.1 สร้างบุคลากรภาครัฐและนักเรียนนักศึกษา อาทิ ให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการและอาจารย์มหาวิทยาลัยไปศึกษาระดับปริญญาด้านโลจิสติกส์

4.2 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและต่างประเทศ รวมทั้งแลกเปลี่ยนผู้วชาญต่างประเทศทางด้านโลจิสติกส์

4.3 สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการในเรื่องการจัดการโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ

4.4 ยกระดับบุคลากรบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์เพื่อให้บุคลากรมีความ สามารถในการให้บริการกิจกรรมที่มีความซับซ้อนหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น

บทสรุป

การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของประเทศจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน ในการจัดการกระบวนการโลจิสติกส์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องให้เป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน อาทิ การบริหารสินค้าคงคลัง การบริหารการสั่งซื้อ การบริหารข้อมูล การบริหารการเงิน การบริหารคลังสินค้า การดูแลสินค้า การบริหารการจัดซื้อ และการบริหารบรรจุภัณฑ์ ซึ่งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทยจะต้องทำความเข้าใจปรับแนวคิดทางด้านโลจิสติกส์ที่จะเป็นแนวบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ ของโลจิสติกส์ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนสินค้าที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอันจะทำให้เกิดความคล่องตัวในทางการค้า และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้าระหว่างประเทศของไทยให้เติบโตต่อไป




ขอขอบคุณ :http://www.eduzones.com


PS.  http://sweep_gnz.storythai.com/

แสดงความคิดเห็น

>

51 ความคิดเห็น

tynny 9 เม.ย. 50 เวลา 01:48 น. 3

ก็จะมีที่มหาลัยพี่ศิลปากร วิศวสาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม หรือวิศวโลจิสติกส์นั่นเอง ก็เข้าไปดูได้ที่ www.im-eng.com

0
เทพเจ้าข้าวหมาก 4 ธ.ค. 50 เวลา 17:18 น. 4

ของผมก้อมีคับ โลจิสติกส์ ต้อง ม.ผมเรย เปิดมาก่อนครัยด้วย
ของผมเปน วิทยาลัย เทียบเท่ากะ คณะแหละ
วิทยาลัยการขนส่งและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัย บูรพา
ของผมเปนคณะเองเรย มะได้ต้องไปแยกเอก แยกสาขาแบบใครเค้า
http://www4.eduzones.com/blog/logist/
ลองเอาไปอ่านดู&nbsp เรื่องย้อนหลัง มีเกี่ยวกะโลจิสติกส์ทั้งนั้นแหละคับ
มีแกลอรี่ให้ดูด้วยน๊าส์ ไปแระ บะบายจ้า

0
ต้นหอมพลอย 14 ม.ค. 51 เวลา 23:03 น. 5

มอเราเปิดอยู่ เราเปงรุ่นเเรกของที่มอเลยตอนนี้อยู่ปี2 มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษพูวนารถ

0
ska 20 ก.ค. 51 เวลา 13:39 น. 6

เรียนแล้วจะไปทำงานอารายหรอคะ


มั้ยเคยดั้ยยินสาขานี้


จะตกงานมั้ยอ่ะ

0
สุทิสา 22 ต.ค. 51 เวลา 14:20 น. 9

หากใครต้องการค้นหารถขนส่ง หรือมีรถขนส่งว่างให้บริการ สามารถเค้ามาสมัครและลงประกาศได้ที่เว็บ www.logisticsdb.com/transport&nbsp ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

สุทิสา/ cs@logisticsdb.com

0
air 30 พ.ย. 51 เวลา 22:57 น. 11

กลัวตกงานกันบ้างไหมเนี่ยที่เรียนโล หากสถานการณ์บ้านเมืองยังเป็นอย่างนี้อยู่16

0
SuND@Y BoYZz 5 ธ.ค. 51 เวลา 10:04 น. 13

โลจิสติกส์&nbsp ม.รังสิต ค๊าบบบบบบบบบบบ

ที่นี่เปิดในคณะบริหารธุรกิจอะ&nbsp เปนการจัดการ&nbsp ^_^

0
ศุภกิจ 20 เม.ย. 52 เวลา 22:11 น. 14

-เข้าเรียนแล้วจะเรียนยากมากไหม
-พอเรียนจบแล้วจะทำงานที่ไหน
-จะตกงานไหม
-ค่าตอบแทนเป็นอย่างไง101

0
SuND@Y VoYZz 2 พ.ค. 52 เวลา 23:19 น. 15

โลจิสติกส์ ม.รังสิตอะค๊าบบบบบบบ ฮ่าๆๆๆ

ที่ม.รังสิต โลจิสติกส์ อยู่ในคณะบริหารธุรกิจครับ สาขา การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
จบมาแล้วจะได้วุฒิ บธ.บ. [B.B.A.(Logogistics Management)]

โลจิสติกส์จะเน้นภาษาด้วยนะครับเพราะศัพท์เฉพาะทางเยอะมากที่ถึงมากที่สุด
ที่ม.รังสิตไม่ต้องห่วง อ.ที่นี่จะปูพื้นฐานให้ทั้งหมดค๊าบบบ พื้นฐานไม่ดีก็หายห่วง ^^

โลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 2 สายงานหลักๆครับ คือ บริหาร และ วิศวะ

จริงๆแล้วโลจิสติกส์ไม่ได้เรียนเฉพาะในด้านของการขนส่งทางเรือนะครับ&nbsp เรียนทั้งหมดอะครับ แต่ขึ้นอยู่กับว่ามหาลัยนั้นๆจะเน้นโครงสร้างหลักสูตรไปทางไหนอะครับ&nbsp เวลาจะเลือกเรียนก็ลองเอาโครงสร้างหลักสูตรของแต่ละที่มาดูนะครับ ว่าเราชอบของที่ไหนมากกว่ากัน

สำหรับที่ม.รังสิต จะเรียนเกี่ยวกับการจัดการครับ ก็จะมีเนื้อหาของทางวิศวะด้วยครับ แต่เรียนไม่ลึกเท่าสายวิศวะ แต่ก็ต้องเรียนด้วย เพื่อที่จะได้ทำงานร่วมกันกับวิศวกรได้ด้วย ในกรณีที่ต้องทำงานร่วมกันอะคับ

อย่างที่บอกว่าโลจิสไม่ได้เรียนเฉพาะด้านขนส่งทางเรือ สำหรับที่ม.รังสิต จะเน้นด้านการขนส่งและคลังสินค้า เป็นหลักครับ และจะเรียนทุกๆด้านในสายงานธุรกิจ ที่โลจิสติกส์เข้าไปแทรกอยุ่ในหน่วยงานนั้นๆอะคับ ที่สำคัญ จะเรียนเกี่ยวกับการลดต้นทุนให้ได้ต่ำที่สุดในขณะเดียวกันคุณภาพของสินค้าก็ต้องสูงมากขึ้นด้วย

อธิบายไม่ถูกแล้วอะ&nbsp ฮ่าๆๆๆ&nbsp เอาเป็นว่า ของที่อื่นเป็นยังไงผมไม่ทราบนะครับ คงต้องหาข้อมูลเอง แต่ของม.รังสิต ไม่ได้เรียนด้านขนส่งอย่างเดียวอะครับ&nbsp เรียนทุกๆอย่างของบริหาร แต่เน้นด้านการขนส่งและสินค้าคงคลังเป็นหลักครับ ^^

0
โสซ่า 10 พ.ค. 52 เวลา 01:22 น. 16

เราก้อเรียนโลจิสติกส์เหมือนกานนะ

มันเรียนยากมากขอบอก

แต่ว่าตอนนี้เราอยู่ปี4แว้วอ่ะ

ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก&nbsp วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

น้องๆๆๆคนหนัยสนจัยเรียนสาขานี้ก้อเข้ามาดูกานได้ที่ www.cpc.ac.th เป็งเมลล์ของม.เราเองอะ7

0
ปีโป้ 1 ก.ค. 52 เวลา 11:16 น. 17

เราก้อเรียนโลจิสเหมือนกัน
อยู่มทร.ตะวันออกวิทยาเขต จัน
เรียนยากยะต้องจำเยอะมากเลยล่ะ8

0
PUT 26 ก.ย. 52 เวลา 15:19 น. 18

โลจิสติกส์&nbsp ที่ ม.เกษตร ศรีราชา ก้อมีนะคับ
เปนการจัดการ


ที่ ม.บูรพา นี่เขารับแต่ผุ้ ชายรึป่าว เหนอ.บอกมานะ
แต่ที่ มก.ศรีราชา น่าจะรับทั้งชายหญิง เพราะเปนการจัดการ

0