วัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com.... สมัยพี่มิ้นท์เรียนในมหาวิทยาลัย มีวิชาที่เกี่ยวกับการเขียน อาจารย์จะเน้นเรื่องการสะกดคำบ่อยมากๆ บ่อยถึงขนาดที่ว่าให้ นศ.ไปอ่านข่าวหรือนิตยสารแล้วให้หาคำผิด ไม่ว่าจะสะกดผิด วรรณยุกต์ผิด มาส่งสัปดาห์ละ 1 งาน(ฝึกจับผิด+ฝึกการอ่านสุดๆ) หลังจากนั้นมาเหมือนคนบ้าเลย เห็นใครเขียนผิดหน่อยก็จะรู้สึกขัดตา โดยเฉพาะคำที่ใช้บ่อยและผิดบ่อยที่สุดอย่าง "นะคะ" ที่หลายคนเขียนกันว่า "นะค่ะ"

           นอกจากคำว่า "นะคะ" แล้ว ยังมีคำอีกเป็นร้อยๆ ที่คนไทยมักเขียนผิดโดยไม่รู้ตัว วันนี้พี่มิ้นท์เลยรวบรวมคำที่เขียนผิดบ่อยๆ มาให้น้องๆ ดูกันในช่วงปิดเทอมนี้แหละ เผื่อมีเวลาว่างจะได้นำไปทบทวนกันค่ะ ทั้งหมด 50 คำ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยยยย


      1) กะเทย VS กระเทย
         
คำที่ถูก >>
กะเทย
          คำที่ผิด >> กระเทย
          คำคำนี้เจอได้บ่อยค่ะ แต่จะมีกี่คนที่เขียนถูก ท่องให้ขึ้นใจเลยนะคะ คำนี้ ไม่มี "ร" จ้า

      2) โควตา VS โควต้า
          คำที่ถูก >>
โควตา
          คำที่ผิด >>โควต้า
          ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ค่ะ ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โทให้คำว่า "ตา" นะ

      3) ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ
          คำที่ถูก >>
ต่างๆ นานา
          คำที่ผิด >> ต่างๆ นาๆ
         โดยปกติคำซ้ำจะเติมเครื่องหมายไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ ยกเว้นคำว่า "นานา" "จะจะ" ที่ไม่ต้องซ้ำนะ เขียนแบบเดิมสองครั้งได้เลย

      4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ถูก >>
ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ผิด >>  ผลัดวันประกันพรุ่ง
          ข้อนี้ออกข้อสอบบ่อยค่ะ พี่มิ้นท์คอนเฟิร์ม ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี "ล" นะคะ "ผลัด" แบบนี้ใช้สำหรับ "ผลัดผ้า" ค่ะ

       5) ผาสุข VS ผาสุก
          คำที่ถูก >>
ผาสุก
          คำที่ผิด >> ผาสุข    
          เชื่อว่าหลายคนไปโยงกับความหมายความสุข ก็เลยใช้ "ข" สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้ "ก" สะกดค่ะ

       6) พะแนง VS พแนง
          คำที่ถูก >>
พะแนง
          คำที่ผิด >> พแนง
          พะแนง อาหารโปรดของใครหลายคน คำๆ นี้ น้องๆ สะกดได้ตรงตัวเลย เขียนง่ายๆ ว่า "พะแนง"

        7) อย่าร้าง VS หย่าร้าง
          คำที่ถูก >>
หย่าร้าง
          คำที่ผิด >> อย่าร้าง
          คำว่า "หย่า" กับ "อย่า" ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างๆ กันค่ะ "อย่า" เป็นคำช่วยกริยาที่บอกห้ามหรือไม่ให้ทำสิ่งใดๆ ส่วน "หย่า" หมายถึง การเลิกเป็นสามีภรรยากัน เขียนให้ถูกกันนะจะได้ไม่งงความหมาย

        8) มัคคุเทศน์ VS มัคคุเทศก์
            คำที่ถูก >>
มัคคุเทศก์
            คำที่ผิด >> มัคคุเทศน์
            มัคคุเทศก์ ก็คือผู้นำเที่ยวหรือไกด์นั่นเอง ไม่ใช่พระที่จะต้องไปนั่งเทศน์ ดังนั้น "เทศ.."  ใช้ "ก์" นะคะ จำง่ายๆ แค่นี้^^

         9) กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน
            คำที่ถูก >>
กงเกวียนกำเกวียน
            คำที่ผิด >> กงกำกงเกวียน
            คำนี้เป็นสำนวน หลายคนติดใช้ กงกำกงเกวียนหรือกงกรรมกงเกวียน แต่ที่ถูกต้องคือ "กงเกวียนกำเกวียน" นะคะ เพราะทั้ง กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน โดยคำนี้มีความหมายว่า กรรมตามสนองค่ะ

        10) กังวาล VS กังวาน
             คำที่ถูก >>
กังวาน
             คำที่ผิด >> กังวาล
             กังวาน หมายถึง เสียงที่ก้องอยู่ได้นาน กังวาน เป็นอีกคำที่สะกดด้วย "น" ได้เลย ไม่ต้องไปสะกดแบบอื่นให้มันยากกว่าเดิม

        11) อนุญาติ VS อนุญาต
              คำที่ถูก >>
อนุญาต
              คำที่ผิด >> อนุญาติ
              พี่เกียรติเคยอธิบายการจำวิธีเขียนคำนี้ไว้ในบทความ รวมเด็ด! วิธีจำคำไทย จากจำยากเป็นจำแม่น! ไว้ว่า ให้ท่องไว้ว่า อนุญาต ไม่ใช่ "ญาติ" ตัวเล็กๆ (อนุ แปลว่า น้อย,เล็ก) ดังนั้นแค่ท่องประโยคนี้ก็เตือนสติเวลาเขียนได้แล้วค่ะ

         12) ขี้เกียจ VS ขี้เกลียด
               คำที่ถูก >>
ขี้เกียจ
               คำที่ผิด >> ขี้เกลียด
               น้องๆ คงไม่มีปัญหากับคำว่า เกลียด เพราะจำได้ไม่ยาก ซึ่งคำว่าเกลียดจะหมายถึง ไม่ชอบ, ชัง คำนี้ยังมีความหมายเหมือนกับ "รังเกียจ" อีกด้วย ดูจากวิธีเขียนของคำสองคำก็ต่างกันแล้ว ดังนั้นเมื่อเจอ "ขี้เกียจ" อีกคำนึง น้องๆ อาจจะสับสน มองว่ามาจากคำว่า ขี้+เกลียด หรือเปล่า จึงจำผิดมาโดยตลอด ขอให้จำใหม่นะคะ ขี้เกียจ ไม่ต้องควบกล้ำและใช้ "จ" สะกดค่ะ

         13) ศรีษะ VS ศีรษะ
              คำที่ถูก >>
ศีรษะ
              คำที่ผิด >> ศรีษะ
             การสะกดคำนี้มีปัญหาเพียงอย่างเดียวคือการเติมสระอี ที่มักวางผิดตำแหน่งไปวางตรง "ร" ขอให้น้องๆ จำให้ขึ้นใจว่าหัวเป็นของสูง และเราก็มักจะใส่หมวกที่หัว ดังนั้น "ศ" หัวของตัวอักษรอยู่สูงกว่า "ร" จึงต้องเอาสระอีไปวางไว้ที่ "ศ" ค่ะ

        14) ผัดไทย VS ผัดไท
             คำที่ถูก >>
ผัดไทย
             คำที่ผิด >> ผัดไท
            คำนี้มีวิธีการจำง่ายๆ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานบอกไว้ก็คือ คำว่า "ไทย" ในผัดไทย เขียนเหมือนคนไทย นั่นเอง (ก็มันอาหารของคนไทยนี่)

        15) อานิสงส์ VS อานิสงฆ์
             คำที่ถูก >>
อานิสงส์
             คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
             คำสองคำนี้ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกัน คือ เป็นเรื่องของศาสนา น้องๆ จึงอาจโยงความหมายและการสะกดคำเข้าด้วยกัน ซึ่งความจริงแล้ว อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ "ส์"

        16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา
             คำที่ถูก >>
ใบกะเพรา
             คำที่ผิด >> ใบกระเพรา
            ร้านอาหารตามสั่งส่วนมากเขียนคำนี้ผิดค่ะ การเขียนที่ถูกต้องจริงๆ มี "ร" เพียงแค่ที่เดียว คือ "เพา" ส่วน "กะ" ไม่ต้องนะคะ
             ซึ่งคำนี้จะสลับกับคำว่า กระเพาะ(อาหาร) ที่มี "ร" ในคำว่า "กระ" ส่วน "เพาะ" ไม่มี

        17) ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล
             คำที่ถูก >>
ข้าวเหนียวมูน
             คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
             พูดถึงคำนี้ ดูไม่น่าจะมีคนเขียนผิดนะ แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคนเขียนผิดเยอะมาก เพราะชินกับคำว่า "มูล" โดยหารู้ไม่ว่าคำว่ามูล หมายถึง ราก หรือเศษสิ่งของต่างๆ รวมไปถึงอุจจาระ ซึ่ง...เอามารวมกับสิ่งที่เป็นของกิน ถึงจะเป็นแค่ชื่อก็ไม่ไหวนะคะ ใครจะกล้ากินล่ะเนี่ย
              ส่วน "มูน" ในที่นี้หมายถึง การเอากะทิมาคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้เกิดความมันนั่นเอง

        18) คลินิก VS คลีนิก VS คลินิค
              คำที่ถูก >>
คลินิก
              คำที่ผิด >> คลีนิก/ คลินิค
              คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง คลินิก/ คลีนิก/ คลีนิค/ คลินิค แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เป็นเสียงสั้นใช้สระอิ และใช้ "ก" สะกดจ้า 

       

        19) อุบาทว์ VS อุบาท VS อุบาต
              คำที่ถูก >>
อุบาทว์
              คำที่ผิด >> อุบาท
             คำที่ออกเสียงว่า "บาด" ในภาษาไทยมีหลายคำทีเดียวค่ะ เช่น บาท=เท้า, บาตร=บาตรใส่อาหารของพระ, บาด=ของมีคมบาดจนเป็นแผล, บาต=อุกกาบาต รวมถึงคำว่าอุบาทว์ ซึ่งก็เขียนต่างจาก "บาด" คำอื่นๆ โดยจะต้องมี "ว์" ตามหลัง "ท" เสมอค่ะ
             

        20) คัดสรร VS คัดสรรค์
             คำที่ถูก >>
คัดสรร
             คำที่ผิด >> คัดสรรค์
             ตระกูลคำที่ออกเสียงว่า "สัน" ในภาษาไทยก็มีหลายคำเหมือนกัน วิธีเขียนก็มีทั้งที่เป็น ร หัน ( -รร) และเขียนโดยใช้ไม้หันอากาศ ในส่วนที่ใช้ ร หัน (-รร) ก็ยิ่งสับสนงงงวยไปอีก เมื่อบางคำก็มีตัวการันต์ บางคำก็ไม่มีตัวการันต์ จากตัวอย่างคำว่า "คัด-สัน" ที่ยกมานี้ก็เป็นอีกคำที่เขียนผิดบ่อยสุดๆ ท่องกันให้ขึ้นใจเลยนะคะ "คัดสรร" ไม่ต้องมีตัว "ค์" จ้า เพราะคำว่า "สรร" หมายถึง การเลือก, การคัด อยู่แล้ว และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกันนั่นเอง

        21) สังสรรค์ VS สังสรร
             คำที่ถูก >>
สังสรรค์
             คำที่ผิด >> สังสรร
             อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล "สัน" แต่สำหรับคำว่า สังสรรค์ จะต้องตามด้วย "ค์" เสมอ

        22) โคตร VS โครต
              คำที่ถูก >>
โคตร
              คำที่ผิด >> โครต
              ทั้ง 2 คำอ่านว่า "โคด" เหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตการออกเสียงดีๆ จะรู้ว่าคำนี้ไม่มีควบกล้ำ ดังนั้นวิธีเขียนที่ถูกต้องคือ เอา "ร" ไว้หลังสุด คือ โคตร (บางทีอ่านเล่นๆ กันว่า โค-ตะ-ระ นั่นเอง)

        23) จลาจล VS จราจล
              คำที่ถูก >>
จลาจล
              คำที่ผิด >> จราจล
              สมัยเด็กๆ สับสนคำนี้กันหลายคน เพราะหน้าตามันละม้ายคล้ายกับคำว่า "จราจร" วิธีจำให้เขียนถูกง่ายนิดเดียว คำว่า "จราจร" ใช้ "ร" ทั้งสองตัว ส่วน "จลาจล" ก็ใช้ "ล" ทั้งสองตัวเช่นเดียวกันค่ะ

        24) น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด
              คำที่ถูก >>
น้ำมันก๊าด
              คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
             น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ในสมัยก่อนใช้จุดให้แสงสว่างในตะเกียงและยังสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ได้ด้วย วิธีเขียนอาจไม่คุ้นชิน แต่ให้จำเอาไว้ว่าเขียนให้ง่ายๆ ตามแบบคนไทยใช้ "ด" สะกดไปเลยค่ะ
            ส่วนที่เราใช้ผิดบ่อยๆ ว่า "น้ำมันก๊าซ" นั้นน่าจะติดมาจากคำว่า "ก๊าซ" หรือ "แก๊ส" ที่มาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษว่า gas นั่นเอง

        25) เครื่องหมายดอกจัน VS เครื่องหมายดอกจันทร์ VS ดอกจันทน์

           คำที่ถูก >> เครื่องหมายดอกจัน
           คำที่ผิด >> เครื่องหมายดอกจันทร์/ เครื่องหมายดอกจันทน์
           เป็นอีกคำที่ใช้ผิดบ่อยจริงๆ ค่ะ แล้วก็โผล่อยู่ในข้อสอบเกือบทุกโรงเรียน ฮ่าๆ ตระกูลคำว่า "จัน" ทั้ง จันทร์, จันทน์, จัน ใช้สับสนกันไปหมด ซึ่งการเขียนที่ถูกต้องจริงๆ ของกลุ่มนี้คำนี้ มีดังนี้
              จัน = ใช้กับคำว่าเครื่องหมายดอกจัน
              จันทร์ = วันจันทร์
              จันทน์ = ดอกไม้จันทน์, ดอกจันทน์(ส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ)
             ดังนั้น สรุปว่า เครื่องหมายดอกจัน ไม่ต้องมีตัวการันต์ทั้งสิ้นค่ะ


         กว่าจะครบ 25 คำเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ อาทิตย์หน้าพี่มิ้นท์ยังมีอีก 25 คำที่พวกเราเขียนผิดกันอยู่บ่อยๆ รับรองว่าเห็นแล้วมีตะลึงแน่นอน
         ส่วนสัปดาห์นี้ฝากน้องๆดูทั้ง 25 คำ แล้วจำให้แม่น จะได้ไม่ใช้แบบผิดๆ กันอีก :) เราคนไทยต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนะคะ


                 มาแล้ว!! 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 2)  
          

เด็กดีดอทคอม :: ว้าว!! เครื่องตรวจจับรอยยิ้ม...แบบนี้ก็มีด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก
พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
  บทความอื่นๆ ในหมวดเคล็ดลับการเรียน


เคล็ดไม่ลับ!! รู้ศัพท์เป็นร้อย ด้วยเวลาไม่กี่นาที


วิธีจำแบบเปรี้ยวๆ สำหรับคนเบื่อการท่องจำ ได้ผลจริง!!



กำจัดจุดอ่อน!! 5 ที่มาอาการเพลีย ระหว่างอ่านหนังสือ
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
mejune Columnist 22 มี.ค. 56 10:03 น. 45
4) ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง
           คำที่ผิด >>  ผลัดวันประกันพรุ่ง 


ข้อนี้ เข้าใจความหมายของคำว่า "ผัด" กับคำว่า "ผลัด" ก็จะช่วยให้เขียนถูกอีกหลายคำค่ะ

"ผัด" หมายถึง "เลื่อน" หรืออีกความหมายคือการปรุงอาหาร
เช่น ผัดผ่อนหนี้สิน ผัดวันประกันพรุ่ง

"ผลัด" หมายถึง "เปลี่ยน"
เช่น ผลัดผ้า ผลัดใบ ผลัดเซลล์ผิว (ได้ยินบ่อยในโฆษณา) วิ่งผลัด
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
shioribeamu Member 17 ม.ค. 60 23:56 น. 92

ขอนำไปประกอบสื่อการเรียนการสอนได้รึเปล่าคะ ?

พอดีกำลังทำเกี่ยวกับเรื่อง การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เพื่อแก้ปัญหาการใช้คำผิด ค่ะ เขิลจุงเขิลจุงเขิลจุงเขิลจุงเขิลจุงเขิลจุงเขิลจุงเขิลจุงเขิลจุงเขิลจุงเขิลจุง

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด

99 ความคิดเห็น

Kradart Member 19 มี.ค. 56 18:04 น. 1
แหม  เราก็เขียน  กระเพราเสียตั้งนาน 555  ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีครับ

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 19 มีนาคม 2556 / 18:04
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
659 19 มี.ค. 56 18:37 น. 3
คำว่าผัดไท เนี่ยแหละที่ผิดมา18ปี คืออย่างคำอื่นเรายังพอลังเลบ้างแต่คำนี่เนี่ย...
จาก25คำผิดไปแล้ว9คำ รอต่ออาทิตย์หน้านะคะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
StarLullaby Member 19 มี.ค. 56 19:09 น. 8
ข้อ 2
โควตา
เราเขียนแบบนี้ลงข้อสอบเขียนไทย
อ.ให้ผิด ต้องเขียน โควต้า นะคะนักเรียน

ข้อ 14
ผัดไทย
เราเขียนไปว่า ผัดไท อ.ให้ถูกเฉย??

0
กำลังโหลด
Zenicon™ Member 19 มี.ค. 56 19:12 น. 9
ข้อ 16 แปลกๆนะ 16) ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา คำที่ถูก >> ใบกะเพรา คำที่ผิด >> ใบกระเพรา ร้านอาหารตามสั่งส่วนมากเขียนคำนี้ผิดค่ะ การเขียนที่ถูกต้องจริงๆ มี "ร" เพียงแค่ที่เดียว คือ "เพราะ" กะเพรา แล้วไหงอธิบาย "เพราะ" ?
1
princesskaowpao Member 30 ส.ค. 57 04:03 น. 9-1
เค้ายกตัวอย่างคำว่า กระเพราะ เพราะว่าจะสอนให้มองตรงคำว่ากระมั้งคะ เพราะคนจะสับสน กะเพรา ติดมาจากคำว่ากระเพราะ ซึ่งมี 'ร' นี่มั้งจุดประสงค์เค้า ไม่เกี่ยวกับคำหลังจ้า พี่คิดว่างั้นนะคะว๊าว
0
กำลังโหลด
Zenicon™ Member 19 มี.ค. 56 19:16 น. 10
  • ความคิดเห็นที่ 5

     
    ขาดอีกคำนะคะ ที่สมมติ กับ สมมุติ อ่าาา อันนี้ไม่แน่ใจว่าอันไหนถูก
    นางสาวสุวรรณ (บู่บู้) Popular Member
    • Name : นางสาวสุวรรณ (บู่บู้) < My.iD > ดูเน็ตเวิร์คอื่นๆ ของ นางสาวสุวรรณ (บู่บู้) [ IP : 118.172.124.243 ]
    • Email / Msn: bow_big_105(แอท)hotmail.com
    • วันที่: 19 มีนาคม 2556 / 19:06


  • สมมติ ครับ

    ค้นใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เจอทั้ง สมมต, สมมติ, สมมติ, สมมุติ, สมมุติ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด