จัดการกับเงินอย่างไร..เมื่อบินไปนอก?


 

     สวัสดีครับน้องๆ ชาว Dek-D.com เรื่องเงินๆ ทองๆ เป็นอีกเรื่องที่ว่าที่เด็กนอกอย่างน้องๆ ต้องรู้ไว้นะครับ เพราะถ้าได้ไปต่างประเทศ แล้วดันมีปัญหาจุกจิกเรื่องเหล่านี้ จากเด็กนอกอาจจะกลายเด็กเน่าได้ง่ายๆ งานนี้ พี่ยีน เลยคว้าหนึ่งหนุ่มสองสาวที่เชี่ยวในเรื่องทำนองนี้แบบสุดๆ มาเค้นเอาเกร็ดและเคล็ดไม่ลับ ประดับไว้เป็นความรู้แก่แฟนๆ คอลัมน์เรียนต่อนอก จะเข้มข้นสักแค่ไหน ไปติดตามคำให้การของเขาและเธอกันเลยครับ...

  

น้องเฟีย
นักเรียนแลกเปลี่ยน AFS
รุ่น 47 สหรัฐอเมริกา

  

   "ก่อนไปอเมริกา ทางเอเอฟเอสเขาจะมีประชุมใหญ่ค่ะ แล้วเขาจะมีบริการให้แลกเงินที่นั่น หรือใครจะแลกไปก่อนก็ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายของแต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับตัวของเด็กว่า แต่ละคนมีนิสัยอย่างไร ใช้จ่ายมากแค่ไหน..

     แต่ทางที่ดีไม่ควรพกเงินสดไปเยอะ เงินก้อนใหญ่ให้แลกเป็น Travel Check (เช็คสำหรับคนเดินทาง) แล้วค่อยเอาไปแลกที่ธนาคารเมื่อไปถึงที่อเมริกา  สำหรับเฟียเอง พ่อกับแม่แลกให้ครั้งแรกประมาน 300 เหรียญ เผื่อค่าภาษีสนามบิน ค่าโหลดกระเป๋าในกรณีที่มีน้ำหนักเกิน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ระหว่างเดินทางเรียบร้อยแล้ว

     สำหรับบางคนที่มีเงินเยอะ การเปิดแบงค์ที่นี่มันก็สะดวก อีกอย่าง ถ้าถอนจากเอทีเอ็ม โดยที่ถอนจากธนาคารไทย ก็จะมีธรรมเนียมแพงมาก  เฟียเองก็ได้ Travel Check ก่อนมาอีก 1000 เหรียญ และค่อยไปขึ้นเงินเปิดบัญชีธนาคารที่อเมริกา โดยใช้พาสปอร์ตเป็นหลักฐาน

     เฟียเปิดบัญชีกับธนาคารที่ทางโฮสต์แฟมิลี่เป็นสมาชิกอยู่ ถ้าใครเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ไปถึงให้ปรึกษาโฮสต์ก่อนก็ได้ แล้วเขาจะแนะนำ   แต่ระหว่างที่อยู่ที่นี่เฟียก็ใช้บัตรเอทีเอ็มของกสิกรไทย อันนี้พกมาจากเมืองไทย เอาไว้ถอนเงินสดมาใช้ มันเหมือนถอนต่างธนาคาร  แต่จะคิดค่าธรรมเนียมการถอนเพิ่ม ซึ่งบอกได้เลยว่าแพงได้ใจค่ะ ถอนทีเสียร้อยสองร้อย  แต่จะใช้บัตรเอทีเอ็มของธนาคารที่อเมริกาก็ได้นะ เพื่อนเฟียก็เปิดที่นี่ แล้วก็ใช้บัตรของที่นี่ค่ะ

   ก่อนมาเฟียเปิดบัญชีเป็นของตัวเองที่ไทย แล้วค่อยทยอยกดใช้ โดยใช้เอทีเอ็มเมืองนอก ให้แม่โอนเข้าบัญชีที่ไทย แล้วเฟียก็ถอนเอาที่นี่ หรือบางครั้งก็ให้พ่อแม่โอนมาเข้าบัญชีที่นี่ แต่ต้องถามรายละเอียดก่อนว่า ค่าธรรมเนียมการโอนนั้นเป็นอย่างไร แบบไหนแพงกว่า

   สำหรับการใช้เอทีเอ็มไทยกดเงินที่ต่างประเทศ แนะนำให้ถอนทีละเยอะๆ เผื่อเอาไปใช้หลายเดือน  นอกจากนี้ยังใช้บัตรวีซ่าเดบิตด้วย ถ้าไม่อยากพกเงินมาก ก็รูดเอาได้ หรือจะเป็นบัตรเครดิตก็ได้ค่ะ แต่ก็ต้องมีเงินสดติดไว้ด้วย อย่างต่ำ 30-50 เหรียญ เพราะบางร้านรูดบัตรไม่ได้"

 


 

 

 

กุ่ย
นศ.ปริญญาโท
University of Sydney
ประเทศออสเตรเลีย

  

    "ตอนไปออสเตรเลีย แลกไปนิดๆ หน่อยพอใช้จ่ายกินขนม และของกินระหว่างทางประมาณ 100 เหรียญก็น่าจะพอแล้ว เอาแบงค์ย่อยก็ดีนะ ใช้สะดวก ไม่ควรพกเงินสดติดตัวเยอะ อันตราย เราเดินทางไกล ไปต่างที่ต่างถิ่นไม่คุ้นเคย

    ส่วนเงินก้อนใหญ่นั้น เดี๋ยวนี้บัตร atm ทุกธนาคารสามารถใช้ได้ทั่วโลกนะครับ ยิ่งเป็น visa dabit นี่รับประกันเลย เสียค่ากดครั้งละ 2 เหรียญโดยประมาณ ก็ประมาณ 60 บาทเอง อุ่นใจกว่าเยอะ ไม่ต้องพกเงินไปต่างเมือง ต่างถิ่น...   

     ส่วนเรื่องการโอนเงินของท่านแม่นั้น ท่านแม่ก็โอนเข้าบัญชีไทยของผมตามปกติ เพราะผมมีบัตร visa dabit อยู่แล้ว เนื่องจากสะดวก เวลากดก็เสียครั้งละ 2 เหรียญ ไม่แพงเลย และวิธีโอนเงินเข้าบัญชีที่เราเปิดใหม่ในต่างประเทศก็สามารถทำได้ แต่ว่าเงินจะไม่เข้าทันที เนื่องจากทางธนาคารจะถือว่าเป็นการโอนเงินระหว่างประเทศ ทำให้ต้องเสียเวลาตรวจสอบการโอนอย่างน้อย 3 วันทำการ (ในกรณีที่โอนเงินมากๆ อาจใช้เวลาเป็นอาทิตย์ และทางธนาคารอาจขอเหตุผลด้วยว่า เหตุใดจึงต้องโอนเงินเยอะขนาดนั้นไปมาระหว่างประเทศ เนื่องจากเขากลัวการฟอกเงิน แล้วก็กลัวเงินจะไหลเข้า-ออกประเทศแบบไม่โปร่งใส) อย่างตอนที่แม่โอนค่าเทอมไปให้ประมาณ 3 แสน ทางธนาคารใหญ่โทรมาขอรายละเอียดการโอนด้วยนะ เขาอยากเช็คให้แน่ใจว่าจริงหรือเปล่า 

     สำหรับการโอนเงินผ่าน MoneyGram หรือ Western Unionนั้น  ไม่เคยใช้บริการครับ ส่วนใหญ่ผู้ที่ใช้บริการโอนเงินระหว่างประเทศแบบนี้จะเป็นผู้ที่ไปทำงานที่ต่างประเทศแล้วโอนเงินกลับไปมา แต่ผมไปเรียน ไปทำงานพิเศษ ก็ใช้กิน ใช้เที่ยวไป ไม่เหลือส่งกลับบ้านหรอกครับ

     วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับเงิน ระหว่างอยู่ในต่างประเทศนั้น ไม่ควรพกเงินสดเยอะๆ ครับ พกบัตรแทน สำหรับคนที่กลัวว่าบัตรหายแล้วจะไม่มีเงิน ก็อาจใช้วิธีเก็บบัตรสำรองที่มีเงินฉุกเฉินซ่อนไว้ในบ้าน เผื่อในกรณีที่ทำกระเป๋าสตางค์หาย

     เหตุที่ไม่ควรพกเงินเยอะเพราะต่างประเทศ (ที่พัฒนาแล้ว) ใช้บัตร debit แทนเงินสดได้ทุกตั้งแต่ร้านของชำ ยัน taxi ขั้นต่ำซื้อของ 5 เหรียญ (150 บาท) ก็สามารถใช้บัตรซื้อได้แล้ว (การใช้บัตร Visa debit รูด ไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ)
         
     ส่วนการใช้บัตรเครดิตนั้น ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตก็เหมือนกันทั่วโลก แต่วงเงินจะมีจำกัดนะ ว่าเราจะกดได้เท่าไหร่ แล้วแต่เราจะกำหนดกับธนาคาร แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะกดเงินออกจาก atm ได้ไม่เกิน 3 หมื่นต่อวัน        ซึ่งก็พอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันแล้วครับ"

 

 

 

 

จิติมา ทรัพย์ธำรงค์
Office Manager
Hands-On Education Consultants

     "น้องๆ ที่ต้องเดินทางไปเรียนต่อโดยยังไม่สามารถเปิดบัญชีกับทางธนาคารในอังกฤษได้  ทางเจ้าหน้าที่ของ Hands-On จะแนะนำน้องๆ ให้นำเงินสดไปให้พอใน 2-3 สัปดาห์แรกที่ไปถึงค่ะ คือประมาณ 300 - 400 ปอนด์ ที่ต้องให้เอาไปประมาณนี้เนื่องจากต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อของใช้ต่างๆ ที่ไม่ได้นำมาจากเมืองไทย เครื่องอุปโภค บริโภค และค่าเดินทาง ระหว่างรอเปิดบัญชีที่อังกฤษ

     น้องๆ หลายท่านมักสอบถามการใช้บัตรเครดิต ซึ่งอาจเป็นอีกวิธีที่ง่าย แต่ต้องไม่ลืมตรวจสอบก่อนว่าบัตรเครดิตที่มีสามารถกดเงินได้มากสุดเท่าไหร่ มีค่าธรรมเนียมอย่างไร ใช้ในต่างประเทศได้ไหม  อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องมีเงินสดติดตัวบ้าง ประมาณ 150 – 200 ปอนด์ค่ะ...

     สำหรับการจ่ายค่าเทอม ซึ่งเป็นเงินก้อนโตนั้น ทาง Hands-On จะแนะนำวิธีการจ่ายเงินให้กับน้องๆ ดังนี้ค่ะ

     1.ในกรณีการจ่ายค่าเทอมเทอมเต็มจำนวนเงินให้กับมหาวิทยาลัย (บางมหาวิทยาลัย หากคุณจ่ายค่าเทอมเต็มจำนวนจะได้รับส่วนลด) เราจะแนะนำให้โอนเงินไปตามบัญชีของมหาวิทยาลัยที่แจ้งมา  เนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด  เพราะการจ่ายเงินโดยการซื้อ Bank draft (ใบสั่งจ่ายเงินของธนาคาร) บางครั้งอาจมีการหายระหว่างการขนส่งได้ และการจ่ายด้วยบัตรเครดิตอาจมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียม 3 -5% ของยอดที่จ่าย 

     2.ถ้านักเรียนต้องการจ่ายค่าเทอมแบบแบ่งจ่าย เราจะแนะนำว่าให้จ่ายโดยการโอนเงินไปส่วนหนึ่งตามที่ได้ตกลงกับทางมหาวิทยาลัย และน้องๆ สามารถแจ้งผู้ปกครองให้โอนเงินส่วนที่เหลือไปให้เมื่อมีการเรียกเก็บอีกครั้งจากมหาวิทยาลัย

   ทาง Hands-On ไม่ค่อยแนะนำให้ซื้อ Travel check (เช็คสำหรับคนเดินทาง ซื้อได้ที่ธนาคารทุกแห่งในไทยและไปขึ้นเงินที่ต่างประเทศ) นะคะ เนื่องจากบางครั้งน้องๆ อาจทำหายได้ และต้องเสียเวลาดำเนินการในการยกเลิก check

   ในกรณีผู้ปกครองต้องการจ่ายเงินค่ากินอยู่ในระหว่างเรียน เราจะแนะนำให้โอนเงินเข้าบัญชีที่ได้เปิดไว้กับธนาคารนั้นๆ ในอังกฤษ น้องๆ บางท่านอาจคิดว่าใช้บัตรเครดิตจากเมืองไทยสะดวกและได้คะแนนสะสม แต่ต้องไม่ลืมค่าธรรมเนียม และอัตราแลกเปลี่ยนของการใช้บัตรเครดิต ซึ่งจะมี rate ที่สูงกว่าการโอนเงินค่ะ

     ความเหมาะสมในการใช้บัตรเครดิต ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ใช้ในการรูดบัตรแต่ละครั้งค่ะ ในกรณีที่ยอดค่าใช้จ่ายไม่มากนักเมื่อคำนวนจากยอดที่ทางปลายทางจะชาร์จเพิ่มแล้วไม่เกิน 1500 บาท ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากถึงแม้ว่าโอนเงินจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดแต่ก็มีค่าบริการที่แพงกว่าวิธีอื่นเช่นกัน

     สำหรับข้อดีข้อเสียเกี่ยวกับรูปแบบการเก็บเงิน รับเงิน และโอนเงินแต่ละวิธีนั้น   สรุปให้ง่ายๆ แล้วเข้าใจได้คงเป็นตามนี้ค่ะ

     Bank Transfer (การโอนเงินผ่านธนาคาร)
     จะมีความปลอดภัยที่สุด แต่มีค่าธรรมเนียมสูง

     Bank draft or Travel Check (ใบสั่งจ่ายเงินของธนาคาร หรือเช็คสำหรับคนเดินทาง)
     ค่อนข้างปลอดภัย ค่าธรรมเนียมไม่สูง แต่ได้รับเงินช้า และต้องมีการจัดส่งเช็คหรือการรอขึ้นเงิน

     Credit Card (บัตรเครดิต)
     สะดวก รวดเร็ว แต่มีความปลอดภัยน้อยที่สุดค่ะ"

 

 

 


     สำหรับบางคนที่ต้องการโอนเงินก้อนใหญ่ เช่น ค่าเทอม ซึ่งเกินวงเงินที่บัตรเดบิตหรือเครดิตอนุมัติ และต้องการได้เงินด่วนภายใน 10 นาที พี่ยีนได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโอนเงินผ่านระบบ Western Union และ MoneyGram มาฝากครับ ซึ่งถึงแม้จะมีค่าธรรมเนียมแพงหูฉี่ แต่สามารถรับเงินได้ภายในไม่กี่นาที แถมไม่ใช้บัญชีธนาคารอีกด้วยครับ

     พี่ยีนลองเช็คค่าธรรมเนียมในการโอนเงินจำนวน 50,000 บาท จากประเทศไทยไปแดนจิงโจ้ ทั้ง Western Union และ MoneyGram จะมีค่าธรรมเนียมไม่ต่างกันนัก แต่ก็สูงถึง 2,000 บาท ซึ่งถ้าไม่รีบด่วนจริงๆ พี่ยีนว่าวิธีโอนเงินแบบนี้เป็นการสิ้นเปลืองจนเกินไป แต่ถ้าน้องๆ สนใจก็สามารถเข้าดูรายละเอียดค่าธรรมเนียมและขั้นตอนการโอนเงินได้ที่

     http://www.thailandpost.com/wu/index.html และ

     http://www.moneygram.com/MGI/TH/TH/Market/Market.htm?CC=TH&LC=TH

     โว้ว...งานนี้ข้อมูลเพียบเลยแฮะ หวังว่าคงไม่อ่านกันจนเบื่อบทความของพี่ยีนกันนะครับ แหม..ก็พี่ยีนอยากให้น้องๆ ได้สิ่งดีๆ กันนี่นา ไว้คราวหน้า พี่ยีน จะมีข้อมูลอะไรดีๆ มาฝากอีก ก็คอยติดตามกันนะครับ และถ้าใครอยากพูดคุยหรือเล่าประสบการณ์เด็กนอกให้พี่ยีนฟัง ก็อีเมลมาได้ที่ gin@dek-d.com นะครับ...

 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก Hands-On Education Consultants

Pics : businesswithgoogle.blogspot.com, ipattorneyfirm.com, www.thegradu8.com,
ppp.thaicybersoft.com
,
www.immigration2australia.com,
www.geocities.com, www.smilecampus.com,http://2.bp.blogspot.com,
http://www.flickr.com,http://www.movingtoaustralia.com.au,
http://1.bp.blogspot.com,http://blogs.telegraph.co.uk,http://images02.olxthailand.com
 



พี่ปอน
พี่ปอน - Webmaster Chief Commercial Officer (CCO)

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

25 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
,,0vel2,, 20 มี.ค. 52 21:25 น. 4
ดีมากค่ะ

สิงหานี้ต้องไปแล้ว o.o

พี่สาวบอกให้เราพกเงินไปแล้วเปิดบัญชี

กลัวหายง้ะ

ยิ่งหลงๆลืมๆอยุด้วย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
SwordKillDevil Member 20 มี.ค. 52 21:49 น. 6
จะไปเหมือนกัน แต่ไม่ได้ไปเรียน แค่มาเลเซียนี่เอง ถ้าไปเรียนต่างประเทศ ส่วนมากอายุเท่าไรบ้างหรอ มีที่อายุ 30 แล้วไปเรียนป่าว (อยากรู้จัง)
0
กำลังโหลด
nam 21 มี.ค. 52 11:49 น. 7
ตอนนี้หนูเรียนอยู่ที่ฮาวาย ค่าครองชีพสูงมากก อาหารจานละ ประมาณ สามร้อยถึงสี่ร้อยบาท เมืองท่องเที่ยวอ่าเนอะ ญี่ปุ่นกับเกาหลีเยอะมากกก
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เมกา 22 มี.ค. 52 15:32 น. 13
เรามาเมกา ตอนแรกมาก็เอาติดตัวมา 1000$ แบบว่าใส่กระเป๋าห้อยคอติดตัวตลอด ระวังๆ
พอเงินหมดก็กดบัตรเอทีเอ็มเอา เสียค่ากดครั้งละ 100บาท ก็กดประมาณครั้งละ 300$
แม่ไม่ทำเดบิตให้เพราะรู้ว่าเราชอบทำของหาย T^T เราเคยทำกระเป๋าตังหายหลายครั้งละ
ก็เลยทำแค่เอทีเอ็มพอ เพราะแบบเดบิตหายไปนี่ คนเก็บเอาไปรูดได้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
#47 23 มี.ค. 52 00:42 น. 15
เราใช้เดบิตของไทยพาณิชย์อ่ะ ...
เสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 100 บาท
-- "


1 ปี ผ่านไป เฉพาะค่าธรรมเนียมก้หมดเกือบหมื่นแล้ว
-*-
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด