Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ใครมีข้อมูลเกี่ยวกับ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมบ้าง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เราอยากได้ข้อมูลมากๆเลย เพราะตอนนี้ทำโรงงานอยู่ใครมีก้อช่วยหน่อยนะ
PS.  ขอแค่ให้เค้ามีความสุข เราก็สุขใจ ถึงแม้ว่าจะต้องเจ็บปวดก็ตาม

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

Ong Wisanu 29 ก.ค. 57 เวลา 18:54 น. 1

การถ่ายทอดลักษฯะทางพันธุกรรม หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยมียีนซึ่งเป็นหน่วยพันธุกรรมควบคุมอยู่ เช่น สีผิว ความสูง การห่อลิ้น การมีติ่งหู รูปร่างลักษณะของใบ ดอกและผล เป็นต้น

0
phakapong 29 ก.ค. 57 เวลา 21:04 น. 2

โครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA)

ดีเอ็นเอ (DNA)เป็นสายโพลีนิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) 2 สายพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาเรียกว่า เกลียวคู่ (double helix) โดยมีพอลินิวคลีโอไทด์ (polynucleotide) 2 สายนี้ เรียงตัวในแนวที่ตรงกันข้ามกันหรือพันกันในลักษณะทิศสวนทางตรงกันข้ามกัน (anti-parallel) ซึ่งพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide)สายหนึ่งเรียงตัวในทิศทางจาก 3’ ไป 5’ ส่วนพอลินิวคลีโอไทด์(polynucleotide)อีกสายหนึ่งเรียงตัวในทิศทาง 5’ ไป 3’ แต่ละสายประกอบด้วยหน่วยย่อยของนิวคลีโอไทด์(Nucleotide)ที่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ (phosphodiester bond) ระหว่างหมู่ไฮดรอกซี่ (OH group) ที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 3 ของน้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar)ตัวแรกและหมู่ฟอสเฟต (phosphate group) ที่ต่อกับคาร์บอนตำแหน่งที่ 5 ของน้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar)ตัวถัดไป นิวคลีโอไทด์(polynucleotide)ทั้ง 2 สายถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่เบส A(อะดีนีน, Adenine) จะเชื่อมกับเบส T (ไทมีน, Thymine)ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะคู่(double bonds) และเบส C (ไซโตซีน, Cytosine) จะเชื่อมกับเบส G (กัวนีน, Guanine) ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะสาม(triple bonds) และถ้าดีเอ็นเอ (DNA)เป็นสายปลายเปิด (open-end linear strand) ที่ปลายสายของดีเอ็นเอ(DNA)แต่ละข้างจะพบปลาย 3’-OH (hydroxy group) ของสายหนึ่งและปลาย 5’-OH ที่ต่อกับหมู่ฟอสเฟต (phosphate group) ของอีกสายหนึ่งเสมอ
ในสายของดีเอ็นเอ (DNA) มีร่อง (Groove) 2 แบบคือ ร่องขนาดใหญ่(major groove) และ ร่องขนาดเล็ก(minor groove) ในเกลียวคู่ที่วน 1 รอบของดีเอ็นเอ(DNA) ประกอบด้วยเบสจำนวน 10 คู่เบส และ 1 รอบของดีเอ็นเอ(DNA)นี้ ห่างกัน 34 อังสตรอม(Å)หรือ 3.4 nm(นาโนเมตร) เบสแต่ละตัวห่างกัน 3.4 อังสตรอม(Å) หรือ 0.34 nm(นาโนเมตร) ความกว้างระหว่างสายหรือเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง 20 อังสตรอม(Å)หรือ 2 nm(นาโนเมตร) เกลียวเอียงทำมุม 36 องศา โดยโครงสร้างดีเอ็นเอ(DNA) ที่บอกรายละเอียดที่ผ่านมานี้ เป็นโครงสร้างดีเอ็นเอ(DNA) แบบที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วๆไปเรียกเป็นแบบ B-DNA โดยยังมีโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA) อีก 2 แบบคือ A-DNA เป็นแบบเกลียวคู่วนขวาเช่นเดียวกับแบบ B-DNA แต่มีระยะห่างของคู่เบสและเส้นผ่านศูนย์กลางของเกลียวคู่ของโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA) แบบ A-DNA ต่างไปจากโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA)ในแบบ B-DNA ส่วนโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA)อีกแบบคือ แบบ Z-DNA เป็นดีเอ็นเอ(DNA)เกลียวคู่แบบวนซ้ายแบบซิกแซก โดยทั่วไปดีเอ็นเอ(DNA) ในสิ่งมีชีวิตเป็นโครงสร้างดีเอ็นเอ(DNA) แบบ B-DNA ยกเว้นในบางสภาวะเช่น ที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงจึงเปลี่ยนเป็นโครงสร้างดีเอ็นเอ(DNA)เป็นแบบ Z-DNA

0
Juthamas 29 ก.ค. 57 เวลา 22:23 น. 4

ลักษณะทางพันธุกรรม คือ ลักษณะที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูกหลานหรือถ่ายทอดไปตามสายพันธุ์ ลักษณะที่เหมือนกันนี้ เป็นลักษณะเฉพาะในแต่ล่ะสายพันธุ์เท่านั้น เช่น การห่อลิ้น ตาชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น การมีลักยิ้ม เป็นต้น
ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง Continuous variation เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความลดหลั่นกันทีละน้อยสามารถนำมาเรียงลำดับกันได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก สีผิว เป็นต้น
2.ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง Discontinuous variation เป็นลักษณะที่แบ่งเป็นกลุ่มได้อย่างชัดเจน เช่น หมู่เลือดของคน ลักษณะผิวเผือก ลักยิ้ม เป็นต้น

0
Max Patpaibul 6 ส.ค. 57 เวลา 11:10 น. 5

สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะ และแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ น้องๆ ลองสังเกตเพื่อนๆ ในห้องเรียนและในโรงเรียน จะพบว่า ลักษณะโดยรวมแล้วจะเหมือนกัน แต่รายละเอียดบางอย่างจะแตกต่างกันออกไป เช่น บางคนมีจมูกโด่ง บางคนมีหนังตาชั้นเดียว บางคนตาสีน้ำตาล บางคนผิวดำ ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่น ต่อๆ ไปได้ ซึ่งเราเรียกว่า "ลักษณะทางพันธุกรรม"
 พันธุกรรม (Genetics) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง โดยลักษณะต่างๆ ทั้งพันธุกรรมนี้จะถ่ายทอดผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อและแม่ ซึ่งสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกัน ทำให้มีลักษณะแตกต่างกันไป สำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน พบว่า มีความแปรผันทางพันธุกรรมทำให้ลูกที่เกิดขึ้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยความแปรผันนี้มีได้ 2 ลักษณะคือ ความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง และความแปรผันแบบต่อเนื่อง
 หน่วยพันธุกรรม หรือยีน (gene) หมายถึง หน่วยควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น สีผม สีตา สีผิว ความสูง สติปัญญา ลักษณะเส้นผม เป็นต้น ส่วนลักษณะที่ไม่ใช่ลักษณะทางพันธุกรรม เช่น เพศ เสียง ลักษณะอ้วน ผอม เป็นต้น ส่วนยีนที่ผิดปกติ เช่น โรคเลือดผิดปกติชนิดธาลัสซีเมีย โรคปัญญาอ่อนบางชนิด เป็นต้น ในความผิดปกติมียีนลักษณะเช่นนี้แฝงอยู่ ซึ่งยีนที่ผิดปกตินี้ส่วนมากเป็นยีนด้อยและอาจแสดงลักษณะด้อยปรากฏให้เห็นใน รุ่นลูกหลานได้

หน่วยพันธุกรรมภายในนิวเคลียสของเซลล์ คือ ภายในนิวเคลียสของสิ่งมีชีวิต จะมีโครโมโซมกระจาย อยู่ทั่วไปเป็นคู่ๆ บนโครโมโซมแต่ละคู่มียีนควบคุมลักษณะต่างๆ ซึ่งแต่ละลักษณะประกอบด้วยยีน 2 หน่วยที่ได้มาจากพ่อ 1 หน่วย และจากแม่ 1 หน่วย

0
mommykhawfang 7 ส.ค. 57 เวลา 21:10 น. 6

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

            สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ลองสังเกตบุคคลที่อยู่รอบๆ ตัวเราจะพบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น บางคนมีตาชั้นเดียว บางคนจมูกโด่ง บางคนผมหยิก ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นต่อๆ ไป เราเรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะทางพันธุกรรม ดังตาราง

ตารางแสดงลักษณะเด่นและลักษณะด้อย 


0
vinutsanun_beam 7 ส.ค. 57 เวลา 21:33 น. 7
ลักษณะทางพันธุกรรม (อังกฤษ: genotype) หมายถึงลักษณะองค์ประกอบของยีน (gene) ของสิ่งมีชีวิตที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏที่แตกต่างกัน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นอื่นๆ ต่อไปได้ โดยการถ่ายทอดยีน ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะมีหน่วยควบคุมลักษณะ (genetic unit) ควบคุมสิ่งมีชีวิตให้มีรูปร่าง และลักษณะเป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของพ่อแม่ เรียกว่า ยีน ดังนั้นยีนจึงทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน ลักษณะต่างๆ ที่ถ่ายทอดไปนั้นพบว่าบางลักษณะไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจจะปรากฏในรุ่นหลานหรือเหลนก็ได้ จึงมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันของลักษณะทางพันธุกรรมจนมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย แต่การสะสมลักษณะทางพันธุกรรมจำนวนมากทำให้เกิดสปีชีส์ต่างๆ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน
0
Tanyawat 11 ส.ค. 57 เวลา 10:43 น. 8

ลักษณะทางพันธุกรรม หมายถึงลักษณะบางอย่างที่มีปรากฏอยู่ในรุ่นบรรพบุรุษ แล้วถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ ให้กับรุ่นลูกหลานต่อๆมา
ลักษณะทางพันธุกรรมได้แก่ ลักษณะสีนัยน์ตา สีผม สีผิว ความสูง น้ำหนักตัว สติปัญญา สีของดอกไม้ ความถนัด ฯลฯ ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมมียีน(gene) เป็นหน่วยควบคุมลักษณะในทางพันธุกรรมทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานยีน(gene)มีตำแหน่งอยู่บนโครโมโซม
ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต จะถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นลูกหลาน โดยหน่วยพันธุกรรมในเซลล์ที่เรียกว่า ยีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ แต่ดีเอ็นเอมีทั้งส่วนที่อยู่ในนิวเคลียส และส่วนที่อยู่ใน ไซโทพลาซึม ซึ่งดีเอ็นเอทั้งสองส่วนนี้จะควบคุมและถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ทางพันธุกรรมด้วยแบบแผนที่ต่างกัน
ลักษณะพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต นอกจากจะถูกควบคุมด้วยดีเอ็นเอหรือยีนในนิวเคลียสแล้วยังถูกควบคุมด้วยยีนที่อยู่นอกนิวเคลียสอีกด้วย นั่นคือดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียและพลาสติดซึ่งอยู่ในไซโทพลาซึม ออร์แกเนลล์ทั้งสองสามารถแบ่งตัวได้ไม่อยู่ในการควบคุมของนิวเคลียส เซลล์ไข่ของสิ่งมีชีวิตเพศเมียจะมีขนาดใหญ่ มีไซโทพลาซึมมาก สเปิร์มที่เข้ามาผสมจะมีแต่นิวเคลียส แทบจะไม่มีไซโทพลาซึมเลย ดังนั้นลักษณะต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมด้วยยีนที่อยู่ในไซโทพลาซึมจึงมักมาจากทางฝ่ายแม่ ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนในนิวเคลียส จะเป็นไปตามกฎของเมนเดล
เมื่อมีการผสมระหว่างพ่อแม่ทั้งสายผสมตรง (direct cross) และสายผสมกลับสลับพ่อแม่ (reciprocal cross) ลูกผสมที่ได้ของทั้ง 2 สาย จะมีอัตราส่วนเท่ากัน แต่ลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนนอกนิวเคลียสจะไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล


สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันย่อมมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกันมากกว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายกันมีความแตกต่างกันน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ความแตกต่างเหล่านี้เนื่อจากพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ลักษณะทางพันธุกรรม จำแนกได้ 2 ประเภท
1. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (CONTINUOUS VARIATION) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความลดหลั่นกันทีละน้อย สามารถนำมาเรียงลำดับกันได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก สีผิว เป็นต้น เป็นลักษณะทางปริมาณ
2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (DISCONTINUOUS VARIATION) เป็นลักษณะที่แบ่งเป็นกลุ่ม ได้อย่างชัดเจน เช่นหมู่เลือดของคน ลักษณะผิวเผือก ลักยิ้ม ติ่งหู การห่อลิ้น เป็นต้น เป็นลักษณะทางคุณภาพ

ข้อสังเกต โดยทั่วไป ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง เช่น สีผิว นั้นสิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลต่อการ แสดงลักษณะใน-ส่วนที่มากกว่าลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น หมู่เลือดถูกต้อง

0
Max Patpaibul 12 ส.ค. 57 เวลา 23:01 น. 9

พันธุกรรม (Heredity) คือ สิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และสามารถถ่ายทอดส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งพันธุกรรมจะถูกควบคุมโดยหน่วยควบคุมลักษณะที่เรียกว่า ยีน (Gene) ยีนจะมีอยู่เป็นจํานวนมากในเซลล์ทุกเซลล์และจัดเรียงตัวเป็นแถวเป็นกลุ่มจับตัวเป็นเส้นยาว เรียกว่า โครโมโซม (Chromosome) ลักษณะที่แสดงออกและถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป แบ่งเป็น  2 ลักษณะ คือ ลักษณะทางคุณภาพ และลักษณะทางปริมาณ ลักษณะทางคุณภาพเป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนน้อยคู่ เช่น ลักษณะสีของขน ลักษณะมีเขาหรือไม่มีเขา และลักษณะผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะทางปริมาณเป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนหลายคู่ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่สําคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ส่วนประกอบในนํ้านม ลักษณะปรากฏถูกำหนดโดยอิทธิพลร่วมระหวางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม

               ลักษณะต่าง ๆ ที่พบในคน เช่น ความสูง-ความเตี้ย ผิวดํา-ผิวขาว ตาสีฟ้ า-ตาสีดํา ผมหยิก-ผมตรงเหล่านี้เป็นลักษณะที่ลูกหลานมีความคล้ายคลึงกับบรรพบุรุษ และเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดได้ทางการสืบพันธุ์ เรียกการถ่ายทอดนี้ว่า  กรรมพันุธ์หรือพันธุกรรม (Heredity) และลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูกหลานหรือถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อ ๆ ไป เรียกว่าลักษณะทางพันธุกรรม (Genetic character) และเรียกการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนี้ว่า พันธุศาสตร์ (Genetics) อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ จากพ่อแม่  ไปยังลูกหลานนั้น ถ้าพิจารณาให้ละเอียดแล้วจะพบวา รุ่นลูกมิได้มีลักษณะเหมือนพ่อแม่ ทุกอย่าง และมักจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น ลูกที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันอาจมีลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ แตกต่างกัน  เรียกว่า  ความแปรผันทางพันธุกรรม (Genetic variation) แฝดร่วมไข่เกิดจากไข่เซลล์เดียวกันและ อสุจิเซลล์เดียวกัน ย่อมมีพันธุกรรมที่เหมือนกันทุกประการ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คู่แฝดที่เกิดจากแฝดร่วมไข่ จะไม่มีความแปรผันทางพันธุกรรม  จึงมีลักษณะเหมือนกันมากที่สุด ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตจึงมากน้อยลดหลันกันไปตามปริมาณของความแปรผันทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

              ความแปรผันทางพันธุกรรมที่สืบทอดไปในรุ่น ย่อมต้องมีการถ่ายทอดอย่างมีกฎเกณฑ์ มิฉะนั้นแล้วสิ่งมีชีวิตคงไม่สามารถดํารงเผาพันธุ์ไว้ได้ยาวนานถึงเพียงนี้  ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างต่อเนื่องกันหลายระดับ  เรียกว่า ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (Continuousvariation) เช่น สีผิว สีผม นํ้าหนักลักษณะทางพันธุกรรมอีกประเภทหนึ่งที่เราสามารถบอกความแตกต่างเป็นกลุ่ม ๆ หรือแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน เช่น คนผิวเผือกกับคนผิวปกติ  การมีลักยิ้มกับไม่มีลักยิ้ม หมูเลือดของคน คือ หมู่ A, B, AB และ O เป็นต้น ลักษณะประเภทนี้เรียกว่า ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous variation)

0