เปิดเรื่องมาด้วยรูปภาพสวยๆ แบบนี้ จะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจากปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ หรือ ที่เรียกทับศัพท์กันว่าแสงออโรร่า เชื่อว่าหลายคนเคยเห็นภาพและได้ยินชื่อนี้กันมานานแล้ว แต่จะมีซักกี่คนที่รู้ว่าปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ยังไง (หรือมีใครแอบฉายสไลด์ขึ้นบนท้องฟ้า) แล้วทำไมไม่เคยเห็นในประเทศไทยเลย บทความวิทย์วันนี้ จะเอาคำตอบแบบจี๊ดๆ มาฝากค่ะ

           ปรากฏการณ์ออโรร่านับได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึ่งที่สุด โดยออโรร่านี้มีความสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กของโลก แต่ว่าในอดีตก่อนที่คนในโลกจะมีความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ บางถิ่นก็มองเป็นเรื่องพลังของพระเจ้า เช่น พระเจ้าจุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นกับดินแดนที่หนาวเย็น เป็นต้น อาจจะด้วยความแปลกประหลาดและไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนั่นเอง

           ตัดกลับมาที่ความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ แสงออโรร่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พบได้บ่อยบริเวณแถบขั้วโลก ประเทศที่พบเห็นได้บ่อยๆ ก็เช่น นอร์เวย์ รัฐอลาสก้าของอเมริกา แคนาดา เป็นต้น สำหรับประเทศไทยที่เลยเส้นศูนย์สูตรมาแค่นิดหน่อยแทบจะไม่มีโอกาสเห็นเลยค่ะ  ส่วนที่เรียกว่าแสงเหนือ-แสงใต้ก็มาจากตำแหน่งที่แสงเกิดขึ้น เกิดขึ้นที่ขั้วโลกเหนือก็เรียกว่าแสงเหนือหรือแสงออโรร่า บอเรลลิส 
(aurora borealis) เกิดที่ขั้วโลกใต้เรียกแสงใต้ หรือแสงออโรร่า ออสตราลิส (Aurora Australis) ค่ะ ตั้งชื่อโดยกาลิเลโอ กาลิเลอิ จำง่ายมั่กมาก 

            ปรากฏการณ์ออโรร่าจะเกิดขึ้นเป็นแสงพาดผ่านบนท้องฟ้าในเวลากลางคืนเป็นสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีขาว สีแดง สีฟ้า เป็นต้น ซึ่งเกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ปล่อยประจุไฟฟ้าโปรตอนและอิเลคตรอนหรือเรียกว่าลมสุริยะออกมาสู่อวกาศ ด้วยเหตุที่ในอวกาศนั้นเป็นสุญญากาศจึงทำความลมสุริยะลอยมาถึงโลกได้ แต่จะเข้ามาสู่โลกมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะโลกของเรามีสนามแม่เหล็กปกคลุมอยู่ เมื่อลมสุริยะกระทบกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของโลก อนุภาคไฟฟ้าไม่สามารถเคลื่นที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็กมาตรงๆ ได้ทำให้ต้องโคจรไปตามเส้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและทะลุผ่านเข้าชั้นบรรยากาศโลกได้แค่บริเวณขั้วโลกเหนือและใต้เท่านั้น เมื่อทะลุผ่านมาชั้นบรรยากาศแล้ว ทำให้ก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศแตกตัวและปล่อยออกมาเป็นพลังงานในรูปของแสงตามที่เราได้เห็นกันค่ะ

             ส่วนในเรื่องสีของแสงที่เปล่งออกมา น้องๆ สงสัยมั้ยคะว่าอะไรเป็นตัวกำหนดให้สีของแสงแตกต่างกัน คำตอบก็คือขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซที่ถูกกระตุ้น เนื่องจากในชั้นบรรยากาศของโลกเราเต็มไปด้วยก๊าซจำนวนมาก ก๊าซแต่ละชนิดส่งผลให้สีออกมากต่างกัน ถ้าออกซิเจนอาจให้แสงสีเขียวออกเหลือง บางครั้งก็เป็นสีแดง แต่ถ้ากระทบกับโมเลกุลของไนโตรเจนก็อาจให้แสงสีน้ำเงินหรือม่วงได้ ไม่ได้แรนดอมแต่อย่างใดค่ะ :)

            ในความสวยงามของปรากฏการณ์นี้แอบแฝงด้วยความน่ากลัวอยู่ไม่น้อยเลยค่ะน้องๆ โดยเฉพาะในด้านการสื่อสาร สามารถทำระบบการสื่อสาร ระบบไฟฟ้าแปรปรวนได้ ซึ่งในอดีตเคยมีเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ไฟดับที่ประเทศแคนาดากว่า 9 ชั่วโมงเมื่อปี พ.ศ.2532 รวมถึงพายุอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าอาจพุ่งชนดาวเทียมที่กำลังโคจรรอบโลกให้กระเด็นหลุดจากวงโคจรได้ หนักสุด..หากมีนักบินอวกาศกำลังโคจรอยู่ในชั้นบรรยากาศ ไม่อยากจะคิดเลยว่านักบินอวกาศคนนั้นจะได้รับรังสีและประจุไฟฟ้ามากขนาดไหน ซึ่งแน่นอนว่าอาจทำให้ร่างกายได้รับอันตรายได้

             และวันนี้พี่มิ้นท์ได้คัดรูปสวยๆ ของปรากฏการณ์ออโรร่ามาฝากด้วย ไปดูพร้อมๆ กันเลย






            ชาว Dek-D.com ก็ไม่ต้องน้อยใจไปนะคะที่ไม่ได้เห็นปรากฏการณ์นี้ด้วยตาตัวเอง พี่มิ้นท์ว่าเรารอดูรุ้งกินน้ำดีกว่า มีทีเดียว 7 สี สวยกว่าตั้งเยอะ ไม่มีอันตรายด้วยค่ะ 5555 แต่ถ้าใครอยากเห็นของจริงจะตีตั๋วไปดูในประเทศแถบขั้วโลกก็ได้นะคะ (แล้วถ่ายรูปมาให้ดูด้วย อิอิ)
  

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพประกอบจาก
http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/aurora/aurora1.htm,
www.nasa.gov, http://news.nationalgeographic.com/
www.space.com
http://th.wikipedia.org

พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

19 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด