เปรียบเทียบเปิดเทอมใหม่ "เด็กไทย" VS "เด็กนอก"

     
  สวัสดีค่ะน้องชาว Dek – D หลายโรงเรียนเปิดเทอมแล้ว เอ๊,,,พูดถึงเรื่องเปิดเทอม น้องๆ อยากรู้บ้างมั้ยค่ะ ว่าในต่างประเทศเค้าเป็นยังไง นี่เลย วันนี้พี่เมษ์มาเล่าเรื่องเปิดเทอมในต่างประเทศให้น้องๆ ฟังกัน มาเปรียบเทียบกันให้ชัด เปิดเทอมเด็กไทยกับเด็กนอก ,,, ไปกันเลย !!
   
        ถือเอาฤกษ์ช่วงเปิดเทอม มาชวนน้องๆ คุยกัน ระหว่างเปิดเทอมในไทย กับเปิดเทอมในต่างประเทศจะมีบรรยากาศเหมือนกันหรือเปล่า แต่อ๊ะ! พี่เมษ์ไม่ได้มาคนเดียวนะ พี่เมษ์ชวนพี่ๆ อีก 5 คนมาคุยกับน้องๆ เพื่อแชร์ประสบการณ์เปิดเทอมใหม่ด้วยค่ะ
  
        พี่เมษ์ : สวัสดีค่ะทุกคน  วันนี้พี่เมษ์มาชวนคุย ให้เปรียบเทียบเปิดเทอมของแต่ละที่ อยากให้ทุกคนมาร่วมแชร์ประสบการณ์กัน ก่อนอื่น แนะนำตัวให้น้องๆ  รู้จักกันก่อน
        พี่เพลิน : สวัสดีค่ะน้อง ตื่นเต้นแฮะ ^^ พี่ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ พี่ชื่อพุทธิดา วรานุสาสน์ ชื่อเล่น เพลิน ไปแลกเปลี่ยน ในโครงการ AFS ที่ประเทศ Denmark ระยะเวลา 1 ปี ตอนนั้นอายุ 15 ไปตอนขึ้น ม.4 จากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี พิษณุโลก ที่บ้านเป็น Host Family ตลอด มีฝรั่งจากหลายประเทศ และหลายโครงการมาพัก คุณพ่อและคุณแม่เลือกให้ไปโครงการ AFS เพราะว่าเป็นโครงการที่มีมานาน และพี่สาวเคยไปเหมือนกัน แต่ที่ประเทศ New Zealand เท่าที่จำได้ตอนสอบก็จะมีข้อเขียนและสัมภาษณ์ หลังจากนั้นก็ต้องตัดสินใจเลือกว่าเราจะไปประเทศไหนดี ตอนนั้นช่างใจว่าจะไป Denmark หรือ ฝรั่งเศสดี คุณแม่บอกว่า ให้เลือกไปประเทศที่คิดว่าตัวเองน่าจะไปยากสุด ก็เลยเลือกไป Denmark
 
        พี่โมจิ : สวัสดีจ้า พี่โมจิ สุพิชา อนุศิริกุล ไปแลกเปลี่ยนตอนอยู่เกรด 8 ตอนนั้นอายุ 13 ปี ในปี 2005 ครับ ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียน 1 ปี ที่ประเทศ Canada เมือง Hamilton ในรัฐ Ontario ไปเรียนอยู่ที่ Columbia International Collage ครับ การที่ได้ไปเรียนที่นั่นเป็นโครงการของที่โรงเรียนนานาชาติที่โมจิเรียนตอนนั้นครับ เขาให้ส่งใบสมัครเข้าไปและเขาจะนำเกรดที่เรียนอยู่ไปพิจจารณา ต้องแข่งขันกันทั้ง Middle School ตอนนั้นเลยครับ
 
        พี่เทอร์โบ : สวัสดีครับ พี่ชื่อ ธัชวีย์ อนุศิริกุล ชื่อเล่นว่าเทอร์โบ เป็นพี่ชายโมจิอีกทีนึงครับ^^ ตอนนี้ได้มีโอกาสไปเรียนอยู่ที่อเมริกาตอนปี 2010 และเข้า Montgomery College ครับ ตอนนั้นอายุ 19 แล้วครับ แต่ไปเรียนโดยไม่ได้ร่วมโครงการอะไร เพราะตั้งใจจะไปเรียนต่ออยู่แล้ว
 
        พี่ซายน์ : กาญจนา รักการ พี่ซายน์ค่ะ ตอนมัธยมเข้าเรียนโรงเรียนประจำอำเภอ ชื่อ โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม "จงจินรุจิรวงศ์อุปถัมภ์" ชื่อยาวมากกก,,ซึ่งตัวเองก็แปลกใจ เป็นโรงเรียนสหศึกษา มีทั้งชายและหญิงในจังหวัดตราด ประเทศไทยค่ะ เข้าศึกษาตั้งแต่ ม.1-ม.6 ค่ะ 

        พี่หยก : 
พี่หยกครับ นายณัฐชนน คูสุวรรณ พี่หยกไปประเทศไต้หวันมาครับ ไปเรียนที่โรงเรียนตงสือ ไปตอนปี2 011-2012 ตอนนั้นอายุ 17 ปี สอบทุนของสโมสรโรตารี่ไป 

   

        พี่เมษ์ : รู้จักกันไปแล้วว่าใครไปไหนมาบ้าง งั้นขอถามต่อเลยนะคะว่าการเตรียมตัวสำหรับเปิดเทอมในต่างประเทศของแต่ละคนเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
        พี่เพลิน : สำหรับโครงการ AFS โดยปกติแล้ว ถ้าโครงการจะจัดให้ไปโรงเรียนที่ Host sibling อยู่ เพื่อที่ว่าถ้ามีพี่น้องอยู่ก็สามารถแนะนำช่วยเหลือเราได้ ตัวพี่เองก็ได้ไปโรงเรียนที่ Host sister อยู่ แต่พอดีเขาไม่อยู่ ไปแลกเปลี่ยนเหมือนกัน เลยได้เจอกัน 1 เดือนสุดท้ายก่อนกลับ สิ่งที่ทำได้คือควรจะถาม Host เราว่าเราควรเตรียมอะไรบ้าง สิ่งที่สำคัญสำหรับการไปโรงเรียนวันแรก คือ การพกความเป็นตัวของตัวเอง และ รูปลักษณ์ภายนอกที่สะอาดและดีไป เพราะ “First Impressions are always the most important”
 
        พี่เทอร์โบ : สำหรับพี่ไม่ได้ไปโครงการอะไร,,, ที่ต้องเตรียมตอนเปิดเทอมก็เตรียมของอย่างพวก textbook ไม่ก็สมุดครับ ไม่มีอะไรมาก 
 
       พี่โมจิ : การไปเรียนแคนนาดาเป็นการไปเรียนต่างประเทศครั้งแรกของโมจิเลยครับ แต่เพราะเรียนโรงเรียนประจำมาก่อน เลยทำให้เรียนรู้ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง สิ่งของดำรงชีวิตนั้น ส่วนมากแล้วจะสามารถหาได้เองทุกประเทศ แต่สิ่งที่ต้องเตรียมใจอย่างแรกของการไปเรียนต่างประเทศเลยคือ เราจะมีอาการ Homesick มากๆ เพราะมันเป็นการมาต่างประเทศ เราจึงต้องทำอะไรหลายๆ อย่างด้วยตัวเอง และต้องอยู่ด้วยตัวคนเดียวครับ เพราะฉะนั้น อาการ Homesick จะออกอาการรุนแรงมากครับ อีกเรื่องหนึ่งคือ ความแตกต่างทด้านวัฒธรรมครับ การเรียนของที่แคนนาดา (หรือเรียกว่าชาวต่างชาติหลายประเทศเลยก็ได้) จะค่อนข้างให้เป็นความรับผิดชอบด้วยตัวเอง เราต้องกลับมาทบทวนเองและขวนขวายเองครับ เพราะฉะนั้น ใครขี้เกียจก็จะเห็นผลอย่างเห็นได้ชัดในห้องเรียนครับ ต้องขยันเป็นอย่างมากครับ
 
        พี่หยก : หยกไม่ได้เตรียมอะไรเลย วันแรกโฮสก็พาไปที่ ร.ร. แต่ว่าวันต่อๆ ไปก็จะปั่นจักรยานไปเรียนเอง เพราะว่าอยู่ใกล้บ้าน
 
        พี่ซายน์ : การเตรียมตัวก็ไม่ได้พิเศษมาก ตามสไตล์เด็กไทย แต่ก็จะมีการเตรียมข้าวของเครื่องใช้ในการเรียน อ้อ! แต่สำหรับโรงเรียนของซายน์ การเข้าเรียนครั้งแรกจะมีการแยกห้องตามคะแนนที่สอบได้ค่ะ

    
        พี่เมษ์ : ไปต่างประเทศทั้งทีต้องได้สัมผัสบรรยากาศก่อนเปิดเทอม มีการวิ่งวุ่นซื้อของ ซื้ออุปกรณ์การเรียน หรือภาพพ่อแม่พาลูกๆ ไปซื้อของมั้ย เป็นยังไงบ้าง
        พี่เพลิน : ต้องบอกก่อนเลยว่า ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่เจริญแล้ว และเป็นประเทศที่ค่าครองชีพค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้น ประเทศของเขาไม่สิ้นเปลือง ตอนเราไป เราก็เป็นคนไทยแถมพกความเป็นคนไทยมาเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าต้องใหม่ ดินสอ ปากกา น่ารัก สีครบ ... แต่ประเทศเขาไม่ทำอย่างนั้น กล่องดินสอนี่ใช้มาตั้งแต่ ห้าปีก่อนบ้าง ดินสอปากกา มีอายุมานานแล้ว กุดบ้าง คนที่เดนมาร์กชอบเขียนตัวเขียนของตัวเอง ก็จะมีลายมือตัวเองที่เขียนมาตั้งแต่สิบปีก่อนก็มี ซึ่ง totally cool !!! หนังสือไม่ต้องซื้อใหม่เลย เพราะเขาใช้กันรุ่นต่อรุ่น คือ ใช้เรียน 1 ปีเสร็จแล้วก็คืนโรงเรียน ให้รุ่นน้องใช้ ซึ่งเป็นอะไรที่ดีมากกกก....ก ไม่เปลืองเงินตัวเอง และไม่เปลืองทรัพยากรธรรมชาติด้วย ส่วนเสื้อผ้า แล้วแต่เราแต่งเลย
 
        พี่เทอร์โบ : บรรยากาศก่อนเปิดเทอมมันก็เหมือนที่ไทยเลยครับ ก็ต่างกันเห็นจะตรงที่ไม่ได้มากับผู้ปกครองแต่ไปกันเองนั้นละครับ ^0^
 
       พี่โมจิ : ใช่ๆ ในต่างประเทศเขาดูไม่วุ่นวายเลยครับ อาจจะเป็นเพราะว่าเขาไม่ได้ใส่ชุด Uniform แต่เป็นชุดธรรมดาไปเรียน จึงไม่ต้องวิ่งวุ่นวายให้ต้องไปหาอุปกรณ์ก่อนเรียน แต่ที่จะวุ่นวายจริงๆ คือตอนหาหนังสือ Textbook นี้ล่ะครับ เพราะที่โมจิเรียน เขาไม่มีให้ยืมออกมาจากห้องสมุดเหมือนไทยเรา หรือให้ซื้อหนังสือแบบฝึกหัดเป็นชุด แต่เป็นหนังสือ Textbook หนาๆ ที่ไม่อยากหยิบออกมาจากห้องครับ T^T หนังสือพวกนี้ส่วนมากจะหาซื้อเป็นมือสอง เหมือนกับว่ารุ่นพี่เรียนไปแล้วจะขายต่อให้รุ่นน้องอะไรแบบนี้ แต่ถ้าใครจนปัญญาหาไม่ได้จริงๆ ก็คงต้องซื้อมือหนึ่ง ที่ราคาแพงสุดลูกหูลูกตามาครับ
 
        พี่หยก : อันนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจนะคับ เพราะว่าที่โรงเรียนมีเสื้อผ้าให้ครับ ไปซื้อที่โรงเรียนเอา
        พี่ซายน์ : ซายน์ว่าในไทยก็เห็นภาพชินตานะ แต่อย่างซายน์เอง ไม่ได้อะไรขนาดนั้น มีแค่ซื้อหนังสือ ซื้อสมุด อ่อ ไปเลือกชุดด้วย แค่นั้นค่ะ 
        พี่เมษ์ : ว่าแต่ของถามขำๆ What’s in my bag ย้อนกลับไปตอนนั้น วันแรกของการเปิดเทอม ในกระเป๋าพกอะไรกันไปบ้าง 
        พี่เพลิน : ย้อนกลับไปตอนนั้น วันแรกของการเปิดเทอม ในกระเป๋ามีทุกอย่างตามปกติ ทุกอย่างใหม่และน่ารัก เพราะซื้อมาจากประเทศไทย เพื่อนจะแตกตื่น เพราะเขาไม่ค่อยชอบใช้ของน่ารักกันเท่าไร
        พี่เทอร์โบ : สมุดสัก 2-3 เล่ม แฟ้มและก็ textbook อีก 3-4 เล่มครับ แล้วแต่ว่าหนังสือมันใหญ่ขนาดไหน แต่ราคาก็ราวๆ $100-$200 ครับ
        พี่หยก : พี่เทอร์โบดูเตรียมตัวเนอะ หยกนี่ไม่ได้เอาอะไรไปเลย กระเป๋าก็ไม่มีด้วย 5555
        พี่โมจิ : ของโมจิจำได้เลยว่าแบกกระเป๋าแบบที่มันเป็นล้อ เพราะกระเป๋าหนักมากกก ในหนึ่งวัน โมจิจะมาเรียน 4 วิชา แต่ยังดีครับ ที่โรงเรียนมี Locker ด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งของที่แบกมาโรงเรียนจะเป็นแค่การบ้านและอุปกรณ์การเรียนครับ เช่น Textbook สมุด กล่องดินสอ แฟ้ม
        พี่ซายน์ : ซายน์เองเนี่ยหนังสือมีกี่เล่มแทบจะขนมาหมด กลัวต้องเรียนแล้วไม่มีหนังสือ นึกไปละขำ ขนไปได้ไง เยอะมากกกก

     
        พี่เมษ์ : แล้วการแต่งตัวของนักเรียนตอนไปเรียน เค้าแต่งชุดอะไรกัน 
        พี่เทอร์โบ : ชุดส่วนใหญ่ก็ใส่แต่ชุดธรรมดาล่ะครับ ไม่มีกฎที่จะต้องเป็นยูนิฟอร์ม
        พี่เพลิน : ใช่แล้ว,,, ถ้าตอนไปประเทศ Denmark ก็คือใส่ชุดอะไรไปก็ได้ จะย้อมผมชมพู เจาะจมูก หรืออะไรก็ได้ คือเขาค่อนข้างให้อิสระในการเป็นตัวเองค่อนข้างสูง เช่น มีเพื่อนคนนึง ผมชมพู ใส่ชุดดำ มีหมุดๆ เต็มไปหมด หนึ่งเดือนผ่านไป ผมเขียวเจาะจมูก เจาะลิ้น บางคนก็แต่งตัวใส่สูทไป หรือบางคนก็แต่งตัวธรรมดา แล้วแต่ว่าเราชอบแบบไหน แต่ถ้าตอนไปเรียน summer ที่ New Zealand เขาก็มี uniform ตามฤดูให้ น่ารักค่ะ
        พี่โมจิ : ส่วนมากชาวต่างชาติจะไม่มีชุดนักเรียนครับ แต่โรงเรียนที่โมจิไปเรียนเป็นเหมือนนานาชาติของที่ประเทศแคนนาดา ทำให้มี Uniform ครับ เป็นแบบ เสื้อเชิ้ตสีฟ้า เนคไท สูท และกางเกงสีเทาครับ
        พี่หยก : ที่โรงเรียนหยกก็มีฟอร์มครับ แต่งเหมือนเพื่อนทั่วไป แต่โรงเรียนที่ผมไปจะเหมือนพวกอาชีวะ ก็จะเป็นกางเกงขายาว ส่วนเสื้อถ้าหน้าหนาวก็จะแขนยาวแต่หน้าร้อนจะแขนสั้น
        พี่ซายน์ : ของซายน์ก็ใช้แบบฟอร์มโรงเรียนรัฐบาลตามธรรดาเลยค่ะ คอซองกระโปรงสีกรมท่า แล้วเดี๋ยวก็ไปตัด ไปแปลงตามแฟชั่นฮิตๆ ในโรงเรียนที่นิยมใส่ทีหลัง ซึ่งมานึกตอนนี้ ไม่น่าทำเลย ย้อนดูรูปละอาย

  
        พี่เมษ์ : แล้วพ่อแม่ของแต่ละประเทศมีการเตรียมตัวให้ลูกๆ สำหรับการเปิดเทอมมากน้อยแค่ไหน 
 
        พี่เพลิน : เพลินว่า Host Mum and Host Dad ของเพลินเขาค่อนข้างปล่อย ไม่ได้พิถีพิถัน เท่าไหร่ แต่อันนี้ก็แล้วแต่พื้นฐานครอบครัว บางครอบครัวก็คอยจัดการ แต่สำหรับครอบครัวของพี่ เขาค่อนข้างปล่อย แต่ก็มีถามว่าทำการบ้านรึยัง หรือถ้าสงสัยอะไรเขาก็ช่วยสอน
        พี่โมจิ : ชาวต่างชาติค่อนข้างปล่อยลูกมากครับ ที่ประเทศแคนนาดา เมื่อลูกอายุ 16 ปีขึ้นไป เขาจะให้รับผิดชอบชีวิตเองแล้วครับ เพราะฉะนั้น จะไม่ค่อยเห็นลูกที่เป็นวัยรุ่นมาโรงเรียนกับพ่อแม่เท่าไหร่ครับ ส่วนมากจะออกมากับเพื่อนด้วยกันเองครับ
        พี่เทอร์โบ : ส่วนมากแล้ว ผู้ปกครองเขาไม่ค่อยมายุ่งหรอกครับ แต่ก็มีบางส่วนอย่างผู้ปกครองชาวเอเชียนี้ล่ะครับที่ยังมาช่วยเหลือบ้าง
        พี่หยก : ผมว่าโฮสก็ต้องเตรียมตัวทุกบ้านอยู่แล้ว แต่อยู่ที่ว่าโฮสไหนเคยรับมากี่คน ก็จะอยู่ที่การเตรียมตัวของแต่ละโฮสครับ
        พี่ซายน์ : ซายน์เตรียมเองอ่า >< พ่อแม่ก็ถามว่าไปส่งกี่โมง แค่นั้นเอง ส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ก็เตรียมเอง เบสิคมาก เพราะอยู่มัธยมก็รู้สึกโตแล้ว เลยอยากพยายามเตรียมเอง อิอิ
       
        พี่เมษ์ : เปิดเทอมมาแล้ว ,,,คาบแรกของการเรียน ต้องทำอะไร
        พี่เพลิน : ตอนไป จะมีชั่วโมงแรกเท่านั้นที่ครูบอกว่า มีนักเรียนแลกเปลี่ยนมานะ ให้นั่งกับเพื่อนคนนี้นะ แล้วเขาจะเป็น buddy ให้ คอยแนะนำและช่วยเหลือเรา เพราะว่า Denmark ใช้ภาษา Danish ในการสอน แล้วเราไปแบบไม่เข้าใจภาษาเลยตอนแรก ก็เลยต้องมีคนคอยช่วยเรา
        พี่โมจิ : คาบแรกที่ไปเรียนนั้น ไม่ค่อยต่างจากไทยเท่าไหร่ครับ เพราะเด็กนักเรียนต่อห้องน้อย ทำให้สามารถแนะนำตัวให้ค่อนข้างละเอียดครับ ที่จะต่างก็ตรงที่ว่า “Which country are you from?” นี้ล่ะครับ เมืองไทยเราคงไม่ค่อยถามอย่างนี้หรอกเนอะ
        พี่เทอร์โบ : ก็เหมือนๆ กันล่ะครับ เพราะครูต้องการให้สนิทกัน ก็ทำความรู้จักกัน ขอเบอร์โทรศัพท์ เผื่อว่าหลงทางหรือว่า ไม่ได้มาเรียน
        พี่หยก : คาบแรกที่ผมไปก็แนะนำตัวของผมก่อน แต่หลังจากนั้นก็เรียนตามปกติเลย = =
        พี่ซายน์ : อยากจะบอกว่า นี่แทบจะไม่ได้เรียนนะ มัวแต่จดตารางสอนและแนะนำตัว มันก็วุ่นวายมาก!! แต่ก็สนุกมากนะ บางคนก็ไม่กล้าพูด บางคนก็พูดเยอะเกิน แต่มันเป็นความทรงจำดีๆ เลยแหละ

