Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รำวงมาตราฐาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
   รำวงมาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้านของไทยในบางท้องถิ่นที่นิยมเล่นกันในฤดูเทศกาลต่างๆ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นฟ้อนรำก็คือ ฉิ่ง กรับ และโทน แต่เนื่องจากการฟ้อนรำชนิดนี้ใช้โทนตีเป็นจังหวะหลัก  จึงเรียกการฟ้อนชนิดนี้ว่า "รำโทน"
        รำโทน นิยมเล่นกันในฤดูต่างๆ เฉพาะท้องถิ่นในบางจังหวัด ต่อมาได้มีผู้นำไปเล่นในท้องถิ่นอื่นๆ อย่างกว้างขวาง และมิได้เล่นแต่เฉพาะเทศกาลเท่านั้น แต่ยังนำไปเล่นในทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริง บทร้องส่วนใหญ่มีความหมายหยอกเย้า ชมโฉม รำพันรักหนุ่มสาว และบทลาจากกัน บทร้องไม่ค่อยพิถีพิถัน ในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสมากนัก การรำจะยึดจังหวะเป็นจังหวะยืดตีตามจังหวะหน้าทับ ''ป๊ะ โท่น ป๊ะ โท่น ป๊ะ โท่น โท่น'' หญิงชายที่จะร่วมสนุกก็จะมาล้อมวงปรบมือเป็นจังหวะชวนกันรำตามจังหวะโทนเป็นคู่ๆ เดินรำตามวง ต่อมาได้มีผู้คิดทำนองบทร้องประกอบจังหวะโทน เพลงรำโทนเพลงแรกคือ ''เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด''
       ต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2484-2488 ประชาชนนิยมรำโทนกันมาก ประกอบกับในช่วงสงครามนั้น เป็นระยะที่ญี่ปุ่นยกกองทัพผ่านประเทศไทยมีการโจมตีทางอากาศอยู่เสมอ จอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็ฯนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นต้องการปลอบขวัญประชาชนจากความกลัวถัยสงคราม และเห็นสมควรที่จะเชิดชูศิลปะการละเล่นพื้นบ้านแบบนี้ให้เป็นระเบียบแผนอันดีงามตามแบบนาฏศิลป์ไทย จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรพิจารณาปรับปรุงการเล่นรำโทนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2487  กรมศิลปากรจึงประพันธ์เนื้อร้องและทำนองขึ้นใหม่ 4เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ และเพลงคืนเดือนหงาย พร้อมทั้งปรับปรุงดนตรีเป็นวงปี่พาทย์ หรือวงดนตรีสากลบรรเลงประกอบ ส่วนท่ารำได้กำหนดท่าแบบมาตรฐานมีท่ารำเฉพาะเพลงแต่ละเพลง ใช้การเดินย่ำเท้า ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ประพันธ์เพิ่มอีก 6เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ โดยปรับปรุงทำนองเพลงและใช้เครื่องดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบการขับร้องจัดท่ารำวงให้งดงามถูกต้องตามแบบนาฏศิลป์ไทย โดยใช้ท่ารำแม่บทมากำหนดไว้เป็นแบบฉบับท่ารำวงมาตรฐาน ตลอดจนเปลี่ยนชื่อรำโทนเป็นรำวง ต่อมากรมศิลปากรได้เรียกการรำวงที่มีแบบแผนเดียวกันนี้ว่า "รำวงมาตรฐาน"

แสดงความคิดเห็น

>

19 ความคิดเห็น

ณภัทร เลขที่ ๔๕ 25 มิ.ย. 50 เวลา 20:55 น. 4

รำวงมาตรฐาน วิวัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่

ท่ารำ&nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก คุณครูมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ
คำร้อง
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ
ทำนอง
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้วชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ
เครื่องดนตรี
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เดิมนั้น รำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้ด้วย โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลง
การแต่งกาย
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลายอย่าง เช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้านคือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ ขอให้เป็นแบบไทย ขอให้ดูสุภาพ งดงาม&nbsp ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือ นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอพวงมาลัย แขนสั้น ผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทาน กางเกงขายาว ชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่เสื้อสูท
เพลงของรำวงมาตรฐานมี ๑๐ เพลงดังนี้
เพลงงามแสงเดือน
เพลงดอกไม้ของชาติ
เพลงชาวไทย
เพลงหญิงไทยใจงาม
เพลงรำซิมารำ
เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
เพลงคืนเดือนหงาย
เพลงยอดชายใจหาญ
เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
เพลงบูชานักรบ

0
ธาราทิพย์ 26 มิ.ย. 50 เวลา 18:54 น. 5

รำวงมาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้านของไทยในบางท้องถิ่นที่นิยมเล่นกันในฤดูเทศกาลต่างๆ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นฟ้อนรำก็คือ ฉิ่ง กรับ และโทน แต่เนื่องจากการฟ้อนรำชนิดนี้ใช้โทนตีเป็นจังหวะหลัก&nbsp จึงเรียกการฟ้อนชนิดนี้ว่า "รำโทน"
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp รำโทน นิยมเล่นกันในฤดูต่างๆ เฉพาะท้องถิ่นในบางจังหวัด ต่อมาได้มีผู้นำไปเล่นในท้องถิ่นอื่นๆ อย่างกว้างขวาง และมิได้เล่นแต่เฉพาะเทศกาลเท่านั้น แต่ยังนำไปเล่นในทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริง บทร้องส่วนใหญ่มีความหมายหยอกเย้า ชมโฉม รำพันรักหนุ่มสาว และบทลาจากกัน บทร้องไม่ค่อยพิถีพิถัน ในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสมากนัก การรำจะยึดจังหวะเป็นจังหวะยืดตีตามจังหวะหน้าทับ ''ป๊ะ โท่น ป๊ะ โท่น ป๊ะ โท่น โท่น'' หญิงชายที่จะร่วมสนุกก็จะมาล้อมวงปรบมือเป็นจังหวะชวนกันรำตามจังหวะโทนเป็นคู่ๆ เดินรำตามวง ต่อมาได้มีผู้คิดทำนองบทร้องประกอบจังหวะโทน เพลงรำโทนเพลงแรกคือ ''เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด''
&nbsp &nbsp &nbsp  ต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2484-2488 ประชาชนนิยมรำโทนกันมาก ประกอบกับในช่วงสงครามนั้น เป็นระยะที่ญี่ปุ่นยกกองทัพผ่านประเทศไทยมีการโจมตีทางอากาศอยู่เสมอ จอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็ฯนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นต้องการปลอบขวัญประชาชนจากความกลัวถัยสงคราม และเห็นสมควรที่จะเชิดชูศิลปะการละเล่นพื้นบ้านแบบนี้ให้เป็นระเบียบแผนอันดีงามตามแบบนาฏศิลป์ไทย จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรพิจารณาปรับปรุงการเล่นรำโทนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2487&nbsp กรมศิลปากรจึงประพันธ์เนื้อร้องและทำนองขึ้นใหม่ 4เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ และเพลงคืนเดือนหงาย พร้อมทั้งปรับปรุงดนตรีเป็นวงปี่พาทย์ หรือวงดนตรีสากลบรรเลงประกอบ ส่วนท่ารำได้กำหนดท่าแบบมาตรฐานมีท่ารำเฉพาะเพลงแต่ละเพลง ใช้การเดินย่ำเท้า ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ประพันธ์เพิ่มอีก 6เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ โดยปรับปรุงทำนองเพลงและใช้เครื่องดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบการขับร้องจัดท่ารำวงให้งดงามถูกต้องตามแบบนาฏศิลป์ไทย โดยใช้ท่ารำแม่บทมากำหนดไว้เป็นแบบฉบับท่ารำวงมาตรฐาน ตลอดจนเปลี่ยนชื่อรำโทนเป็นรำวง ต่อมากรมศิลปากรได้เรียกการรำวงที่มีแบบแผนเดียวกันนี้ว่า "รำวงมาตรฐาน"

0
sakuno 4 ก.ค. 50 เวลา 19:01 น. 6

มีเป็นรูปท่ารำรึป่าวค่ะ อาจจะฟังดูเอาแต่ใจไปหน่อยแต่ช่วยหาให้หน่อยได้มั๊ยค่ะ แบบว่าต้องการด่วนมากๆๆๆๆๆเลยค่ะ ขอบคุณนะค่ะ

0
วิศนี แจน 11 ก.ค. 50 เวลา 21:56 น. 7

รำวงมาตรฐานมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้านของไทยในบางท้องถิ่นที่นิยมเล่นกันในฤดูเทศกาลต่างๆ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นฟ้อนรำก็คือ ฉิ่ง กรับ และโทน แต่เนื่องจากการฟ้อนรำชนิดนี้ใช้โทนตีเป็นจังหวะหลัก&nbsp จึงเรียกการฟ้อนชนิดนี้ว่า "รำโทน"
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp รำโทน นิยมเล่นกันในฤดูต่างๆ เฉพาะท้องถิ่นในบางจังหวัด ต่อมาได้มีผู้นำไปเล่นในท้องถิ่นอื่นๆ อย่างกว้างขวาง และมิได้เล่นแต่เฉพาะเทศกาลเท่านั้น แต่ยังนำไปเล่นในทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริง บทร้องส่วนใหญ่มีความหมายหยอกเย้า ชมโฉม รำพันรักหนุ่มสาว และบทลาจากกัน บทร้องไม่ค่อยพิถีพิถัน ในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสมากนัก การรำจะยึดจังหวะเป็นจังหวะยืดตีตามจังหวะหน้าทับ ''ป๊ะ โท่น ป๊ะ โท่น ป๊ะ โท่น โท่น'' หญิงชายที่จะร่วมสนุกก็จะมาล้อมวงปรบมือเป็นจังหวะชวนกันรำตามจังหวะโทนเป็นคู่ๆ เดินรำตามวง ต่อมาได้มีผู้คิดทำนองบทร้องประกอบจังหวะโทน เพลงรำโทนเพลงแรกคือ ''เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด''
&nbsp &nbsp &nbsp  ต่อมาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2484-2488 ประชาชนนิยมรำโทนกันมาก ประกอบกับในช่วงสงครามนั้น เป็นระยะที่ญี่ปุ่นยกกองทัพผ่านประเทศไทยมีการโจมตีทางอากาศอยู่เสมอ จอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็ฯนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นต้องการปลอบขวัญประชาชนจากความกลัวถัยสงคราม และเห็นสมควรที่จะเชิดชูศิลปะการละเล่นพื้นบ้านแบบนี้ให้เป็นระเบียบแผนอันดีงามตามแบบนาฏศิลป์ไทย จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรพิจารณาปรับปรุงการเล่นรำโทนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2487&nbsp กรมศิลปากรจึงประพันธ์เนื้อร้องและทำนองขึ้นใหม่ 4เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ และเพลงคืนเดือนหงาย พร้อมทั้งปรับปรุงดนตรีเป็นวงปี่พาทย์ หรือวงดนตรีสากลบรรเลงประกอบ ส่วนท่ารำได้กำหนดท่าแบบมาตรฐานมีท่ารำเฉพาะเพลงแต่ละเพลง ใช้การเดินย่ำเท้า ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ประพันธ์เพิ่มอีก 6เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ โดยปรับปรุงทำนองเพลงและใช้เครื่องดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบการขับร้องจัดท่ารำวงให้งดงามถูกต้องตามแบบนาฏศิลป์ไทย โดยใช้ท่ารำแม่บทมากำหนดไว้เป็นแบบฉบับท่ารำวงมาตรฐาน ตลอดจนเปลี่ยนชื่อรำโทนเป็นรำวง ต่อมากรมศิลปากรได้เรียกการรำวงที่มีแบบแผนเดียวกันนี้ว่า "รำวงมาตรฐาน"

0
โมวี้ 23 ส.ค. 50 เวลา 18:20 น. 9

ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp an งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง16

0
....... 29 ก.ค. 51 เวลา 18:13 น. 14

รำแม่บทเล็ก
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp แม่บทเล็ก เป็นการแสดงที่ตัดตอนมาจากบทละคร ในเรื่องรามเกียรติ์ตอนนารยณ์ปราบนนทุก&nbsp เรื่องราวมีความเป็นมา ดังนี้
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp นนทุกเป็นยักษ์มีหน้าที่คอยล้างเท้าเทพบุตรนางฟ้า ณ เชิงเขาไกรลาส เพื่อขึ้นเฝ้าพระอิศวร&nbsp บรรดาเทพบุตรนางฟ้าทั้งหลายพากันข่มเหงโดยเขกศีรษะ และถอนผมจนศีรษะนนทุกล้าน นนทุกเสียใจจึงขอพรพระอิศวร ให้นิ้วของตนเป็นเพชรชี้ใครตายทั้งสิ้น และชี้บรรดาเทวดานางฟ้าที่มารังแกตนให้ถึงแก่ความตาย&nbsp 
ทราบถึงพระนารายณ์และรู้ชะตาของนนทุก ว่าจะตายด้วยหลงเสน่ห์สตรี จึงแปลงองค์เป็นหญิงรูปงามไปคอยท่านนทุก นนทุกนั้นเมื่อพบหญิงสาวมีสิริโฉมโสภา จึงเข้าเกี้ยวพาราสี นางทำกลมารยาให้นนทุกรำตามตนด้วยเพลงชมตลาด
เรียกว่า รำแม่บท
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp แม่บทเล็ก เป็นท่ารำมาตรฐานหรือแม่ท่า ใช้ทำนองเพลงชมตลาด มีลีลาเอื้อนช้า นุ่มนวลและอ่อนช้อยตามลักษณะของท่ารำไทยเป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งผู้ฝึกนาฎศิลป์จะต้องฝึกรำให้คล่องแคล่วชำนาญ เพื่อเป็นพื้นฐานในการรำเพลงอื่นๆ มีเนื้อเพลงและท่ารำดังนี้
คำร้อง&nbsp เพลงแม่บทเล็ก&nbsp (ใช้ทำนองเพลงชมตลาด&nbsp ซึ่งเป็นอัตราจังหวะฉิ่งพิเศษ)
(ออก&nbsp ด้วยเพลงรัวลาเดียว&nbsp ใช้ท่ารำที่ชื่อว่า สอดสร้อยมาลา)
&nbsp&nbsp&nbsp &nbsp &nbsp  เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า&nbsp&nbsp&nbsp สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน&nbsp&nbsp&nbsp (โบก)
&nbsp&nbsp&nbsp ทั้งกวางเดินดงหงส์บิน&nbsp&nbsp&nbsp กินรินเลียบถ้ำอำไพ&nbsp&nbsp&nbsp (โบก)
&nbsp&nbsp&nbsp &nbsp &nbsp  (ดนตรีรับ)&nbsp&nbsp&nbsp  &nbsp&nbsp&nbsp 
&nbsp&nbsp&nbsp อีกช้านางนอนภมรเคล้า&nbsp&nbsp&nbsp แขกเต้าผาลาเพียงไหล่&nbsp&nbsp&nbsp (โบก)
&nbsp&nbsp&nbsp เมขลาโยนแก้วแววไว&nbsp&nbsp&nbsp มยุเรศฟ้อนในนภาพร&nbsp&nbsp&nbsp (โบก)
&nbsp&nbsp&nbsp &nbsp &nbsp  (ดนตรีรับ)&nbsp&nbsp&nbsp  &nbsp&nbsp&nbsp 
&nbsp&nbsp&nbsp ยอดตองต้องลมพรหมนิมิต&nbsp&nbsp&nbsp อีกทั้งพิสมัยเรียงหมอน&nbsp&nbsp&nbsp (โบก)
&nbsp&nbsp&nbsp ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร&nbsp&nbsp&nbsp พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์&nbsp&nbsp&nbsp (โบก)
&nbsp&nbsp&nbsp &nbsp &nbsp  (ดนตรีรับ)

0