วัสดีค่าน้องๆ...  เมื่อปีที่แล้วมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์มาให้คนไทยเห็นหลายรอบเลยนะคะ อย่างพี่มิ้นท์เองก็ได้ดูจันทรุปราคาที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10  ธ.ค.ด้วย เรียกว่าจนวันนี้ก็ยังจำความสวยงามนั้นได้ติดตาเลย


                 แต่ก่อนพี่มิ้นท์เคยคิดนะคะว่าการดูดาวเป็นอะไรที่ไกลตัวมาก และหาดูได้ยาก แต่ไม่น่าเชื่อว่าในปี 2012 นี้ น้องๆ จะได้มีโอกาสสัมผัสกับปราฏการณ์ทางดาราศาสตร์เยอะมากๆ และข่าวดีกว่านั้น คือ บางปรากฏการณ์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าด้วย (หากท้องฟ้าเป็นใจนะ :) ) โดยจากการคำนวณวัน เวลาของนักดาราศาสตร์ ในปี 2012 จะมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ ดังนี้

                 


ลำดับการเปลี่ยนรูปร่างของดวงอาทิตย์ขนะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน

 21 พฤษภาคม 2555 : สุริยุปราคาวงแหวน

            
โดยปกติเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกเรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาขึ้น รูปร่างของดวงอาทิตย์จะเกิดเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ที่เปลี่ยนรูปร่างไป ซึ่งสุริยุปราคาในวันที่ 21 พ.ค. จะเป็นแบบ “วงแหวน” เพราะดวงจันทร์ทั้งดวงจะเคลื่อนที่เข้าบังดวงอาทิตย์แต่ขนาดของดวงจันทร์เล็กกว่า ทำให้บังดวงอาทิตย์ได้ไม่หมด เราจึงเห็นดวงอาทิตย์เป็นวงแหวนกลางท้องฟ้าเลย
             แต่น่าเสียดายค่ะที่ประเทศไทยไม่อยู่ในบริเวณที่สามารถเห็นสุริยุปราคาแบบวงแหวนได้ เพราะแนวการบังของดวงจันทร์ จะเริ่มต้นที่ ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดย ประเทศที่สามามารถเห็นสุริยุปราคาวงแหวน คือโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยสามารถชมปรากฏการณ์ครั้งนี้ในแบบสุริยุปราคาบางส่วน โดยดวงอาทิตย์ขึ้นเวลา 05:50 น.ยังสามารถมองเห็นการบังได้ก่อนสิ้นสุดการบังที่เวลา 06:06 น. ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของวันที่เกิดสุริยุปกราคาเนื่องจากดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ขอบฟ้าอาจมีเมฆบังทำให้มองไม่เห็นดวงอาทิตย์
              อ้อ...ปรากฏการณ์นี้ห้ามมองด้วยตาเปล่านะคะ อันตราย!!


4 มิถุนายน 2555 : จันทรุปราคาบางส่วน

          
   เป็นจันทรุปราคา ครั้งแรกของ ปี 2012 ดวงจันทร์จะเข้าไปอยู่ในเงาของโลกตั้งแต่เวลา 15.48 น. จากที่เห็นเต็มดวงจะเริ่มเว้าแหว่งมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเวลา 18:03น. ก็จะเริ่มกลับสู่การเต็มดวงอย่างช้า สำหรับประเทศไทยดวงจันทร์ขึ้นพ้นจากเส้นขอบฟ้าเวลา 18:41 น. ดังนั้นน้องๆ มีโอกาสได้ชมปรากฏการณ์นี้ในช่วงท้ายก่อนสิ้นสุดการบังที่เวลา 20:18 น. ขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้าเพราะดวงจันทร์เพิ่งพ้นจากขอบฟ้า อาจมีเมฆบดบังทำให้ไม่สามารถมองเห็นดวงจันทร์ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของปรากฏการณ์



(ภาพขวา) จันทรุปราคาที่มองเห็นจากโลก

 