      
        พี่เมษ์ : ในวันแรกที่ไปโรงเรียน รู้สึกอย่างไรบ้าง เรียนกี่ชั่วโมง 
        พี่เพลิน : วันแรกที่ไปตื่นเต้นมากกกกก แตกต่างจากเมืองไทยมากๆ เพราะเพื่อนหล่อและสวยสูงและดีมาก (ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย คนส่วนใหญ่จะผมบลอนด์ ตาฟ้า) เข้าเรียน แปดโมงถึงสิบโมงพัก ครึ่งชั่วโมง เรียนอีก 2 ชั่วโมง พักอีก 1 ชั่วโมง และก็เรียนอีก 2 ชั่วโมง บางวันก็ 1 บางวันก็ 3 คือ ประมาณบ่ายสองก็กลับบ้านแล้ว คือชีวิตดีมาก จะออกนอกโรงเรียนก็ได้ แต่!! นักเรียนรับผิดชอบมาก ไม่เข้าห้องเรียนสายเลย
 
        พี่โมจิ : ตื่นเต้นมากครับ ตื่นเต้นจนลืมคิดถึงบ้านไปพักนึงเลย เพราะเราได้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่จากหลายๆ ประเทศ อีกทั้ง Environment ห้องเรียนใหม่ๆ แบบฝรั่ง เหมือนในหนังเลยครับ
 
        พี่เทอร์โบ : ตื่นเต้นมากครับ เพราะโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่ใหญ่มากกก ใหญ่จนหลงทางได้เลย แล้วเวลาเรียนก็ส่วนมากก็ทั้งวันครับ แล้วบางวันก็แค่ครึ่งวัน ตามคอร์สที่ลงไป
 
        พี่หยก : ส่วนที่ไต้หวันจะเรียนเต็มวันตั้งแต่วันแรก ตั้งแต่ 7.30-17.10 น. จะเรียนคาบละ 50 นาทีแล้วพัก 10 นาทีทุกคาบ ส่วนตอนกลางวันจะรับประทานอาหารในห้องเรียน แล้วก็โดนบังคับให้หลับจนกว่าจะถึงคาบต่อไป
 
        พี่ซายน์ : บรรยากาศการเรียนวันแรกเหรอ อืมมมม หาเพื่อนค่ะ เพราะโรงเรียนใหม่ เพิ่งเปิดเทอม ยังไม่สนิทกับเพื่อนใหม่ๆ 

    
        พี่เมษ์ : แล้วความประทับใจในเปิดเทอมวันแรกของแต่ละคนเป็นยังไงบ้างคะ
        พี่เพลิน : ความประทับใจ คือ ทุกอย่างแตกต่างจากประเทศไทยมาก ห้องเรียน เรียนกันไม่เกิน 20 คน อยู่ห้องเดียวกันมาตั้งแต่ประถม เพื่อนๆ จะมีความผูกพันกันมาก เวลาเรียน นักเรียนยกมือตอบตลอด ทุกอย่างดูสนุกและไม่น่าเบื่อ จะกิน จะยกเท้าในห้องเรียนได้ แต่ทุกคนตั้งใจเรียนมาก
        พี่โมจิ : จำได้เลยครับว่าวันแรกที่มาเรียน ครู ESL (คณูสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กนักเรียนที่ต้องเรียนอังกฤษเพิ่มเติม) เขาอบคุ๊กกี้มาแจกนักเรียนครับ ตอนเขาเอาออกมาก็งงมากครับ เพราะไม่เคยมีอาจารย์เอาคุ๊กกี้ให้มาก่อนครับ คิดว่ามีแต่ในหนังซะอีก แล้วเขายังเป็นครูที่ใจดีมากๆ อีกด้วยครับ
        พี่เทอร์โบ : ตื่นเต้นครับ เพราะปกติเรียนห้องเรียนละไม่ถึง 20 คน แต่มารอบนี้มีเป็น 40-50 คนเลย
        พี่หยก : ได้เพื่อนใหม่หลายๆ คน ทุกคนอยากจะเข้ามาทำความรู้จักกับเราว่าเราเป็นใคร มาจากไหน รู้สึกหล่อมาก เป็นที่สนใจของทุกคน
        พี่ซายน์ : ส่วนซายน์ยังตื่นเต้นอยู่ค่ะ ย้ายมาไม่มีเพื่อนเท่าไหร่ มาลุ้นว่าจะอยู่ห้องเดียวกับเพื่อนเก่าตอน ป.6 มั้ย คือ เอาง่ายๆ ว่าประทับใจทุกอย่าง ลุ้นได้อีก ตื่นตั้งแต่ตี 4 นอนไม่หลับ ประทับอีกอย่างคือ ได้เจอเพื่อนใหม่ ได้ผูกมิตรใหม่เหมือนๆ กับหยกอ่าคะ ซึ่งจากวันนั้นก็กลายเป็นเพื่อนสนิทจนถึงทุกวันนี้เลยแหละ
 

     
        พี่เมษ์ : คิดว่าการเปิดเทอมในไทย กับการเปิดเทอมในต่างประเทศแตกต่างกันยังไงบ้างคะ
        พี่เพลิน : อย่างในไทยเปิดเทอมวันแรกบางวิชาครูก็ยังไม่กลับจากภารกิจ นักเรียนบางคนก็ไม่มาเรียน บางโรงเรียนมีให้ทำความสะอาดห้องเรียน!! แต่ที่นู่นคือ วันแรกของการเรียน คือวันแรกของการเรียน!! ก็เรียนตามปกติ แต่ก่อนจะเรียนก็ต้องไปเอาหนังสือเรียนจากห้องสมุดโรงเรียน อย่างที่บอกไปตอนแรกว่าเป็นของรุ่นพี่ เพราะฉะนั้น ทุกคนก็จะต้องดูหลังปกว่า เป็นหนังสือของใครมาก่อน และทุกคนก็จะรู้จักกับรุ่นพี่ทุกคน
        พี่โมจิ : โมจิคิดว่า การเปิดเทอมในไทยกับต่างประเทศนั้น แตกต่างกันตรงที่ความตื่นเต้นครับ เพราะในไทย ช่วงปิดเทอมเราอาจจะไม่ได้เจอเพื่อนบ่อยนั้น ทำให้เรารอคอยการเปิดเทอมอย่างใจจดใจจ่อเพื่อที่จะได้เจอเพื่อนๆ ครับ แต่ที่ต่างประเทศดูเขาไม่ค่อยความตื่นเต้นเท่าบ้านเราเท่าไหร่ครับ เพราะจากที่โมจิเห็น อาจจะเป็นเพราะว่าเขาได้พบปะกับเพื่อนๆ บ่อยครั้งในช่วงเวลาปิดเทอม หรืออาจจะเพราะพวกเขายุ่งมุ่งกับการทำงาน Part-time กันครับ
        พี่เทอร์โบ : เปิดเทอมที่อเมริกาไม่ต่างอะไรกันมากครับ ก็เป็นการพบเจอเพื่อนเก่าเพื่อนใหม่เหมือนเดิม แล้วครูก็หน้าเดิมๆ เหมือนกันครับ
        พี่หยก : หยกคิดถึงเปิดเทอมในไทยครับ คือเปิดเทอมในไทยจะสนุกกว่าเยอะ เพราะว่าได้เจอเพื่อนๆ แล้วคุยกันทั้งวัน แต่ว่าเปิดเทอมที่ไต้หวัน จะไม่ค่อยได้คุยกัน เพราะว่าในคาบห้ามคุยกันแม้แต่นิดเดียวเลย แต่ในไทยในคาบก็คุยกันได้ 
        พี่ซายน์ : ถ้าเทียบกันคนอื่นๆ เนี่ย ซายน์แอบอิจฉานะ ซายน์ว่าในไทยยังมีการอนุรักษ์นิยม ทั้งการใส่เครื่องแบบ กฏเกณฑ์ต่างๆ เช่น ตัดผมสั้น ต้องตัดเล็บสั้น ห้ามใส่เครื่องประดับ ห้ามพกแป้ง โรงเรียนพี่ซายน์กฎเยอะด้วย ห้ามพกโทรศัพท์ ลิปมันก็ห้าม บางทีพี่ซายน์ว่ามันไม่สมเหตุสมผลกับการเรียนอ่ะ 
  

        เป็นยังไงกันบ้างคะน้องๆ น่าจะเต็มอิ่มกับ
ประสบกาณ์การไปเรียนในต่างประเทศ ทั้งในไต้หวัน อเมริกา แคนาดา เดนมาร์ก และประเทศไทย ที่พี่ๆ ผลัดกันมาเล่าสู่กันฟังกันแล้ว อาจจะทำให้น้องๆ เห็นข้อแตกต่างของเปิดเทอมในไทย และเปิดเทอมของเด็กนอกชัดขึ้น พี่เมษ์ก็ฝากให้น้องๆ ตัดสินใจไว้เท่านี้ดีกว่า,,, ขอไปเตรียมตัวทำบทความสำหรับน้องๆ ในช่วงเปิดเทอมหน้าด้วยอีกคน น้องๆ ล่ะคะ เตรียมตัวสำหรับเปิดเทอมยังไงบ้าง บอกพี่เมษ์หน่อยสิ ^____^
     
