สวัสดีครับ หงายหลังไปตามๆ กันหลังรู้ว่าข้อสอบ O-NET คณิตศาสตร์ปี 54 นี้ แบ่งเป็นปรนัย 20 ข้อ และอัตนัย 20 ข้อ รวม 40 ข้อ แต่น้องๆ ก็อย่าเพิ่มท้อไปซะก่อน เพราะโอกาสเก็บแต้มวิชานี้ยังมีอยู่ครับ ตาม พี่ลาเต้ มาดูกันเลย ^_^

 

            หลายคนมักตั้งคำถามว่า “ปรนัย vs อัตนัย” แบบไหนมันยากกว่ากัน ? ซึ่งหากเป็นข้อสอบปลายภาคของแต่ละโรงเรียนพี่ก็ไม่รู้ แต่หากเป็นข้อสอบ O-NET หรือ GAT PAT พี่ลาเต้ ขอใช้แนวคิดของ พี่ Sup’K มาฟันธงให้ได้รู้กันเลยว่า “ต้องดูที่คะแนนน้ำหนัก”

 

 

            อย่าง O-NET คณิตศาสตร์ 53 (สอบก..54) ที่กำหนดค่าคะแนนน้ำหนักไว้ว่า ปรนัยข้อละ 2 คะแนน ส่วนอัตนัยข้อละ 3 คะแนน สามารถคาดเดาได้เลยว่าคนออกข้อสอบจะออกพาร์ทเติมคำให้ยากกว่าปรนัย เหตุผลก็เพราะว่า ไหนๆ ก็มีคะแนนเยอะกว่า หากจะเอาแต้มข้อนี้ไป ผู้สอบก็ควรต้องแม่นในระดับที่ผู้ออกสอบหวังไว้ซะหน่อย

 

            ขณะเดียวกันถ้าหากปรนัย และอัตนัย มีคะแนนเท่ากัน ตัวอย่างเช่น ปรนัยข้อละ 3 คะแนน และเติมคำข้อละ 3 คะแนน นั้นก็หมายความว่า “อัตนัย หรือเติมคำจะง่ายกว่า” เพราะผู้ออกข้อสอบจะคิดว่าเติมคำมันไม่มีช้อยส์ช่วย เขาก็จะพยายามไปลดความซับซ้อนของเติมคำ ซึ่งหากลดลงไปมันก็จะง่ายทันที

 

            ดังนั้น จากประสบการณ์ที่เฝ้าดูแนวข้อสอบมาหลายปี บวกกับค่าคะแนนน้ำหนักของ O-NET เลขปีนี้ จึงฟันธง คอนเฟิร์มได้เลยว่า “ปรนัยง่ายกว่า และมีโอกาสเก็บแต้มได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับเติมคำ”

 

             เอาล่ะครับ การสอบ O-NET เวลาถือเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุด บางครั้งการที่เรามุ่งให้เวลากับข้อที่ยากๆ มากไป เพื่อนที่นั่งข้างๆ อาจไปเก็บแต้มจากข้อง่ายๆ หนีเราไปหลายขุมแล้วก็เป็นได้ ดังนั้น การรู้จักเก็บ รู้จักทิ้ง ก็อาจจำเป็นในสนามนี้คร้าบ

 

             ลาเต้ลิขิต : ระดมความเห็น O-NET เลข คิดว่าควรได้กี่คะแนนถึงจะปลอยภัย

 

 

พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

74 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด