P
คณะวิทยาศาสตร์
                 จุลชีววิทยา
ที่ตรงนี้มีคำตอบ

       สวัสดีค่ะ หลังจากที่ พี่แป้ง ได้พยายามตะกุยตะกายหาข้อมูลเกี่ยวกับ "จุลชีววิทยา" มาฝากน้องๆ พร้อมทั้งเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตในรั้วและนอกรั้วมหาวิทยาลัยไปแล้ว พี่แป้ง เลยจะมาเก็บตกข้อสงสัยที่น้องๆ ถามมาจ้า

.



Q : สาขาวิชา จุลชีววิทยา คืออะไร อยู่ในสังกัดคณะใด?
A : สาขาวิชาจุลชีววิทยาเป็นอีกหนึ่งสาขาที่อยู่ใน คณะวิทยาศาสตร์ เรียกง่ายๆ ว่าแตกภาคออกมาจากสาขาวิชาชีววิทยาที่มีความกว้างมากเกินไป ให้เหลือขอบเขตเพียงแค่ "จุลชีววิทยา" ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าค่ะ


Q : ในการเรียนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาจุลชีววิทยาเรียนทั้งหมดกี่ปี?
A : สาขาวิชาจุลชีววิทยาเรียน 4 ปี พอดิบพอดีค่ะ ไม่มีการบวกเพิ่ม เว้นแต่ว่าจะลงทะเบียนเรียนไม่ครบตาม หรือ ต้องมีการแก้ การดรอป เพราะบางวิชาเปิดเพียงปีล่ะหนึ่งครั้ง ถ้าพลาดก็ต้องรออีกปีนึงเลยค่ะ


Q : สาขาวิชาจุลชีววิทยา เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?
A : การเรียนสาขาวิชาจุลชีววิทยา จะ เรียนเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งก็คือ "จุลินทรีย์" เช่น เช่น แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส เชื้อรา สาหร่าย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเรื่องอื่นๆ เรียกง่ายๆ ว่า เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีอยู่มากมายรอบตัวเราที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ รวมทั้งศึกษาสภาวะการเจริญของเชื้อต่างๆ  ลักษณะของสารพันธุกรรม  ลักษณะภายนอกของเชื้อ (morphology) ลักษณะการใช้อาหารและการผลิตสารต่างๆ (Physiology)  โดยความรู้ที่ได้สามารถต่อยอดได้หลายแขนง เพราะจุลินทรีย์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราอยู่แล้ว เหมือนเป็นสายวิทยาศาสตร์ที่อยู่เคียงคู่สายแพทย์ศาสตร์นั่นเองค่ะ



Q : ในส่วนของการเรียนภาคทฤษฎี จะต้องมีการจำชื่อเฉพาะเยอะหรือไม่?

A : การจำชื่อเฉพาะนั้น มีเยอะอยู่แล้วค่ะ หลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอนเพราะจะเป็นชื่อเชื้อ ชื่อแบคทีเรีย ชื่อสาร ชื่ออุปกรณ์ แต่พี่ๆ ภาคจุลชีววิทยาก็บอกมานะคะว่า ไม่ต้องกลัวเลยกับการจำชื่อ เพราะว่าเราจะต้องเรียนและมันจะคุ้นไปเองค่ะ ขอแค่อย่าสับสน ส่วนเทคนิคตอนเรียนคือจะช่วยกันจำและแบ่งประเภทของชื่อเฉพาะออกเป็นหมวดๆ เพื่อง่ายในการจดจำค่ะ


.
Q : ส่วนหนึ่งของการเรียน คือ การทำแล็บ อยากทราบว่าการทำแล็บมีอะไรบ้าง?
A : ในการทำแล็บนั้น จะมีขั้นตอนที่คล้ายๆ กันแต่จะต่างกันตรงที่วัตถุดิบและส่วนประกอบในการทำการทดลองแต่ละครั้งต่างกัน เริ่มแรกเลยต้องทำการติดต่อห้องปฏิบัติการ(ห้องทดลอง)ก่อน เมื่อถึงเวลาใช้ห้อง ต้องทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย พร้อมทั้งแต่งตัวให้เรียบร้อย ในการทำแบจะต้องมีการจดบันทึกทั้งก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง เพื่อนำข้อมูลที่ถูกต้องที่สุดออกจากห้องปฏิบัติการ ส่วนรายละเอียดแนะนำไปเลยที่ คู่มือห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)


Q : ในการทำแล็บจะต้องมีการเก็บข้อมูลข้ามคืนหรือไม่?
A : มีค่ะ แล้วแต่ว่าจะต้องทำการเฝ้าตรวจตลอดหรือสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ แต่ละการทดลองจะมีความแตกต่างกัน คือ ถ้าเป็นพวกเก็บการเจริญเจอแน่นอน เพราะว่าเราต้องคอยดูการเจอเติบโตของเชื้อที่เราทำการทดลองค่ะ แต่ถ้าเป็นอย่างอื่นก็อาจจะมีการปล่อยทิ้งไว้โดยเข้ามาดูเป็นระยะๆ ได้ เช่น ทุก 4 ชั่วโมง หรือ ทุก 6 ชั่วโมงค่ะ แต่ว่าอยู่ที่การบริหารจัดการเวลาของผู้เรียนนะคะว่าจะบริหารเวลาให้เป็นแบบไหน รุ่นพี่บางคนก็ไม่เคยเจอการทดลองที่นั่งเฝ้าเชื้อทั้งคืน เพราะตื่นมาทำการทดลองตั้งแต่ 6 โมงเช้าค่ะ


Q : วิชาเด่น ๆ ของสาขาวิชาจุลชีววิทยา มีวิชาอะไรบ้าง?
A : ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า ส่วนใหญ่นักศึกษาภาควิชานี้จะเป็นผู้ที่ชื่นชอบวิชาชีววิทยาเป็นเดิมทุน เมื่อถามรุ่นพี่ทุกคนถึงวิชาที่ปราบเซียน ทุกคนจึงตอบเป็นเสียงเดียวเลยว่า "เคมี" ไม่ว่าจะเป็นเคมีแบบไหนก็ตาม แต่เมื่อถามถึงวิชาที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง ก็มีหลายตัวเลยค่ะ เช่น จุลชีววิทยาทั่วไป (General Microbiology)เรียนเป็นพื้นฐานครอบจักรวาลของจุลชีววิทยาเลยค่ะ ส่วนวิชาอื่นก็เช่น วิทยาไวรัส (Virology), วิทยาเห็ดรา (Mycology), โรคพืช (Plant Pathology), จุลชีววิทยาทางอาหาร (Food Microbiology) เป็นต้นค่ะ



Q : เรียนสาขาวิชาจุลชีววิทยา จบแล้ว สามารถประกอบอาชีพใดได้บ้าง?
A : อาชีพทางจุลชีววิทยามีความหลากหลายมาก ขอยกตัวอย่างเช่น

  • เจ้าหน้าที่จุลชีววิทยา
  • พนักงานควบคุมคุณภาพน้ำ
  • นักวิทยาศาสตร์จุลชีววิทยา
  • จนท.วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์     
  • ประกันคุณภาพ(QA Sup.)     
  • ผู้แทนขายผลิตภัณฑ์ทางจุลชีววิทยา
  • Microbiologist
  • เจ้าหน้าที่ห้องปฎิบัติการจุลชีววิทยา     
  • งานห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา     

ถ้าอยากรู้เพิ่มเติม เข้าไปเลยที่ จบแล้วทำงานอะไร


Q : โอกาสในการหางานมีมากน้อยแค่ไหน?
A : ในการทำงานนั้นต้องบอกว่างานทางสาขาวิชาจุลชีววิทยามีเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่นำความรู้มาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ โอกาสนั้นอยู่ที่จะไขว่คว้าเพียงใด โดยอาชีพก็มีหลากหลาย เช่น เจ้าหน้าที่จุลชีววิทยา ประจำโรงงานหรือโรงพยาบาล, พนักงานควบคุมคุณภาพน้ำ, จนท.วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์, เจ้าหน้าที่ห้องปฎิบัติการจุลชีววิทยา เป็นต้น อยู่ที่ความสามารถของแต่ละคนนะคะ แต่พอสมัครงานได้แล้ว ทางหน่วยงานนั้น ๆ ก็จะมีการอบรมอีกรอบค่ะ


Q : เรียนปริญญาตรีจบแล้ว สามารถเรียนต่อปริญญาโทได้หรือไม่?
A : เรียนต่อได้ค่ะ โดยเมื่อจบปริญญาตรีสาขาวิชาจุลชีววิทยาแล้วสามารถเรียนต่อระดับปริญญาโทได้ค่ะ โดยมีเปิดเป็นสาขาตรงของจุลชีววิทยาอยู่หลายสถาบันยังไงน้องๆ รอดูนะคะ แต่รับประกันได้เลย เรียนต่อได้ชัวร์ ๆ



       ตอนนี้ก็ปิดจ๊อบเป็นที่เรียบร้อยแล้วเน้อ พี่แป้ง หวังว่าน้องๆ คงได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยเพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะเรียนดีหรือเปล่า? ตอนเลือกก็สามารถเปลียนเทียบกับคณะอื่นๆ ได้ มีคณะในเลือกมากมายเลยค่ะ ลองเข้าไปศึกษากับดูนะคะ คลิกที่นี่



.

  


    






.
2 สาขาล่าสุดใน "คณะในฝัน"












 


พี่แป้ง
พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

แคท 28 ก.ย. 56 16:43 น. 8
พี่จบจุลชีววิทยา สงขลานครินทร์ค่ะ เรียนยากอยู่ บางทีก็ท้อเหมือนกัน แต่จบมาแล้วสามารถทำงานได้หลากหลายสายงานค่ะ เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ตอนนี้จบแล้วรู้สึกภูมิใจมากค่ะ น้องๆคนไหนที่เรียนสายนี้ขอให้สู้ๆนะคะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
นักจุล 2 ธ.ค. 56 15:52 น. 11
สำหรับน้องที่อยากเรียนวิจัยมะเร็ง จุลไม่ได้ตอบโจทย์น้องค่ะ จุลไม่ได้เกี่ยวกับมะเร็งเลย จุลจะเกี่ยวกับ แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส เน้นไปทางเพาะเลี้ยงเชื้อ แยกเชื้อ ระบุเชื้อ ประมาณนี้
0
กำลังโหลด

13 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Jubb_ShsR 30 มิ.ย. 56 13:54 น. 6
จะว่าง่ายก็ง่ายค๊าบ
จะว่ายากก็ยากค๊าบ
ตอนทำแล็ปมันดี 555'
ที่ ม.อุบลฯ มีสาขานี้นะค๊าบ
ตอนนี้ผมก็ศึกษาอยู่ คณะวิทยาศาสตร์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาจุลชีววิทยา ค๊าบ
[มาเรียนกันเยอะๆ นะค๊าบ ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนค๊าบ^^]
2
Gingkaew Niamrat 6 ม.ค. 58 23:24 น. 6-1
เอ่ยพี่ค่ะอยากรู้ว่าม.อุบลเรียนเป็นไงบ้างค่ะคือตอนนี้ก็ยืนยันสิทธิ์แล้วอยากรู้ว่าเข้าไปเรียนแล้วจะไหวรึปล่าวนะค่ะ
0
กำลังโหลด
นันท์ 10 ก.ย. 56 19:03 น. 7
พี่แป้งหนูอยากรู้ว่า อยากเป็นนักวิจัยมะเร็ง เรียนคณะจุลชีววิทยา หรือ คณะไหนดีค่ะ เพราะตอนนี้หนูงงหมดแล้วจะเสิทหาในกูเกิลตรงๆว่าเรียนคณะไหน มันก็ขึ้นหลายคณะเหลือเกิน facebook=biggrin to you ฝากพี่ๆที่รุ้ตอบด้วยนะค่ะ
0
กำลังโหลด
แคท 28 ก.ย. 56 16:43 น. 8
พี่จบจุลชีววิทยา สงขลานครินทร์ค่ะ เรียนยากอยู่ บางทีก็ท้อเหมือนกัน แต่จบมาแล้วสามารถทำงานได้หลากหลายสายงานค่ะ เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ตอนนี้จบแล้วรู้สึกภูมิใจมากค่ะ น้องๆคนไหนที่เรียนสายนี้ขอให้สู้ๆนะคะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
นักจุล 2 ธ.ค. 56 15:49 น. 10
พี่จบจุล ม.อุบลค่ะ งานจุลเน้นไปทางการทำเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่คนที่จบถ้าอยากได้งานเลย ต้องไปทำกับภาคโรงงานอุตสาหกรรม เป็นข้าราชการยาก ครูก็ยากค่ะ ถ้าอยากมีอาชีพที่เป็นข้าราชการ ไม่แนะนำค่ะ แนำนำคนที่ชอบทำปฏิบัตการในห้องแลบ
0
กำลังโหลด
นักจุล 2 ธ.ค. 56 15:52 น. 11
สำหรับน้องที่อยากเรียนวิจัยมะเร็ง จุลไม่ได้ตอบโจทย์น้องค่ะ จุลไม่ได้เกี่ยวกับมะเร็งเลย จุลจะเกี่ยวกับ แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส เน้นไปทางเพาะเลี้ยงเชื้อ แยกเชื้อ ระบุเชื้อ ประมาณนี้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ปุ๊กกี้ 15 ส.ค. 58 12:07 น. 13
เรียนคณะนี้ต้องได้เจอเคมีมั้ยคะ เจอบ่อยมั้ยอ่ะคือหนูอยากเรียนค่ะแต่ไม่ค่อยชอบเคมี
2
กำลังโหลด
กำลังโหลด