ไปร้องคาราโอเกะกัน

 

     ล้า~ ฮ้า~ หล่า ลา ล้า ลา~ ขอวอร์มเสียงหน่อยนะครับ เพราะ Hobby คอลัมน์บอยส์ จะพูดถึงการไปร้องคาราโอเกะ กิจกรรมสร้างเสียงเพลง ที่พี่มิ้งคิดว่า เป็นความบันเทิงชั้นดี ที่อยากเอามานำเสนอ เช็คลูกคอ เช็คไมโครโฟน และไปร้องกันเลย!!

     คาราโอเกะนั้นเริ่มต้นในญี่ปุ่นเมื่อต้นทศวรรษ 1970 เมื่อนักร้องในร้านอุตะโกะเอะ คิซซาคนหนึ่ง ชื่อ ไดซุเกะ อินุอะเอะ ได้รับคำร้องขอจากลูกค้าอยู่บ่อยๆ ให้บันทึกการแสดงดนตรี เพื่อพวกเขาจะได้ร้องเพลงตามไปด้วย เมื่อทราบความต้องการของผู้คน ไดซุเกะจึงเกิดปิ๊งไอเดีย ทำเครื่องบันทึกเทปที่เล่นเพลงได้ เมื่อหยอดเหรียญ 100 เยนลงไปขึ้นมา

     ช่วงแรก 100 เยน เพื่อแลกกับการร้องคาราโอเกะถือว่าแพงมาก แต่ถึงอย่างนั้น ต่อมาคาราโอเกะก็กลายเป็นความบันเทิงยอดนิยมในที่สุด เครื่องคาราโอเกะมีบริการในร้านอาหาร ห้องต่างๆ ของโรงแรม และไม่ช้าก็เปิดธุรกิจใหม่คือ ร้านคาราโอเกะ Karaoke Box ที่มีห้องขนาดเล็ก พร้อมด้วยเครื่องคาราโอเกะให้บริการ

 
     
     คาราโอเกะมันดีอย่างไร
    ผ่อนคลาย ระบายอารมณ์ (เพลงช้าผ่อนคลาย/เพลงมันระบายอารมณ์)
    ร้องเพลงเพราะขึ้น (ร้องบ่อยแล้วไม่เพราะ ก็เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นเถอะ)
    ร้องเพลงจีบสาว (จัดเต็มกับเพลงรักหวานซึ้งเผยความในใจ)
    สังสรรค์เพื่อนฝูง (ร้องไม่เพราะไม่ว่า เน้นฮาไว้ก่อน)
    แก้เบื่อระหว่างรอ (เวลาในห้องคาราโอเกะผ่านไปไวเสมอ T.T)

  

     (คำว่า คาราโอเกะ มาจากคำว่า  คาระ หมายถึง ว่างเปล่า และ โอเกะ ซึ่งย่อจากคำว่า "โอเกะซุโตะระ" หมายถึง วงออร์เคสตร้า)

     คาราโอเกะในไทย ธุรกิจคาราโอเกะเข้าสู่ประเทศไทยโดยประมาณ พ.ศ. 2520 โดย เริ่มต้นที่ย่าน "ธนิยะ" สถานประกอบการกลางคืน โดยถนนธนิยะในอดีตจะเป็นศูนย์กลางสำหรับนักธุรกิจนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น ยุคแรกรูปแบบของคาราโอเกะในประเทศไทย กลุ่มของลูกค้าเป็นคนกลางคืนเสียส่วนใหญ่ จึงถูกมองในภาพลบ

     ต่อมาจากถนนธนิยะ คาราโอเกะก็เริ่มแพร่หลาย เปลี่ยนเป็นรูปแบบความบันเทิงใหม่ในยามค่ำคืนทั่วกรุงเทพฯ และตามเมืองใหญ่ของไทย ไม่ว่าจะเป็นคลับชั้นสูง โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร คาเฟ่
 
     ในปีพ.ศ.2545 ประเทศเริ่มมีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่และค่าทำซ้ำต่อสาธารณชน ตามเงื่อนไขของ WTO ที่ต้องดูแลและให้ความสำคัญต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งการจัดเก็บเริ่มต้นในธุรกิจของคาราโอเกะเป็นลำดับแรก

 
     เลือกเพลงไม่เหมาะกับตัวเอง เน้นความสำคัญในการเลือกเพลงไปที่เสียงร้อง ถ้าเป็นคนเสียงทุ้มใหญ่ แต่ไปเลือกเล่นของสูง(และเสียงสูง)ของ บิ๊กแอส อันนี้ต้องโหนเสียงกันแทบจะเล่นยิมนาสติก ดังนั้นเลือกเพลงให้เข้ากับเสียง ให้เข้ากับความสามารถ และสุดท้ายเข้ากับหน้า (ฮ่าๆ)
 
     เลือกเพลงที่ร้องไม่คล่อง ถ้าเอาแต่ความชอบ บางทีหนุ่มๆ อาจร้องไม่ทันเนื้อ เลือกลงจังหวะผิด หรือเสียงหลงกันจนต้องตามหน่วยกู้ภัยมาช่วย ดังนั้นการเลือกเพลงที่ร้องคล่อง จะทำให้คะแนนหลังร้องเสร็จไม่ต่ำกว่า 80 คะแนนแน่นอน (ซึ่งเกณฑ์คะแนนจะออกแนวสุ่มเอาเสียมากกว่า --")

     อารมณ์มาเกิน มันต้องมีบ้างที่เพลงช้ากินใจจะทำให้หนุ่มผู้ร้องเผลอหลับตาไปตามความรู้สึก แต่พอลืมตามาอีกที "เฮ่ย อ่านเนื้อไม่ทัน" หรือเพลงแดนซ์กระจัดกระจาย ก็เต้นจนลืมเนื้อ ซึ่งการสนุกจนอยากลุกขึ้นมาเต้น ย่อมทำได้ แต่อย่าเต้นจนลืมเนื้อร้องล่ะ ท่องไว้ เนื้อเต้น เนื้อเต้น เนื้อเต้น

 

     เป็นกิจกรรมเสริมสร้างอารมณ์ความรู้สึกได้ดีทีเดียว หนุ่มๆ จะพาเพื่อนฝูงไปเฮฮา หรือจะไปร้องสนุกซึ้งกับแฟนสาว ปู่ไดซุเกะ อินุอะเอะ ก็ขอคอนเฟิร์มว่าของเขาดีจริงๆ

 

 

 

 

 

 Credit : th.wikipedia.org, karaokezone.blogspot.com

พี่มิ้งค์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

38 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เด็กหญิงน้องมายด์ :') 20 ส.ค. 54 20:08 น. 6
ชอบมากค่า ร้องคาราโอเกะ ... เพลงไม้ตายก็เยอะอยู่ - -" แต่ชอบร้องนาน ๆ แบบเมื่อปีใหม่เราร้องจนถึงตีสาม คือทุกคนเอือมเลยทีเดียว ฮ่า ๆๆๆๆ
0
กำลังโหลด
♥.*ใบไม้ในสายลม Member 20 ส.ค. 54 20:08 น. 7
 ไปคาราโอเกะ ไม่เคยมีร้องถูกจังหวะ ถูกอะไรเลย
ร้องเอามันส์ บ้าพลัง แดนซ์กระจายกันอย่างเดียว 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
พาวเดอร์ :)) Member 20 ส.ค. 54 20:20 น. 11
ชอบร้อง'เกะตรง ..
ที่ จว. เรา ห้องร้องเพลงจะมีกระจกกั้นพอประมาณให้เห็นคนที่ห้องข้างๆ
แล้วส่วนใหญ่จะเป็นคนหล่ออ่ะ (ที่เจอ)
เจอครั้งนึง หน้าเหมือนยงฮวามากก แบบว่า ละลายอ่ะ
กรี๊ดดดด 

เอ่อ จว. ขอนแก่นจ้ะ *x*

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
darkdevil Member 20 ส.ค. 54 21:44 น. 15
 ตอน มจ้นร้องบ่อยนะ แต่พอขึ้นมปลายมาแถบไม่มีโอกาส เพลงที่ชอบร้องฉันอยู่ตรงนี้ ของพี่ปู แบล็กเฮดอะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด