Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อยากทราบข้อมูล รำเถิดเทิง ค่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อยากทราบข้อมูลรำเถิดเทิงค่ะ

เปิดหาเท่าไหร่ก็ไม่มีเลยค่ะ

รบกวนผู้รู้ ช่วยบอกข้อมูลให้ได้ไหมค่ะ

ต้องเอาไปทำโครงงาน

ขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

19 ความคิดเห็น

โบ๊ท 5 ก.พ. 54 เวลา 22:01 น. 2

ประวัติความเป็นมา
การเล่นเถิดเทิง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน เมื่อครั้งพม่ามาทำสงครามกับไทย&nbsp ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์&nbsp เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่น ต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว”&nbsp พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง&nbsp ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง&nbsp มีทำนองเป็นเพลงพม่า&nbsp เรียกกันมาแต่เดิมว่า&nbsp เพลงพม่ากลองยาว&nbsp ต่อมาได้มีผู้ปรับให้เป็นแบบแผนมากขึ้น ได้แก่ คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์&nbsp  อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์&nbsp  อาจารย์มนตรี ตราโมท&nbsp  โดยกำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา&nbsp ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่น ๆ บ้างตามแต่จะให้สีสลับกัน&nbsp เห็นสวยอย่างแบบระบำ)มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้&nbsp จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า&nbsp เพลงพม่ารำขวาน
อีกความหนึ่งมีผู้กล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้&nbsp เพิ่งมีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4&nbsp กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง&nbsp กล่าวคือ&nbsp มีพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาในรัชกาลนั้น&nbsp ยังมีบทร้องกราวรำยกทัพพม่า&nbsp ในการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี&nbsp ตอน&nbsp เก้าทัพ ซึ่งนิยมเล่นกันมาแต่ก่อน&nbsp สังเกตดูก็เป็นตำนานอยู่บ้างแล้ว&nbsp คือ&nbsp ร้องกันว่า
ทุงเล ฯ&nbsp&nbsp&nbsp &nbsp&nbsp&nbsp &nbsp&nbsp&nbsp &nbsp&nbsp&nbsp ทีนี้จะเห่พม่าใหม่
ตกมาเมืองไทย&nbsp&nbsp&nbsp &nbsp&nbsp&nbsp มาเป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว
ตีว่องตีไวตีได้จังหวะ&nbsp&nbsp&nbsp &nbsp&nbsp&nbsp ทีนี้จะกะเป็นเพลงกราว
เลื่องชื่อลือฉาว&nbsp&nbsp&nbsp &nbsp&nbsp&nbsp ตีกลองยาวสลัดได ๆ
เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและเล่นได้ง่าย&nbsp ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง&nbsp สืบมาจนตราบทุกวันนี้&nbsp กลองยาวที่เล่นกันในวงหนึ่ง ๆ มีเล่นกันหลายลูกมีสายสะพายเฉวียงป่าของผู้ตี&nbsp ลักษณะรูปร่างของกลองยาวขึงหนังด้านเดียวอีกข้างหนึ่งเป็นหางยาว&nbsp บานปลายเหมือนกับกลองยาวของชาวเชียงใหม่&nbsp แต่กลองยาวของชาวเชียงใหม่เป็นกลองยาวจริง ๆ ยาวถึงประมาณ&nbsp 2 วา&nbsp ส่วนกลองยาวอย่างที่เล่นกันนี้&nbsp ยาวเพียงประมาณ&nbsp 3&nbsp ศอกเท่านั้น&nbsp ซึ่งสั้นกว่าของเชียงใหม่มาก&nbsp ทางภาคอีสานเรียกกลองยาวชนิดนี้ว่า&nbsp กลองหาง
กลองยาวแบบนนี้ของพม่าเรียกว่า&nbsp โอสิ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัม&nbsp เว้นแต่ของชาวไทยอาหมรูปร่างคล้ายตะโพน คือ หัวท้ายเล็ก กลางป่องใบเล็กกว่าตะโพน&nbsp ขึ้นหนังทั้งสองข้าง&nbsp ผูกสายสะพายตีได้&nbsp ตามที่เห็นวิธีเล่นทั้งกลองยาวของพม่าและกลองของชาวไทยอาหม&nbsp ดูวิธีการเล่นเป็นแบบเดียวกัน&nbsp อาจเลียนแบบการเล่นไปจากกันก็ได้
เมื่อรัฐบาลไทยมอบให้คณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปแสดงเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี ณ นครย่างกุ้งและมัณฑเลย์&nbsp ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน&nbsp พ.ศ.2509&nbsp ทางรัฐบาลพม่าได้จัดนักโบราณคดีพม่าผู้หนึ่งเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์สถานและโบราณสถานเรื่องกลองยาวได้กล่าวว่า&nbsp พม่าได้กลองยาวมาจากไทยใหญ่อีกต่อหนึ่ง
การละเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ&nbsp มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ&nbsp หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้อง” ก็เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอย่างอื่น
คณะกลองยาวที่มีชื่อเสียงมากของชาวอำเภอพยุหะคีรี ได้แก่ คณะ บ.รุ่งเรืองศิลป์ ของนายบุญ เอี่ยมเวช ซึ่งได้ดัดแปลงท่าร่ายรำมาจากท่าร่ายรำของลิเก พร้อมได้ดัดแปลงประดิษฐ์ชุดแต่งกายขึ้น โดยเลียนแบบจากเครื่องแต่งกายของลิเกเช่นกัน และใช้ชื่อว่า “กลองยาวประยุกต์” และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2500

ลักษณะการแสดง
ก่อนเล่นมีการทำพิธีไหว้ครู มีดอกไม้ธูปเทียน เหล้าขาว บุหรี่และเงินค่ายกครู&nbsp 12 บาท&nbsp การไหว้ครูใช้การขับเสภา เมื่อไหว้ครูแล้วจะโห่ขึ้น 3 ลา แล้วเริ่มแสดง&nbsp โดยนักดนตรีประกอบเริ่มบรรเลงผู้ร่ายรำก็จะเดินและร่ายรำไปตามจังหวะกลอง มีท่าร่ายรำทั้งหมด&nbsp 33 ท่า&nbsp ท่าที่หวาดเสียวและตื่นเต้นมากที่สุดก็เห็นจะเป็นท่าที่&nbsp 30 - 31&nbsp คือท่าที่มีการต่อกลองขึ้นไป&nbsp 3&nbsp ใบ&nbsp ให้ผู้แสดงคนหนึ่งขึ้นไปยืนบนกลองใบที่ 3 แล้วควงกลอง&nbsp และคาบกลอง ซึ่งผู้แสดงต้องใช้ความสามารพิเศษเฉพาะตัว&nbsp ผู้ตีกลองยาวบางพวกก็ตีหกหัวกัน แลบลิ้นปลิ้นตา&nbsp กลอกหน้ายักคิ้ว&nbsp ยักคอไปพลาง&nbsp และถ้าผู้ตีคนใดตีได้จนถึงกับถองหน้ากลองด้วยศอก โขกด้วยคาง&nbsp  กระทุ้งด้วยเข่า โหม่งด้วยเข่า&nbsp โหม่งด้วยหัว&nbsp เล่นเอาผู้ตีคลุกฝุ่นคลุกดินขะมุกขะมอมไปทั้งตัวสุดแต่จะให้เสียงกลองยาวดังขึ้นได้เป็นสนุกมาก&nbsp และนิยมกันว่าผู้ตีกลองยาวเก่งมากผู้เล่นก็ภูมิใจ&nbsp นอกจากนั้นก็มีคนรำแต่งตัวต่าง ๆ สุดแต่สมัครใจ&nbsp คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไปร่วมรำด้วยก็ได้เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน&nbsp ใครจะสมัครเข้าร่วมเล่นร่วมรำด้วยก็ได้&nbsp บางคนก็แต่งตัวพิสดาร&nbsp ผัดหน้าทาตัวด้วยแป้งด้วยเขม่าดินหม้อ&nbsp หน้าตาเนื้อตัวดำด่าง สุดแต่จะให้คนดูรู้สึกทึ่งและขบขัน&nbsp ออกมารำเข้ากับจังหวะเทิงบ้อง&nbsp แต่ที่แต่งตัวงาม ๆ เล่นและรำกันเรียบ ๆ น่าดูก็มี&nbsp เช่นที่ปรับปรุงขึ้นเล่นโดยศิลปินของกรมศิลปากร&nbsp และมีผู้นำแบบอย่างไปเล่นแพร่หลายอยู่ในสมัยนี้
เพราะฉะนั้นการเล่น&nbsp  ย่อมเป็นส่วนของวัฒนธรรมที่แสดงออกมา&nbsp จะเป็นวัฒนธรรมอยู่ในระดับใดก็แล้วแต่สถานที่และโอกาสเหมาะกับถิ่นหนึ่งแต่ไม่เหมาะกับอีกถิ่นหนึ่งก็ได้&nbsp ถ้าปรับให้มีลักษณะเหมือนกันตลอดทุกถิ่น&nbsp ก็ไม่เป็นความเจริญในทางวัฒนธรรม ความเจริญของวัฒนธรรมอยู่ที่แปลก ๆ ต่าง ๆ กัน&nbsp แต่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในส่วนรวม&nbsp และรู้จักดัดแปลงแก้ไขให้เหมาหะกับความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นตามกาลสมัย&nbsp แต่ไม่ทำลายลักษณะอันเป็นเอกเทศของแต่ละถิ่นให้สูญไป&nbsp เปรียบเหมือนเป็นคนไทยด้วยกัน

โอกาสที่แสดง
ประเพณีเล่น&nbsp “เถิดเทิง”หรือ “เทิงบ้องกลองยาว”&nbsp ในเมืองไทยนั้น&nbsp มักนิยมเล่นกันในงานงานรื่นเริงต่างๆ ที่ต้องเดินเคลื่อนขบวน เช่น ตรุษ งานสงกรานต์ งานแห่นาค แห่พระ แห่กฐิน แห่ผ้าป่า งานฉลอง ขบวนขันหมาก&nbsp เป็นต้น&nbsp เดินเคลื่อนไปกับขบวน&nbsp พอถึงที่ตรงไหนเห็นว่ามีลานกว้างหรือเป็นที่เหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นรำกันเสียพักหนึ่ง&nbsp แล้วก็เคลื่อนขบวนต่อไปใหม่แล้วก็มาหยุดตั้งวงเล่นและรำกันอีก&nbsp การเล่นเถิดเทิงของกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่&nbsp จะแต่งตัวแบบไทย ๆ แต่ยังเป็นประเพณีดั้งเดิม&nbsp คือยังใช้โพกหัวด้วยผ้าแพรบาง ๆ ตามแบบพม่าอยู่&nbsp นอกจากนี้&nbsp ก็เพิ่มผู้รำฝ่ายหญิงแต่งตัวงดงามแบบหญิงไทย&nbsp กำหนดแบบแผนลีลาท่ารำ&nbsp โดยกำหนดให้มีกลองรำ&nbsp กลองยืน&nbsp เป็นต้น
กลองรำ&nbsp หมายถึง&nbsp ผู้ที่จะแสดงลวดลายในการตีบทพลิกแพลงต่าง ๆ เช่น&nbsp ถองหน้า&nbsp กลองด้วยศอก&nbsp กระทุ้งด้วยเข่า&nbsp เป็นต้น
กลองยืน&nbsp หมายถึง&nbsp ผู้ตีกลองยืนจังหวะให้การแสดงดำเนินไปอย่างเรียบร้อย&nbsp ในขณะที่กลองรำวาดลวดลายรำต้อนนางรำอยู่ไปมา
&nbsp&nbsp&nbsp การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว&nbsp ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนถึงจะแสดงได้เป็นระเบียบและน่าดู&nbsp คนดูจะได้เห็นความงามและได้รับความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมวงเล่นด้วยก็ตาม&nbsp 

การแต่งกาย
ผู้รำร่วมอาจจะแต่งกายตามสบาย แต่จะนิยมประแป้งพอกหน้าให้ขาว ทัดดอกไม้ เขียนหนวดเครา แต้มไฝ ลีลาท่าทางอาจจะแปลกพิสดารที่ทำให้ชวนหัวเราะ ยั่วเย้ากันเองในหมู่พวกหรือคนดู และบางครั้งก็อาจไปรำต้อนคนดูเข้ามาร่วมวงสนุกไปด้วย ผู้รำจะมีทั้งชายและหญิง
ในสมัยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ปรับปรุงการแต่งกายและกำหนดไว้เป็นแบบฉบับ คือ
1. ชาย&nbsp  นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง&nbsp สวมเสื้อคอกลม&nbsp แขนสั้น&nbsp เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 2. หญิง&nbsp  นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด&nbsp ผ่าอกหน้า&nbsp ห่มสไบทับเสื้อ&nbsp สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ&nbsp สร้อยคอ&nbsp และต่างหู&nbsp ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย

เครื่องดนตรีที่ใช้
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นก็มีกลองยาว ( เล่นกันหลาย ๆ ลูกก็ได้) เครื่องประกอบจังหวะ มี ฉิ่ง&nbsp ฉาบ&nbsp กรับ โหม่ง&nbsp มีประมาณ&nbsp 4&nbsp คน&nbsp คนตีกลองยืน 2 คน&nbsp คนตีกลองรำ&nbsp 2&nbsp คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน

1
โบ๊ท 5 ก.พ. 54 เวลา 22:02 น. 3

สถานที่แสดง
แสดงในบริเวณพื้นลานกว้าง ๆ ที่ใดก็ได้ หรือบนเวที ตามความเหมาะสม เพราะการแสดงชุดนี้ใช้แสดงเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ หรือในงานบวช&nbsp 

จำนวนผู้แสดง
ในตอนแรกผู้ร่ายรำใช้ทั้งชายและหญิง ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ผู้หญิงเป็นผู้ร่ายรำเท่านั้น ส่วนผู้ชายทำหน้าที่ตีกลองยาว และเครื่องดนตรีประกอบ ในตอนแรกมีผู้เล่นทั้งหมด 16 คน โดยมีผู้ตีกลองยืน 3 คน และผู้ตีเครื่องดนตรีประกอบได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ฆ้อง อีก 5 คน สำหรับผู้รำมี 4 คู่ 8 คน มีผู้รำคนหนึ่งเป็นหัวหน้า คล้องนกหวีดไว้ที่คอสำหรับเป่าเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนท่ารำ

บทร้องประกอบการเล่น
ในการเล่นอาจมีบทร้องประกอบหรือร้องกระทุ้งในเวลาที่ผู้ร่ายรำออกรำเพื่อเพิ่มความสนุกสนานครึกครื้นทั้งผู้ชมและผู้แสดงคำร้องที่ใช้ร้องเล่นเท่าที่ใช้อยู่ มีดังนี้
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 1)&nbsp มาแล้วโหวย&nbsp มาแล้ววา&nbsp มาแต่ของเขา&nbsp ของเราไม่มา ตะละล้า&nbsp หรือมาแล้วโหวย&nbsp มาแล้ววา&nbsp มาแต่ป่า&nbsp รอยตีนโตโต
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 2)&nbsp ต้อนเข้าไว้&nbsp ต้อนเข้าไว้ เอาไปบ้านเรา&nbsp บ้านเราคนจนไม่มีคนหุงข้าว&nbsp ตะละล้า&nbsp หรือต้อนเข้าไว้&nbsp ต้อนเข้าไว้&nbsp เอาไปบ้านเรา&nbsp พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่า&nbsp เอาไปหุงข้าวให้พวกเรากิน&nbsp ตะละล้า
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 3)&nbsp ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะเอาเหวยลูกเขยกลองยาว (บางทีก็ต่อสร้อยด้วยว่า แฮ้ แฮะ บ้าง ตะละล้าบ้าง แช้-วับ บ้าง)
4)&nbsp แฮ้-แฮะ แฮ้-แฮะๆๆ แช้-แช้วับๆๆ (แช้วับ เป็นคำร้องเลียนเสียงตีฉาบ มักใช้ร้องสอดตามจังหวะ)
5)&nbsp ยักคิ้วยักค่อยเสียหน่อยเถอะ ลอยหน้าลอยตาเสียหน่อยเถอะ (ซ้ำ)
6)&nbsp เจ๊กตายลอยน้ำมาๆ ไม่ได้นุ่งผ้าชฎาแหลมเชี้ยบๆๆๆ
7)&nbsp แม่สาวนครสวรรค์ๆ ช่างกล้าหาญเสียนี่กระไร เอ้าต่อเข้าไปๆ ไม่ต้องกลัวตายอีหนูๆ ไม่ต้องกลัวร่วงอีหนูๆ ไม่ต้องกลัวตกอีหนูๆ
8)&nbsp บอกแม่จะไปเก็บถั่วๆ พอลับตาแม่วิ่งแร่หาผัว ตะละล้าบอกแม่จะไปเก็บผักๆ พอถึงท้องร่องกระดองเต่าหัก
9)&nbsp ลูกสาวใครเหวย ลูกสาวใครวา เทวดาก็สู้ไม่ได้ สวยอย่างนี้อย่ามีผัวเลย เอาไว้ชมเชยอีหนูๆ
10)&nbsp แดงแจ๊ดๆ แดงแจ๋ แดงแจ๊ดแจ๋แดงแจ๋แดงแจ๊ด
11)&nbsp ดำปิ๊ดดำปิ๊ดดำปี๋ ดำปิ๊ดปี๋ ดำปี๋ดำปิ๊ด

แต่เนื่องจากคนไทยเรามีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนจึงมักย้ายถ่ายเทการร้องให้แปลกออกไปหรือให้พิลึกพิลั่นเล่นตามอารมณ์ เช่น
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp “ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว” แล้วแทนที่จะร้องแบบเดิมก็ร้องกลับไปมาว่า
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp “ใครมีมะนาว มาแลกมะกรูด”&nbsp  แล้วย้ำว่า “มะกรูด ๆ ๆ ๆ มะนาว ๆ ๆ ๆ” ดังนี้ เป็นต้น

ดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการแสดง
เครื่องดนตรีก็คล้ายของไทย และจังหวะก็ปรับมาเป็นแบบไทย ๆ เพื่อประกอบการรำ เครื่องดนตรี ประกอบด้วยกลองยาวหลายขนาด ซึ่งจะให้เสียงต่างกันออกไปจำนวนไม่จำกัด มีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และปี่ชวาการโห่ร้อง เป็นที่นิยมของการรำกลองยาวก่อนจะเริ่มบรรเลง จะมีการโห่สามลา โดยผู้นำวงจะโห่ยาว และลูกคู่จะร้องรับด้วยคำว่า ฮิ้ว กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง จะรัวรับสามครั้ง จากนั้นกลองจะบรรเลงเป็นจังหวะประกอบท่ารำเพลงร้องประกอบ เป็นเพลงง่าย ๆ สนุกสนาน เนื้อหาไม่เป็นสาระ ไม่บอกประวัติ หรือตำนานใด ๆ การแสดงประกอบอื่น ๆ ในการรำกลองยาว หรือเถิดเทิงหรือเทิ่งบอง เป็นการเรียกเลียนจากเสียงของกลองยาว

ท่าทางการสื่อความหมาย
ท่าทางการสื่อความหมายของรำกลองยาวหรือรำเถิดเทิง จะเป็นบทร้องและมีการร่ายรำตามจังหวะเพื่อความสนุกสนานของผู้เล่น ผู้ร่ายรำก็จะเดินและร่ายรำไปตามจังหวะกลอง เพราะการแสดงรำกลองยาวนี้จะเป็นเพลงง่ายๆ สนุกสนาน เนื้อหาไม่เป็นสาระมากนัก และจะเล่นกันเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
บางครั้งมีการนำการแสดงอย่างอื่นเข้ามาประกอบ เช่น หัวโต หัวจุก เจ้าแกละ ทำจากไม้ไผ่สานเป็นโครงและใช้กระดาษแปะระบายสี ทำเป็นหัวคนขนาดใหญ่ โดยมากมักจะทำเป็นหัวเด็กที่ไว้ผมจุกและผมแกละ ผู้เล่นจะนำหัวโตมาวางครอบหัวตัวเองแล้วเต้นไปตามจังหวะกลองยาวกระตั้วแทงเสือ มีตัวแสดง ๓ ตัว คือ เสือ นายกระตั้ว และเมียดำเนินเรื่องโดยนายกระตั้วและเมียออกไปหาผลไม้ในป่าและบังเอิญพบเสือ จึงมีการต่อสู้กัน ความสนุกสนานของการเล่นหรือการแสดงกระตั้วแทงเสือจะอยู่ที่ตัวแสดงที่เป็นเมียนายกระตั้ว เพราะนำผู้ชายมาแต่งตัวและเล่นเลียนแบบท่าทางของผู้หญิงอย่างกระโดกกระเดกน่าขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องหนีเสือจนผ้าถุงหลุดลุ่ย แต่ในที่สุดนายกระตั้วก็สามารถแทงเสือตาย ขณะที่เล่นนี้ กลองยาวก็จะบรรเลงล้อมวงไปด้วยระยะเวลาการแสดง ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงขึ้นไป


แหล่งข้อมูล
http://www.google.co.th
http://www.student.chula.ac.th/~50467764/terdterng.htm
http://gotoknow.org/blog/seksan1971/139874
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=392
http://203.172.208.244/work/2551/art/web/33/092833/page5.htm
http://home.petjaratsang.com/bbs/viewthread.php?tid=188
http://learners.in.th/blog/mouy/273132
http://www.thaidances.com/picture&data/5_8.asp
http://bunjerd.blogspot.com/2006/09/blog-post.html

1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีข้อความหยาบคาย ใช้ภาษาไม่เหมาะสม

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีข้อความหยาบคาย ใช้ภาษาไม่เหมาะสม

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีข้อความหยาบคาย ใช้ภาษาไม่เหมาะสม