Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากให้ช่วยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างหน่อยคับว่าอยากให้มีอะไร

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ผมอยากให้กฎหมายของไทยแรงเหมือนกับประเทศอื่นเขา เช่น เมื่อฆ่าคนตายก็ชดใช้ด้วยชีวิต เพราะผมเห็นกฎหมายไทยอ่อนมาก คือ ฆ่าคนตายแค่ขังคุก แล้วเขาจะไปสำนึกไรได้ ยังไงก็ช่วยแสดงความคิดเห็นกันด้วยนะคับ จะส่งอ.

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

กระต่ายโลหิต 15 มิ.ย. 50 เวลา 22:54 น. 1

กฏหมายที่เธอพูดนั้นเรียกว่า "กฏหมายตาต่อตาฟันต่อฟัน" ของบาบิโลน
ที่เป็นกฏหมายแรกสุดของโลกเลยก็ว่าได้

ทว่า เรื่องนั้นมันใช้ไม่ได้หรอก

เพราะ โลกนี้ไม่ได้เป็นอุดมคติแบบนั้น
เธออาจจะฆ่าเขาโดยไม่ได้ตั้งใจ พลั้งเผลอ หรือจากการเก็บกดที่ถูกเขาแกล้งก็ได้
หรืออาจจะกระทั่งถูกใส่ร้าย.... ซึ่งเมืองไทยก็พบเห็นได้บ่อยๆ ไม่งั้นคำว่า"แพะ"คงไม่พูดกัน้สมอๆหรอก

แล้วมันคุ้มเหรอถ้าเธอจะตายเพราะเรื่องเหล่านั้นน่ะ?

และที่สำคัญ เธอคิดว่ากฏหมายมีไว้เพื่ออะไร?

ลงโทษคนทำผิด?
ขู่ให้คนกลัวจะไม่ได้กล้าทำผิด?
กำหนดวิถีทางของมนุษย์?
หรือ ทำให้มนุษย์สำนึกในความผิดและกลับตัวเป็นคนดี?


ถ้าเธอจะใช้แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ก็แปลว่าเธอเลือกสองข้อแรก...



PS.  ซะงั้นน่ะ!?
0
กัปปะ. บึงปิศาจ 15 มิ.ย. 50 เวลา 22:58 น. 2

ตามมาตรา ๒๘๘๘ ประมวลกฎหมายอาญา ฆ่าคนตาย ต้องโทษ ตั้งแต่ จำคุกสิบห้า ปี ถึงประหาร ชีวิตอยู่แล้วนะครับ ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2499 โน่น
หมายถึงว่าไม่ค่อยมีใครถูกประหาร เลยดูกฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ หรือเปล่าเอ่ย คือหลักการลงโทษตามกฏหมายอาญาอ่ะครับ เขาต้องการให้มนุษยที่ทำผิด์ยังมีโอกาสกลับตัวนะ อีกอย่างการลงโทษที่รุนแรง ไม่ได้ทำให้อาชญากรรมลดลงนะ เคยมีตัวอย่างในสมัยกรีกมาแล้วที่ ร่างกฎหมายให้คนทำผิดอะไรก็แล้วแต่ แมกระทั่งลักทรัพย์ก็เอาไปประหาร นึกว่าบ้านเมืองจะสงบ แต่กลับกลายเป็นว่า อาชญากรรมพุ่งขึ้นอีกอื้อเลย เพราะคนยิ่งถูกบีบยิ่งต่อต้านนาท่าน

ดังนั้น นักปรัชญายุโรป นาม Cecar Beccaria (สะกดผิดก็โทษทีนะ)ได้คิดหลักที่จะทำให้สังคมสงบโดยกฏหมายว่า "การลงโทษที่รุนแรงจะยิ่งทำให้เกิดความผิดที่รุนแรงยิ่งกว่า คือแทนที่ข่มขืนอย่างเดียว ก็ ฆ่าปิดปากด้วย เพราะขืนพยานอยู่ อาจซวยโดนจับต้องโทษประหาร ดังนั้นสาระจึงอยู่ที่การลงโทษให้สม่ำเสมอ คือทำผิดก็ลงโทษ และไม่ว่าใครก็ต้องถูกลงโทษ" หลักนี้ได้รับการตอบรับจากประเทศภาคพื้นยุโรปมากครับ แทบทุกประเทศแล้วที่ยกเว้นโทษประหารแต่เน้นที่การลงโทษในทุกๆ ความผิดไม่มีปล่อย

ผมว่า ปรเด็นที่ประเทศไทยประสบปัญหาไม่ใช่กฏหมายไม่ดี แต่กระบวนการจับกุมไม่ดีต่างหาก คนใหญ่คนโตรอดทุกที คนจนก็ติดคุกกันไป

เศร้านะ ว่ามั้ยครับ

0
กัปปะ. บึงปิศาจ 16 มิ.ย. 50 เวลา 02:43 น. 4

อยากได้อะไรจากรัฐธรรมนูญงั้นหรือ

๑. มนุษย์มีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนา ไม่สมควรถูกชี้นำโดยรัฐ หรือโดยกฎหมาย (คงเข้าใจนะครับว่าผมหมายความว่าไง)
๒. สส. และ สว. ต้องมาจากการเลือกตั้ง ในเมื่อทั้งสองสถาบันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการร่างกฎหมายที่ควบคุมสิทธิเสรีภาพประชาชน ประชาชนควรตัดสินใจที่จะเลือกใครเข้าไป ไม่ใช่มาจาการแต่งตั้งของใคร
๓. บัญญัติให้ภาพยนตร์เป็นสื่อ มีเสรีภาพเฉกเช่น สื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ เพราะผมต้องการเห็นหนังที่สามารถสะท้อนแง่มุมสงคมได้ ไม่ใช่ว่าแค่คำว่า "วัง" ยังต้องถูกดูดเสียง ทั้งที่คำว่าวัง สื่อถึงการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้เลย
๔. ห้ามบัญญัติบทนิรโทษกรรม คณะทำการการรัฐประหารเด็ดขาด รัฐประหาร กับ ประชาธิปไตย เป็นภาคตรงข้ามโดยสิ้นเชิง การบัญญัติเช่นนี้ เท่ากับว่า เป็นการเห็นงามแก่การกระทำ ฉีกรัฐธรรมนูญ เผา ประชาธิปไตย
๕. การเข้าจับคุมบุคคลของเจ้าหน้าที่ต้องได้รับหมายศาลก่อน เพราะถือเป็นการกระทำที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพ การจับกุมจึงต้องได้รับการพิจารณาจากศาลก่อนว่า ชอบธรรมหรือไม่ที่จะกระทำการเช่นว่านั้น ไม่ใช่จะจีบใครเมื่อไหร่ก็ย่อมกระทำได้
๖. บัญญัติให้รัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของมนุษย์ทุกคนในราชอาณาจักรไทย ไม่ใช่เพียงแค่ประชาชนชาวไทยเช่น รัฐธรรมนูญพุทธศักราช ๒๕๔๐ เพราะถือว่าประชาชน์ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยแห่งราชอาณาจักรไทยควรได้รับความคุ้มครองความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
๗. ให้บัญญัติให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐทุกองค์กรณ์เป็นนิติบุคคล เพราะเมื่อเราถูกภาครัฐกระทำการละเมิดสิทธิจะได้สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้
๘. บัญญัติให้กฎหมายที่มีลักษณะเป็นโทษไม่ว่าโทษทางอาญาหรือทางใด หากมีลักษณะลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนไม่สามารถย้อนหลังไปมีผลได้
๙.

หมดแล้วครับ คิดได้เท่านี้แหละ

ปล. บางข้ออย่าคิดว่าผมรัก ทักษิณ เกลียด คมช. หรือ รัก คมช. เกลียดทักษิณนะ (เบื่อทั้งคู่แหละ) ผมเพียงแต่คิดในทางเหมาะสม

0
คนทั่วไป 16 มิ.ย. 50 เวลา 14:31 น. 6

เนื่องจากบ้านคนส่วนใหญ่เป็นคนมีน้ำใจ
เพราะเป็นคนไทยด้วยกัน แต่ว่าสังคมไทยปัจจุบัน
ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ว่าจะเรื่องระเบียบวินัย
และความเห็นแก่ตัวก็มีมาก(ในเมืองใหญ๋)
เรื่องกฏหมานก็เป็นสิ่งสำคัญควรจะมีความเด็ดขาด
อย่างเมืองนอก เฃ่น คดีเมาแล้วขับของพวกดารา
เค้ายังต้องติดคุกเลย แล้วบ้านเราจะเป็นอย่างเค้าได้ไหม
อยากได้กฏหมายที่เข้าถึงประชาชนจริงๆ ไม่ใช่เอื้อให้เฉพาะ
ชนชั้นที่มีฐานะ อยากให้ชาวบ้านตาดำๆไม่โดนกดขี่

0
สุรีย์พร 26 มิ.ย. 50 เวลา 19:04 น. 7

กรอบสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้มี ๓ ส่วน

ส่วนแรก......ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ จากที่ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน มาตรา ๒๖ กำหนดไว้การยกร่างแรกไม่เกิน ๔ เดือน หลังจากประชุมสภาครั้งแรก และต้องการรับฟังความคิดเห็นจากองค์การต่าง ๆ สถาบันอุดมศึกษา และประชาชนโดยมีเวลาประมาณ ๓๐ วัน

ข้อสังเกต
คำว่า ประชาชน ตามภาษาวิชาการจะว่าอย่างไรก็ช่าง เพราะถ้าคิดอย่างวิชาการก็ถูกหมด นั่นเป็นเรื่องของตัวอักษร แต่ความเป็นจริงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก็ไม่ได้รู้เรื่องอะไรมากมายเกี่ยวกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนคนธรรมดาระดับรากหญ้าไม่มีทางรู้ได้ว่าวิธีการ กระบวนการ กลยุทธ์ กลอุบายที่เขาใช้กันในการสอดแทรกสิ่งอันที่จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตนที่มีโอกาสเข้ามาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ สภาร่างรัฐธรรมนูญ แม้แต่พวกที่ถือตัวเองว่าพอจะรู้เรื่องอยู่บ้างก็ถูกหลอก ด้วยกลยุทธ์ของผู้วชาญทางด้านนี้มาแล้ว ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีความรู้เรื่องบ้านเมือง เรื่องกฎหมาย และเรื่องกลยุทธ์กลโกงหรือเล่ห์เหลี่ยมไม่กล้าที่จะเสนอตัว และเสนอประเด็นในความคิดเห็นด้านต่าง ๆ อย่างแน่นอน ประชาชนในระดับรากหญ้าก็เลยถูกตัดออกจากสาระบบด้านการร่างรัฐธรรมนูญไป
ที่เหลือก็คือผู้ที่มีความรู้และรู้เรื่อง ซึ่งก็แบ่งออกเป็นอย่างน้อย ๒ พวกคือ ผู้ที่รู้และมีความตั้งใจจริงที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติบ้านเมือง ( มีความบริสุทธิ์ใจ ) อีกส่วนหนึ่งคือผู้มีความรู้และสังกัดองค์กรที่มีผลประโยชน์ประเภทหลังนี้สำคัญมาก เนื่องจากพวกนี้เป็นกระบวนการใหญ่ มีการจัดองค์กรมาอย่างเป็นระบบ มีผู้สนับสนุนทุก ๆ ด้านทั้งด้านวิชาการ ด้านเงินทุน ด้านกลุ่มองค์กรเคลื่อนไหวสนับสนุน และอื่น ๆ กลุ่มนี้จะพยายามกลืนกลุ่มแรก เพราะกลุ่มแรกมีน้อยไม่มีพลัง แยกกันไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่มพวกนี้จะถูกกลืนโดยกลุ่มหลัง ทำให้ในท้ายที่สุดพวกที่มีอิทธิพลและทำงานมีผลงานเป็นรูปธรรมมากที่สุด ส่วนพวกแรกโดยแท้จริงแล้วเป็นได้เพียงพวกที่ได้ชื่อว่าได้มีส่วนเข้าร่วมและให้พวกที่สองใช้ชื่อว่าได้มีพวกนี้เข้ามาร่วมด้วย แต่เนื้อหาของการทำงานจะเป็นไปตามของพวกหลังทั้งหมด นั่นคือความเป็นจริงในการร่างรัฐธรรมนูญในยุคนี้

0
วัชระพงษ์ 8 ก.พ. 59 เวลา 17:16 น. 8

เลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นทำมัยไม่ใช้ประชาชนเลือกครับเป็นแล้วอยู่ถึง60ปีแถมใช้คะแนนเสียงจาก ผญ.มาเลือกตั้งกำนันอิกแบบนี้คุณแน่นใจรือว่าจะไม่มีการซื้อเสียงแถมได้เป็นยาวถ้าได้คนไม่ดีเข้าไปบ้านเมืองจะเป็นอย่างไรแบบนี้จะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไรอยากรู้จริงใครนำกฏหมายนี้มาใช้คิดได้ยัง

0