Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ปัญหาการใช้ความรุนแรงของเด็ก แก้อย่างไร?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ปัญหาการใช้ความรุนแรงของเด็ก แก้อย่างไร?

โดย สายพิน แก้วงามประเสริฐ



ข่าวคราวเกี่ยวกับปัญหาการใช้ความรุนแรงของเด็กมีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งปรากฏในคลิปวิดีโอก่อนหน้านี้ หรือแม้แต่กรณีมาม่า และล่าสุดกรณีรุ่นพี่รุมตบตีรุ่นน้องอย่างทารุณผิดมนุษย์มนาของความเป็นเด็ก พร้อมทั้งถ่ายคลิปวิดีโอหวังเผยแพร่ประจานคนที่ถูกรุมตบตีให้ได้อาย โดยขาดจิตสำนึก มองไม่เห็น แยกแยะไม่ออก ว่าสิ่งใดเป็นความดี ความชั่ว

ถึงเวลาหรือยังที่จะต้องพิจารณาว่า เพราะเหตุใดปัญหาการตบตีแบบ "หมาหมู่" จึงพบเห็นบ่อยๆ ในกลุ่มเด็กผู้หญิง รวมทั้งการใช้ความรุนแรงของเด็ก

ใครควรจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการเยียวยาแก้ไขได้บ้าง

บุคคลกลุ่มแรกที่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบน่าจะ เป็นครอบครัว เชื่อว่าเด็กที่ถูกอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี มี

จิตใจอ่อนโยน มีเมตตาต่อผู้อื่น ย่อมไม่น่าจะมีนิสัยก้าว ร้าวนิยมการใช้ความรุนแรง

การที่เด็กจะมีนิสัยอ่อนโยน หรือมีพฤติกรรมที่จัดว่าเป็นคนดีได้ น่าจะเกิดจากการให้ความรักของพ่อแม่ในทางที่ถูกที่ควร และรู้จักอบรมให้ลูกสามารถแยกแยะผิดถูก ชั่วดีได้ ซึ่งจะพบว่าพ่อแม่จำนวนไม่น้อยไม่มีเวลาให้กับลูก เพราะต้องทำมาหากินตามภาวะเศรษฐกิจ ไม่มีเวลาใกล้ชิดลูกเพียงพอ เมื่อมีวิกฤตใดๆ เกิดขึ้นกับลูก พ่อแม่บางส่วนมักมีโอกาสแสดงความรักต่อลูก ด้วยการออกมาปกป้อง ทั้งที่ลูกของตนเองเป็นฝ่ายผิดก็ตาม แม้ว่าการปกป้องลูกเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ แต่หากปกป้องในทางที่ผิด ก็เหมือนซ้ำเติมลูกเข้าไปอีก

การปกป้องลูกของพ่อแม่ในทางที่ผิด บางครั้งที่ไม่เป็นข่าว มักพบเห็นตามโรงเรียน เวลานักเรียนทะเลาะวิวาทตบตีกัน พ่อแม่บางคนเข้าข้างลูกของตนเอง โดยมิได้สนใจสาเหตุ หากครูดำเนินการใดๆ แค่การว่ากล่าวตักเตือน ก็อาจกลับมาเล่นงานครูอีก โดยที่ไม่ได้พิจารณาพฤติกรรมของลูก การกระทำแบบนี้ของพ่อแม่ เข้าข่ายพฤติกรรมที่เรียกว่า "พ่อแม่รังแกฉัน"

ในส่วนนี้จะเรียกร้องอย่างไร ให้พ่อแม่รักลูกให้ถูกทาง และรู้จักการแสดงความรักต่อลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม หรือจะเรียกร้องให้ใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อให้พ่อแม่คอยสอดส่องพฤติกรรมและดูแลลูกอย่างใกล้ชิดมากกว่านี้?

บุคคลกลุ่มที่ 2 คงหนีไม่พ้น ครู อาจารย์ ในโรงเรียนต้อง คอยสอดส่องดูแลพฤติกรรมนักเรียนของตนอย่างใกล้ชิด

โดยเฉพาะพฤติกรรมในโรงเรียน แต่ปัญหาที่ทำให้ครูยังทำได้ไม่เต็มที่ เกิดจากเหตุผลสัก 2-3 ข้อ เป็นปัญหาที่ครูพากันปวดหัว นอกจากต้องสอนมาก มีการบ้านตรวจมากแล้ว การปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้ครูมีงานสุมหัวมากมาย ทั้งการประชุมเพื่อติดตามเรื่องนั้นเรื่องนี้ จากฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ การเก็บข้อมูล การกรอกเอกสารที่ไม่มีวันจะเสร็จสิ้น

การที่ภารกิจของครูที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับการสอนโดยตรงมีมากเกินไป ได้แย่งเวลาที่ครูที่ปรึกษาควรจะใช้สอดส่องพฤติกรรมของเด็ก

อีกทั้งระเบียบของกระทรวงศึกษาว่าด้วยการลงโทษนักเรียนที่ห้ามลงโทษด้วยการตี แล้วให้ว่ากล่าวตักเตือนไปจนถึงลงโทษให้ประกอบกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ทำทัณฑ์บน สั่งพักการเรียน แต่ไม่มีสิทธิไล่ออก อย่างมากก็เชิญออกจากสถาบันการศึกษานี้ แล้วหาที่เรียนให้ในสถาบันการศึกษาใหม่ ซึ่งจะพบว่าไม่ใช่การแก้ปัญหาพฤติกรรมของเด็ก เพียงแต่เปลี่ยนสถานที่ที่เกิดปัญหาจากโรงเรียนหนึ่งไปอีกโรงเรียนหนึ่งเท่านั้น

มาตรการห้ามลงโทษด้วยการตี เป็นมาตรการที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนของเด็กอย่างมาก มากเสียจนแทบจะพบอยู่บ่อยๆ ว่า เด็กมีสิทธิมนุษยชนเหนือกว่าพ่อแม่ ด้วยการไม่ฟังแล้วยังแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เมื่อได้รับการอบรมสั่งสอนตักเตือนของพ่อแม่ แม้แต่ต่อหน้าครู อาจารย์ในโรงเรียนก็ตาม

เมื่อไม่ให้ครูใช้ไม้เรียว จึงต้องใช้มาตรการอบรมสั่งสอน ซึ่งผู้ออกกฎระเบียบเรื่องนี้ลืมไปว่า พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบคนเป็นบัว 4 เหล่า มีทั้งที่พ้นน้ำแล้ว และที่ยังอยู่ในโคลนตม เมื่อเป็นดังนี้ การใช้มาตรการว่ากล่าวตักเตือน หากเป็นเด็กที่เป็นบัวพ้นน้ำแล้ว จริงๆ ไม่ต้องว่ากล่าวตักเตือน แต่มองด้วยสายตาตำหนิ เด็กเหล่านี้ก็ไม่กล้าทำผิด

แต่หากเป็นเด็กที่เป็นประเภทบัวที่อยู่ในโคลนตม การว่ากล่าวตักเตือนนอกจากไม่เกิดผลใดๆ แล้ว ยังทำให้ครูเกิดความเบื่อหน่ายท้อถอย เพราะนอกจากวิธีนี้จะใช้ไม่ได้ผลแล้ว การที่ครูทำอะไรไม่ได้มาก ยังทำให้พฤติกรรมของเด็กที่ก้าวร้าวเกเรมีจำนวนขึ้นกว่าเดิม

หากกระทรวงศึกษาธิการไม่รื้อฟื้นการใช้ไม้เรียว เพียงเพราะเห็นว่าได้ผ่านช่วงเวลาในอดีตมาแล้ว เพราะเปรียบ "ไม้เรียว" เหมือนสัญลักษณ์ของความล้าหลัง กระทรวงศึกษาธิการก็ต้องหามาตรการให้ครูใช้กับเด็กเกเรได้มากกว่าการอบรมสั่งสอนเพียงอย่างเดียว

เพราะตอนนี้ครูเหนื่อยเหลือเกินกับการอบรมสั่งสอนแล้วไม่ค่อยเห็นผลอย่างที่หวัง ครั้นจะพากันเออร์ลี่รีไทร์ให้พ้นสภาพไป ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ

จากแนวคิดของคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เสนอแนวคิดจะตั้ง "โรงเรียนแบบกึ่งวิถี" หรือที่เรียกว่า "โรงเรียนดัดสันดาน" ในอดีตนั้น เพื่อส่งเด็กเกเรเหลือขอไปอบรมบ่มนิสัย ในกรณีที่ความผิดไม่ถึงขั้นต้องไปรับโทษในสถานพินิจ ซึ่งฟังเผินๆ ก็อาจจะดี ที่จะมีโรงเรียนประเภทนี้ขึ้นมา

แต่หากไปเปรียบเทียบกับทั้งเรือนจำและสถานพินิจ บางคนเข้าไปรับโทษพอกลับออกมาบางคนกลับมีวิทยายุทธ์มากขึ้นกว่าเดิม เช่น กลุ่มที่ขโมยรถยนต์ได้เป็น 10 คัน ก็ได้วิทยายุทธ์การไขกุญแจรถโดยใช้เวลาเพียงคันละ 5-10 นาที มาจากเรือนจำ

ถ้าส่งนักเรียนที่เกเร โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงเข้าไปในโรงเรียนดังกล่าวนี้ ปัญหาคือโรงเรียนจะสามารถ "ดัดสันดาน" (นิสัยอันไม่พึงประสงค์) ได้จริง?

ใครจะเป็นครูที่สอนในโรงเรียนนี้

หากสอนแล้วสามารถดัดนิสัยเด็กเหล่านี้ได้ ก็นำครูที่วชาญเหล่านี้มาประจำโรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีปัญหาหนักๆ ไม่ดีกว่า?

นอกจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ในโรงเรียนต้องมีหน้าที่ในการแก้ไขป้องปรามพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงของเด็กแล้ว ในส่วนของ สภาพแวดล้อมในสังคม ก็ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ด้วย สภาพแวดล้อมใกล้ตัวเด็ก ที่เด็กอาจจะเลียนแบบพฤติกรรมตัวละครในทีวี หรือภาพยนตร์ ใช่หรือไม่ เพราะชนวนที่มักจะนำไปสู่การทะเลาะตบตี โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงส่วนหนึ่งจะมีพฤติกรรมคล้ายๆ "ตัวอิจฉา" ในละครทีวี ไม่มากก็น้อย

ดังนั้น การเผยแพร่สื่อละครทางทีวี โดยไม่คิดถึงผลกระทบต่อสังคม ก็ย่อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมเช่นนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะสร้างละครที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่านี้ไม่ได้?

หน่วยงานต่อมาที่ต้องมีส่วนเข้ามาเยียวยาแก้ไข คือ กรมสุขภาพจิต น่าจะเข้ามาตรวจสอบสุขภาพจิตของเด็ก โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่ควรเป็นเพศที่อ่อนโยนมีเมตตา แต่กลับนิยมใช้ความรุนแรง เด็กเหล่านี้อาจจะมีปัญหาสุขภาพจิต ที่ต้องการการเยียวยาแก้ไข ดีกว่าปล่อยให้มีปัญหาทางจิตเพิ่มมากขึ้น จนยากจะแก้ไข และเป็นอันตรายต่อผู้คนในสังคมได้

ดังนั้น ปัญหาการใช้ความรุนแรงของเด็กและเยาวชน คงไม่ใช่ปัญหา "เด็กๆ" ที่ควรจะปล่อยปละละเลย หรือให้ความสนใจเฉพาะเวลามีข่าวคราวครึกโครม เหมือนคลื่นถาโถมเข้าฝั่งแล้วก็จางหายไป แต่เป็นปัญหาที่ผู้คนในสังคมควรให้ความเอาใจใส่อย่างจริงจัง และต้องระดมพลังความคิดกับหลายๆ หน่วยงาน หลายองค์กร เพื่อเยียวยาแก้ไขสังคม

ก่อนที่เด็กเหล่านี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไร้คุณธรรมในไม่ช้า

จาก มติชน หน้า 9


PS.  ความรักไม่มีวันตาย มันจะทำให้เรามีความสุขตลอดไป แม้จะโดนหักอกแต่ก็จะจำช่วงเวลาดีๆไปตลอดกาล เข้ามาอ่านนิยายเราบ้างเน้อ ช่วงนี้เงียบเหงาชักกล - -"

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

PenciL 30 ก.ย. 50 เวลา 14:37 น. 1

ข้อความซะยาวเรย-"-!!!

เราเห็นด้วยที่เด็กไทยควรได้รับการอบรมและรับความรักความอบอุ่นจากครอบครัว

555+แต่อย่างว่าแระคนเราที่แตกต่างกันก็เพราะสิ่งแวดล้อมและครอบครัว

ถึงแม้ครอบครัวดีแต่สิ่งแวดล้อมแย่ก็เสียป่าว

เราไม่เห็นด้วยเรยกับการหมาหมู่หรือตัวต่อตัว

มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมอง  ไม่ใช่สัตว์ที่อะไรก็ตีกันตบกัน

แล้วเค้าบอกว่าคนมีการศึกษาจะใช้สมองมากกว่ากำลัง!!!!

คุณว่าจริงมั๊ยล่ะ!!!!!!!!!!


PS.  คนเรามีเวลาเท่ากันคือ1วัน แต่คนเราใช้เวลา1วันนั้นไม่เท่ากัน ฐานะคนเราเลยต่างกัน ( พ่อสอนเรา จำไว้!!!!!! )
0
shine 1 ต.ค. 50 เวลา 19:54 น. 2

แงง โรงเรียนหนู หวดแหลก!!! ความโชคดีที่มีครูประจำชั้นเป็นกิจการนักเรียน

0