สวัสดีครับ วันนี้ พี่ลาเต้ มีคำถามมาทายน้องๆด้วยหละครับ อยากให้น้องๆลองตอบ หรือลองเดามาซิว่า ชื่อจริง กับ ชื่อเล่น ชื่อแบบไหนเกิดขึ้นก่อนกัน..หากตอบแล้วก็เก็บไว้ในใจก่อนเลยนะครับ..แล้วค่อยไปดูเฉลยพร้อมกัน..

           หลายๆคนอาจจะคิดว่าชื่อเล่นน่าจะเกิดขึ้นมาก่อนชื่อจริง แต่อย่างไรก็ตามนั่นเป็นความเชื่อที่ผิด โดยความจริงคือ คนไทยมีการตั้งชื่อจริงก่อนชื่อเล่น และเชื่อกันว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเพราะมีหลักฐานปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร

           ชื่อจริงในสมัยสุโขทัยนั้นอย่างที่เล่าไว้ข้างบนคือ เกือบทั้งหมดจะเป็นคำพยางค์เดียว และภาษาที่ใช้น่าจะเป็นภาษาไทยทั้งหมด โดยการตั้งชื่อมีความหมายสะท้อนถึงแนวคิดของคนในยุคนั้น คือความสัมพันธ์ฉันท์ญาติ สนิทสนม เช่น อ้าย ยี่ ไส และแนวคิดเรื่องการมุ่งเอาความปลอดภัยมั่นคง และความเจริญของชุมชนเป็นหลักร่วมกัน เช่น คง จิด จอด ผากอง

           ต่อมาในสมัยอยุธยา และธนบุรี เริ่มมีการตั้งชื่อ 2 พยางค์ และมีการนำเอาภาษาบาลีสันสกฤต มาประยุกต์ใช้ ซึ่งความหมายของชื่อมักแสดงถึงสิ่งที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เช่น จัน (ต้นไม้) ทอง (ธาตุ) ฯลฯ หรือมีความหมาย แสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวที่กระทำอยู่อย่างปกติ เช่น มา พูน เลื่อน ฯลฯ

           ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ต่อมาเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ระยะต้นๆ โดยมีลักษณะแตกต่างจากความนิยมเดิม คือมีชื่อที่มีความหมายในเรื่องอำนาจ ชัยชนะ และการสงครามเพิ่มขึ้นมา เช่น เฉลิมพล ณรงค์ ฯลฯ และชื่อที่มีความหมายเกี่ยวกับ ความรู้ ความฉลาด การศึกษา เช่น โกวิท ปรีชา สุธี ฯลฯ

           ในยุคปัจจุบันผู้คนนิยมสรรหาชื่อที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนคนอื่น จึงปรากฏชื่อที่มีรูปลักษณ์ทางภาษาแปลก ๆ หรือมีหลายพยางค์มากกว่าสมัยที่ผ่านมา โดยความหมายของชื่อจะลดความนิยมชื่อที่มีความหมายเป็นรูปธรรม และมีความหมายเป็นนามธรรมมากขึ้น

           ส่วนด้านประวัติของชื่อเล่นนั้นสันนิษฐานว่า น่าจะปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรสมภพ ยศเจ้าฟ้ายังไม่มีในประเพณีกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นราชนัดดาคงทรงพระยศเป็นพระองค์เจ้า ฝรั่งจึงเรียกในจดหมายเหตุแห่งในสมัยนั้นว่า "The Black Prince" ตรงกับ "พระองค์ชายดำ" และเรียกพระอนุชาเอกาทศรถว่า "The White Prince" ตรงกับ "พระองค์ชายขาว"

           การตั้งชื่อเล่นปรากฏเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้นพระนามของพระมหากษัตริย์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์มักเป็นคำมากพยางค์ ทำให้พระนามยาว และเรียกไม่สะดวก จึงต้องมีวิธีเรียกให้สั้นจนกลายเป็น "ชื่อเล่น" แต่กระนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับกาลเทศะของผู้พูดเป็นสำคัญ

           ได้อ่านบทความนี้แล้ว..ทำให้เห็นถึงวิวัฒนาการของชื่อคนไทยได้เลยนะครับ..ว่าอดีต กับปัจจุบันแตกต่างกันขนาดไหน..พี่ลาเต้ ลองนึกถึงชื่อท่านผู้ใหญ่ที่เคารพหลายท่าน ก็มีชื่อจริงพยางค์เดียวทั้งนั้นเลยหละครับ ไม่ว่าจะเป็น คุณตาพัน คุณยายบัว หรือคุณลุงมั่น

           แต่ในปัจจุบันชื่อจริงพยางค์เดียวนั้นหาได้ยากมากๆเลยนะครับ..และหากชาวเด็กดีคนไหนมีเพื่อนๆ หรือคนที่รู้จักที่เกิดสมัยนี้ แต่มีชื่อจริงพยางค์เดียว อย่าลืมมาคอมเม้นบอกเล่าให้เพื่อนๆฟังกันด้วยนะครับ..วันนี้ พี่ลาเต้ ขอตัวไปก่อน สวัสดีครับ

 

พี่ลาเต้ขอขอบคุณข้อมูลจากสำนักพิมพ์สารคดีเมืองโบราณ

 
พี่ลาเต้
พี่ลาเต้ - Columnist นักข่าวสายการศึกษา เกาะติดทุกข่าวแทนน้องๆ ตัวถีบ ตัวดันให้ ม.6 สอบติด

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

27 ความคิดเห็น

mejune Columnist 17 ก.ย. 51 15:26 น. 1
เพื่อนพี่จูนชื่อ "ปลื้มฯ" 
แต่ไม่ใช่พยางค์เดียวนะ 
เพราะตามหลักภาษาไทยต้องอ่านว่า "ปลื้มไปยาลน้อย"
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ผลไม้เมืองหนาว Member 17 ก.ย. 51 18:05 น. 5
เพื่อนเรามีคนชื่อพยางค์เดียวเยอะมากๆๆเลยค่า เช่น.. พฤทธ์ พัฒน์ กันต์ ประมาณนี้อ่า แต่เปนชื่อผู้ชายอ่านะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
poymy 21 ก.ย. 51 15:10 น. 20
เพื่อนสนิทเราชื่อ "พลอย" ค่ะ ทั้งชื่อจริงและชื่อเล่นเลย น้องของพลอยก็ชื่อ "แพรว" เราว่าเก๋ดีนะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด