Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สมัยก่อนคนไทยแต่งชุดดำไปงานศพหรือเปล่า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
การแต่งกายของคนไทยที่ไปงานศพ ยังไม่พบหลักฐานว่าในสมัยโบราณกำหนดไว้อย่างไร ขนบประเพณีแต่ละท้องถิ่นก็ต่างกัน เช่นทางภาคอีสาน ถ้าผู้ตายเป็นคนมีอายุเป็นที่เคารพนับถือ คนที่ไว้ทุกข์ให้ต้องโกนหัวนุ่งขาว ถ้าผู้ตายเป็นลูกหลายมีอายุน้อยก็ไม่ต้องไว้ทุกข์ ความจริงคนแต่ก่อนก็ไม่ได้นุ่งห่มสีฉูดฉาดอะไร ส่วนมากก็เป็นสีคล้ำ เคยเห็นคนไปงานศพตามชนบทเมื่อ 50 – 60 ปีมาแล้วก็แต่งกันตามธรรมดา มีอย่างไรก็แต่งอย่างนั้น เพราะเสื้อผ้าไม่ได้มีมากชุด

 ในหนังสือ “บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ” สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “เรื่องไว้ทุกข์ของเรา เป็นเรื่องสับปลับยากใจเป็นที่สุด เอาอะไรแน่ไม่ได้เลย ถ้าสังเกตแบ่งก็แบ่งได้เป็นสองทาง คือไว้เฉพาะแต่ไปเข้างานศพทางหนึ่ง กับไว้ประจำวันอีกทางหนึ่ง การไว้ไปเข้างานศพก็คือนุ่งขาวนุ่งดำ เข้าใจว่าเราจำเขามา นุ่งขาวพูดกันว่าเอาอย่างจีน แต่ถามพวกจีนเขาก็ว่า เขาไม่ได้นุ่งขาว ตกลงจะมาแต่ไหนก็ไม่ทราบ แต่นุ่งดำนั้นจำฝรั่งมาแน่ และเป็นแน่ว่าเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 5 ด้วย ที่นุ่งสีกุหร่า สีนกพิราบ และสีน้ำเงินอะไรเหล่านี้ เชื่อว่าเป็นของเราคิดขึ้นเอง เพื่อจะเดินให้เป็นสายกลาง แต่ฉันไม่เล่นด้วย เห็นว่าแต่งขาว แต่งดำเท่านั้นก็ลำบากพออยู่แล้ว ไฉนจะไปรับเอาอย่างอื่นมาพอกให้ลำบากยิ่งขึ้นอีกเล่า เดิมทีเราเห็นจะไม่ได้แต่งไว้ทุกข์กัน เพราะเคยเห็นพระเมรุใหญ่ๆ แต่ก่อนมา นุ่งสมปักลายสีต่างๆ คาดเสื้อครุยกันทั้งนั้น”

การแต่งชุดดำเพิ่งมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วในปัจจุบันก็กลายเป็นประเพณีการแต่งกายไปงานศพของชาวไทยเราไปเรียบร้อยแล้ว

แสดงความคิดเห็น

>

38 ความคิดเห็น

amelia moedoerex 9 ส.ค. 50 เวลา 21:40 น. 1

ขอบคุณสำหรับความรู้ขอรับ


PS.  บางสิ่งบางอย่างต้องการ"กรอบ"แต่มิใช้ทุกสิ่ง สิ่งที่ควรให้กรอบมากที่สุดคือ"การกระทำ" แต่จงอย่าให้"ความคิด"ถูกจำกัดด้วยกรอบ
0
ken_potter 10 ส.ค. 50 เวลา 22:41 น. 3
สาส์นสมเด็จ  ฉบับลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๔๘๐

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทูล  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์

มีเรื่องที่หม่อมฉันทูลผัดไว้อีกเรื่อง ๑ คือที่ตรัสถามถึงหลักการนุ่งขาวนุ่งดำดำและสีกุหร่าในงานศพนั้น  หม่อมฉันคิดใคร่ครวญดูตามที่เคยรู้เห็น  เห็นว่าการนุ่งขาวในงานศพน่าจะมีมาก่อนก่อนเก่าช้านาน  ข้อนี้พึงเห็นด้วยประเพณีนุ่งขาวในงานศพมีทุกประเทศทางตะวันออกนี้  ตั้งแต่อินเดียไปจนตลอดเมืองจีน  เมื่อคิดต่อไปว่าเหตุใดจึงนุ่งขาว  เห็นว่าผ้าขาวเป็นคั่นต้นของเครื่องนุ่งห่มที่ใช้กันในบ้านเมืองเป็นสามัญ  คือเอาฝ้ายอันธรรมชาติเป็นสีขาวมาปั่นทอเป็นผืนผ้า  จึงเป็นสีขาวนุ่งห่มกันเป็นปกติ  การนุ่งหแมด้วยสิ่งอื่น  เช่นใบไม้ก็ดี คากรองก็ดี เป็นของมีมาก่อนรู้จักทอผ้า  เป็นแต่คงนุ่งห่มตามแบบเดิมที่นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด  ก็เพื่อรักษาให้ผ้าทนทาน  เพราะอัตคัดผ้าขาวนุ่งห่ม  ต่อบุคคลที่มั่งมีศรีสุขหาผ้าขาวได้ง่าย  ปรารถนาจะแต่งตัวให้สวยงามกว่าเพื่อน จึงคิดทำผ้านุ่งห่มย้อมสีสรรเขียนลวดลายต่างๆเสมออย่างเป็นเครื่องประดับ  ตลอดจนทำเสื้อแสงปักลวดลายก็เพื่อให้สวยงามอย่างเป็นเครื่องประดับในทำนองเดียวกัน  ไม่แต่งในเวลามีทุกข์โศก  คงแต่ผ้าขาวที่นุ่งห่ม  นอกจากไว้ทุกข์ยังมีกรณีอื่นอีกหลายอย่างที่นุ่งขาวห่มขาว  แต่พิเคาระห์ดูก็อยู่ในการงดเครื่องประดับทั้งนั้น  จึงเห็นว่าการงดเว้นเครื่องประดับเป็นมูลของการนุ่งขาว  ที่ทูลนี้อาจจะเป็นความเห็นอย่างฟุ้งซ่าน เมื่อคิดขึ้นทูลตามความคิดเห็น

อนึ่งการนุ่งขาวในงานศพน่าสันนิษฐานว่าแต่เดิมเห็นจะนุ่งหมดทั้งครัวเรือน  ตั้งแต่พ่อแม่พี่น้องจนบ่าวไพร่ของผู้ตาย  แต่ต่อมาน่าจะเป็นเพราะเหตุใดยังคิดไม่เห็น  จึงดกำหนดให้นุ่งขาวที่อายุอ่อนกว่าผู้ตายกับบ่าวไพร่  ถึงกระนั้นถ้าผู้ใหญ่ในสกุลจะนุ่งขาวก็นุ่งได้ตามใจสมัคร  มีตัวอย่างในเมืองพม่าปรากฏว่าพระเจ้ามินดงทรงขาวในงานพระศพอัครมเหสีด้วยความอาลัย  แล้วเลยทรงขาวไว้ทุกข์ต่อมาจนตลอดพระชนมายุ  ในเมืองไทยนี้ก็มีตัวอย่างปรากฏในพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ ว่าเมื่องงานพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า กรมหลวงศรีสุนทรเทพใน พ.ศ. ๒๓๕๒  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ทรงพระภูษาลายพื้นขาวทุกวัน ดำรัสว่า "ลูกคนนี้รักมากต้องนุ่งขาวให้  เรื่องที่กล่าวมานี้ส่อให้เห็นว่าประเพณีในสมัยนั้น  การนุ่งขาวในงานศพ ไม่นุ่งแต่เฉพาะผู้ที่อ่อนกว่าผู้ตายอย่างเช่นถือกันในปัจจุบันนี้  และมีปัญหาน่าคิดต่อไปด้วยว่า  หากมิใช่งานศพเจ้านายซึ่งทรงเสน่หาเท่าเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพจะทรงพระภูษาสีไร  ข้อนี้มีเค้าเงื่อนปรากฏอยู่ในสมัยเมื่อผู้หญิงยังไม่แต่งดำในงานศพ  ผู้หญิงที่เป็นญาติชั้นผู้ใหญ่ย่อมนุ่งผ้าลายพื้นม่วง  ผู้หญิงที่มิใช่ญาตินุ่งผ้าลายสีน้ำเงิน  ห่มแพรสีขาวทั้ง ๒ พวก  ส่อให้เห็นว่าในงานศพสมัยรัชกาลที่ ๑  ญาติผู้ชายชั้นเป็นผู้ใหญ่ก็เห็นจะนุ่งผ้าสีม่วงหรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาดและคาดพุ่งสีขาว  ใช้ประเพณีเช่นนั้นมาจนรัชกาลที่ ๓

ถึงรัชกาลที่ ๔ มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเรื่องเครื่องแบบแต่งตัว  เริ่มด้วยให้ใส่เสื้อในการงาน  ปัญหาน่าจะเกิดขึ้นในสมันนี้  ว่าในงานศพควรจะใส่เสื้อสีใด  พวกชั้นที่นุ่งขาวต้องใส่สีขาวอยู่เองไม่มีปัญหา  เป็นปัญหาแต่ญาติชั้นผู้ใหญ่ที่นุ่งผ้าสีม่วงจะใส่เสื้อสีใด  จึงบัญญัติให้ใส่เสื้อสีแพรสีกุหร่า  ด้วยสีหม่นใกล้กับสีม่วง  ที่ทูลมานี้เป็นอธิบายตามคาดคะเน ด้วยเมื่อแต่งสีกุหร่ากันในรัชกาลที่ ๔ หม่อมฉันยังเด็กนักจำไม่ได้   แต่มีกรณีที่ได้เห็นเค้าเงื่อนครั้งหนึ่งเมื่องานพระเมรุสมเด็จพระนางสุนันทา ในรัชกาลที่ ๕  ในสมัยนั้นเจ้านายใช้ประเพณีทรงดำทรงขาวตามชั้นพระชันษาอยู่แล้ว  สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงปรารภถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ซึ่งเป็นหัวหน้าราชนิกุล  จะให้แต่งตัวอย่างเจ้าก็ไม่เข้าระเบียบ จะให้แต่งตัวอย่างขุนนางสามัญซึ่งนุ่งสมปักลายใส่เสื้อขาว(หรือเยียรบับหม่อมฉันจำไม่ได้แน่)ก็ทรงเกรงใจ  ดูเหมือนจะทรงปรึกษาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ เอาแบบแต่งสีกุหร่าอย่างแต่ก่อนมาใช้  มีรับสั่งให้ใส่เสื้อสีแก่ใกล้กับสีดำ  หม่อมฉันได้เห็นนุ่งสมปักลาย(ดูเหมือนสีม่วง)  ใส่เสื้อแพรสีน้ำตาลนั่งที่หน้าพลับพลาทุกวัน
0
~๐สุดสายป่าน_มะขามเปียก๐~ 11 ส.ค. 50 เวลา 08:01 น. 4

หุหุ...

แต่ว่าพระที่ไปสวดนะเจ้าคะ คนอื่นเค้าแต่งขาวแต่งดำกันหมด พระมาที่สว่างโล่งเลยเจ้าค่ะ ส้มแปร๊ดด

(นังป่านทะลึ่งและเมิง) ... 


PS.  จะผูกอสรพิษท่านให้ผูกด้วยมนตรา ผูกไอยราท่านให้ผูกด้วยสายบาศ แต่ถ้าจะผูกคนท่านให้ผูกด้วยสายใยแห่งไมตรีจิต ด้วยไม่มีความเหนียวแน่นใดๆจะทรงพลังเท่า ...
0
~.. - PokDengZ - ..~ 11 ส.ค. 50 เวลา 10:46 น. 5

เอ่อ คห. 4 เล่นพระเล่นเจ้ามันไม่ดีนะคร้าบ เด๋วนรกจะกินหัวเอา เหอะๆๆ ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ที่นำมาให้กันนะคร้าบบ


PS.   ไรอ่ะ!!!
0
บัวบาหลัน 11 ส.ค. 50 เวลา 16:47 น. 7

งืมๆ ขอบคุงค่ะ


PS.  ถ้าคนเราไม่กล้าที่จะเริ่มต้น...แล้วเรา..จะรู้จักปลายทางของถนนเส้นนั้นได้ยังไง พยายามเพื่อตนเอง....เพื่อคนที่เรารัก...คนที่รักเรา
0
มณีจันทร์ 12 ส.ค. 50 เวลา 01:04 น. 10

อ่านจากเรื่อง ทวิภพ อ่ะ
ถ้าเราอายุมากกว่าผู้ที่เสียชีวิต ให้แต่งดำ
แต่ถ้าเราอายุน้อยกว่าผู้ที่เสียชีวิตนั้น ให้แต่งขาว นะ

0
อ้น 12 ส.ค. 50 เวลา 22:00 น. 16

เราเคยอ่านหนังสือ เขาบอกว่า ประเพณีการใส่ชุดดำไปงานศพเป็นประเพณีที่รับรูปแบบมาจากชาติตะวันตก

0
puisemi 17 ส.ค. 50 เวลา 23:42 น. 20

ขอขอบคุนคร้า

สำหรับความรุ้ดีๆนะ


PS.  โหมด:อ้างว้าง /// ปากดี ขีเหงา เอาแต่ใจ
0