เมื่อเริ่มต้นปีการศึกษาของแต่ละปี มักเกิดข่าวการรับน้องใหม่แบบวิตถารของสถานศึกษาบางแห่งที่แข่งกันขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวันเสมอ ยิ่งได้อ่านข่าวพวกนี้ ก็ยิ่งชวนให้นึกสงสัยว่า ทำไมกันนะ ประเพณีรับน้องใหม่ที่แสนจะอบอุ่นนั้น จึงได้กลับกลายแปรเปลี่ยนไปทุกที...

             น้องๆ ชาว Dek-D.com รู้หรือไม่คะว่า... จุดเริ่มต้นของประเพณีรับน้องใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2475 นั้น ต่างกับปัจจุบันนี้เพียงว่า เริ่มต้นจากรอยน้ำตาและจบลงด้วยความอบอุ่นและภาคภูมิใจเท่านั้นเอง ซึ่งทำให้นับตั้งแต่นั้นมา ประเพณีรับน้องใหม่ก็เกิดขึ้นอย่างน่ารักและมีความหมายที่น่ายึดถือเป็นแบบฉบับเป็นต้นมา

               หลายๆ คนคงเคยได้เห็นบอร์ดจารึกการกำเนิดต้นแบบประเพณีรับน้องใหม่ในประเทศไทยที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเริ่มขึ้นโดยนิสิตแพทย์ศิริราชว่า...

 

 

ภาพการรับน้อง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

               สาเหตุของประเพณีรับน้องใหม่นี้เกิดขึ้นจากการแข่งขันฟุตบอลระหว่างคณะแพทยศาสตร์กับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2474 โดยผู้เล่นคนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ ถูกฝ่ายตรงข้ามสองคนรุมชกต่อยโดยไม่มีเหตุยั่วยุแต่อย่างใด
 
               ฝ่ายสโมสรสาขาศิริราชสืบทราบว่า ฝ่ายตรงข้ามได้มีการนัดหมายกันไว้ก่อนว่าจะเก็บตัวผู้เล่นคนดังกล่าว นายกสโมสร (นายสรรค์ ศรีเพ็ญ) จึงได้มอบหมายให้เลขานุการของสโมสร (นายอวย เกตุสิงห์) ทำคำฟ้องยื่นต่อคณะกรรมการสโมสรจุฬาฯ แต่บรรยเวกษก์ (อ่านว่า บัน-ยะ-เวก หมายถึง ผู้ดูแลทั่วไป : พี่จูน) ซึ่งขณะนั้นคือ หม่อมเจ้าไวทยากร วรวรรณ ได้ทรงระงับคดี เพราะไม่ทรงเชื่อว่ามีการนัดหมายกัน

             ฝ่ายแพทย์โกรธยิ่งขึ้นเมื่อรู้ว่าตัวการเป็นเตรียมแพทย์ ซึ่งจะข้ามฟากไปเรียนที่ศิริราช ใน พ.ศ. 2475 นั้น คณะกรรมการจึงได้ประชุมหาทางลงโทษเสียให้หายแค้น บ้างก็ให้จับโยนลงน้ำ บ้างก็ให้คลานขึ้นจากน้ำมาขอโทษ บ้างก็ให้คว่ำบาตร (หมายถึง ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย : พี่จูน) แต่เลขานุการได้ให้ความเห็นว่า การแก้แค้นจะทำให้ผูกใจเจ็บและเสียความสามัคคี ทางที่ดีควรยกโทษให้รุ่นน้อง และแสดงน้ำใจด้วยการต้อนรับอย่างอบอุ่น ที่ประชุมเห็นชอบด้วย ผู้ที่ถูกต่อยตีก็ไม่ติดใจแก้แค้นอีกต่อไป

 

 

ภาพการรับน้อง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

              พิธีรับน้องใหม่เริ่มด้วยรุ่นพี่แจวเรือข้ามไปรับน้องใหม่มาจากท่าพระจันทร์ พอถึงฝั่งศิริราชก็มีรุ่นพี่กลุ่มใหญ่มาต้อนรับ แห่พาน้องไปกราบพระพุทธรูปที่หน้าหอพักเป็นการอโหสิกรรม

              หลังจากสังสรรค์และลบรอยร้าวในหัวใจแล้ว รุ่นพี่กับรุ่นน้องกฌรับประทานข้าวราดแกงด้วยกัน มีอนุศาสก (หมายถึง อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในหอพักของวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย : พี่จูน) คือ จ.อ.นพ.แดง กาญจนารัณย์ เป็นประธานพวกน้องแสดงตนเป็นรายตัว ลงท้ายด้วยการร้องเพลงปลุกใจให้รักหมู่คณะเป็นการเชื่อมความสามัคคี รอยช้ำในดวงใจของทุกคนก็เหือดหาย คณะแพทยศาสตร์ก็เป็นปึกแผ่นเหนียวแน่นดังประเพณีที่มีมาแต่เดิม

             งานรับน้องใหม่ครั้งนี้สร้างความประทับใจให้แก่ทุกคน ในปีต่อๆ มาจึงได้จัดขึ้นอีกแม้จะไม่มีเหตุการณ์กระตุ้นให้จัดจนเป็นประเพณีสืบมาและค่อยๆ กระจายไปทั่วประเทศ

             และนี่เองเป็นที่มาของประเพณีรับน้องใหม่ที่น่าประทับใจแบบสุดๆ สำหรับน้องๆ ชาว Dek-D.com ก็ติดตามดูต้นแบบของประเพณีดีงามกันไว้นะคะ ส่วนเรื่องใดที่ไม่เหมาะสมก็ถือเป็นเยี่ยงอย่างพี่จูนขอเตือนว่าอย่าไปทำตามเชียว เพราะเบื้องหลังความสำเร็จทางการศึกษาของเรานั้น ไม่เพียงมีพ่อแม่ที่เหนื่อยยาก แต่ยังมีความภาคภูมิใจของครอบครัวและสถาบันที่เชิดชูรออยู่ด้วยค่ะ ^^
 

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก หนังสือชุดบันทึกของแผ่นดิน ตอน 100 เรื่องเก่าเล่าสนุก โดย โรม บุนนาค
ภาพประกอบจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

พี่จูน
พี่จูน - Columnist บ.ก.บันเทิง/ไลฟ์สไตล์ ใจดีกว่าหน้าตา รักสัตว์ รักเด็ก อยากเป็นนางเอกและนางงาม

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

15 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
china Member 20 มิ.ย. 52 08:39 น. 2

อ้อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
แล้วการว๊ากมันเริ่มมาจากอะไรอ่ะคะ
เพราะเค้าอยากในน้องๆเชื่อฟังหรอ?

0
กำลังโหลด
รัตนาดิศร Member 20 มิ.ย. 52 12:51 น. 3
การรับน้องครั้งแรกมีความเป็นมาโดยสังเขปอย่างที่พี่จูนได้กล่าวไว้ข้างต้น หากใครต้องการทราบข้อมูลโดยละเอียด อาจสอบถามจากนักเรียนแพทย์ศิริราชโดยตรง หรืออ่านบทความของ ศ.นพ. อวย เกตุสิงห์ ตาม link นี้ได้เลยครับ

http://www.tantee.net/board/user/attach/board_attach/si115/0010030510001/Siriraj%20Freshy%20-%20First%20time%20in%20Siam.pdf 

ส่วนสาเหตุของการว้าก เป็นความเข้าใจผิดของรุ่นพี่ที่รับประเพณีรับน้องมาปฏิบัติในระยะหลังนี้เอง ในครั้งแรกที่ศิริราชจัดงานรับน้องขึ้นในปี พ.ศ. 2475 นั้นมีการจัดประชุมรุ่นน้องทุกคนเพื่อ "อบรม" โดยต้องการชี้แจงเรื่องราวบาดหมางที่เกิดขึ้น เปิดโอกาสให้น้องได้สารภาพความผิดที่กระทำไป และเปิดใจอาจารย์และรุ่นพี่ซึ่งพร้อมจะให้อภัยแก่รุ่นน้องซึ่งกระทำผิดไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งยังได้ถือโอกาสนี้แนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติในฐานะ "นักเรียนแพทย์" ผู้จะเจริญเป็นแพทย์ต่อไปในอนาคต

ในปีต่อๆ มา เหตุผลในการ "อบรม" ไม่ใช่เพื่อแก้ไขความบาดหมางระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องอีกแล้ว คงเหลือแต่การชี้แจงแนะนำสิ่งที่น้องควรรู้ควรปฏิบัติ ทั้งในฐานะนักศึกษามหาวิทยาลัย และในฐานะนักเรียนแพทย์ศิริราช เพื่อให้น้องได้รับทราบและนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง สิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ อาชีพแพทย์ - ไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบัน - เป็นวิชาชีพเฉพาะที่มีความแตกต่างไปจากอาชีพอื่นๆ ในสังคม จึงต้องฝึกฝนความเป็นแพทย์นับแต่วันแรกที่ข้ามฟากมา และจุดเริ่มต้นอย่างช้าที่สุดในการฝึกฝนก็คือวันที่ได้เป็นนักเรียนแพทย์เต็มตัวนั่นเอง

ปัจจุบัน การ" อบรม" ที่ว่านี้ยังคงถือปฏิบัติการสืบมาในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

แต่เมื่อการ "อบรม" นี้แพร่หลายไปยังคณะต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เมื่อก่อน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คือ คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ล่วงเลยไปจนถึงสถาบันอุดมศึกษาอีกหลายแห่งที่เปิดสอนกันต่อมา - ด้วยความไม่เข้าใจในต้นเค้าประเพณีที่แท้จริง เมื่อรับเอาการ "อบรม" นี้ไปใช้จึงทำกันอย่างผิดๆ เข้าใจไปเองว่าการ "อบรม" คือโอกาสที่พี่ได้แสดงศักดานุภาพต่อรุ่นน้อง พี่มีสิทธิ์ที่จะกระทำการใดๆ ต่อน้องก็ได้ เหตุเพียงเพราะน้องคือผู้มาใหม่ และพี่คือผู้จะไปก่อน - ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลย -  แม้ระบบ SOTUS ซึ่งเริ่มใช้ในประเทศไทยครั้งแรกที่คณะแพทย์ศิริราช (ไม่ใช่คณะวิศวฯ อย่างที่เข้าใจ) เมื่อคณะอื่นๆ นำไปใช้ก็ยังผิดเพี้ยนไปจากเนื้อแท้ที่ควรจะเป็น 

ด้วยเหตุนี้เอง การ "อบรม" ที่ดีงาม จึงกลายเป็นการ "ว้าก" ที่ชวนต่อต้าน และระบบ SOTUS ซึ่งเป็นแก่นแกนความสัมพันธ์ที่แสนอบอุ่นในศิริราช จึงกลายเป็นสิ่งที่คนทั้งประเทศต้องการทำลายให้หมดสิ้นไป

ถ้าเพียงแต่รุ่นพี่ทุกคนหันกลับมามองถึงความหมายที่แท้ของการรับน้องและการอบรมเสียบ้าง เรื่องน่าเศร้าทั้งหลายก็คงไม่เกิดขึ้นหรอกครับ
0
กำลังโหลด
mejune Columnist 20 มิ.ย. 52 20:38 น. 4

ขอบคุณน้อง คห.3 มากเลยค่ะ ที่มาเพิ่มเติมรายละเอียด
น่าเสียดายจริงๆ นะคะ ที่ปัจจุบันรุ่นพี่บางกลุ่มรับน้องกันด้วยความคึกคะนอง ทำให้ประเพณีดีงามเสื่อมถอยไป
อย่างไรก็ดี ยังน่าภูมิใจที่หลายๆ สถาบันยังคงให้ความสำคัญ และรับน้องใหม่กันอย่างอบอุ่น
ตามที่เคยมีปรากฏไว้ในครั้งแรก ^^ 

คห. 2 พี่จูนไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเริ่มต้นมาอย่างไร
ส่วนเหตุผลก็น่าจะเป็นอย่างที่เข้าใจ ด้วยระบบ SOTUS ทำให้การให้ความสำคัญเรื่องรุ่นพี่รุ่นน้องมีมากขึ้น
แต่การว้ากน้องนั้น ก็ไม่ได้แปลว่าจะดุหรือขู่ให้น้องกลัวจนไม่กล้าทำอะไร 
เพียงแต่เน้นย้ำให้เข้าใจระบบว่า มาก่อนเป็นพี่ มาหลังเป็นน้อง มาพร้อมเป็นเพื่อนเท่านั้นเองค่ะ ^^

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
$WeeT_PuMPK!N~ Member 24 มิ.ย. 52 22:26 น. 8

ขอบคุณความเ็นที่สามมากๆค่ะ
เป็นแบบนี้นี่เอง จาก "อบรม" เป็น "ว้าก"
ปีนี้ืที่คณะของหนูไม่มีว้าก เป็นธีม เอื้ออาธรณ์ อบอุ่นดีค่ะ

0
กำลังโหลด
นานะซัง Member 25 มิ.ย. 52 01:19 น. 9

รับน้องน่ากลัวอ่า ปีนี้ข่าวออกกันโคมๆ ไม่ยากเข้ามหาลัยเลย กลัวจาโดนอย่างเค้ามั่ง

0
กำลังโหลด
iiso Member 25 มิ.ย. 52 17:02 น. 10
ขอฟ้องเลย 555

เนี่ยม.4เอง ม.5รับน้อง
มีสายรหัส  ละวันเฉลยรหัส
เขาเอาเชือกมากลิ้งกับน้ำตาเทียนให้เป็นสี
แต่ทีนี้เขาเอาไปลนไฟด้วย แล้วเอามาถูแขนน้อง
แต่ที่เค้าโดนอ่ะ ไม่ถูอย่างเดียว จี้เลยแล้วมัดแน่นอ่ะ ติดกับแขนเลย
พอแกะเชือกออก ไหม้เลยแขนอ่ะ เป็นตุ่มๆมีน้ำ แล้วก็สีดำด้วย
แขนที่ไม่มีแผลกลับต้องมีแผลเพราะรุ่นพี่ชั่วๆพวกนั้นอ่ะ เศร้ามากเลย ToT

สัญญากับตัวเองเลยว่าถ้ามีรุ่นน้องจะไม่ทำกับรุ่นน้องอย่างนี้
0
กำลังโหลด
naung 25 มิ.ย. 52 17:57 น. 11
ภาพประกอบนั้น
เหมือนจะเป็นภาพกีฬาเฟรชชีหรือไม่ก็คงกีฬาสีของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
หรือเปล่าคะ ไม่แน่ใจ
0
กำลังโหลด
สายอาชีพคนนึง 25 มิ.ย. 52 22:20 น. 12
ถ้าอุเทนไม่ทำไรชั่วๆไว้สถาบันอื่นก้อคงจะได้รับน้องสบายใจกว่านี้มากมาย
มีไรที่สถาบันนี้ยังไม่ได้ทำให้ราชมงคลเสื่อมเสียอีก
เหนธัญญะเค้าแค่ดื่มน้ำมนกัน
แล้วสถาบันอุเทนมันจะเอาไรกะรุ่นน้องนักหนา
เออ...เหนข่าววันนี้พึ่งคิดได้รึไงก้อไม่รุ
มาทำพิธีครอบครูกันออกข่าวกันยกใหญ่
จะทำดีล่างชั่วที่ทำไว้กับรุ่นน้อง........รึไง
แล้วสิ่งที่พวกเค้าเสียไปมันเรียกกับมาได้ไหม
คิดนิดนึง
เมื่อหลายปีที่แล้วเหนว่ามีเล่นกันจนตายก้อมีนี้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
mejune Columnist 25 มิ.ย. 52 23:18 น. 14
คห.13 ขอบคุณมากค่ะ แสดงว่าอ่านทุกตัวเลย ดีใจจัง
ขออภัยในความผิดพลาดด้วยค่ะ ว้า...อายจัง ^ ^
0
กำลังโหลด
beer 26 มิ.ย. 52 02:35 น. 15
วูวว จ่าเอกนายแพทย์แดง กาญจนารัณย์ เพิ่งเคยเห็นยศนี้เป็นนายแพทย์

โรงเรียนผมรับน้องสนุกครับ มันส์ เหนื่อยดี ระบบโซตัสรุ่นแรงมากครับโรงเรียนนี้

คนที่อาวุโสมากกว่า ใหญ่กว่าคนที่อาวุโสน้อยกว่าครับ ทำผิดก็ลงโทษได้เต็มที่ครับ

หมอบ ยึดพื้น พุ่งหลัง ปล่อยม้า ช่วงรับน้องแรกๆ นี่เป็นลมกันเยอะเลยครับ

แต่ว่าเค้าก็ใจดีนะครับเห็นเป็นลมกันเยอะเลยไม่ รับน้องตอนกลางวัน

เปลี่ยนมาปลุกตอนกลางคืนแล้วรับน้องกันแทน มืดๆ สนุกดี



เอ่อสงสัยครับประเพณีรับน้องนี่ไม่ได้มาจากทหารหรอครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด