Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รำวงมาตรฐาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อยากทราบ"ประวัติรำวงมาตรฐาน"ค่ะ
- มีความเป็นมาอย่างไร
- มีกี่เพลง ได้แก่อะไรบ้าง
ช่วยตอบหน่อยนะคะ....ขอบคุณมากค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

17 ความคิดเห็น

yugi 2 พ.ย. 50 เวลา 23:46 น. 1

รำวงมาตรฐาน วิวัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียดพิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่
คำร้อง
จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย
คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ
ทำนอง
อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้วชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ
ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ
เครื่องดนตรี
เดิมนั้น รำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้ด้วย โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลง
การแต่งกาย
มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลายอย่าง เช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้านคือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ ขอให้เป็นแบบไทย ขอให้ดูสุภาพ งดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือ นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอพวงมาลัย แขนสั้น ผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทาน กางเกงขายาว ชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่เสื้อสูท ผูกเนคไทก็ได้

0
แนน 3 พ.ย. 50 เวลา 17:00 น. 2

ประวัติรำวงมาตรฐาน

รำวงเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวบ้านที่เล่นกัน เพื่อความสนุกสนานและความสามัคคีกัน รำวงนั้นแต่เดิมเรียกว่า ”รำโทน “ อันเป็นศิลปะที่เกิดจากพื้นบ้าน มีเครื่องดนตรีที่ใช้ ประกอบการรำโทนก็คือ โทน ฉิ่ง ฉาบ และกรับ ส่วนเพลงที่นิยมกันอย่างแพร่หลายก็คือเพลง

ไกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนหยาเหล เป็นต้น

ท่ารำของเพลงรำวงมาตรฐาน มีทั้งหมด 14 แม่ท่า (ที่เรียกว่าแม่ท่า เพราะเป็นชื่อเรียกท่ารำในแม่บท)

เพลงรำวงมาตรฐานมีทั้งหมด 10 เพลง

1. เพลงงามแสงเดือน(ท่าสอดสร้อยมาลา)

2. เพลงชาวไทย(ท่าชักแป้งผัดหน้า)

3. เพลงรำมาซิมารำ(ท่ารำส่าย)

4. เพลงคืนเดือนหงาย(ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง)

5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ(ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลงเพียงไหล่)

6. เพลงดอกไม้ของชาติ(ท่ารำยั่ว)

7. เพลงหญิงไทยใจงาม(ท่าพรหมสี่หน้า และนกยูงฟ้อนหาง)

8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า(หญิงท่าช้างประสานงา ชายท่าจันทร์ทรงกลด)

9. เพลงยอดชายใจหาญ(หญิงชะนีร่ายไม้ ชายท่าจ่อเพลิงกาล)

10. เพลงบูชานักรบ(เที่ยวที่ 1หญิงท่าขัดจางนาง ชายท่าจันทร์ทรงกลด)

(เที่ยวที่ 2หญิงท่าล่อแก้ว ท่าขอแก้ว)

การแต่งกาย

มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงแต่สามารถแต่งได้หลายอย่าง เช่น หญิงจะแต่งชุดไทยจักรี (ชุดไทยสมัย ร. 6 ) ชุดไทยแบบชาวบ้าน หรือชายจะแต่งแบบสมัย ร . 6 หรือแบบชาวบ้าน หรือทั้งชายและหญิงจะแต่งแบบชุดสากลก็ได้

เพลงที่นิยมใช้ท่ารำ มารำในงานรื่นเริงต่าง ๆ คือ ท้ารำของดพลงงามแสงเดือน&nbsp 

0
เบล 15 พ.ย. 50 เวลา 20:58 น. 6

รำวงมาตรฐาน วิวัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียดพิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่
การแต่งกาย
มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลายอย่าง เช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้านคือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ ขอให้เป็นแบบไทย ขอให้ดูสุภาพ งดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือ นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอพวงมาลัย แขนสั้น ผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทาน กางเกงขายาว ชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่เสื้อสูท ผูกเนคไทก็ได้

0
ยัยคุณหนูFB 13 ม.ค. 51 เวลา 20:18 น. 7

ประวัติรำวงมาตรฐาน

รำวงมาตรฐาน ในปัจจุบันนี้เป็นศิลปะแห่งการรำวงที่งดงาม ซึ่งในสมัยก่อนยังมิได้มีคำว่า "มาตรฐาน" จะเรียกกันเพียงว่า "รำวง" เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่บ่อบอกถึงความสนุกสนาน การเล่นรำวงนั้นสืบเนื่องมาจากการเล่นรำโทน นั้นเพราะในสมัยก่อนเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ประกอบจังหวะก็คือ โทน ฉิ่ง และกรับ โดยจังหวะการฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกกันว่า "รำโทน" ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด ตามลักษณะของเพลงพื้นบ้าน เนื้อหาของเพลงจะออกมาในลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่ การเกี้ยวพาราสีหยอกล้อของหนุ่มสาว การเชิญชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาว เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของเครื่องแต่งกายในสมัยก่อนก็ไม่เน้นถึงความพิถีพิถันมากนัก เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2488 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุความนิยม
เป็นอย่างมากนี้เองจึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม ส่วนเนื้อร้องใดที่นิยมก็จะร้องกันอยู่ได้นาน เพลงใดเนื้อร้องไม่เป็นที่นิยมก็จะไม่นำมาร้องเท่าใดนักและก็จะเป็นที่ลืมเลือนไปในที่สุด จากนั้นก็จะมีเนื้อเพลงใหม่ ๆ ขึ้นมาแทนที่

ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 - 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่าง ๆ ในแผ่นดินไทยลำเรียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอม พล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศโดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น

เมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไป คืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทย ได้รับความเดือนร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีการผ่อนคลายความตึงเคลียด ความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั้นก็คือ "การเล่นรำโทน" คำร้อง ทำนองและการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่ายเน้นความสะดวกสบาย สนุกสนาน เช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่ เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล เป็นต้น

ต่อมารัฐบาลได้เล็งเห็นศิลปะพื้นบ้านอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลายควรที่จะเชิดชูให้มีระเบียบแบบแผนตามแบบนาฏศิลป์ไทย เพราะหากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่าศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงาม ประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม จึงได้มอบให้ กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ (รำโทน) ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบ แบบแผน มีความงดงามมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจน

เพลงของรำวงมาตรฐาน

1. เพลงงามแสงเดือน(ท่าสอดสร้อยมาลา)
2. เพลงชาวไทย(ท่าชักแป้งผัดหน้า)
3. เพลงรำมาซิมารำ(ท่ารำส่าย)
4. เพลงคืนเดือนหงาย(ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง)
5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ(ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลงเพียงไหล่)
6. เพลงดอกไม้ของชาติ(ท่ารำยั่ว)
7. เพลงหญิงไทยใจงาม(ท่าพรหมสี่หน้า และนกยูงฟ้อนหาง)
8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า(หญิงท่าช้างประสานงา ชายท่าจันทร์ทรงกลด)
9. เพลงยอดชายใจหาญ(หญิงชะนีร่ายไม้ ชายท่าจ่อเพลิงกาล)
10. เพลงบูชานักรบ(เที่ยวที่ 1หญิงท่าขัดจางนาง ชายท่าจันทร์ทรงกลด)

0
maruko 4 ก.ค. 54 เวลา 19:18 น. 10

รำวงมาตรฐาน
วิวัฒนาการ มาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่


ท่ารำ
คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก คุณครูมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ

คำร้อง
จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย
คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ

ทำนอง
อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ
ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ

เครื่องดนตรี
เดิมนั้น รำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้ด้วย โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลง

การแต่งกาย
มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลายอย่าง เช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้านคือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ ขอให้เป็นแบบไทย ขอให้ดูสุภาพ งดงาม ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือ นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอพวงมาลัย แขนสั้น ผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทาน กางเกงขายาว ชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่เสื้อสูท ผูกเนคไทก็ได้
 
เนื้อเพลง
เพลงงามแสงเดือน
คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)
เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย
ความ หมาย ยามที่แสงจันทร์ส่องมายังโลกทำให้โลกนี้ดูสวยงาม ผู้คนที่มาเล่นรำวงยามที่แสงจันทร์ส่อง ก็มีความงดงามด้วย การรำวงนี้เพื่อให้มีความสนุกสนาน มีความสามัคคีกัน และละทิ้งความทุกข์ให้หมดสิ้นไป

เพลงชาวไทย
คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท
ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเรา เอย
ความ หมาย หน้าที่ที่ชาวไทยพึงมีต่อประเทศชาตินั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรกระทำ อย่าได้ละเลยไปเสีย ในการที่เราได้มาเล่นรำวงกันอย่างสนุกสนาน ปราศจากทุกข์โศกทั้งปวงนี้ก็เพราะว่าประเทศไทยเรามีเอกราช ประชาชนมีเสรีในการคิดจะทำสิ่งใดๆ ดังนั้น เราจึงควรช่วยกันเชิดชูชาติไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป เพื่อความสุขยิ่งๆ ขึ้นของไทยเราตลอดไป

เพลงรำซิมารำ
คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท
รำซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานจริง ๆ ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขลุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย
ความ หมาย ขอพวกเรามาเล่นรำวงกันให้สนุกสนานเถิดในยามว่างเช่นนี้จะได้คลายทุกข์ ถึงเวลางานเราก็จะทำงานกันจริงๆ เพื่อจะได้ไม่ลำบาก และการรำก็จะรำอย่างมีระเบียบแบบแผน ตามวัฒนธรรมไทยของเราแล้วจะดูงดงามยิ่ง

เพลงคืนเดือนหงาย
คำร้อง จมื่นมานิตย์นเรศ (นายเฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร (ประพันธ์ในนามกรมศิลปากร)
ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท
ยามกลางคืนเดือนหงาย เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา
เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นร่มธงไทยปกไปทั่วหล้า เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย
ความ หมาย เวลา กลางคืน เป็นคืนเดือนหงาย มีลมพัดมาเย็นสบายใจ แต่ก็ยังไม่สบายใจเท่ากับการที่ได้ผูกมิตรกับผู้อื่น และที่ร่มเย็นไปทั่ว ทุกแห่งยิ่งกว่าน้ำฝนที่โปรยลงมา ก็คือการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราช มีธงชาติไทยเป็นเอกลักษณ์ ทำให้ร่มเย็นทั่วไป

เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง อาจารย์มนตรี ตราโมท
ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภา
ทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตา
แสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้า
ไม่งามเท่าหน้า นวลน้องยองใย
งามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทย
งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไม
วาจากังวาน อ่อนหวานจับใจ
รูปทรงสมส่วนยั่วยวนหทัย สมเป็นดอกไม้ขวัญใจชาติเอย
ความ หมาย พระจันทร์เต็มดวงที่ลอยอยู่บนท้องฟ้านั้นช่างดูสวยงาม เพราะเป็นพระจันทร์ทรงกลด คือมีแสงเลื่อมกระจายออกรอบดวงจันทร์ทั้งดวง แต่ถึงจะงามอย่างไรก็ยังไม่เท่าความงามของดวงหน้าหญิงสาว ที่ดูผุดผ่องมีน้ำมีนวล อีกทั้งรูปร่างก็ดูสมส่วน กิริยาวาจาก็อ่อนหวานไพเราะ สมแล้วกับที่เปรียบว่าหญิงไทยนี้คือดอกไม้

เพลงดอกไม้ของชาติ
(สร้อย) ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาสนวยนาดร่ายรำ (ซ้ำ)
เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฎศิลป์
ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม
(สร้อย)
งานทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชาย
ดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ


 
เพลงหญิงไทยใจงาม
คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน
เดือนพราว ดาวแวววาวระยับ
แสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่น
ดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญ
คุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงาม
ขวัญใจ หญิงไทยส่งศรีชาติ
รูปงามวิลาส ใจกล้ากาจเรืองนาม
เกียรติยศ ก้องปรากฎทั่วคาม
หญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว
ความ หมาย ดวง จันทร์ที่ส่องแสงอยู่บนท้องฟ้ามีความงดงามมาก และยิ่งได้แสงอันระยิบระยับของดวงดาวด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ดวงจันทร์นั้นงามเด่นยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนกับดวงหน้าของหญิงสาวที่มีความงดงามอยู่แล้ว ถ้ามีคุณความดีด้วย ก็จะทำให้หญิงนั้นงามเป็นเลิศ ผู้หญิงไทยนี้เป็นขวัญใจของชาติ เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาติ รูปร่างก็งดงาม จิตใจก็กล้าหาญ ดังที่มีชื่อเสียงปรากฏอยู่ทั่วไป

เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน
ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่
จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจ
ที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตย
ถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย
ความ หมาย ในเวลาค่ำคืนท้องฟ้ามีดวงจันทร์ประจำอยู่ ในใจของชายก็มีหญิงอันเป็นสุดที่รักประจำอยู่เช่นกัน สิ่งที่เทิดทูนยกย่องไว้ก็คือชาติไทยที่เป็นเอกราช มีอิสระแก่ตนไม่ขึ้นกับใคร และสิ่งที่แนบสนิทอยู่ในใจของชายก็คือหญิงอันเป็นสุดที่รัก


 
เพลงยอดชายใจหาญ
คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน
โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรี
น้องขอร่วมชีวี กอบกรณีย์กิจชาติ
แม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตาม
น้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ
ความ หมาย ขอผูกมิตรไมตรีกับชายผู้กล้าหาญ และจะขอมีส่วนในการทำประโยชน์ทำหน้าที่ของชาวไทย แม้จะลำบากยากแค้น ก็จะขอช่วยเหลือจนเต็มความสามารถ&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 
เพลงบูชานักรบ
คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ
เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทน
หนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการ
บากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต
เลือดเนื้อพี่พลีอุทิศ ชาติยงอยู่ยงอยู่คู่พิภพ
ความ หมาย น้อง รักและบูชาพี่ เพราะมีความกล้าหาญ เป็นนักสู้ที่เก่งกล้าสามารถสมกับเป็นชายชาตินักรบที่มีความมานะอดทน แม้ว่าจะยากเย็นแสนเข็ญ พี่ก็ต่อสู้จนชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว นอกจากนี้ยังขยันขันแข็งในงานทุก อย่าง อุตส่าห์สร้างหลักฐานให้มั่นคง และพี่ยังมีความรักในชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าชีวิต ยอมสละได้แม้ชีวิตและเลือดเนื้อเพื่อให้ชาติไทยคงอยู่คู่โลกต่อไป
 

0
maruko 4 ก.ค. 54 เวลา 19:20 น. 11

สรุป
รำวงมาตรฐานมี
ทั้งหมด 10 เพลง 14 แม่ท่า 17 ท่ารำ เพลงนอกเหนือจาก 10 เพลงนี้เรียกว่า รำวงประยุกต์ หมายถึงการนำเอาเพลงที่แต่งเพิ่มและประยุกต์ท่ารำจากท่าแม่บทและจากรำวง มาตรฐานมารำ

ดนตรีที่ใช้ประกอบ
เริ่มแรกใช้เครื่องดนตรีของรำโทน คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน ต่อมาได้ประยุกต์มาเป็นวงดนตรีไทยและสตริงคอมโบ้

การแต่งกาย
ไม่ได้จำพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน โดยแต่งกายในแต่ละสมัยก็ได้ เป็นคู่หญิงชาย ไม่ต่ำกว่า 5 คู่ รำกันเป็นวง รอบไปทางซ้าย

ส่วนคำร้องและทำนอง
ให้จำเลข 4 และ 6 ไว้คือ 4-6 และ 6-4 ได้แก่
คำร้อง 4-6 คือ 4 เพลงแรก จมื่นมานิตย์นเรศ(เฉลิม)เป็นผู้แต่ง 6 เพลงหลัง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงครมเป็นผู้แต่ง
ทำนอง 6-4 คือ 6 เพลงแรก อาจารย์มนตรี ตราโมทเป็นผู้แต่ง 4 เพลงหลัง ครูเอื้อ สุนทรสนานเป็นผู้แต่ง

ดังนั้นในการจำชื่อเพลงควรจำเรียงลำดับตามที่พี่เจ๊ทบอกนะครับ

นาฎยศัพท์ที่ใช้
ได้แก่ มือ = จีบคว่ำ จีบหงาย จีบล่อแก้ว - ขอแก้ว
แขน = การตั้งวง
ขา = การย่ำเท้า การถัดเท้า
เพลงของรำวงมาตรฐาน
1. เพลงงามแสงเดือน(ท่าสอดสร้อยมาลา)
2. เพลงชาวไทย(ท่าชักแป้งผัดหน้า)
3. เพลงรำมาซิมารำ(ท่ารำส่าย)
4. เพลงคืนเดือนหงาย(ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง)
5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ(ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลงเพียงไหล่)
6. เพลงดอกไม้ของชาติ(ท่ารำยั่ว)
7. เพลงหญิงไทยใจงาม(ท่าพรหมสี่หน้า และนกยูงฟ้อนหาง)
8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า(หญิงท่าช้างประสานงา ชายท่าจันทร์ทรงกลด)
9. เพลงยอดชายใจหาญ(หญิงชะนีร่ายไม้ ชายท่าจ่อเพลิงกาล)
10. เพลงบูชานักรบ(เที่ยวที่ 1หญิงท่าขัดจางนาง ชายท่าจันทร์ทรงกลด)

0
SBSมั่วซั่วฟะเฟอะ 4 มี.ค. 55 เวลา 16:22 น. 12

T(เราเอง) : 555+อากู๋กูเกิลอะ มีตรึม ยกตัวอย่างเวปให้มั้ย
(ปล.แบบลับๆ ถึงอยากให้ตอบเราก้อไม่บอก 555+)

W(ใครก้อไม่รู้) : งะ จำไว้เล๊ยยๆ

T : อื้มๆ สภาพเนี้ย จะบอกได้มั้ย อิอิ (&nbsp แชทอะได้ พูดไม่ได้ 55+ โดนอีกดอก )

W : โหจ๋งโห เจ๋งโคตร โดนเต็มๆ เราโป้งแกละ ไอ P.N. T เดี๋ยวโป้งแกเลย

T : ลอยขึ้นสวรรค์ บะบาย ลาทีโลกนี้เด้อ

W : ไปเลยไป๊ ขอชาติทุกชาติอย่าเจออีก นะโม สาธุ( อะ ล้อเล่ง )

T : ฮึ่ม!! เดี๋ยวพรุนๆ งะ !! กระสุนหมดแย้ว

W : ตอนนี้หละ ปังๆๆๆๆๆๆๆๆ รักนะ ปังๆ

T : ขอกลับไปทำรายงานก่อนละ SBSมั่วซั่ว จบละ บะบาย แงๆ อยากคุยต่อง่า

เจ้าของ : พอได้แล้วพ่อคู้นน ลูกผู้ชายเขาไม่น้ำตานะ นะเฟ้ย เหอะๆ ไอสัสนี่นิ ว่างมากรึไง อ๊ะ!! งะ!! เผลอตัวด่าไป ยกโทษให้เค้าด้วยย 555+ SBS1 ฮาจริงๆ )๋มเองก้อ บะบายย ดู๊ดี๊จัง =_="

0
SBS มั่วซั่ว เฟ้ย 4 มี.ค. 55 เวลา 16:26 น. 13

อย่าแจ้งลบ SBSมั่วซั่ว ด้วยนะ เค้าไม่ย้อมมม
บาย P.N. T บ้าปืนเนอะ

วิสิตเตอร์ : แว้ก
วิสิตเทอร์ :
วิซิตเตอร์ :
วิสิตเทอร์ : เค้าพรุนแย้วอ่า ใจย้าย

0
SBS มั่วซั่ว ควิซ 4 มี.ค. 55 เวลา 16:35 น. 14

อย่างทีบอก ห้ามแจ้งลบSBSของป๋ม
อะนี่ สินบน
เกือบ 30 รูปเชียว ก๊อปฟรี 555+
เราก้อก๊อปมา คุณก็อปต่อไปๆๆ

เกมSBS ??? หาจุดผิดในคอมเมนท์นี้ ให้เจอ แล้วจะได้รูปไปโฆลดแบบพรีเมียมลิมิเต็มเป็นรางวัล
หมดเขต วันที่ 4/4/2555 เวลา 23.00น. คร้าบ เวลา 1 เดือนเต็มเยยน้า55+
ส่งมาที่ เดอะมอล คลุกกะปิ ส่งไม่ถูกอด ส่งผิด ไม่รับผิดชอบ ที่เหลือ เรื่องของคุณ ิ-ิ เเว่นป๊อกเป็นของแผมสำหรับผู้ส่งมาถูกนะ ปล. จะส่งทางไหนก้อได้

0
SBS มั่วซั่ว ควิซRE 4 มี.ค. 55 เวลา 16:38 น. 15

เฮ้ย สินบนผิดกฏหมาย เป็นว่า ขอแก้SBS ครั้งที่แล้ว เป็น * อะนี่ ค่าตอบแทนนะ ถ้าไม่แจ้งลบ ก็ก๊อปได้ แต่ถ้ากดแจ้งลบ รูปที่คุณก๊อป ไปแล้ว จะหายไป แล้วจะก๊อปรูปของเราไม่ได้อีกชั่วชีวิต

0