6 มิถุนายน 2555 : ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์  

             ถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์เด่นของ ปี 2012 เลยค่ะ โดยจะเหมือนกับการเกิดจันทรุปราคา คือ มีวัตถุโคจรเข้ามาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ โดยเรียงตัวเป็นเส้นตรง ต่างกันที่ดาวศุกร์มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับขนาดของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า ( ถ้าเปรียบเทียบขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ลูกบาสเกตบอล ขนาดของดาวศุกร์ทีปรากฏผ่านหน้าจะมีขนาดพอๆ กับเม็ดถั่วเขียว) ปรากฏเป็นวงกลมเล็กๆ เคลื่อนที่ตัดผ่านดวงอาทิตย์ ถ้ามองจากโลกดวงอาทิตย์เองก็มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆบนท้องฟ้า(ข้อควรระวัง ในการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ต้องใช้แผ่นกรองแสงที่ผ่านการรับรองความปลอดภัยแล้วเท่านั้น) ซึ่งถ้าพลาดครั้งนี้ไปแล้วจะต้องรออีก 105 ปีเลย


(ภาพซ้าย) ขนาดของดาวศุกร์เมื่อผ่านหน้าดวงอาทิตย์ เท่าเมล็ดถั่วเขียวจริงๆ



12 สิงหาคม 2555 : ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์

           
วันแม่ปีนี้อย่าลืมชวนแม่มาดูฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์กันนะ โดยดาวตกนี้เกิดจากเศษอุกกาบาตดาวหาง 109P/Swift-Tuttle  ที่ถูกทิ้งไว้เมื่อผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ในปี 1992 ซึ่งจะเกิดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนก.ค. ถึงปลายเดือน ส.ค. คาดว่าจะตกมากที่สุดในวันที่ 12 ส.ค.
            สำหรับประเทศไทยเวลาที่เหมาะสมกับการดูฝนดาวตกเพอร์เซอิด คือ วันที่ 12-13 ส.ค.ตั้งแต่เวลา 4 ทุ่ม จำนวนดาวตกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมากที่สุดประมาณตี 3-4 ของเช้ามืดวันถัดไป  แต่ปํญหาที่พบมากสำหรับการสังเกตการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิด คือ จะอยู่ในช่วงฤดูฝน ภาคเหนือและภาคกลางมักมีเมฆหนาทึบปกครองตลอดทั้งคืน ดังนั้นภาคใต้จะมีโอกาสดูฝนดาวตกมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ


ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์

14 พฤศจิกายน 2555 : สุริยุปราคาเต็มดวง

            
 สำหรับในช่วงท้ายปี จะมีสุริยุปราคาครั้งที่สอง คราวนี้เป็นแบบเต็มดวง แต่ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทยเพราะศูนย์กลางของการเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวง เคลื่อนที่ผ่านบริเวณพื้นที่แคบๆ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียจะเป็นจุดที่สามารถเห็นได้  สถานที่เหมาะสมในการเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์นี้คือ เมือง Cairns ทางฝั่งตะวันตกของ Queenland ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางของเส้นทางเงามืด 30 ก.ม. สามารถชมปรากฏการณ์ได้นาน 2 นาที  หลังจากผ่านผืนทวีปไปเงามืดของดวงจันทร์ จะผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกก่อนที่จะไปสิ้นสุดที่บริเวณตอนใต้ของประเทศชิลี เวลา 06:48 น. ส่วนบริเวณที่พอจะเห็นปรากฏการณ์นี้ในแบบสุริยุปราคาบางส่วนได้ คือ พื้นที่ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้


17-18 พฤศจิกายน : ฝนดาวตกกลุ่มดาวลีโอนิดส์

            
ปรากฏการณ์ฝนดาวตกกลุ่มดาวเจมินิดส์ เกิดจาก เศษอุกกาบาตที่ถูกดาวหาง 55P/Tempel-Tuttle ทิ้งไว้ขวางเส้นทางโคจรของโลก ตอนที่โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี พ.ศ. 2541  เมื่อโลกโคจรผ่านบริเวณดังกล่าวจึงดึงดูดชิ้นส่วนเหล่านี้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศกลายเป็นฝนดาวตก โดยมีอัตราเฉลี่ย 10-15 ดวงต่อชั่วโมง โดยในปีนี้คาดว่าจะมากที่สุดในช่วงคืนวันที่17 ข้ามไปถึงเช้ามืดของวันที่ 18 พ.ย. โดยปรากฏการณ์นี้ประเทศไทยสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าด้วย


ฝนดาวตกกลุ่มดาวลีโอนิดส์

 

28 พฤศจิกายน 2555 : จันทรุปราคาเงามัว 
            
นับเป็นจันทรุปราคาครั้งที่สองของปี 2012 โดยจะมาเป็นแบบ “เงามัว” ซึ่งความสว่างของดวงจันทร์จะลดลงจนสามารถเห็นด้วยตาเปล่า โดยจะมืดลงจากทางด้านเหนือของดวงจันทร์ โดยเริ่มต้นปรากฏการณ์เมื่อดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวเวลา 19:14 น. ตามเวลาประเทศไทย และสิ้นสุดปรากฏการณ์เกือบเที่ยงคืน ในสถานการณ์จริงการสังเกตจันทรุปราคาเงามัวตอนที่เริ่มและสิ้นสุดปรากฏการณ์ ด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวไปแล้ว 2/3 ของพื้นที่ ซึ่งก็อยู่ในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวมากที่สุดด้วย



13 ธันวาคม  2555 : ฝนดาวตกเจมินิดส์ 
            
ปรากฏการณ์สุดท้ายของปี 2012 เป็นฝนดาวตกที่ขึ้นชื่อเรื่องจำนวนดาวตกซึ่งตกมากกว่าฝนดาวตกชุดอื่น โดยมีจำนวนเฉลี่ย 120-160 ดวงต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้า ฝนดาวตกเจมิดส์มีช่วงเวลาการตกสูงสุดนานหลายชั่วโมง ดังนั้นเมื่อกลุ่มดาวคนคู่ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของการกระจาย พ้นขอบฟ้าในเวลาประมาณ 2 ทุ่ม ของวันที่ 13 จำนวนของดาวตกจะเพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึงช่วงเวลาตี 2 - ตี 4 ของวันที่ 14 ธ.ค. โดยคาดว่าอาจจะมีดาวตกเกิน 100 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งในวันดังกล่าวเป็นช่วงเดือนมืด แสงดวงจันทร์จึงไม่รบกวนการชมฝนดาวตกอีกด้วย


               ตลอดทั้งปีมีเรื่องสวยๆ งามๆ จากธรรมชาติให้ดูแบบนี้ก็ดีเหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าอยู่ กทม.จะเห็นมั้ย เพราะแสงดาวบนท้องฟ้า กลายเป็นแสงนีออนไปเกือบหมด T^T  ถึงแม้ว่าปรากฏการณ์หลายๆ อย่างจะไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆ พี่มิ้นท์จะรอดูฝนดาวตกแน่นอน เพราะชีวิตนี้เกิดมายังไม่เคยเห็นเลย อิอิ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)

http://www.narit.or.th/


พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

42 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
MooFarzaD Member 21 มี.ค. 55 08:01 น. 2
  จะไม่พลาดแน่นอนคะ  :) โดยเฉพาะ ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์
จะขอพรให้แม่มีความสุข สุขภาพแข็งแรง รักแม่นะคะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
OoสาEลมเหนือoO Member 21 มี.ค. 55 12:56 น. 10

ขาดปรากฏการณ์ซุปเปอร์มูนในวันที่ 6 พฤษภาคมนะขอรับ



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 21 มีนาคม 2555 / 20:30
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
จาดีเร้อ... Member 22 มี.ค. 55 07:56 น. 17

เคยดูฝนดาวตกล่าสุดตั้งแต่สิบกว่าปีที่แล้ว และมันกำลังจะกลับมาอีกครั้ง เย่ >< ชอบมาก มันสวยจริงๆ~

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
souleater Member 22 มี.ค. 55 19:40 น. 19
อยากดูการทรานซิสของดาวศุกร์อยากดูๆ เคยอ่านเจออยากเห็นของจริง
อยากดูฝนดาวตกไม่พลาดแน่ๆ เคยเห็นแต่ในการ์ตูน 
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด