สวัสดีจ้าชาวเด็กดี มีใครชอบเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยกันบ้างเอ่ย แต่เดิมเราก็เรียนประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศไทยในวิชาสังคมกันใช่ไหมคะ แต่ว่าพี่แนนได้ข่าวมาจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์ ค่ะว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เค้าจะปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย โดยให้ความสำคัญมากขึ้น และอาจจัดเป็นวิชาเฉพาะที่เรียนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์...

     โอ้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

 

{pic-desc}

 

     ซึ่งทางอาจารย์วินัย รอดจ่าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ได้ปรับปรุงหลักสูตรและการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย โดยให้สถานศึกษาทุกระดับให้ความสำคัญการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ รวมทั้งจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และจัดเป็นวิชาเฉพาะอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง

     สำหรับสถานศึกษาที่มีความพร้อมสามารถจัดสาระประวัติศาสตร์เป็นรายวิชาเพิ่มเติมทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด เช่น สถานศึกษาต้องบริหารจัดการหลักสูตรและเวลาเรียน จัดรายวิชาประวัติศาสตร์ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เรียนปีละ 40 ชั่วโมง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนภาคเรียนละ 20 ชั่วโมง หรือปีละ 40 ชั่วโมงเช่นกัน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนประวัติศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ทุกภาคเรียน และทุกปีการศึกษา ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกำหนดให้เรียนประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้น 2 หน่วยกิต หรือ 80 ชั่วโมงตลอด 3 ปีการศึกษา

     ซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้ ทาง สพฐ.เค้ามีนโยบายที่จะพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญและคุณค่าของการเรียนประวัติศาสตร์ และเกิดความภาคภูมิใจในการดำรงความเป็นชาติให้ยาวนานค่ะ

     ทีนี้จากเดิมที่เรียนกันโดยอยู่ในวิชาสังคม ก็อาจแยกออกมาเรียนเต็มๆ อีก 1 วิชา เลยนะคะ คราวนี้เราคงได้รู้เรื่องราวความเป็นมาของประเทศไทยแบบเต็มๆ ไม่มีตัดต่อ อย่างแน่นอน ว่าแต่ว่า...ชาวเด็กดีได้ยินแบบนี้แล้ว เห็นว่าอย่างไรกันบ้างเอ่ย ^^

 

พี่แนนขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสดออนไลน์ค่ะ

 

{pic-desc} 

 

พี่แนน
พี่แนน - Columnist พี่ใหญ่ฝ่ายกิจกรรมด้านการศึกษา และฝ่ายดูแลสุขภาพจิตของน้องๆ ในทีมให้เป็นปกติ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

111 ความคิดเห็น

-*-MomO-*- Member 7 ต.ค. 52 13:11 น. 1
โรงเรียนเราเรียนประวัติศาสตร์ไทยอยู่แล้วอ่ะ เป็นคาบเฉพาะ แล้วก็แยกหน่วยกิตจากสังคมชัดเจนเลย ทรมานมากมาย ฮ่าๆๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เพลง 7 ต.ค. 52 14:45 น. 4
โรงเรียนเราจัดแยกออกมาเป็นวิชาประวัติศาสตร์ตั้งแต่ต้นปีแล้ว

เราว่านะ

มันดีกว่าเยอะเลย

เพราะว่ามันได้ความรู้ที่แน่นกว่า ไม่ต้องไปเร่งสอน

แล้วก็เรียนสบายกว่าด้วย (ในความคิดเราอ่านะ)
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
||สายลมที่พัดผ่าน|| Member 7 ต.ค. 52 15:28 น. 6
จริงดิ เราไม่ค่อยชอบตอนสอบอ่ะ ตอนเรียนนี่สนุก
ข้อสอบโรงเรียนเราบลึกเกิ๊น จนครูปีนี้บอกว่าต้องออกแบบโอเน็ตแล้วอ่ะ จะได้ตกกันน้อยๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
111 7 ต.ค. 52 15:51 น. 8
เรียนแล้วเรียนอีก
เห้ออออ


เทอม2
มาเรียนแทนพระพุทธซะงั้น
แล้วพระพุทธก็ไม่ได้เรียน
เข้าค่ายแทน
กรรม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Logan คุฟุฟุ Member 7 ต.ค. 52 16:06 น. 10
=[]=+%%++%%++++++++++ อ๊ากก จะไหวมั้ยน้าาาาาา~ อยากให้เปลี่ยนกับคาบพละจัง เพราะพละเรียนมวยไทย ...
0
กำลังโหลด
☆ ELLE ☆ Member 7 ต.ค. 52 16:22 น. 11

เฉพาะประวัติศาสตร์ไทยหรอคะ?

แล้วประวัติศาสตร์สากลนี่ยังรวมอยู่กับสังคมหรอ

= . =


แต่ยังไงก็ชอบประวัติศาสตร์อยู่ดี อิอิ

0
กำลังโหลด
cielo23 Member 7 ต.ค. 52 16:29 น. 12
อ่า... โรงเรียนหนูเริ่มแล้วล่ะคะ แต่ว่า เรียน 1 คาบต่อ ครึ่งเทอม =_=

เพราะครูที่สอนเอาเวลาไปสอนสังคมหมด เหอะๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
นะนะ 7 ต.ค. 52 16:47 น. 14
แล้วประวัติศาสตร์ท้องถิ่นละครับ???
แล้วประวัติศาสตร์ท้องถิ่นละครับ???
แล้วประวัติศาสตร์ท้องถิ่นละครับ???
แล้วประวัติศาสตร์ท้องถิ่นละครับ???
แล้วประวัติศาสตร์ท้องถิ่นละครับ???
แล้วประวัติศาสตร์ท้องถิ่นละครับ???
แล้วประวัติศาสตร์ท้องถิ่นละครับ???
แล้วประวัติศาสตร์ท้องถิ่นละครับ???
แล้วประวัติศาสตร์ท้องถิ่นละครับ???
0
กำลังโหลด
★' a pleng :) Member 7 ต.ค. 52 16:58 น. 15
เราก็เรียนมาเทอมหนึ่งแล้ววิชาประวัติศาสตร์ (-___-      ;
อาทิตย์ละครั้ง ยากเหอะ. หน่วยกิต1 + สังคมหน่วยกิต 3 
โชคดีที่ไม่ตก T~T . 

ม.2นะค้าบ ^^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
รักประเทศไทย 7 ต.ค. 52 18:07 น. 18
คนที่บอกว่า "เห็นนักเรียนเป็นอะไร" เนี่ย
อยากจะถามว่าคุณมีความเป็นคนไทยรึเปล่าคะ ?
มันเป็นเรื่องที่น่ายินดีนะคะ อย่างน้อยเค้าก็จะได้ปลูกฝังให้รุ่นน้องของเรารักความเป็นไทย
จะได้ไม่ต้องโตมาเป็นคนไม่เห็นความสำคัญของชาติเหมือนบางคน
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด