คณะสัตวแพทยศาสตร์ Issue 002 week2, December 2009
 
คณะสัตวแพทยศาสตร์
ตอนที่ 2/4 : จากรุ่นพี่ถึงรุ่นน้อง
 
ชีวิตในรั่วมหาวิทยาลัย

        
        สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ..... มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของคณะในฝัน "สัตวแพทยศาสตร์" คณะแห่งคนใจดีอยากช่วยเหลือสัตว์ วันนี้ พี่เป้ ควงมาพร้อมกับ 3 สาวรั้วฟ้าหม่นที่พร้อมจะเปิดใจถึงชีวิตการเรียน ตั้งใจอ่านกันให้ดี รับรองว่าได้อะไรอีกเยอะเลย

     รุ่นพี่ คนที่ 1
ปารัชญ์ โพธิ์เนียม (เล็ก)
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ปี 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

 
พี่เป้ : แนะนำตัวหน่อยค่ะ
พี่เล็ก : ค่า สวัสดีค่ะ ชื่อ เล็กค่ะ นางสาวปารัชญ์ โพธิ์เนียม อยู่ชั้นปีที่ 3 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พี่เป้ : เล็กเข้ามาเรียนคณะนี้โดยวิธีไหนคะ แล้วเตรียมตัวยังไงบ้าง
พี่เล็ก : เข้ามาเรียนโดยการสอบโควต้าเข้ามาค่ะ ที่นี่ครึ่งนึงจะเป็นเด็กโควต้า การสอบจะจัดสอบราวๆ เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม เริ่มประกาศรับสมัครช่วงเดือนสิงหาคม การสอบก็จะสอบ 7 วิชา 4 ชุดข้อสอบ คือ คณิตศาสตร์ ชีววิทยา เคมี-ฟิสิกส์ ไทยสังคม-อังกฤษ จะมีโควต้าวิทยาเขต ( 4 วิทยาเขต สอบได้เฉพาะจังหวัดที่กำหนดใน วิทยาเขตนั้นๆ) กับโควต้าความถนัดทางวิชาชีพ(รับทั่วประเทศ) เกณฑ์ผ่านคือคะแนนรวมทุกวิชาต้องเกิน 30 % พอผ่านก็ต้องมา
สอบ ความถนัดทางวิชาชีพและสอบสัมภาษณ์ต่อไป

       วิธีเตรียมตัวตอนม.6 นี่จะไม่เรียนพิเศษแล้วอะค่ะ ใช้วิธีอ่านเองที่บ้าน จะได้มีเวลาอ่านทบทวนเยอะ การอ่านก็จะใช้วิธีเขียน
แพลนไว้ว่าจะอ่านอะไรยังไง บทนี้ วิชานี้ ต้องจบวันไหน จะเลือก อ่านวิชาที่ตัวเองไม่ถนัดก่อน จะได้มีเวลาทบทวนเยอะๆ อ่านหนังสือ จริงๆราวๆสามเดือน (น้อยเนอะ ^ ^) แต่อ่านทุกวัน 3 ทุ่มถึง ราวๆ ตี 2 ก็จะอ่านวิชาที่กำหนดไว้แล้ว ก็จะอ่าน reading ทุกวันวันละ 1 เรื่อง เพราะอ่อนด้อยภาษาอังกฤษมากมาย แหะๆ - -" ที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องพื้นฐานในห้องเรียนมาแล้ว เวลาทบทวนก็จะได้ใช้เวลาน้อยกว่า เข้าใจในสิ่งที่อ่านง่ายกว่า

พี่เป้ : บรรยากาศในคณะเป็นยังไงบ้างคะ เฮฮา อบอุ่นอะไรยังไงบ้าง
พี่เล็ก : คณะสัตวแพทย์จะเรียนที่ศาลายา (ศาลายาไม่ใช่วิทยาเขตนะ ^ ^) ตลอด 6 ปีค่ะ อาจจะมีไปที่อื่นบ้างแต่ไม่ได้อยู่ถาวร อ้อ เรามีคณะที่วิทยาเขตกาญจนบุรีด้วย มีโรงพยาบาลสำหรับการเรียนการสอน ทั้งที่ศาลายาและกาญฯ ที่กาญฯ อากาศดีมากกกก ร้อนตับแตก ไม่ก็หนาวจนไม่อยากอาบน้ำ เหอะๆ แต่บรรยากาศดี อยู่บนเขา
       ตอนปีหนึ่งจะเรียนรวมที่คณะวิทย์ เป็นเตรียมสัตวแพทย์(น้องๆ บางคนอาจไม่รู้แต่ข้อสอบจั่วหัวยังงี้จริงๆนะ ^ ^) ก็จะเรียนและตัดเกรดกับคณะในกลุ่มหมอๆ ด้วยกัน เรียนวิชาคำนวณด้วยนะ (ใครไม่ชอบต้องทำใจ) เทอมแรกมีเรียน Calculus and Systems of Ordinary Differential Equations กับ Basic Physics for Medical Science
       เทอมสองเรียน Statistics for Medical Science และ Physics for Medical Science ก็จะแอบยากเพราะหมอทั้งหลายเก่งมากกกกก ปีหนึ่งจะเป็นปีที่มีเพื่อนเยอะ หลายคณะมากๆ เพราะมีเรียนวิชาศึกษาทั่วไป(MUGE) เด็กๆ อาจไม่ค่อยชอบเพราะจะอารมณ์ประมาณการเรียนวิชาสังคมแต่เรียนตั้ง 3 ตัว ถือว่าเยอะมากแต่เกรดดีน้อ ปีหนึ่งถ้าใครติดเอฟก็ต้องไปเรียน summer ที่พญาไท อยากจะแอบบอกว่าคณะสัตวแพทย์เราไปเรียนเยอะสุดแล้ว ในบรรดาหมอๆทั้งหมด แหะๆ - -
      พอขึ้นปีสองก็จะเริ่มเป็นการเรียนสัตวแพทย์จริงๆ จังๆ แล้ว ก็จะย้ายมาเรียนที่ตึกคณะ เป็นการตัดขาดจากโลกภายนอก เหอะๆ พอขึ้นปีสองการเรียนก็จะหนักขึ้น บางวันเรียนตั้งแต่แปดโมงครึ่ง ไปเลิกเอาตอนห้าโมงเย็นกันเลยทีเดียว การเรียนในปีหลังๆจะขึ้นกับความตั้งใจของเราเป็นหลัก เพราะเป็นวิชาใหม่ที่ไม่เคยเรียน แถมสไลด์อาจารย์ก็ภาษาอังกฤษ หนังสือให้อ่านก็ภาษาอังกฤษอีก แล้วอีกอย่างที่มหิดล คณะสัตวแพทย์ คือ veterinary science ไม่ใช่ veterinary medicine น้องอาจจะงงว่ามันต่างกันยังไง vet sci จะเน้นในด้านการทำวิจัย ควบคู่ไปกับการเรียน ที่มหิดลก็เลยจะมีวิชาที่เกี่ยวกับการทำวิจัยเยอะมากราวๆ 20 หน่วยกิต มีการทำ research ในตอน ปี 4 และ ปี 6 มีวิชาที่เกี่ยวกับสัตว์ป่าและการอนุรักษ์เยอะ นอกจากนี้เรามีสอนเกี่ยวกับสัตว์ทดลองด้วยนะ
     การเรียนก็จะเป็น class เล็กๆ มีนักศึกษาราวๆ 40-50 คนต่อชั้นปี การมีคนต่อชั้นปีน้อยจะมีประโยชน์เวลาเรียนเพราะเราจะได้ทำจริงๆจังๆทุกคน รวมแล้วทั้งคณะก็จะมีราวๆ 200-300 คนเอง เป็นคณะเล็กที่อบอุ่น แทบจะจำกันได้หมด เวลาทำกิจกรรมก็จะปวดหัวนิดหน่อย เพราะคนนึงก็จะทำหลายงานมาก จะเป็นคณะที่รวมของแปลก แปลกยังไงน้องๆ ต้องเข้ามาสัมผัสเอง

พี่เป้ : ลองพูดถึงอาจารย์ซักท่านที่ประทับใจ แล้วทำไมถึงประทับใจท่าน
พี่เล็ก : อาจารย์ที่ประทับใจก็อาจารย์สัตวแพทย์หญิง วันทนีย์ รัตนศักดิ์ค่ะ อาจารย์เป็นคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหิดล อาจารย์เป็นสัตวแพทย์สัตวทดลองรุ่นบุกเบิกเลยค่ะ มีส่วนช่วยในการพัฒนาการเลี้ยงและผลิตสัตว์ทดลองในเมืองไทยให้มีมาตรฐาน ท่านสอนให้เราเห็นความสำคัญของสัตว์ ทดลองต่องานวิจัย ท่านเคยเป็นผู้อำนวยการสำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติด้วย (สำนักเนี่ยก็ตั้งอยู่ข้างๆ คณะนี่แหละค่ะ)

พี่เป้ : ที่มหิดลมีแบ่งสาขามั้ยคะ แล้วแบ่งเป็นอะไรบ้าง
พี่เล็ก : มหิดลไม่มีแบ่งสาขาค่ะ เราจะเรียนทฤษฎีทั้งหลายจบภายในปี 5 แล้วพอปี 6 ก็จะออกฝึกงานทั้งปี ทุกคนต้องทำได้ทุกอย่าง ดังนั้นเราก็เลยจะไม่ค่อยเห็นหน้าพี่ปี 6 กันซักเท่าไหร่

พี่เป้ :คิดว่าคนที่จะมาเรียนคณะนี้ นอกจากรักสัตว์แล้ว ควรมีคุณสมบัติอะไร เป็นพิเศษมั้ย
พี่เล็ก : ต้องเป็นคนที่มีความขยันและอดทนค่ะ เพราะการเรียนในห้อง ะหนักมาก มีวิชาให้จำเยอะแยะ พอออกไปทำงานงานก็ลำบาก บางทีก็ต้องออกไปตากแดดตากลม หรือไม่ก็มานั่งขัดบ่อกบ(อันนี้พี่เค้า ทำกันมาจริงๆนะ ^ ^) นอกจากนี้ต้องเป็นคนละเอียดอ่อน ที่สำคัญต้องไม่กลัวเลือดและตาบอดสีนะ ไม่งั้นเวลาเรียนผ่าตัดจะทำไม่ได้

พี่เป้ : ลองมองสังคมไทยในปัจจุบัน คิดว่าปัญหาสัตว์อะไรควรได้รับ การแก้ไขมากที่สุด
พี่เล็ก : ปัญหาสุนัขจรจัดค่ะ ตรงนี้มันเป็นปัญหามานานแล้ว ที่คนเอาสุนัข มาปล่อย จะขอยกตัวอย่างที่มหิดลศาลายานะคะ ก่อนที่จะมีบ้านรักษ์หมาเนี่ย จะมีสุนัขจรจัดเต็มไปหมดเลย เพราะมีคนเอามาปล่อย พอมีคนเอามาปล่อย ก็มีคนใจบุญเอาอาหารมาเลี้ยง นานวันเข้ามันก็เยอะจนกลายเป็นปัญหาหลายๆ อย่าง ทั้งความสกปรก กัดกัน และบางทีก็ทำร้ายคน สุนัขที่ศาลายายังได้รับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้านะคะ แต่ถ้าเป็นข้างนอกล่ะ?   พอคณะมีการตั้งบ้านรักษ์หมาขึ้นมาเพื่อรวบรวมสุนัขจรจัดเหล่านี้ให้มีที่อยู่และทำการฝึกนิสัยเพื่อหาเจ้าของให้ต่อไป ก็มีคนเอาสุนัขมาปล่อยเยอะขึ้น บางคนก็คิดว่ามันเป็นการทารุณกรรม ก็ไปแอบปล่อยออกมาก็มี ทั้งๆที่บางตัวมันป่วยต้องกินยา พอมาปล่อยมันออกไปก็เกิดปัญหา ต้องไปตามหา

พี่เป้ : แล้วที่มหิดลจะมีการจัดค่ายให้แก่น้องๆ ที่อยากเข้าคณะนี้ ด้วยหรือเปล่าคะ จัดเมื่อไรยังไง
พี่เล็ก : มีค่ะ ชื่อค่ายฟ้าหม่น...คนดี ค่ายจะจัดราวๆ ปลายเดือนมกรา-กุมภา ของปีนี้มีการติดประกาศรับสมัครแล้ว โหลดใบสมัครใน 
 http://www.vetmu.com/index.php  รีบๆ สมัครนะคะ รับน้อย เพราะคนทำงานน้อย แล้วมาเจอกันค่ะ

พี่เป้ : สุดท้ายอยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเข้าคณะนี้
พี่เล็ก : การเรียนที่คณะสัตวแพทย์ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม ต้องใช้ความพยายามและอดทนมากๆ จบมาแล้วงานก็ไม่ได้สบาย เป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงมาก อยากให้น้องๆ ลองถามตัวเองดูดีๆ ว่าแน่ใจแล้วรึยังที่จะเข้ามาเรียน ไม่อยากให้เลือกเพราะชั้นไม่ชอบคำนวณ(เพราะมันต้องใช้นะ) หรืออยากเรียนหมอแต่ไม่ได้ ที่มหิดล ตอนปีหนึ่งเกรดน้องจะแย่จนถึงขั้นติดโปร นอกจากนี้พอขึ้นปีสูงๆ ก็จะเรียนหนักมาก ไม่ค่อยมีเวลาเป็นของตัวเองเท่าไหร่ น้องรับได้รึเปล่า พี่ไม่อยากให้น้องเสียเวลาหนึ่งปีไปเปล่าๆ หรือเข้ามาเรียนแล้วไปไม่ไหว การจะสอบเข้ามาไม่ยากหรอกค่ะ ถ้าเทียบกับการเรียนในคณะ สู้ๆ นะคะ แล้วเจอกันที่บ้านสีฟ้าหม่นค่ะ







 

 

   รุ่นพี่ คนที่ 2
ภาษร ภูผา (อะตอม) คณะสัตวแพทยศาสตร์
ปี 1
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

พี่เป้ : แนะนำตัวแก่น้องๆ ชาว Dek-D.com หน่อยค่ะ
พี่อะตอม : สวัสดีค่ะ ชื่อภาษร ภูผา ชื่อเล่นชื่ออะตอม ปัจจุบันเป็นนิสิตปี 1 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยค่ะ ^^

พี่เป้ : ทำไมอะตอมถึงสนใจเรียนคณะนี้ล่ะ
พี่อะตอม : อ่า..รักสัตว์ค่ะ >/////< 555 อันนั้นก็ฟังดูดีเกินไป ความจริงคือตอน ม.6 ก็เป็นเด็กที่ล่องลอยกับชีวิตคนนึงเหมือนกัน แต่เย็นวันหนึ่งแมวที่บ้านคาบลูกกระต่ายมา เรารีบเข้าไปช่วยแต่ว่าช่วยไม่ได้ แล้วมันก็ตายไปในมือของเรา เป็นอะไรที่สะเทือนใจมากๆ ยังจำแววตาของมันที่มองเราเหมือนอยากจะ ขอให้ช่วยชีวิตมันหน่อยแต่เราทำไม่ได้ T T อันนี้คือจุดเปลี่ยนประกอบกับชอบเรียนทางวิทยาศาสตร์สุดๆอยู่แล้วก็เลยตัดสินใจมาเรียนทางด้านนี้ค่ะ

พี่เป้ : ตอนแอดมิชชั่นได้คะแนนแต่ละวิชาเท่าไรบ้าง
พี่อะตอม : โกหกว่าลืมไปแล้วได้มั๊ยคะ? 555 ล้อเล่นค่ะ แน่นอนว่าลืมไม่ลงอยู่แล้ว เพราะช่วง admission นี่มันเหมือนเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิตเลย จำได้ว่าได้คะแนน O-NET ค่อนข้างดีค่ะ ที่ได้เยอะๆ คือเลขได้ 90กว่าๆ ที่เหลือก็ประมาณุ 60-70กว่าๆ แต่ค่อนข้างโง่ อังกฤษสุดๆ ได้แค่ 38 คะแนนเอง T^T ส่วน A-NET ก็ทั่วๆไป(รุ่นของอะตอมเป็น รุ่นสุดท้ายที่ใช้ระบบ O-NET,A-NET ค่ะ) รวมคร่าวๆก็ประมาณเกือบๆเจ็ดพันค่ะ ที่ยอมเปิดเผยคะแนนนี่เพราะอยากให้น้องๆเห็นว่าถึงแม้ไม่เก่งเว่อร์แต่ก็ยังสามารถสอบติดได้ อย่ายอมแพ้ค่ะ!

พี่เป้ : แล้วพอมาเรียนจริงๆ แตกต่างจากที่คิดไว้มั้ย ยากหรือง่ายกว่าที่คิด
พี่อะตอม : การเรียนในคณะนั้นมันก็ไม่ได้มากมายมหาศาล อย่างที่เคยจินตนาการไว้ตอนแรก ช่วงเทอมแรกของปีหนึ่งจะเป็นการเรียนปรับพื้นฐานซึ่งวิชายากๆ คงเป็นพวกฟิสิกส์-เคมีซึ่งเนื้อหาลึกกว่า ม.ปลาย แต่พอหลุดเทอมนี้มาแล้ว ก็จะเริ่มเข้าวิชาคณะเรียนเรื่องสัตว์เยอะขึ้นซึ่งคิดว่าเป็นวิชาที่เรียนสนุกมากๆ เลย โดยเฉพาะคนที่ชอบชีวะหรือชอบเกี่ยวกับสัตว์ น่าจะเรียนได้ดีมากๆ ค่ะ

พี่เป้ : ลองเล่าถึง 2 วิชาที่สนุกๆ หน่อย ว่าสนุกหรือยากง่ายยังไง
พี่อะตอม :ขอเม้าท์วิชาที่สนุกสุดๆ ก่อนเลย ชอบวิชา pet care ค่ะ สอนเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยงตั้งแต่หมาแมวไปจนหนู นก เต่า ปลา ฯลฯ อาจารย์ชอบหาภาพน่ารักๆ มาให้พวกเรากรี๊ดกร๊าดบ่อยๆ แล้วยังได้เรียน เกี่ยวกับพฤติกรรม โรค การดูแล และอีกมากมาย อาจารย์ผู้สอนก็น่ารัก บางท่านสอนเรื่องหนูแฮมสเตอร์ก็จะมีลักษณะน่ารักๆ รูปร่างหน้าตา คล้ายหนูแฮมสเตอร์ ขำๆ และวิชานี้ก็เป็นวิชาเดียวที่อะตอมไม่เคยขาด และไม่เคยหลับด้วยค่ะ

       แต่ถ้าให้เล่าถึงวิชาโหดๆ ก็ต้องขอควบ “ฟิสิกส์ สำหรับนิสิตแพทย์”และ “เคมีสำหรับนิสิตแพทย์” ใครได้ก็จะได้ดิบได้ดีไปเลย แต่ถ้าไม่ก็กระอักเลือดเป็นแม่น้ำแยงซีเกียงเลย เนื้อหาเคมีจะลึกมากๆ โดยเฉพาะช่วง final ส่วนฟิสิกส์ก็จะเน้นหนักเกี่ยวกับทางร่างกาย เช่นเรื่อง สมดุล-คาน เราก็จะคำนวณเกี่ยวกับการรับน้ำหนักของกระดูก เรื่องความดัน ก็จะเรียนเกี่ยวกับการให้น้ำเกลือ,เส้นเลือด ซึ่งแตกต่างจากม.ปลายเล็กน้อย แต่ไม่ต้องกังวลมากเพราะเมื่อจบเทอม1ไปแล้ว วิชาเหล่านี้ก็จะจากลาไปด้วย และเริ่มเข้าไปเรียนเรื่องสัตว์จริงจัง

พี่เป้ : แล้วได้ทำกิจกรรมอะไรของคณะบ้าง
พี่อะตอม : ที่คณะจะมีค่ายเยอะมากๆ ทั้งค่ายสัตวแพทย์อาสา ค่ายZEWE(เกี่ยวกับสัตว์ป่า) ฯลฯ แต่ที่อะตอมเคยมีโอกาสได้เข้าร่วมเป็นค่ายสนุกๆ 2 ค่ายค่ะ ค่ายแรกคือค่าย Rabies (เรบี่) เป็นค่ายที่พานิสิตไปออกค่ายอาสาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามชุมชนที่ต่างจังหวัดค่ะ ซึ่งไปที่ จ.ชลบุรี(บ้านเกิดค่ะ อะตอมจบจากโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม จ.ชลบุรี) ที่ค่ายนี้เป็นครั้งแรกที่ได้ลองฉีดยาสัตว์จริงๆ คนไข้(หรือเรียกว่าสัตว์ไข้ดี ><) รายแรกของอะตอมเป็นแมวดำค่ะ (T^T ลางดีมาก) จำได้ว่าตื่นเต้นมาก มือสั่นไปหมด แต่พอได้ลองทำไปเยอะๆ ก็คล่องขึ้นมากเลย
       ค่ายที่สองคือ “ค่ายอนามัย” ค่ะ เพิ่งเข้าไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนนี้เอง ที่ค่ายนี้พวกคณะแพทย์ ทันตะ เภสัช สหเวช พยาบาลและสัตวะ แพ็คทีมกันไปบำเพ็ญประโยชน์ตั้งหน่วยอนามัยดูแลชาวบ้านที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งค่ายนี้ก็ได้ทำอะไรเยอะขึ้นมาก ได้ใช้เสตร็ทโทรสโคปที่อยากแตะต้องมาตั้งนาน ได้วัดอุณหภูมิน้องหมา-แมว โดยการ..เอาปรอทจิ้ม anus ของมันค่ะ >///< แล้วก็ได้ทำอะไรอีกเยอะแยะ.. แต่ที่ประทับใจคือความตั้งใจจริง ในการมา บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนของรุ่นพี่ค่ะ จิตวิญญาณแห่งหมอมีจริงนะคะ!

 

 

พี่เป้ : คิดว่าจุดเด่นของสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อยู่ที่อะไรคะ?
พี่อะตอม : หน้าตาดีค่ะ! (กรี๊ดดดด..ไม่อาย ><) จริงๆคิดว่านอกจากวิชาการแน่นดี มีค่ายเยอะแล้ว อะตอมว่าคณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ มีจุดเด่นอยู่ที่ “ความสามารถทางการแสดง”ค่ะ อ๊ะ! งงล่ะสิ อะตอมเองก็ยังงงอยู่เหมือนกัน ตอนแรกเคยคิดว่าที่นี่อาจจะน่ากลัว มีแต่คนเก่งๆ เนิร์ดๆ ไฮโซๆ แต่พอมาอยู่จริงๆแล้ว มันไม่ใช่เลย ตอนแรกคิดว่าเข้าคณะผิดค่ะ นึกว่ามาเรียนคณะนิเทศซะมากกว่า เพราะรุ่นพี่แต่ละคนจะออกแนวๆ นั้นค่ะ ขำกลิ้ง ติ๊งต๊อง ชอบแสดงละครเป็นชีวิตจิตใจ 555 พูดไปก็เท่านั้นค่ะ ต้องมาเจอเองจะรู้ว่าของเค้าแรงงงงงง!

พี่เป้ : แล้วอนาคตตั้งใจจะทำงานอะไรคะ
พี่อะตอม : ในตอนนี้คงยังให้คำตอบแน่นอนไม่ได้ค่ะ แต่อยากเล่าว่าที่จุฬาฯ แต่เดิมตอนปี 6 (สัตวแพทย์เรียนหกปี) จะให้นิสิตเลือกแยกว่าอยากเรียนสัตว์เล็ก(สัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นเพื่อน) หรือสัตว์ใหญ่ (สัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร) แต่ว่านับจากปีที่แล้วจุฬาฯได้ใช้หลักสูตรใหม่ ให้ไม่ต้องแยกสายค่ะ เรียนหมดทุกสัตว์เลย จบแล้วก็ไปได้หลายทาง ส่วนตัวอะตอมเองก็สนใจทั้งสองทางเลย คิดว่าไปเป็นสัตวแพทย์สัตว์น่ารักๆ ก็ดูจะมีความสุขดี ไปเป็นสัตวแพทย์สัตว์ใหญ่ก็ดูเหมาะกับรูปร่างหน้าตาดี 555+ สรุปคือเป็นเรื่องขออนาคตที่ไม่แน่ใจเหมือนกัน

พี่เป้ : สุดท้ายอยากให้ช่วยฝากถึงน้องๆ ที่อยากเรียน คณะนี้หน่อยค่ะ
พี่อะตอม : ถ้าน้องมั่นใจแล้วว่าน้องเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ก็จงทุ่มเทเต็มที่ กับโอกาสที่น้องมี กับเวลาที่ยังเหลืออยู่ จะได้ไม่เสียใจทีหลัง (จริงๆนะ) ที่เหลือนอกจากนี้ก็แวะมาหาคำตอบได้ที่ “ตะลุยชีวิตมหา’ลัยกับยัยสัตวแพทย์ขาลุย
”  http://writer.dek-d.com/a/writer/view.php?id=522163 ค่ะ โชคดีนะคะ!

 

 

รุ่นพี่ คนที่ 3 : ศฉัตรทิพย์ สุภัทรพาหิรผล (เอ้)
ปี 5 คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พี่เป้ : ช่วยแนะนำตัวแก่น้องๆ หน่อยค่ะ
พี่เอ้ : สวัสดีค่ะ ชื่อฉัตรทิพย์ สุภัทรพาหิรผล (เอ้) ค่ะ เป็นนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 ค่ะ

พี่เป้ : อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้อยากเรียนคณะนี้คะ
พี่เอ้ : บังเอิญค้นพบตัวเองราวๆ มัธยมต้นค่ะ ว่าชอบสัตว์เอามากๆ เห็นสุนัข เห็นแมวนี่เป็นไม่ได้ต้องเข้าไปเล่นด้วยตลอด (ฮา) เคยโดนดุเหมือนกันค่ะว่ามันอันตราย เดี๋ยวโดนกัด เดี๋ยวติดโรค ฯลฯ หลังๆ ก็ระวังมากขึ้นนะ (แต่ไม่วายไปเล่นอยู่ดี 55+) จริงๆก็ไม่ได้ชอบแค่สุนัขหรือแมวหรอกนะคะ แต่ชอบสัตว์ป่าด้วยเหมือนกัน ก็เลยตั้งเป้าไว้คณะสัตวแพทยศาสตร์นี่แหละค่ะ นอกจากจะได้รู้จักพวกเค้ามากขึ้น จบมาก็สามารถรักษาพวกเค้าได้อีกด้วย ตอนนั้นก็คิดไว้คณะเดียวนี่แหละค่ะ ยังไงก็อยากเข้าให้ได้ เลยเป็นแรงผลักดันให้ตั้งใจอ่านหนังสือสอบสุดๆ เข้ามาแล้วก็ไม่ผิดหวังค่ะ ^^

พี่เป้ : จำคะแนนตอนแอดมิชชั่นได้มั้ย ฟิตวิชาไหนเป็นพิเศษรึเปล่า
พี่เอ้ : ไม่อยากบอกเลยค่ะ ว่าตอนนั้นเป็นระบบเอนทรานซ์อยู่ (รุ่นสุดท้ายเลยนะเนี่ย~) เนื่องจากเป็นระบบเก่าเลยยังมีระบบโควตารับตรง คือเอา คะแนนเอนฯ รอบแรกยื่นเข้าคณะมาโดยตรง คะแนนวิชาภาษาไทยกับสังคมราวๆ 60 ภาษาอังกฤษ77 ฟิสิกส์ 87.5 เคมี 68 ชีววิทยา 54 คณิต 32 วิชาที่ฟิตหรอคะ ตอนนั้นชอบฟิสิกส์กับอังกฤษก็เรียนพิเศษเพิ่มเหมือนกัน ส่วนชีวะอ่านเอาเอง จริงๆ ใครถนัดวิชาไหนก็แนะนำให้ลุยวิชานั้นไปให้เต็มที่ดีกว่าค่ะ ตอนสัมภาษณ์เข้าคณะ ยังโดยอาจารย์ ที่สัมภาษณ์แซว เลยค่ะว่าไม่ไปเรียนวิศวะหรอ (ก็หนูอยากเข้าคณะนี้นี่คะ อาจารย์ T-T)

พี่เป้ : แล้วที่เกษตรฯ มีแบ่งสาขามั้ย
พี่เอ้ : ที่ม.เกษตรฯไม่ได้แบ่งสาขาค่ะ เข้ามาทุกคนก็เรียนเหมือนกันหมด คือต้องเรียนทั้งสัตว์เล็กเช่นสุนัข แมว สัตว์ใหญ่เช่นวัว ม้า สัตว์เศรษฐกิจอย่าง หมู ไก่ ปลา รวมทั้งสัตว์ป่าที่ต้องเรียนทุกชนิด ก็มีข้อดีนะคะ จะได้รู้จักทุกอย่างแล้วก็จะได้รู้ด้วยว่าเราชอบทางไหน เหมาะกับเรารึเปล่า ถ้าภายหลังใครเกิดอยากเปลี่ยนใจอยากทำชนิดนั้นชนิดนี้ก็ยังสามารถเปลี่ยนได้ด้วยเพราะมีพื้นฐานแล้ว

พี่เป้ : แล้วคิดว่าจุดเด่นหรือเสน่ห์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่เกษตรฯ คืออะไร
พี่เอ้ : จุดเด่นเลยก็คือ สัตวแพทย์ เกษตรฯ มีเรียน 2 วิทยาเขตค่ะ คือ ปี1 ถึง ปี3 เราจะเรียนกันที่วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ พอปี4 ปี5 จะย้ายไปเรียนที่วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งมีชื่อเรียกกันเล่นๆว่าข้ามฝั่งค่ะ ส่วนปี6 ก็จะอยู่ 3 โรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลสัตว์บางเขน โรงพยาบาลสัตว์กำแพงแสน และโรงพยาบาลสัตว์หนองโพ จ.ราชบุรี วนครบทั้งสามที่ค่ะ ทำให้ได้สัมผัสครบถ้วนตั้งแต่สัตว์เล็กจนถึงสัตว์ใหญ่กันเลยทีเดียว

 

 

                                               







พี่เป้ :
ที่คณะมีกิจกรรมสนุกๆ อะไรให้ทำบ้าง
พี่เอ้ : เข้ามาคณะนี้ถ้าคิดจะก้มหน้าก้มตาเรียนอย่างเดียว คงต้องบอกว่าคิดผิดแล้วค่ะ ที่นี่กิจกรรมเยอะมากๆ ทำให้เราได้ประสบการณ์มากมายแล้ว ได้รู้จักเพื่อนๆ แถมการทำกิจกรรมยังเป็นการฝึกความรับผิดชอบด้วยนะ ที่เด่นๆ เลยคือมีชมรม ชุมนุมต่างๆ(ของคณะ) ส่วนตัวก็อยู่หลายชุมนุมเหมือนกันค่ะ เช่นชุมนุมสัตวแพทย์อาสาพัฒนาชนบท(สพอ.) , ชุมนุมรักสัตว์เลี้ยงหรือ pet club(เคยเป็นประธานชุมนุมมาแล้ว จะทำของเค้าล่มอยู่ 55+), ชุมนุมอนุรักษ์สัตว์ป่า, ชุมนุมควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฯลฯ หลายๆชุมนุมส่วนใหญ่จะเป็นการอบรมให้ความรู้ มีการออกนอกสถานที่ ออกค่ายตามจังหวัดต่างๆ ไปฝึกฝีมือกัน จริงๆ ยังมีอีกเยอะขออุบไว้ดีกว่า รอน้องๆ มาสัมผัสกันเอง หุๆ^^

พี่เป้ : แล้วมีสัตว์เลี้ยงของตัวเองมั้ย เคยช่วยรักษาตอนมันป่วยหรือเปล่า
พี่เอ้ : เคยเลี้ยงค่ะ เป็นสุนัขพันธุ์ทางสองตัว ชื่อโอเลี้ยงกับชาเย็น(ชื่อน่ากินไหม? หุๆ) ถ้าป่วยก็ส่งรพ.สถานเดียวค่ะเพราะตอนนั้นอยู่ปี2เอง ยังทำอะไรไม่ได้เดี๋ยวจะอาการหนักกว่าเดิม(แถมยังไม่มีใบอนุญาตฯด้วย>_<) พาไปหาคุณหมอจริงๆปลอดภัยกว่าเยอะ ส่วนที่ได้ฝึกก็แค่ลองจับมาตรวจร่างกายเบื้องต้นอย่างเช่น จับชีพจร คลำดูอวัยวะต่างๆ เปิดปากเปิดหู ซึ่งสองตัวแสบก็ให้ความร่วมมือบ้างไม่ให้บ้าง(ซนมาก!) นอกจากสุนัขแล้วก็เคยเลี้ยงหนูขาวอีก 2 ตัวค่ะ(ซนพอกัน!)

พี่เป้ : แล้วอนาคตอยากทำงานอะไรคะ
พี่เอ้ : อยากทำงานที่เกี่ยวกับสัตว์ป่าค่ะ เป็นความชอบส่วนตัวจริงๆ ตอนนี้สนใจงานด้านอนุรักษ์น่ะค่ะ โดยเฉพาะในกลุ่มสัตว์ป่าสงวนซึ่งปัจจุบันก็ลงจำนวนลงมาก ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ก็หลายชนิด ตอนนี้ก็เห็นอาจารย์ทำโครงการเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนละมั่งพันธุ์ไทยแล้วปล่อยคืนสู่ป่าอยู่ด้วยค่ะ

พี่เป้ : สุดท้ายอยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเข้าคณะนี้
พี่เอ้ : เรื่องเกี่ยวกับคณะนี้จริงๆ ก็มีที่อยากบอกอีกเยอะ แต่คงเล่าไม่ไหว บางเรื่องก็น่าจะให้น้องๆ รับรู้ด้วยตัวเองดีกว่า สำหรับการเลือกคณะอยากให้เลือกคณะนี้เพราะใจรักจริงๆ นะคะ ไม่อยากให้เลือกตามกระแส ตามเพื่อน ฯลฯ เพราะต้องเรียนหนักมากไม่แพ้คณะอื่นๆ เลย แต่ถ้าเราได้เรียนได้ทำในสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะยากหรือเหนื่อยยังไงก็มีความสุขค่ะ สุดท้ายก็ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนได้เข้าเรียนในคณะที่หวังไว้นะคะ

 

        อ่านจบแล้ว ท่าทางการเรียนในคณะสัตวแพทยศาสตร์คงจะหนักใช่ย่อย แต่ที่แน่ๆ สนุกแน่นอน โดยเฉพาะถ้าใครรักสัตว์ด้วยใจจริง อ่านแล้วอยากเรียนบ้างอะ !!! ส่วนสัปดาห์หน้า พี่เป้ จะกลับมาพร้อมกับรุ่นพี่ที่จบจากคณะนี้ เราจะไปตามติดกันว่าตอนนี้พี่ๆ เค้าทำอะไรอยู่ เป็นสัตวแพทย์กันที่ไหน รับรองสนุกแน่นอน

พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

arissina Member 12 ธ.ค. 52 00:44 น. 18

มาแอบเสริมนิดนึงค่ะ
สัตวแพทย์เกษตร ไม่มีเรียน calculus ค่ะ ^O^
เจอคณิตศาสตร์ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เจอเคมีมากกว่าค่ะ
(วิชาตัดสินชีวิต หน่วยกิตมากกว่าวิชาคณะเราอีก T^T)
ฟิสิกส์เจอแค่เทอมเดียว (แค่เทอมเดียวก็เสียวไส้ได้ค่ะ มหาโหดเหมือนกัน เพราะเท่าที่ฟังคะแนนแต่ละคนมาค่อนข้างน่าอนาถใจค่ะ)
ส่วนเคมีเราต้องเจอทั้ง Gen Chem , Organic chem, และ Bio chem ค่ะ
ซึ่งแต่ละตัวนี่แทบตัดอนาคตกันไปข้างนึงเลยค่ะ ต้องผ่าน Gen ถึงจะต่อ Org ได้ และต้องผ่าน Org ถึงจะต่อ Bio ได้ค่ะ

เทอมแรกยังไม่ต้องเรียนที่คณะค่ะ (คณะสัตวแพทย์เกษตร แยกออกจากตัวมหาวิทยาลัย ห่างไกลพอสมควร)
พอเทอมที่สองจะมีวิชาคณะอยู่สองตัว ตัวนึงเรียนตั้งแต่ช่วงปิดเทอม (บังคับค่ะ ไม่เข้าติด F)
อีกตัวมหาโหดมาก (แต่พี่ ๆ บอกว่าสบายที่สุดแล้ว) คือ Veterinary gross Anatomy 1 
ครึ่งเทอมปลายช่วงต้นจะท่องกระดูกของสัตว์ ทั้งหมู สุนัข วัว ม้า ต้องแยกให้ออกค่ะว่าชิ้นไหนของสัตว์อะไร
เรียกว่าอะไร เป็นข้างซ้านหรือข้างขวา ขาหน้าหรือขาหลัง T^T แล้วต้องบอกเหตุผลด้วยนะคะว่าดูจากอะไร
(ตอนนี้ก็กำลังท่องกันอยู่ค่ะ จะสอบเต็มทีแล้ว T^T) 
เวลาเรียนจะเรียนเลคเชอร์ชั่วโมงกว่า จากนั้นก็เข้าห้อง gross แต่ละคาบจะมีกระดูกมาให้เราได้สัมผัส ทำความเข้าใจ 
และต้องท่องให้ได้ด้วยค่ะ (คาบคลำสุนัขคลำแมวนี่เราก็คลำของจริงเลยค่ะ สงสารสุขันมาก ๆ เลย โดนรุมจับซะ)
เป็นวิชาที่สูบวิญญาณเราได้ดีกว่าวิชาไหน ๆ จริง ๆ ต้องใช้ทั้งแรงกาย แรงใจ สติปัญญาและความสามารถค่ะ

ส่วนครึ่งเทอมหลังที่กำลังรอเราอยู่ คือการท่องเรื่องกล้ามเนื้อค่ะ 
แล้วอาจารย์บอกว่าคาบสุดท้ายจะพาไปคลำม้าคลำวัวที่ฝั่งกำแพงแสนด้วย

ในเทอมต้นมีเรียน zoology ที่จะลงลึกเรื่องไฟลัมต่าง ๆ พอเรียนจบก็ต้องส่งกระดูกกบค่ะ
(เอาศพกบที่เรียนนั่นแหละค่ะไปต้ม เลาะกระดูก แล้วเอามาต่อ บางคนต้มหลายตัวมากกว่าจะได้
เพราะชิ้นส่วนมักจะหายอยู่เรื่อย) ส่วนเทอมปลาย พวกเราต้องเลือกค่ะว่าจะส่งหัววัว ขาวัว กระดูกสุนัข ไก่ หรือพวกเป็ด หรือห่าน
เพราะการได้ต้มและต่อเองจะทำให้เราเข้าใจถึงเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้นค่ะ ^^"

ชีวิตปีหนึ่งนอกจากเรียนเรายังพอมีเวลาว่างหายใจ มีเวลาสนุกสนาน นัดไปไหนมาไหนกับเพื่อน ๆ ได้ค่ะ
(แหม...ห้างฯแทบจะสี่มุมเมือง ทั้งเซ็นทรัลลาดพร้าว ยูเนี่ยนมอลล์ เมเจอร์รัชโยธิน ไม่ไกลก็เดอะมอลล์งามวงศ์วาน เดินเล่นจตุจักรยังได้เลย)
สัตวแพทย์เกษตรครอบครัวเราอบอุ่นค่ะ พี่ ๆ ทุกคนน่ารักและใจดีมาก ๆ เลย ^^ บางครั้งยังมาช่วยติวให้เราด้วย
สังคมดี เพื่อนดี อยู่แล้วสบายใจค่ะ และเพื่อน ๆ ก็ช่วยกระตุ้นเราในการเรียนด้วย
(ไม่เข้าใจอะไรถามได้ตลอด ไม่มีหวงความรู้ค่ะ)

ช่วงนี้ก็ใกล้สอบแล้ว เป็นกำลังใจให้สัตวแพทย์ทุกคน ทุกชั้นปี ทุกสถาบัน
รวมทั้งน้อง ๆ ทุกคนด้วยค่ะ ^^

VET 73

0
กำลังโหลด
chris 14 ก.พ. 53 05:59 น. 70
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองโดยสัตวแพทยสภา
สืบเนื่องจากกรณีของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา เข้าร้องเรียนเรื่องวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาและทำการสอนนักศึกษาทั้งที่หลักสูตรที่ใช้สอนไม่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาการพยาบาล ซึ่งเป็นสภาวิชาชีพ ในปัจจุบันวิชาชีพหลายอาชีพต่างมีสภาวิชาชีพของตนเอง อาชีพที่มีสภาวิชาชีพ ได้แก่ แพทยสภา สภาพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาวิศวกร สภาสถาปนิก สภาเทคนิกการแพทย์ สภากายภาพบำบัด สภาทนายความ และอีกหลายสภาวิชาชีพ ซึ่งสภาวิชาชีพเหล่านี้เขาจัดตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการประกอบวิชาชีพของเขาให้อยู่ในมาตรฐานแห่งวิชาชีพนั้นๆ รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพนั้นๆ ด้วย แต่ละสภาวิชาชีพมีการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพของตนเอง เช่น ต้องมีใบอนุญาตผู้ประกอบการวิชาชีพ มีมาตรการที่ให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้มีการพัฒนาความรู้ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา มีหลักคุณธรรมจริยธรรมของวิชาชีพ เป็นต้น สถาบันการศึกษาผู้ผลิตบัณฑิตในแต่ละสาขาวิชาชีพจึงต้องเป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพนั้นๆ และหลักสูตรที่ใช้ในการผลิตบัณฑิตจำเป็นต้องได้รับการรับรอง และได้รับใบอนุญาตการประกอบการวิชาชีพนั้นๆ จากสภาวิชาชีพของตนเอง หรือมีกฎเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติให้สามารถสอบเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพนั้นได้ ดังนั้นหากหลักสูตรวิชาชีพใดที่ไม่ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ จึงไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน และไม่สามารถประกอบวิชาชีพนั้นได้ตามกฏหมาย

ปัจจุบันสถาบันการศึกษาเกิดขึ้นมากมาย และมีการแข่งขันกันสูงมากเนื่องจากเป็นธุรกิจการศึกษา ทำให้มีการเปิดการเรียนการสอนในหลายสาขาที่เป็นที่นิยม เพื่อทำให้สามารถรับนักศึกษาให้ได้มากที่สุด แต่ทั้งนี้สถาบันการศึกษาบางแห่งที่เปิดให้มีการเรียนการสอนโดยเฉพาะหลักสูตรวิชาชีพ (ซึ่งการประกอบวิชาชีพต้องได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพก่อนจึงจะสามารถประกอบวิชาชีพได้ เช่น แพทย์ วิศวกร สัตวแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เป็นต้น) ไม่มีความพร้อม หลักสูตรไม่ได้รับการรับรอง หรือเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ในสาขาวิชาชีพสัตวแพทยศาสตร์ สถาบันการศึกษาที่บัณฑิตต้องมีความพร้อมทั้งในส่วนคณาจารย์ผู้สอน มีส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ตามมาตรฐานกระทรวงศึกษา นั่นหมายความว่ามีอาจารย์อย่างเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา มีสถานที่สำหรับการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมเพียงพอสำหรับการฝึกปฏิบัติ เช่น การเรียนในห้องปฏิบัติการ มีโรงพยาบาลสัตว์เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกงาน ฝึกปฏิบัติบนคลินิก เป็นต้น

เนื่องจากในช่วงเวลานี้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกำลังเตรียมตัวเพื่อเลือกสถานศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ข้อมูลในเรื่องเหล่านี้นักเรียนอาจไม่ทราบ เพื่อให้เกิดความกระจ่างและไม่เป็นปัญหาอย่างวิทยาลัยพยาบาลที่เกิดปัญหา จึงขอแจ้งให้นักเรียนทราบว่าหลักสูตรคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากสัตวแพทยสภามีทั้งสิ้น 6 สถาบัน คือ

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

79 ความคิดเห็น

~_ซานตาครุสเกิลล์_~ Member 10 ธ.ค. 52 20:50 น. 1
ว๊าววว สัตวแพทย์ที่มหาลัยมหิดล น่าสนใจสุดๆ เลยค่ะ มหาลัยในฝัน ! คณะในฝัน ! สู้โว้ยย~
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
palmary Member 10 ธ.ค. 52 22:52 น. 6
เพิ่งเห็นนะเนี่ยว่าพี่อะตอมลงสัมภาษณ์ด้วยอ่า สัตวแพทย์จุฬาฯ ที่สุดของความฝัน...และจะต้องเป็นจริงให้ได้>.< สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
~DzLecT Member 11 ธ.ค. 52 11:48 น. 8
อยากเข้าสัตวแพทย์มหิดล

แต่ผลสอบโควต้าออกมา "
ไม่ติด!!!!!"

อร๊างง.. 

ค่อยลุ้นใหม่ตอนแอด



สัตวแพทย์ มหิดล ไว้เจอกัน 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
คนไม่เต็มบาทเต็มสตางค์ Member 11 ธ.ค. 52 22:36 น. 17
- -*  อยากเรียนอยู่หรอกนะ

แต่จำหัวบาน(เป็นดอกเห็ด)แน่ๆ T^T

(แต่สัตวศาสตร์ก็บานแย้ว)
0
กำลังโหลด
arissina Member 12 ธ.ค. 52 00:44 น. 18

มาแอบเสริมนิดนึงค่ะ
สัตวแพทย์เกษตร ไม่มีเรียน calculus ค่ะ ^O^
เจอคณิตศาสตร์ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เจอเคมีมากกว่าค่ะ
(วิชาตัดสินชีวิต หน่วยกิตมากกว่าวิชาคณะเราอีก T^T)
ฟิสิกส์เจอแค่เทอมเดียว (แค่เทอมเดียวก็เสียวไส้ได้ค่ะ มหาโหดเหมือนกัน เพราะเท่าที่ฟังคะแนนแต่ละคนมาค่อนข้างน่าอนาถใจค่ะ)
ส่วนเคมีเราต้องเจอทั้ง Gen Chem , Organic chem, และ Bio chem ค่ะ
ซึ่งแต่ละตัวนี่แทบตัดอนาคตกันไปข้างนึงเลยค่ะ ต้องผ่าน Gen ถึงจะต่อ Org ได้ และต้องผ่าน Org ถึงจะต่อ Bio ได้ค่ะ

เทอมแรกยังไม่ต้องเรียนที่คณะค่ะ (คณะสัตวแพทย์เกษตร แยกออกจากตัวมหาวิทยาลัย ห่างไกลพอสมควร)
พอเทอมที่สองจะมีวิชาคณะอยู่สองตัว ตัวนึงเรียนตั้งแต่ช่วงปิดเทอม (บังคับค่ะ ไม่เข้าติด F)
อีกตัวมหาโหดมาก (แต่พี่ ๆ บอกว่าสบายที่สุดแล้ว) คือ Veterinary gross Anatomy 1 
ครึ่งเทอมปลายช่วงต้นจะท่องกระดูกของสัตว์ ทั้งหมู สุนัข วัว ม้า ต้องแยกให้ออกค่ะว่าชิ้นไหนของสัตว์อะไร
เรียกว่าอะไร เป็นข้างซ้านหรือข้างขวา ขาหน้าหรือขาหลัง T^T แล้วต้องบอกเหตุผลด้วยนะคะว่าดูจากอะไร
(ตอนนี้ก็กำลังท่องกันอยู่ค่ะ จะสอบเต็มทีแล้ว T^T) 
เวลาเรียนจะเรียนเลคเชอร์ชั่วโมงกว่า จากนั้นก็เข้าห้อง gross แต่ละคาบจะมีกระดูกมาให้เราได้สัมผัส ทำความเข้าใจ 
และต้องท่องให้ได้ด้วยค่ะ (คาบคลำสุนัขคลำแมวนี่เราก็คลำของจริงเลยค่ะ สงสารสุขันมาก ๆ เลย โดนรุมจับซะ)
เป็นวิชาที่สูบวิญญาณเราได้ดีกว่าวิชาไหน ๆ จริง ๆ ต้องใช้ทั้งแรงกาย แรงใจ สติปัญญาและความสามารถค่ะ

ส่วนครึ่งเทอมหลังที่กำลังรอเราอยู่ คือการท่องเรื่องกล้ามเนื้อค่ะ 
แล้วอาจารย์บอกว่าคาบสุดท้ายจะพาไปคลำม้าคลำวัวที่ฝั่งกำแพงแสนด้วย

ในเทอมต้นมีเรียน zoology ที่จะลงลึกเรื่องไฟลัมต่าง ๆ พอเรียนจบก็ต้องส่งกระดูกกบค่ะ
(เอาศพกบที่เรียนนั่นแหละค่ะไปต้ม เลาะกระดูก แล้วเอามาต่อ บางคนต้มหลายตัวมากกว่าจะได้
เพราะชิ้นส่วนมักจะหายอยู่เรื่อย) ส่วนเทอมปลาย พวกเราต้องเลือกค่ะว่าจะส่งหัววัว ขาวัว กระดูกสุนัข ไก่ หรือพวกเป็ด หรือห่าน
เพราะการได้ต้มและต่อเองจะทำให้เราเข้าใจถึงเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้นค่ะ ^^"

ชีวิตปีหนึ่งนอกจากเรียนเรายังพอมีเวลาว่างหายใจ มีเวลาสนุกสนาน นัดไปไหนมาไหนกับเพื่อน ๆ ได้ค่ะ
(แหม...ห้างฯแทบจะสี่มุมเมือง ทั้งเซ็นทรัลลาดพร้าว ยูเนี่ยนมอลล์ เมเจอร์รัชโยธิน ไม่ไกลก็เดอะมอลล์งามวงศ์วาน เดินเล่นจตุจักรยังได้เลย)
สัตวแพทย์เกษตรครอบครัวเราอบอุ่นค่ะ พี่ ๆ ทุกคนน่ารักและใจดีมาก ๆ เลย ^^ บางครั้งยังมาช่วยติวให้เราด้วย
สังคมดี เพื่อนดี อยู่แล้วสบายใจค่ะ และเพื่อน ๆ ก็ช่วยกระตุ้นเราในการเรียนด้วย
(ไม่เข้าใจอะไรถามได้ตลอด ไม่มีหวงความรู้ค่ะ)

ช่วงนี้ก็ใกล้สอบแล้ว เป็นกำลังใจให้สัตวแพทย์ทุกคน ทุกชั้นปี ทุกสถาบัน
รวมทั้งน้อง ๆ ทุกคนด้วยค่ะ ^^

VET 73

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด