วิธีพักสายตาเวลาใช้คอมนานๆ

 

 

น้องๆ ชาว Dek-D.com คนไหนชอบเล่นคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แล้วปวดตา

 ลองนำวิธีนี้ไปใช้ดูซิจ๊ะ อาจทำให้อาการปวดตาบรรเทาลงได้บ้างนะจ๊ะ

 


วิธีการพักสายตา จากการใช้ คอมพิวเตอร์

          คนเราส่วนใหญ่จะนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์มากๆ มีบางครั้งล้าสายตาหรือปวดตา ทำให้เกิดการระคายเคือง ตาอักเสบ วิธีการช่วยบรรเทาการปวดตา 
          1. หลับตา แล้วเกือกตาไปมา ซ้าย ขวา บน ล่าง และหลับให้นิ้งประมาณ 5นาที
          2. ออกไปสูดอากาศหายใจจะได้ผ่อนคลายไปในตัว
          3. มองดูอะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว เช่น ต้นไม้ สนามหญ้า ฯลฯ หรืออะไรก็ได้ ที่มองแล้วสบายหูสบายตา วิธีนี้ส่วนมากใช้ได้ผล 70%
          4. หาอุปกรณ์ เช่น แว่น ฯลฯ

 

 

          เมื่อเทคโนโลยีมันก้าวมาถึงขีดที่คอมพิวเตอร์ซึ่งเคยแสนวิเศษ กำลังจะกลายเป็นอุปกรณ์ธรรมดาๆ ที่จำเป็นต้องมีของทุกหน่วยงาน 

         ทุกคนต้องใช้ได้ใช้เป็น และเรากำลังหลงใหลได้ปลื้มกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ จนลืมนึกถึงพิษภัยที่มันมากับคอมพิวเตอร์ แม้จะไม่ใช่ทางตรงทีเดียวกันก็ตาม พิษภัยนี้มีไว้สำหรับท่านที่นั่งใช้อยู่หน้าจอเป็นประจำเท่านั้น โดยเฉพาะท่านที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน จากการนั่งทำงานเป็นประจำ ผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้นที่แน่ๆ ก็คือ ปวดหลัง ปวดไหล่ ต้นคอ และข้อมือ เกิดอาการเครียดที่ตา เพราะขณะมองจอนั้นผู้ใช้มักไม่กะพริบตา เป็นผลให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคือง
ได้ และอาการที่ตามมาคือตาพร่าและมองไม่เห็นชั่วคราว นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการไมเกรนพ่วงมาด้วย

         ปัญหาทางตาเป็นปัญหาที่น่าห่วงมาก เพราะเมื่อตาเกิดความเครียดกล้ามเนื้อตา จะบีบรัดเลนซ์ตาจนเกิดความเมื่อยล้า หมอจึงแนะนำว่า ถ้าต้องใช้สายตาอยู่กับจอนานๆ ควรพักสายตาทุกสิบนาที 



       

         ด้วยการเปลี่ยนไปมองวัตถุที่อยู่ไกลออกไปสัก 20 ฟุต มองสัก 2-3 นาทีแล้วค่อยมองจอต่อ จักษุแพทย์ได้แนะให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ต้องพักสายตาให้มองไกลทุก 10 นาที และท่านที่มีปัญหาสายตาสวมแว่นอยู่แล้วนั้น ถ้าต้องมารับหน้าที่อยู่หน้าจอนานๆ ควรมีแว่นตาเฉพาะสำหรับงานหน้าจอนี้ด้วยอีกอันหนึ่ง ซึ่งแตกต่างไปจากแว่นตาที่ใช้ยามปกติ ส่วนจะแตกต่างอย่างไร คงต้องปรึกษาจักษุแพทย์ และในขณะเดียวกันท่านเหล่านี้ควรได้รับการตรวจวัดสายตาเป็นประจำ เพื่อให้ได้ขนาดเลนซ์ที่เหมาะสม 

           นอกจากนี้ เพื่อเป็นการถนอมสายตาที่ยังไม่มีปัญหา ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่มีสีสว่างขณะนั่งหน้าจอ เพราะสีของเสื้อจะไปทำให้เกิดแสงสะท้อนบนจอภาพได้ และแสงสะท้อนนี้แหละที่จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้ากว่าปกติ และยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตาเมื่อยล้าได้คือ ถ้าแสงจากจอสว่างน้อยกว่าแสงโดยรอบ ข้อนี้ผู้จัดสำนักงานควรจะมีความรู้ด้วย ทั้งหมดคงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์เองที่จะเป็นผู้รับผิดชอบสุขภาพของตนเอง เพราะถ้าเกิดปัญหาสายตาขึ้น จะไปเรียกร้องเงินทดแทนก็คงทำได้ยาก



 

        น้องๆ ชาว Dek-D.com ก็อย่าลืมพักสายตาบ้างนะจ๊ะ จะได้มีสายตาดีๆ ไว้ใช้ได้นานๆ ไงล่ะจ๊ะ
 



 

        ข้อมูลอ้างอิง และภาพประกอบ จาก sgclub.com ,healthmad.com, istockphoto.com


พี่นัท

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

18 ความคิดเห็น

Tawan_Pro Member 18 ธ.ค. 53 09:13 น. 1
จริงๆนะครับ ภัยมันแย่จริงๆ ตอนนี้ทำให้สายตาสั้นแล้ว T^T แต่ตอนนี้ก็พยายามเปลี่ยนนิสัย ยากมากๆ มีคอมนี่ประโยชน์เยอะ แต่ภัยก็เยอะด้วยเหมือนกัน
0
กำลังโหลด
bewBJ Member 18 ธ.ค. 53 13:44 น. 2
บิวเป็นคนชอบเล่นคอมนานๆค่ะ  แต่ก้อซื้อเเว่นที่กรองแสงคอมมาใส่ค่ะ  สายตาก้อเลยอยู่ดีทุกประการนะ
0
กำลังโหลด
DarkMist Member 18 ธ.ค. 53 19:29 น. 3

1. หลับตา แล้วเกือกตาไปมา ซ้าย ขวา บน ล่าง และหลับให้นิ้งประมาณ 5 นาที
>> 'เกือก' นี่ หมายถึงกลอกตาไปมาใช่รึเปล่า.. นิ่ง กลายเป็น นิ้ง ซะงั้น (สงสัยพี่นัทเบลอเล็กน้อย =w=")
2. ออกไปสูดอากาศหายใจจะได้ผ่อนคลายไปในตัว
>> อากาศเย็นๆ กำลังดีซะด้วย
3. มองดูอะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว เช่น ต้นไม้ สนามหญ้า ฯลฯ หรืออะไรก็ได้ ที่มองแล้วสบายหูสบายตา วิธีนี้ส่วนมากใช้ได้ผล 70%
>> มองออกไปเจอทุ่งนาพอดี (บ้านนอกสินะ)
4. หาอุปกรณ์ เช่น แว่น ฯลฯ
>> ใส่แว่นเพราะเล่นคอมมากเกินนี่แหละ !



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 18 ธันวาคม 2553 / 19:30
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ติดตาม(หาใจ) Member 20 ธ.ค. 53 15:06 น. 7

อืมม์ ปกติถ้าปวดตาหรือรู้สึกล้าๆ ที่ตา จะโทษว่าเพราะนอนดึก สงสัยจะไม่ใช่อย่างเดียวแล้วสินะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Half Phantom Member 21 ธ.ค. 53 23:44 น. 15
ขอบคุนมากเลยครับยิ่งเป็นพวกหมกตัวอยู่หน้าคอมอยู่ด้วย

ถ้าจะกรุณาไปอ่านด้วยนะครับ Space Online เขียนเองครับ
ขอบคุนมากถ้าไปอ่าน

http://writer.dek-d.com/earl10678/writer/view.php?id=673969
 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด