สวัสดีค่ะน้องๆ ^^ เรื่องที่ พี่มิ้นท์ นำมาฝากวันนี้อาจจะดูแมนๆ ไปหน่อย แต่ก็เป็นอีกมุมหนึ่งในวงการอุตสาหกรรมในบ้านเราที่น่าสนใจมากทีเดียว น้องๆ เคยได้ยินรึเปล่าคะ กับคำว่า วิศวกรรมย้อนรอย หรือ Reverse Engineering เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในบ้านเราค่ะ แต่ว่าคนที่เข้าใจอาจจะยังมีไม่ค่อยมาก วันนี้ พี่มิ้นท์ ก็เลยจะมาแนะนำให้น้องๆ คุ้นเคยกัน รับรองว่าน้องๆ จะต้องอึ้งแน่นอน

 

         ก่อนอื่นต้องมารู้จักกันก่อนว่าวิศวกรรมย้อนรอยคืออะไร วิศวกรรมย้อนรอย หรือวิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) เป็นการทำงานในลักษณะย้อนกลับ โดยจะผลิตชิ้นงานขึ้นจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากชิ้นงานต้นแบบอย่างเป็นระบบ โดยเป็นในเชิงของการสืบค้นทางเทคนิค เช่นอาจจะย้อนรอยดูในเรื่องของขนาด รูปร่างของต้นแบบหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ซึ่งบางครั้งบริษัทคู่แข่งอาจต้องซื้อเครื่องจักรของอีกบริษัทนึงเพื่อไปเรียนรู้วิธีการทำงาน หรืออาจต้องแยกเป็นชิ้นส่วน เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการประกอบ ทั้งนี้ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาสร้างสรรค์หรือพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ นั่นเอง

     เหตุผลที่วิศวกรรมย้อนรอยถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางวิศวกรรมก็อาจจะด้วยเหตุผลทางธุรกิจหรือเชิงพาณิชย์ค่ะ แต่นั่นอาจจะไม่ใช่เหตุผลหลักเสมอไป เพราะประโยชน์ที่ได้ก็ทำให้เกิดเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรใหม่ๆ มากมาย ส่วนเหตุผลอื่นๆ ก็เช่น ผู้ผลิตรายเก่ายกเลิกการผลิตไปแล้ว, เพื่อวิเคราะห์ส่วนที่ดีหรือไม่ดี หรือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเดิมให้ดียิ่งๆ ขึ้น

       สำหรับวิศวกรรมย้อนรอยในบ้านเราก็มีผลงานมากพอสมควรค่ะ ที่สำคัญประเทศไทยก็มีกิจกรรมการศึกษาพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการย้อนรอย ที่ดำเนินงานโดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี47 เป็นต้นมา จนมาถึงวันนี้มีโครงการที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 50 โครงการเชียวล่ะ

        

 โครงการเครื่องยนต์สเตอร์ลิงกำเนิดไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชีวมวล หรือ Stirling engine โดยคณะวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

             ในปี 2552-2553 ที่ผ่านมา ได้เน้นการสร้างเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์จากการพัฒนาและต่อยอดทางองค์ความรู้ เช่น ผลงานเพื่อการแปรรูปผลผลิตจากการเกษตรเพื่อใช้งานในกระบวนการพลังงานทางเลือก เช่น เครื่องผลิตน้ำมันดิบจากขยะพลาสติกด้วยกระบวนการ pyrolysis ซึ่งเป็นผลงานในกลุ่มเครื่องจักรที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันแทนทางด้านพลังงานทดแทน เป็นต้น

     

           ส่วนในปี 2554 นี้ก็มีอีกถึง 19 โครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อพัฒนาโครงการ พี่มิ้นท์จะลองยกตัวอย่างให้ฟังค่ะ โครงการหม้อต้มไอน้ำรักษ์ธรรมชาติจากเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ โดยสมาคมเครื่องจักรกลไทย ที่พัฒนาหม้อต้มไอน้ำที่เป็นการประยุกต์ใช้ร่วมกับการติดตั้งหัวเผาเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ นอกจากจะเป็นการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้วยังเป็นการออกแบบที่ผนวกกระบวนการสร้างพลังงานจากชีวมวลที่อยู่ในรูปของเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบที่เรียกว่า กระบวนการ Pyrolysis และ Gasification เข้าไว้ด้วยกันภายในระบบอย่างลงตัว

 

            นอกจากโครงการในกลุ่มพลังงานแล้ว ทางด้านการเกษตรก็ถือเป็นหัวใจสำคัญก็ว่าได้ค่ะ ซึ่งได้มีการพิจารณาให้การสนับสนุนสถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชมงคลกรุงเทพ ให้ดำเนินโครงการพัฒนาสร้างชุดเครื่องดูดและกรองฝุ่นอุตสาหกรรมแบบไซโคลนสำหรับโรงสีข้าว ซึ่งมีเป้าหมายการขยายผลไปสู่กลุ่มผู้ใช้หลัก ได้แก่ โรงสีข้าวและโรงงานผลิตอาหารสัตว์ คณะทำงานยังมีเป้าหมายที่จะขยายผลปรับปรุงให้ระบบดักฝุ่นสามารถใช้งานได้ในอุตสาหกรรมด้านเหมืองแร่ได้ในอนาคตอีกด้วย

โครงการพัฒนาสร้างชุดเครื่องดูดและกรองฝุ่นอุตสาหกรรมแบบไซโคลนสำหรับโรงสีข้าว สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

          สำหรับความสำเร็จของโครงการด้านวิศวกรรมย้อนรอยนั้น ยังมีการพัฒนาและสร้างเครื่องฟอกเลือด โดยคณะวิจัยจากม.เกษตรศาสตร์ รวมทั้งมีการทำวิศวกรรมย้อนรอยเพื่อพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นอื่นๆ อีกด้วย สำหรับโครงการในปีนี้ เช่น โครงการเครื่องวัดการกระจายน้ำหนักที่เท้า เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานลดความเสี่ยงที่จะเกิดแผลใต้เท้า หรือโครงการพัฒนาสร้างเตียงพยาบาลป้องกันแผลกดทับ เป็นต้น

 

            ทั้งหมดที่พี่มิ้นท์พูดมานี่ยังไม่หมดนะคะ เพราะว่าในปี 2554 ยังมีอีกหลายโครงการเลยที่นำหลักการทำวิศวกรรมย้อนรอยมาใช้เพื่อสร้างประโยชน์ ลองมาดูกันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง

            - โครงการพัฒนาสร้างเครื่องล้างถังเคมีและเชื้อเพลิงด้วยระบบเปิด ที่ช่วยลดอันตรายที่เกิดกับกระบวนการล้างถังบรรจุสารเคมีขนาดใหญ่ด้วยแรงงานคนให้ลดลง โดยสมาคมเครื่องจักรไทย

             - โครงการเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ หรือ Autoclave สำหรับเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ม.เทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ

            - โครงการเครื่องเคลือบแผ่นสเตนเลสในสุญญากาศ เหมาะสำหรับเคลือบผิวแผ่นโลหะหรือบานกระจกขนาดใหญ่ในงานตกแต่งอาคาร โดยมหาวิทยาลัยบูรพา

             - โครงการระบบจ่ายคอนกรีตชนิดแขนพับสำหรับงานก่อสร้าง มุ่งเน้นในภาคอุต สาหกรรมการก่อสร้าง โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

            - โครงการพัฒนาสร้างเครื่องรีไซเคิลน้ำยาล้างคราบไขมันแบบไอระเหยและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดอเนกประสงค์ โดยสถาบันไทย-เยอรมัน

            - โครงการพัฒนาสร้างระบบวัดปริมาณออกซิเจนในอากาศสำหรับอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง มีเป้าหมายเพื่อกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอาหารแช่แข็ง โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเลค ทรอนิกส์ ภายใต้ NECTEC สวทช.

 

          การทำวิศวกรรมย้อนรอย ก็ยังเป็นที่ถกเถียงในเชิงวิชาการพอสมควรว่าจริงๆ เป็นเพียงการลอกเลียนแบบหรือการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมเพื่อหวังผลในเชิงพาณิชย์ หรือเป็นทางลัดเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ กันแน่ แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไร ถ้าทำแล้วไม่เดือดร้อนใครและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไม่ว่าจะในรูปแบบไหน ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีและก็น่าให้การสนับสนุนต่อไปค่ะ เผื่ออีกหน่อยอาจจะมีการทำวิศวกรรมย้อนรอยค็อปเตอร์ไม้ไผ่ บินร่อนบนท้องฟ้าหนีรถติดกันค่ะ (เพ้อเจ้อเกินไปละ^^)

 


ขอขอบคุณ   

 ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(MTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

http://www.tpabookcentre.com/e-book/lesson/t-0227/s1.pdf

http://www.cadthai.com/article/4411/5/reveng20.htm

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

8 ความคิดเห็น

Sand W.supap Member 18 พ.ค. 54 11:46 น. 1
พึ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรกเลย น่าสนใจดีครับ ตอนนี้มีมหาลัยไหนเปิดสอนสาขานี้รึยังครับ
0
กำลังโหลด
Parker Blue Member 18 พ.ค. 54 11:59 น. 2
อื้ม พึ่งเคยได้ยินเหมือนกัน สาขานี้น่าสนใจดีนะ รู้สึกว่าเป็นสาขาที่แปลกใหม่อะ เปิดใหม่ด้วยมั้งเนี่ย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ชื่ออะไรก็ซ้ำ Member 18 พ.ค. 54 21:31 น. 4
เป็นสาขาที่ดีมากๆเลยครับ ใครมีโอกาสที่จะเข้่าได้ก็จะดีมากๆเลยครับ เป็นอีกสาขาหนึ่งที่เป็นประโยชน์มาก
0
กำลังโหลด
นิกส์ 20 พ.ค. 54 03:36 น. 5
มันไม่เชิงว่าเป็นสาขาของการเรียนนะครับ เพราะยังไม่มีสาขาที่ทำเพื่อสิ่งนี้โดยตรง
แต่มันเป็นวิธีการที่จะเอาไว้วิเคราะห์ระบบต่างๆหรือเทคโนโลยี
เพื่อที่จะเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร เพื่อที่จะได้สร้างเลียนแบบ หรือพัฒนาได้

เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเรียนที่ไหน หรือที่ไหนสอนก็บอกได้เลยว่าเกือบทุกที่ๆสอนวิศวะแหละครับ

คือคุณไปเรียนวิศวะให้รู้ว่าโดยปกติแล้วพื้นฐานของระบบมันทำงานอย่างไร
จากนั้นก็จึงเอาความรู้นั้นแหละมาวิเคราะห์นวัตกรรมต่างๆ
ถ้าพูดง่ายๆก็เหมือนแกะนาฬิกาปลุกออกมาเพื่อจะเข้าใจว่า มันทำงานอย่างไร
มันก็ต้องใช้ความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆเช่นไฟฟ้า วัสดุ เป็นต้น
0
กำลังโหลด
ll.Zeitgeist.ll Member 20 พ.ค. 54 15:37 น. 6
เคยดูหนังเรื่องนึง... paycheck
พระเอกเป็นวิศวกรย้อนลอกแบบ เท่มากกกกกก
ดูแล้วอยากเป็นวิศวะแบบนี้ขึ้นมาทันที 
แม้งานที่พระเอกทำส่วนใหญ่จะผิดกฎหมายก็ตาม - -"

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด