Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ขอข้อมูลเกี่ยวกับรำวงมาตรฐานทีค่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ข้อมูลเกี่ยวกับรำวงมาตรฐาน
ไม่ว่าจะความเป็นมา
ไปจนถึงลักษณะ เพลง ท่ารำ
พอดีมันมีงานต้องรีบไปส่งอ่ะค่ะ
รบกวนด้วยนะ ขอบคุณจ้า

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

ผู้รู้ 11 พ.ย. 50 เวลา 15:17 น. 2

รำวงมาตรฐาน วิวัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า 5 คู่

0
pung 11 พ.ย. 50 เวลา 15:21 น. 3

รำวงมาตรฐาน วิวัฒนาการมาจากการรำโทน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของไทย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องและมอบให้กรมศิลปากรบรรจุท่ารำไว้เป็นมาตรฐาน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องสุภาพ ใช้คำง่าย ทำนองเพลงง่าย มุ่งให้เห็นวัฒนธรรมของชาติเป็นส่วนใหญ่ การแสดงจะใช้ผู้แสดงหญิงชายไม่น้อยกว่า ๕ คู่

ท่ารำ&nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp คุณครูศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก คุณครูมัลลี คงประภัศร์ และคุณครูลมุล ยมะคุปต์ ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ทั้งหมด ๑๔ แม่ท่า เป็นชื่อท่ารำที่อยู่ในรำแม่บท มีทั้งหมด ๑๐ เพลง ได้แก่ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ
คำร้อง
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) หัวหน้ากองการสังคีต กรมศิลปากร ได้ประพันธ์ขึ้น ๔ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้ประพันธ์คำร้องไว้ ๖ เพลง คือ เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ
ทำนอง
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้วชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร ได้แต่งทำนองไว้ ๖ เพลง คือ เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลง รำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ แต่งทำนองไว้ ๔ เพลง คือ เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ
เครื่องดนตรี
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เดิมนั้น รำโทนมีเครื่องดนตรีประกอบ คือ ฉิ่ง กรับ ฉาบ และโทน เมื่อมีการพัฒนาการรำขึ้น จึงได้พัฒนาเครื่องดนตรีที่ใช้ด้วย โดยใช้วงดนตรีสากลบรรเลง
การแต่งกาย
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp มิได้กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องแต่งชุดไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน แต่สามารถแต่งได้หลายอย่าง เช่น แต่งชุดไทยจักรี ชุดไทยสมัย ร.๖ ชุดไทยแบบชาวบ้านคือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน หรือชุดไทยสมัยใดก็ได้ ขอให้เป็นแบบไทย ขอให้ดูสุภาพ งดงาม&nbsp ชายก็แต่งได้ทั้งชุดไทยแบบชาวบ้าน คือ นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อคอพวงมาลัย แขนสั้น ผ้าคาดเอว หรือชุดไทยเสื้อพระราชทาน กางเกงขายาว ชุดราชปะแตน หรือชุดสากลใส่เสื้อสูท ผูกเนคไทก็ได้


0
Moriaty125 11 พ.ย. 50 เวลา 15:26 น. 4

&nbsp รำวงมาตรฐาน ในปัจจุบันนี้เป็นศิลปะแห่งการรำวงที่งดงาม ซึ่งในสมัยก่อนยังมิได้มีคำว่า "มาตรฐาน" จะเรียกกันเพียงว่า "รำวง" เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่บ่อบอกถึงความสนุกสนาน การเล่นรำวงนั้นสืบเนื่องมาจากการเล่นรำโทน นั้นเพราะในสมัยก่อนเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ประกอบจังหวะก็คือ โทน ฉิ่ง และกรับ โดยจังหวะการฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกกันว่า "รำโทน" ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด ตามลักษณะของเพลงพื้นบ้าน เนื้อหาของเพลงจะออกมาในลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่ การเกี้ยวพาราสีหยอกล้อของหนุ่มสาว การเชิญชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาว เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของเครื่องแต่งกายในสมัยก่อนก็ไม่เน้นถึงความพิถีพิถันมากนัก เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เมื่อประมาณ พ.ศ. 2488 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุความนิยม
เป็นอย่างมากนี้เองจึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม ส่วนเนื้อร้องใดที่นิยมก็จะร้องกันอยู่ได้นาน เพลงใดเนื้อร้องไม่เป็นที่นิยมก็จะไม่นำมาร้องเท่าใดนักและก็จะเป็นที่ลืมเลือนไปในที่สุด จากนั้นก็จะมีเนื้อเพลงใหม่ ๆ ขึ้นมาแทนที่

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 - 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่าง ๆ ในแผ่นดินไทยลำเรียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอม พล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศโดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  เมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไป คืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทย ได้รับความเดือนร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีการผ่อนคลายความตึงเคลียด ความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั้นก็คือ "การเล่นรำโทน" คำร้อง ทำนองและการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่ายเน้นความสะดวกสบาย สนุกสนาน เช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่ เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล เป็นต้น

ต่อมารัฐบาลได้เล็งเห็นศิลปะพื้นบ้านอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลายควรที่จะเชิดชูให้มีระเบียบแบบแผนตามแบบนาฏศิลป์ไทย เพราะหากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่าศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงาม ประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม จึงได้มอบให้ กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ (รำโทน) ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบ แบบแผน มีความงดงามมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเครื่องแต่งกาย

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เมื่อประมาณ พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่ 4 บทคือ " เพลง งามแสงเดือน" "เพลงชาวไทย" "เพลงรำซิมารำ" "เพลงคืนเดือนหงาย" ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 บท คือ " เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ" "เพลงดอกไม้ของชาติ" "เพลงหญิงไทยใจงาม" "เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า" "เพลงยอดชายในหาญ" "เพลงบูชานักรบ" ในด้านทำนองนั้นรับผิดชอบโดยกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ ส่วนท่ารำนั้นนาฏศิลปินอาวุโสของกรมศิลปากร คือ จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) และนางลมุล ยมะคุปต์ ร่วมกันคิดท่ารำขึ้นประกอบการรำโดยนำท่ารำมาจากการรำ "แม่บท" และต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกการ "รำโทน" เป็น "รำวง" ตามลักษณะของการเล่น ซึ่งวิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวง และเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา
http://www.nrru.ac.th/learning/human/hu_002/01/History.html
นี่ประวัติคับ
มีความรู้อื่นๆของรำวงก้นี่เลยhttp://www.nrru.ac.th/learning/human/hu_002/01/mnu.html
0