Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ความสำคัญของภาษาไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ภาษาไทยสำคัญแบบไหน ใครรู้บ้าง???

แสดงความคิดเห็น

>

21 ความคิดเห็น

จิรวรรณ 29 ส.ค. 50 เวลา 19:38 น. 2

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
&nbsp การดำเนินชีวิตประจำวันและในการประกอบอาชีพจะมีการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องราว ความรู้สึก ความนึกคิด ความต้องการของแต่ละฝ่าย ซึ่งได้แก่ผู้ส่งสาร ซึ่งจะส่งสารโดยแสดงพฤติกรรมในรูปของการพูด การเขียน หรือแสดงด้วยท่าทาง ส่วนผู้รับสารจะรับสารด้วยการฟัง การดู หรือการอ่าน แต่ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารหรือรับสารก็ตาม เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เป็นสะพานเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันคือ ภาษา

0
น้ำทิพย์ 29 ส.ค. 50 เวลา 19:41 น. 3

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้
&nbsp &nbsp บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์ สะสม อนุรักษ์และถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมให้เป็นมรดกของชาติโดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ คนรุ่นหลังจึงใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการศึกษาแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ และรับสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ทั้งการพัฒนาสติปัญญา กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดความรู้และประสบการณ์ที่งอกงาม กลายเป็นผู้ที่มีชีวทัศน์และโลกทัศน์ที่สอดคล้องกับยุคสมัย สามารถติดตามความเจริญก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ จึงรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกปัจจุบัน ซึ่งนำมาพัฒนาประเทศชาติได้อย่างดี

0
กฤษดาพร 29 ส.ค. 50 เวลา 19:43 น. 4

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
&nbsp ในประเทศไทยนอกจากจะมีภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาษาประจำชาติแล้ว เรายังมีภาษาถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นภาษาที่ติดต่อกันเฉพาะในกลุ่ม และเมื่อกำหนดให้ภาษาไทยกลางเป็นภาษามาตรฐานเป็นภาษาที่ใช้ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเข้าใจตรงกันทั้งในการศึกษา ในทางราชการ และในสื่อสารมวลชน การใช้ภาษาไทยกลางช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันในสังคมไทยโดยส่วนรวม

0
พิมล 29 ส.ค. 50 เวลา 19:47 น. 5

&nbsp &nbsp  เป็นเครื่องมือในการบันทึกและถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของบรรพบุรุษในรูปของวรรณคดีและวรรณกรรม
การอ่านและการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมแต่ละสมัย ทำให้ชนรุ่นหลังรับรู้และเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้แต่ง เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ เข้าใจเหตุการณ์ เข้าใจลักษณะสังคม และสังคมของผู้คนในสมัยนั้นๆ

0
ยัยแก่ 29 ส.ค. 50 เวลา 22:35 น. 6

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบ่งบอกถึงความเป็นชาติไทย   เรายังอยากเรียนรู้ภาษาเกาหลีของพระเจ้าเซจง  อยากเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นที่มีตัวอักษรถึงสามแบบ  อยากรู้ภาษาจีนที่มีถึงกว่าสามพันคำให้ท่อง  แต่ก็อย่าลืมอักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ช่วยกันรักษาภาษาไทยที่ถูกต้องและไพเราะกันเอาไว้เถิดลูกหลานเอ๋ย
รูปแบบของภาษาย่อมต้องมีวิวัฒนาการ เช่น  สมัยเจ้าคุณปู่เขียนคำว่า "เป็น" ว่า "เปน"
แต่ถ้าจะเขียนคำว่า "กลับ"เป็น "กับ" หรือ "รองเท้า"เป็น"ลองเท้า"อย่างนี้รับไม่ได้ฮ่ะ มันไม่ใช่วิวัฒนาการแต่เป็นการอ่อนด้อยความรู้ สะกดผิดสะกดถูก  บางทีกว่าจะอ่านจบต้องแปลไทยเป็นไทย  เหมือนนั่งถอดรหัสลับดาวินซียังไงยังงั้นเลย
วันนี้บ่นพอแล้ว  ขอบคุณค่ะที่เปิดช่องให้  ฮิฮิ

0
fuchingi jikara 30 ส.ค. 50 เวลา 00:15 น. 7

คุณ ค.ห.6 พูดเหมือนจารย์ที่โรงเรียนเลยอ่ะ


PS.  ความรักไม่มีวันตาย มันจะทำให้เรามีความสุขตลอดไป แม้จะโดนหักอกแต่ก็จะจำช่วงเวลาดีๆไปตลอดกาล เข้ามาอ่านนิยายเราบ้างเน้อ ช่วงนี้เงียบเหงาชักกล - -"
0
กัปปะ.บึงปิศาจ 30 ส.ค. 50 เวลา 03:46 น. 8

ถึงความเห็นที่ หก
&nbsp &nbsp แล้วอย่างเขียนคำว่า นาที เป็น นาฑี การเมืองเป็น กานเมือง เทคนิค เป็น เฑคนิก นี่เรียกว่าอ่อนด้อยทางภาษาด้วยหรือไม่ นิยามตรงไหนครับว่า "นี่คือความอ่อนด้อย" หรือ "นี่คือวิวัฒนาการทางภาษา"
&nbsp &nbsp พจนานุกรมเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อยุคกลางนี่เอง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าก่อนนั้นมนุษย์แทบจะสะกดคำคำเดียวกันไม่เหมือนกันเลย สะกดตามมีตามเกิดตามที่กรอบสังคมสอนสั่งกันไป
&nbsp &nbsp ก็ที่ทำให้มนุษย์สะกดคำอย่างเดียวกันจะใช่อะไรอื่นถ้าไม่ใช่พจนานุกรม
&nbsp &nbsp แล้วใครเขียนพจนานุกรม
&nbsp &nbsp คนกลุ่มหนึ่งไงครับ นักภาษาศาสตร์ไง
&nbsp &nbsp ดังนั้นพอเอาเข้าจริง การเปลี่ยนแปลงทางภาษาถ้าไม่ใช่นักภาษาศาสตร์เขียนลงพจนานุกรมเราก็ตีความว่า "อ่อนด้อยทางภาษา" เช่นนั้นหรือ ผมไม่เห็นว่าการเปลี่ยนการสะกดคำจากเดิมเช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง จะต่างจากที่คุณตราหน้าว่าอ่อนด้อยทางภาษาอย่างไรเลย "มะ" มีความหมายว่าอะไร เมื่อเป็นคำโดด "หมาก" มีความหมายนะครับ อนึ่งผมเป็นคนที่สนับสนุนให้สะกดคำไทยถูกต้องเวลาใช้ แต่ผมก็มีความสงสัยอยู่ ว่าระหว่าง "ความอ่อนด้อยทางภาษา" กับ "วิวัฒนาการทางภาษา" มีเส้นกั้นแบ่งจากกันอย่างไร

0
ยัยแก่ 16 ก.ย. 50 เวลา 22:34 น. 9

ตอบ คห.7   ไม่ได้เป็นคุณครูหรอกนะคะ ความรู้ไม่ถึงขั้นที่จะเป็นคุณครู
ตอบ คห.8   ขอบคุณนะคะสำหรับความคิดเห็น  เนื่องจากดิฉันไม่ใช่ผู้ที่เรียนเอกภาษาไทย เพียงแต่
เป็นคนหนึ่งที่ใช้ภาษาไทยมาตั้งแต่เกิด  คุณปู่เป็นคนไทยสมัยร.5 ท่านเป็นผู้ที่ต้องใช้ภาษาในการเขียนสำนวนคดีความต่างๆ  ทำให้ดิฉันได้เห็นเอกสารเก่าๆบ้างสมัยที่ยังเป็นเด็ก
ในความคิดของดิฉัน ความอ่อนด้อยทางภาษาก็คือ การไม่รู้หรือไม่ใส่ใจว่าในขณะนั้น  เขาใช้ภาษากันอย่างไรแต่ละคำสะกดอย่างไร  เหมือนกับคุณครูให้เขียนตามคำบอกแต่นึกไม่ออกว่าคำนั้นสะกดอย่างไร ก็เขียนส่งไปผิดๆ   ลองคิดดูว่าภาษาลาว เขาจะใช้ภาษาที่ตรงๆ เราฟังดูก็รู้สึกว่าเขาซื่อๆดี
น่ารักและเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของเขา  แต่ภาษาไทยมีการนำคำบาลีและสันสกฤตมาใช้ร่วมด้วย
เช่น  ถ้าลูกน้องคุณเขียนรายงานมาแล้วสะกดคำว่า ให้ เป็น หัย คุณจะให้เขาเอากลับไปแก้หรือคุณจะส่งไปทั้งอย่างนั้น แถมเจ้าตัวยังบอกอีกว่าพี่ไปอยู่ที่ไหนมา  เขาสะกดแบบนี้กันทั้งนั้น  เวลาคุณใช้ภาษาต่างประเทศ คุณก็ต้องยึดตามDictionary ภาษาไทยเราก็ต้องยึดตามพจนานุกรมฯ มิฉะนั้นใครใคร่จะใช้แบบไหนก็ใช้  มันก็ไม่ย่งเหยิงไปหมดหรือคะ   ไม่อย่างนั้นเวลาที่คุณครูสอนเด็กเล็กๆเขียนหนังสือ  คุณจะให้คุณครูบอกว่า เด็กๆขาคุณครูจะอ่านคำให้ฟังแล้วเด็กอยากเขียนแบบไหนก็เขียนมา
จะสะกดแบบไหนครูก็ต้องให้ถูกทั้งหมด อย่างนั้นหรือคะ  คำว่า หัย อาจจะเป็นคำที่ใช้ในยุคก่อนที่จะมาเป็น ให้ ก็ได้  อันนี้ก็ต้องถามท่านผู้รู้  
อย่าใช้คำว่า "ตราหน้า" เลยนะคะ  มันไม่สุภาพ 
สรุป ในความหมายของดิฉันก็คือ  สะกดผิดนั่นแหละ  นิยามส่วนตัวของความอ่อนด้อยทางภาษา
รวมทั้งอ่านจับใจความไม่เป็น  ย่อความไม่ได้  เรียงความยิ่งแล้วใหญ่  
บางที่เขาเขียนย่อกันซะอ่านไม่รู้เรื่อง  ถ้าย่อแล้ว รู้ว่าที่ถูกเขียนอย่างไรก็ไม่เป็นไร  แต่สะกดผิดนี่
ช่วยๆกันหน่อยเถอะนะคะ  คำว่า  หมากม่วง  เป็นมะม่วง เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงคำนี้จะต้องมีเหตุผลเขียนเอาไว้  แหม  จบเอกภาษาไทยมาก็ดีสิ
การอยู่รวมกันเป็นสังคม  ก็ต้องมีการขีดกรอบเอาไว้บ้าง  ขนาดในบ้านเองยังต้องมีกฎระเบียบเลย
ตึงไปก็ขาด  หย่อนไปก็เน่า  เอาพอดีๆแล้วกัน
ขอบคุณค่ะ

0
รักภาษาไทย 13 พ.ย. 51 เวลา 21:33 น. 12

เห็นด้วย เพราะเราใช้ทุกวันทั้งภาษาพูดหรือภาษาเขียนก็เป็นภาษาประจำชาติของเรา ควรภูมิใจในภาษาไทยหันมาช่วยกันอนุรักษ์ภาษาไทย
อย่าเอาไปแฝงภาษาอื่นๆ แค่ภาษาไทยบางคนเขียนอ่านยังไม่ถูกเลย เดี๋ยวนี้ภาษาไทยเริ่มจะวิบัติแล้วยิ่งภาษาวัยรุ่นที่เขียนกันอย่างขี้เกียจ
ตัดคำทิ้งให้สั้นลงก็ทำลายภาษาไทยสิ้นเชิง พ่อขุนรามคำแหงเขาคิดภาษาไทยสระ พยัญชนะทั้ง ๔๔ ตัว ให้เป็นภาษาไทยประจำชาติ
ใยจึงต้องทำลาย

0
คนรักภาษาไทย 13 พ.ย. 51 เวลา 21:45 น. 13

ขอระบายต่ออีกนิดนะ

สงสัยว่าทำไมจึงไม่ค่อยใช้ ฤ ฆ ฏ ฎ ฑ ฌ ฃ

ที่สำคัญ ฅ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ฅ ฅน&nbsp 

เหตุใดปัจจุบัน ฅน ถึงได้กลายเป็น คน

จาก ฅน เป็น ควาย กันหมด แค่เพิ่มหยักเดียวแค่นั้น

บรรพบุรุษสร้างมาให้แท้ กลับละทิ้งของเขา

เนรคุณกันจริงๆ เลย

0
เเตงกวา 19 ก.ค. 53 เวลา 19:43 น. 14

คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาลเเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติ เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทยแต่ถ้าคนไทยเราเองไม่คิดที่จะหวงแหนภาษาประจำชาติของเราไว้แล้วใครละที่จะรักษาภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้ให้สืบสานแก่รุ่นหลังหากแต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างมาก ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ถูกต้อง อีกทั้งวัยรุ่นกลับมองว่าการใช้ภาษาที่ผิดกลายเป็นเรื่องของแฟชั่นที่ใคร ๆ ก็ทำกันทำให้เกิดภาษาใหม่ที่เป็นที่แพร่หลายบนโลกอินเตอร์เน็ตหรือเรียกว่าภาษาแชท ขึ้นเช่น หวัดดี-สวัสดี และถ้าหากคนในสังคมไทยยังคงใช้ภาษาไทย เขียนภาษาไทยแบบผิดๆ ถ้าคิดอีกแง่มุมหนึ่ง การที่ภาษาไทย 1คำ สามารถเขียนได้หลายแบบ เพราะภาษาไทยมี พยัญชนะที่ออกเสียงเหมือน ๆ กัน มีสระที่เสียงคล้าย ๆ กัน จึงทำให้สามารถเขียนออกมาได้หลายแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาไทยนั้นสามารถดัดแปลง เปลี่ยนแปลงคำได้หลากหลาย โดยที่ความหมายเหมือนเดิม แต่ลักษณะการเขียนผิดออกไป และไม่คิดใส่ใจที่จะใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ต่อไปอาจทำให้เกิดความเคยชินจนติดนำมาใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน จนทำให้ภาษาไทยที่เป็นรากเหง้าของคนไทย ความภาคภูมิใจในภาษาที่บรรพบุรุษคิดค้นขึ้นมา ภาษาที่มีความสวยงาม ก็คงต้องเลือนหายไป ในเมื่อการใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องแล้ว เลยทำให้การอ่านและการเขียนผิดเพี้ยนไปด้วย รูปแบบของภาษาย่อมต้องมีวิวัฒนาการ เช่น เขียนคำว่า "เป็น" ว่า "เปน"แต่ถ้าจะเขียนคำว่า "กลับ"เป็น "กับ" หรือ "รองเท้า"เป็น"ลองเท้า" หากเรายังอ่านเขียนและใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เราจะเผยแพร่วัฒนธรรมอันล้ำค่านี้ ให้กับชาติอื่นได้ไม่ถูกต้อง และในปัจจุบันโลกอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งที่เผยแพร่คำภาษาต่างประเทศ คนไทยที่ใช้ส่วนใหญ่ก็นำภาษาต่างประเทศมาใช้แทนการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆ

0
fon 30 ก.ค. 53 เวลา 15:26 น. 15

คนไทยเราชั่งโชดดีที่มีภาาาเป็นของตนเองเพราะบางคนล้วนเเต่ใช้ภาาาอื่นหมดเพราะมันดุเท่ดก้เก๋ดีเเต่ไม่เลยเพราะนั้นไม่ใช้ภาาาของเราเลยคะ

0
malemelon 5 ก.ค. 61 เวลา 18:58 น. 20

คห.15 คุณยังเขียนคำผิดๆถูกๆเลย แล้วคุณจะมาเตือนคนอื่นได้อย่างไรกัน

ปล.ถ้าคำใน dek-d นี้อนุญาต เพราะมันไม่รองรับตัวอักษรชั้นที่ 3ไม่ได้ เช่นคำว่า กั้น มั่น เป็นต้น

0