ชาว Dek-D เคยได้ยินคำว่า Risk Management หรือการจัดการความเสี่ยง ไหมคะ
ชื่ออาจจะออกวิชาการไปเสียหน่อย แต่จริงๆ ก็แฝงตัวอยู่ในทุกศาสตร์ทุกสาขา แตกต่างกันไปว่าเป็นการจัดการความเสี่ยงในด้านใด เช่น ด้านธุรกิจ ก็คือการมองว่าธุรกิจจะไปรอดไหม หุ้นตกมีผลไหม วัตถุดิบจะขาดไหม เป็นต้น แต่ในเชิงจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นแล้ว เรื่องนี้มีความสำคัญไม่น้อยเพราะถือว่าเป็น "ทักษะ" ที่ผู้ใหญ่ควรแนะนำแก่ลูกๆ หลานๆ เลยค่ะ  เพราะมันคือทักษะเพื่ออยู่รอดในสังคม การเป็นการวิเคราะห์/ประเมินความเสี่ยง การรู้จักระแวดระวังเรื่องอันตรายต่างๆ การรู้จักคิดล่วงหน้าในแง่ลบได้ ซึ่งไม่ใช่การคิดลบแบบมองโลกแง่ร้ายนะคะ แต่เป็นการคาดการณ์ผลกระทบในด้านลบที่เป็นไปได้ค่ะ ช่วยให้สามารถเตรียมตัวรับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันได้อย่างถี่ถ้วน เตรียมหาออกไว้ล่วงหน้าได้ค่ะ


การรู้จักคิดในแง่ลบ VS การคิดลบ
"คิด" แบบไหนจึงจะเรียกได้ว่า เป็นคนจัดการความเสี่ยงได้

สถานการณ์สมมติ กำลังจะสอบท่องบทอาขยาน
 

คิดแบบนี้ ผิดอย่างแรง!


แต่ถ้าคิดแบบนีล่ะ...

ได้กำลังใจ ท่าทางไปรอดแล้วล่ะ 


 

          ในชีวิตช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ วัยรุ่นมีความเสี่ยงในชีวิตมากมาย เช่น การคบเพื่อน ยาเสพติด ท้องก่อนวัยอันควร โดนกดดันเรื่องการเรียน ปัญหาครอบครัวแตกแยก หรือแม้แต่การเลือกสายการเรียนต่อ/คณะ ฯลฯ ซึ่งเรารู้ว่าปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่จัดการได้ยาก หากมันเกิดขึ้นจริง และตามลักษณะความคิดอันซับซ้อนแต่ไม่ซ่อนเงื่อนของวัยรุ่นแล้ว วัยรุ่นมักจะเอาตัวเองไปเสี่ยงกับเรื่องต่างๆ ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่โดยไม่จำเป็นอยู่แล้ว โดยทางเลือกที่วัยรุ่นมักเลือก ก็ไม่ใช่เพราะเชื่อว่า "ทางเลือกนั้นๆ ปลอดภัยหรือถูกต้อง" แต่เลือกเพราะคิดแล้วว่ามีเหตุผลเพียงพอจริงๆ (แต่จะจริงหรือไม่จริงหรือเปล่าก็อีกเรื่อง) ดังนั้นหลายๆ เรื่องของวัยรุ่นจึงอาจไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพชีวิต/จิตใจตัวเองโดยไม่รู้ตัวค่ะ ทักษะนี้จึงช่วยให้วัยรุ่น รู้จัก "คิดก่อนทำ" ค่ะ แต่คิดเฉยๆ ไม่ได้ต้องคิดอย่างมีหลักการด้วยค่ะ 


.

 
หลักการเสริมสร้างทักษะการจัดการความเสี่ยง

- อย่าคิดว่า "กล้าเสี่ยง แล้วจะได้ดี" 
        หากมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งทางในการตัดสินใจสักเรื่อง อย่าเลือกทางที่เสี่ยงกว่าเพียงเพราะคิดว่า "อะไรที่เสี่ยงๆ มักได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า" เพราะบางเรื่องไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป และบางเรื่องอาจเสี่ยงถึงแก่ชีวิต!

- ทุกๆ ทางเลือกมีความเสี่ยง มีทั้งผลได้ และผลเสียเสมอ
       ผู้ใหญ่หรือผู้แนะนำใกล้ชิด ต้องชี้ให้วัยรุ่นเห็นว่า ทุกๆ เรื่องมีทั้งจุดเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึง แม้ว่าเรื่องดังกล่าวดูน่าจะประสบผลสำเร็จอย่างดีก็ตาม ต้องเข้าใจว่าทุกๆ เรื่องมีได้หลายมุมทั้งทางลบและบวก และผู้ใหญ่ใกล้ชิดก็ไม่ควรชี้แค่ทางใดทางหนึ่ง หรือให้ความเห็นอย่างลำเอียง เพียงเพราะตัวเองไม่ชอบ มิฉะนั้นจะกลายเป็นการตัดสินใจแทน ไม่ใช่การให้ทางเลือกแก่วัยรุ่นได้พิจารณาเอง

- ฝึกให้วัยรุ่นมีทักษะด้วยการสร้างสถานการณ์สมมติให้ตอบ 
        รู้จักตั้งคำถามสมมติ จากหลายๆ เรื่องในชีวิตทั้งที่ใกล้ตัว หรือแม้จะเป็นไปได้บากก็ตาม เช่น "ถ้าพลาดพลั้งไปท้อง/ทำคนอื่นท้องตอนนี้ จะทำอย่างไร จะบอกใครไหม แล้วมันทำให้ชีวิตตัวเองเป็นไปอย่างไร" หรือ "ถ้าสอบตกวิชา...(ที่ถนัดที่สุด) จะทำยังไง จะไปหาใคร จะตกใจไหม จะบอกพ่อแม่หรือเปล่า" เป็นต้นค่ะ 


- แนะนำวิธีแก้ไขสถานการณ์เสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน
        แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้จริงในกรณีต่างๆ เช่น หากสอบตก หากทำกระเป่าเงินหายระหว่างทางกลับบ้าน เพื่อนชวนไปกินเหล้า การไปเที่ยวกับแฟน เป็นต้น 

 

         ทักษะ "การจัดการความเสี่ยง" นี้เกี่ยวข้องกับอีกหลายๆ ทักษะ ทั้งการตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา การจัดการความกลัว การคิดอย่างสร้างสรรค์ การรู้จักวางแผน รวมๆ เป็นทักษะการจัดการความเสี่ยง ที่ในต่างประเทศถึงขั้นมีการจัดการอบรมเรื่อง Risk awareness - rising สำหรับครู ผู้ปกครอง และวัยรุ่นกันเลยค่ะ ซึ่งจริงๆ แล้วก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็น "ทักษะในการแก้ปัญหา" ได้ แต่เป็นการ(วางแผน)แก้ปัญหาที่ยังไม่เกิดนั่นเองค่ะ ซึ่งจะช่วยในการป้องกันความผิดพลาด หรือลดผลกระทบรุนแรงที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ด้วยค่ะ       สำหรับผู้ใหญ่ก็ต้องแนะนำให้ลูกหลานเข้าใจความเสี่ยง คาดการณ์เป็น มองปัญหาได้ ส่วนวัยรุ่นเมื่อถึงเวลาต้องเลือกทำสิ่งใด ควรนึกถึงผลลัพธ์หรือปัญหาที่เป็นไปได้ อย่าคิดว่าเสี่ยงเพราะดวงหรือไม่มีทางเลือกค่ะ ควรคิดเสมอว่า "ก่อนที่จะมีผลสำเร็จสักเรื่อง มันก็อาจจะเจอปัญหาบ้าง" ด้วยค่ะ 
      
 
 สุดท้ายฝากไว้!  วัยรุ่นมักถูกท้าทายให้เสี่ยง ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ดี แต่ก็ชอบลอง
นี่คือตัวอย่างของสิ่งท้าทายที่ไม่ควรเสี่ยงนะจ๊ะ! 
  
  • ปาร์ตี้บ้านเพื่อน มีเหล้ามีเบียร์ ฤทธิ์แอลกอฮอลล์ ทำให้กล้ามีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนชายที่แอบชอบ
  • ไปดูหนังกับแฟน โรงหนังมืด บรรยากาศโรแมนติก มือแฟนวุ่นวายจนเกิดอารมณ์
  • แม่อยากให้เรียนหมอ โกรธที่แม่ชอบบังคับ หนีไปเรียนศิลปะซะเลย (แต่จริงๆ ก็ไม่รู้ว่าอยากเรียนอะไร แต่เลือกเพราะแค่รู้สึกว่าแม่ชอบบังคับ)
  • "ลองครั้งเดียวไม่ติดหรอก" รู้สึกดีที่ได้ลองยา อ่านหนังสือได้นาน ถึกดี รู้สึกเรียนเก่ง อีกสองวันต่อมา ขออีก และขออีก และขอมากขึ้นอีก


 
แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ:
- human.cornell.edu/hd/outreach-extension/upload/reyna-rtr.pdf
- thaiclinicpsy.com/know_detail.php?kn_id=10
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
สายลม ณ. ปลายฟ้า Member 21 ม.ค. 57 12:00 น. 2

ต้องเตือนวัยรุ่นกันเองเเล้วล่ะ !!! (ตอนนี้เราก็ยังวัยรุ่น) จะได้ไม่เถลไถลไปไกลเกินโกรธ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

7 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
สายลม ณ. ปลายฟ้า Member 21 ม.ค. 57 12:00 น. 2

ต้องเตือนวัยรุ่นกันเองเเล้วล่ะ !!! (ตอนนี้เราก็ยังวัยรุ่น) จะได้ไม่เถลไถลไปไกลเกินโกรธ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากเว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด