Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิเคราะห์ภาระงานตามบทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

2. สถานบริการต้องมีบทบาทหน้าที่เฉพาะ ( specific roles ) อย่างชัดเจน และไม่ซ้ำซ้อนกัน ( no overlapping )

                3. สถานบริการแนวหน้า ( first line health   service)ควรให้บริการที่เน้นปัจจัยด้านมนุษย์กล่าวคือต้องให้บริการที่มีลักษณะดังนี้
3.1 ลักษณะของการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพดี ( good health care ) ที่ประกอบด้วย
3.1.1 การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ( Holistic care ) หมายถึงการให้การดูแลผู้รับบริการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลที่มัจุดมุ่งหมายในการมีชีวิต มีความรู้ ความคิด ความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม สภาพสังคม เศรษฐกิจ สิทธิ เสรีภาพ รูปแบบการดำเนินชีวิตแตกต่างกันไป (ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล สารา วงษ์เจริญ และ ชุติมา หฤทัย , 2545 ) ซึ่งต่อเนื่องถึงสภาพครอบครัวด้วย
3.1.2 มีการให้บริการสุขภาพแบบบูรณาการ ( Iintegrated Care ) หมายถึงการผสมผสานบริการสุขภาพทั้ง 4 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสถาพ
3.1.3 มีการให้บริการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ( Continuum Care ) หมายถึง มีการเชื่อมโยงบริการรักษาพยาบาล และการดูแลสุขภาพที่ต่อเนื่องระหว่างสถานพยาบาลกับครอบครัว และชุมชน จนกว่าจะสิ้นสุดปัญหานั้นซึ่ง บางครั้งอาจให้บริการตลอดอายุขัยของผู้รับบริการนั้นๆ 3.2 ลักษณะของการจัดบริการเพื่อให้เกิดคุณภาพการบริการที่ดี ( good service ) ประกอบด้วย
3.2.1 การจัดบริการควรกระจาย ( decentralization ) และตั้งอยู่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุดโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ทั้งทางเทคนิค การบริหารจัดการ และการดำรงอยู่ในระยะยาวของบริการนั้นๆ
3.2.2 จัดบริการให้มีความพร้อมที่จะให้บริการตลอดเวลา ( permanent availability ) ทั้งในส่วนของผู้ให้บริการ เครื่องมือ กำหนดเวลาการให้บริการที่สอดคล้องกับความสะดวกของประชาชน ( convenient hour )
3.2.3 ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ( respond to felt needs ) โดยอาจใช้การรักษโรคเบื้องต้นนำ แล้วตามด้วยการส่งเสริมป้องกัน
3.2.4 การจัดบริการที่สมเหตุสมผล ( rationalization of service ) เป็นการคำนึงถึงประสิทธิผล ( effectiveness ) และประสิทธิภาพ ( efficiency ) ของแต่ละบริการที่จัดขึ้นในสถานบริการ
3.3 เงื่อนไข ( preconditions ) ที่สนับสนุนให้เกิดบริการที่ดี
3.3.1 ศูนย์บริการสาธารณสุขต้องมีพื้นที่รับผิดชอบที่ชัดเจน ( responsible area ) ทั้งนี้เพื่อที่ผู้ให้บริการได้ทราบถึงปัญหา ความต้องการของประชาชน และชุมชนได้ดี เข้าใจถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการ ( geographical accessibility ) ตลอดจนสามารถจัดบริการสำหรับผู้รับบริการที่อยู่ห่างไกล ( out – reach services )

3.3.2 จำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบแน่นอนและเหมาะสม ( defined population )โดยปกติขนาดประชากรในความรับผิดชอบ ควรมีส่วนของพยาบาลวิชาชีพต่อประชากรเท่ากับ 1 : 5,000 และจัดอัตราเสริมในลักษณะ Part time ในกรณีมีปริมาณภาระงานมาก ( Workload ) เพิ่มขึ้น (ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล สารา วงษ์เจริญ และ ชุติมา หฤทัย , 2545 ) แต่ทั้งนี้ขนาดของประชากรที่เหมาะสม ต้องขึ้นกับสภาพท้องถิ่นและกำลังคนที่มี
3.3.3 ควรเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ( chronic ) กลุ่มเสี่ยง ( high risk ) หรือกลุ่มโรคเฉียบพลัน ( acute ) เพื่อการจัดบริการพยาบาลเชิงรุก
3.3.4 สถานบริการควรประกอบด้วยทีมงานขนาดเล็กที่มีความรู้ ความสามารถหลายด้าน
( small polyalent team ) เพื่อให้บริการแบบผสมผสานได้และคล่องตัว
3.3.5 ผู้ให้บริการควรได้รับการอบรมให้มีความรู้ เจตคติ และความชำนาญในการให้บริการตามมาตรฐานงานที่กำหนด ( trained personnel ) อาจเป็นระดับวิชาชีพ ( professional ) เช่นพยาบาลเวชปฏิบัติ หรืออาจเป็นระดับผู้ช่วย ( auxiliary ) ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่
3.3.6 ชุมชนควรมีส่วนร่วม ( community participation ) ในการจัดบริการของศูนย์บริการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเตรียมการอันจะทำให้ชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ
และจะให้การสนับสนุนศูนย์บริการสาธารณสุขอย่างเข้มแข็ง อีกทั้งทำให้การบริการของศูนย์บริการสาธารณสุขสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้อย่างแท้จริง
3.3.7 การจัดสรรทรัพยากร ( resources allocation ) ควรดำเนินการอย่างเป็นระบบและสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งผู้ให้บริการควรมีอำนาจในการจัดการได้ระดับหนึ่ง ( autonomy )
3.4 การติดตามและประเมินผลการให้บริการ ควรครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
3.4.1 ความสามารถในการเข้าถึงบริการ ( accessibility ) ได้แก่การประเมิน Utilization rate ลักษณะของผู้มารับบริการจำแนกตามพื้นที่ อายุ และเศรษฐฐานะ
3.4.2 การยอมรับในการบริการ ( acceptability ) สามารถวัดได้จากความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อบริการที่ได้รับ
3.4.3 ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของบริการ ( effectiveness and efficiency ) สามารถวัดได้จาก
ก. ความครอบคลุมของบริการ ( coverage of service) ทั้งด้านการรักษา
พยาบาล และการส่งเสริมป้องกัน
ข. ความต่อเนื่องของการให้บริการและให้การดูแล ( continuity of services and care ) ได้แก่ การประเมิน regularity ของผู้ป่วยเรื้อรัง ความต่อเนื่องของการมารับบริการฉีดวัคซีน และการบริการส่งเสริมสุขภาพอื่น ๆ
ค. การประเมินคุณภาพการให้บริการแบบองค์รวม ( holistic care ) ได้แก่ การจัดระบบข้อมูลที่เอื้ออำนวย พฤติกรรมของผู้ให้บริการ การติดตามเยี่ยมบ้าน
ง. คุณภาพทางด้านเทคนิคการให้บริการ
จ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดบริการและการให้บริการ
4. ต้องมีความเชื่อมโยงอันดีระหว่างสถานบริการทั้งด้านการส่งต่อผู้ป่วยและข้อมูลข่าวสาร ( no obstacle in referral system )
องค์ประกอบของการบริการสาธารณสุขแบบบูรณาการ
การจัดบริการสาธารณสุขแบบบูรณาการให้มีการกระจาย และครอบคลุมประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบนั้น ควรมีองค์ประกอบที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติดังนี้
1. การส่งเสริมสุขภาพ ( promotive ) คือบริการที่ให้กับประชาชนทุกเพศ ทุกวัยตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงวัยชรา เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ แข็งแรงทั้งสภาพทางกาย จิตใจ และสังคม โดยเริ่มจากการให้บริการแก่ประชาชนที่อยู่ในภาวะปกติ หรืออยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรค หรืออยู่ในภาวะที่เป็นโรคก็ได้ ซึ่งบริการเหล่านี้ได้แก่
1.1 การวางแผนครอบครัว เป็นบริการวางแผนครอบครัวแก่กลุ่มเป้าหมายหญิงชายวัยเจริญพันธ์ ด้วยวิธีการให้ความรู้ และให้บริการวางแผนครอบครัว ซึ่งควรจัดบริการนี้ควบคู่กับการให้บริการอนามัยแม่และเด็ก
1.2 การอนามัยแม่และเด็ก เป็นบริการส่งเสริมสุขภาพโดยการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด ทารก และเด็กวัยก่อนเรียนเพื่อให้มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์
1.3 โครงการโภชนาการเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และเพียงพอกับความต้องการของร่างกายอันจะทำให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง โดยการให้โภชนศึกษา เฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชาการ
1.4 การอนามัยโรงเรียน เป็นบริการส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียนให้มีภาวะสุขภาพปกติ ปราศจากโรคที่จะอุปสรรคต่อการเรียนและการเจริญเติบโตตามวัยด้วยการให้ความรู้เพื่อปลูกฝังค่านิยมในการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ และให้บริการอนามัยโรงเรียน
1.5 การสุขศึกษา เพื่อให้เกิดความครอบคลุมทุกงานจึงสามารถแบ่งงานให้สุขศึกษาได้ 3 ประการคือสุขศึกษาในชุมชน สุขศึกษาในโรงเรียน และสุขศึกษาในศูนย์บริการสาธารณสุข
1.6 การทันตสาธารณสุข เป็นบริการส่งเสริมสุขภาพมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพปากและฟันโดย
การให้ทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป และสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะคือเด็กระดับประถมศึกษาจะจัด
บริการดูแลทันตสุขภาพแบบเพิ่มทวี ( incremental dental care) ด้วยการให้ทันตสุขศึกษาในโรงเรียน
เพื่อให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดี สามารถระวังรักษาทันตสุขภาพของตนเองได้ และให้บริการทันตกรรมป้องกันโดยใช้น้ำยาฟลูออไรด์อมบ้วนปาก
2. การป้องกันโรค ( preventive ) คือบริการที่ให้กับประชาชนที่อยู่ในภาวะปกติ ไม่ได้เจ็บป่วยจึงจำเป็นต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ และกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสนใจเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการมีสุขภาพดีซึ่งระดับของการป้องกันโรคสามารถแบ่งได้ 3 ระดับดังนี้
? การป้องกันระดับที่ 1 ( primary prevention ) เป็นการป้องกันระยะแรกซึ่งสำคัญมากเนื่องจากเป็นการป้องกันในขณะที่ยังไม่เกิดโรค
? การป้องกันระดับที่ 2 ( secondary prevention ) เป็นการป้องกันในขณะที่เริ่มมีอาการ
ของโรค ซึ่งสามารถเรียกระยะนี้ว่า early diagnosis and treatment เพื่อป้องกันไม่ให้โรคนั้นมีการแพร่
กระจายออกไป
? การป้องกันระดับที่ 3 ( tertiary prevention ) เป็นการป้องกันในขณะที่เป็นโรคเพื่อไม่ให้โรคระบาดแพร่กระจายไปยังผู้อื่น
วิธีการดำเนินงานป้องการและควบคุมโรค
2.1 การป้องกันโรคติดต่อต่างๆ โดยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ 2.2 การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ให้ประชาชนบริโภค การกำจัด
ของเสียและพาหะนำโรค และการบริการอาชีวอนามัยเพื่อป้องกันโรคภัยที่อาจเกิดจากการประกอบอาชีพ
2.3 การเฝ้าระวังโรค ได้แก่การรายงานการเกิดโรค การรวบรวมวัสดุส่งตรวจหาเชื้อ การติดตาม
ศึกษาสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค การรายงานโรค และสถานการณ์ของโรคแก่หน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง การติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโรคระบาดทั้งในและนอกประเทศอย่างสม่ำเสมอ
3. การรักษาพยาบาล ( curative ) เป็นการให้บริการในลักษณะดังนี้
3.1 จัดบริการด้านการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมประชากรในพื้นที่ทั้งในสถานบริการ และในชุมชน
3.2 จัดให้มีระบบการรับ – ส่งต่อผู้ป่วย เพื่อการรักษาที่ถูกต้องทุกระดับ มีการประสานงานด้านการรักษาเพื่อการติดตามผลการตรวจวินิจฉัย การรักษา และผลการรักษาผู้ป่วยที่ส่งต่อมา
4. การฟื้นฟูสภาพผู้รับบริการ ( rehabilitative ) เป็นบริการที่จัดเพื่อการฟื้นฟูสภาพทางร่างกาย และจิตใจภายหลังการป่วย ให้กลับเข้าสู่ภาวะสภาพปกติหรือใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ให้ผู้รับบริการสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ซึ่งวิธีการให้บริการโดยการทำกายภาพบำบัด และการให้คำปรึกษาแนะนำ
การจัดบริการสาธารณสุขแบบบูรณาการของศูนย์บริการสาธารณสุข
การจัดบริการสาธารณสุขแบบบบูรณาการของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนายาบาลในสถานที่และในชุมชนให้มีความต่อเนื่องของการดูแล ที่รวมถึงการส่งต่อเมื่อผู้รับบริการมีความจำเป็นต้องรับการรักษาต่อในโรงพมัย ควรจัดให้มี
ความครอบคลุม ผสมผสานการให้บริการสุขภาพทั้ง 4 มิติ ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ อีกทั้งต้องจัดบริการให้มีความเชื่อมโยงการให้บริการพยาบาลตามเงื่อนไขของการส่งต่อ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำหลักการของ กระบวนการพยาบาล หรือการแก้ปัญหาตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ มาเป็นพื้นฐานของกระบวนการค้นหาปัญหาของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและสัมฤทธิ์ผล

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

โสภา 18 ก.ค. 53 เวลา 02:17 น. 1

ข้อความนี้เป็นประโยชน์มากค่ะ
แต่อยากเพิ่มเติมอีก
เพราะตอนนี้กำลังทำรายงานเรื่องบทบาทหน้าที่พยาบาล
ในแต่ละระดับว่าทำรัยบ้างใน4มิติ
ขอบคุนนะค่ะ...แต่ก็ต้องการที่สมบูรณ์ค่ะ
พอจะได้มัยค่ะ
ต้องรีบทำรายงานค่ะ
ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นรัยค่ะ

0