       ทางเว็บไซต์ Dek –D ต้องขอขอบคุณ พี่เพลิน - พุทธิดา วรานุสาสน์,  พี่โมจิ - 
สุพิชา อนุศิริกุล, พี่เทอร์โบ - ธัชวีย์ อนุศิริกุล, พี่หยก - นายณัฐชนน คูสุวรรณ และ 
พี่ซายน์ - กาญจนา รักการ สำหรับบทสัมภาษณ์ในวันนี้ค่ะ
พี่เมษ์
พี่เมษ์ - Columnist คอลัมนิสต์ฝ่ายการศึกษา

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Risen Member 20 พ.ค. 57 18:24 น. 7

หนังสือรุ่นต่อรุ่นบ้านเขาจะเป็นเหมือนเรามั้ยหนอ เรียนฟรี 15 ปี ได้หนังสือต่อจากรุ่นพี่ เละมากอ่ะ ทั้งขาด รูปการ์ตูน เขียนอะไรก็ไม่รู้เต็มหนังสือเลย

เยี่ยม

4
กำลังโหลด
aomori1998 Member 21 พ.ค. 57 21:58 น. 17

อยากไปบ้าง เราเคยไปออสเตรเลียนะแต่ไปเรียน 15 วัน อยากไปนานๆเป็นปีๆ ญาติเราสอบได้ทุนเรียนฟรี เลือกไปฝรั่งเศษ อยากไปปปปปปปปปป 

เขิลจุงเย้แน่นอนเสียใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

46 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
vtvkp 20 พ.ค. 57 18:17 น. 2
อ่าๆๆ น่าสนใจมากๆเลย ก็มีความฝันว่าอยากไปเรียนที่อื่นดูบ้าง (แอบน้อยใจโรงเรียนต่างชาติที่ปล่อยอิสระในการแต่งตัว) แต่พอมาอ่านแล้วเราก็รู้สึกว่าดีแล้ว มีกฏระเบียบในตัวเอง การใส่ชุดเหมือนๆกับคนอื่นก็ไม่เห็นแย่เท่าไร แล้วก็พอเปิดเทอมจะรู้สึกตื่นเต้นว่าเราจะได้อยู่ห้องเดียวกับเพื่อนหรือเปล่า เพื่อนเป็นยังไง จะสนุกกันทั้งวันไม่มีเบื่อ
0
กำลังโหลด
เดียร์ 20 พ.ค. 57 18:18 น. 3
แตกต่างกับประเทศเราเป็นอย่างมาก อยากให้เมืองไทยมีระบบการสอนเป็นแบบนี้บ้างจัง # แต่ที่สำคัญก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองว่าใส่ใจการเรียนรึป่าว
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Risen Member 20 พ.ค. 57 18:24 น. 7

หนังสือรุ่นต่อรุ่นบ้านเขาจะเป็นเหมือนเรามั้ยหนอ เรียนฟรี 15 ปี ได้หนังสือต่อจากรุ่นพี่ เละมากอ่ะ ทั้งขาด รูปการ์ตูน เขียนอะไรก็ไม่รู้เต็มหนังสือเลย

เยี่ยม

4
กำลังโหลด
I'm indy Member 20 พ.ค. 57 18:25 น. 8

ตอนแรกก้อยากไปมั่งแต่พอเรียนอีพีปุ้บเรยรู้สึกว่า เรียนกับครูฝรั่งบางคนก้สอนดีบางคนก้สอนได้แทบหลับคาโต๊ะ(ครูไทยก้เป็น)บางคนก้ปล่อยยยยยยยยย เกิ้นนนนน ซึ่งเราเรียนกับครูไทยมาก่อน ก้เรยไม่ชิน =^= เพราะเรียนภาคธรรมดานี่เรียน เรียน เรียน แร้วก้เรียนอย่างเดียวกิจกรรมแทบไม่มี พออยู่อีพีกิจกรรมแน่นเอี๊ยดเรยยยย!!! ถ้าไปเรียนอย่างนั้นเราคงใช้ชีวิตอยู่อยากเพราะเราติดเพื่อนกับ พ่อแม่มากกกกกกเย้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
SHEEPiNMYHOUSE Member 20 พ.ค. 57 19:17 น. 11

รู้สึกดีอ่ะพอมาอ่าน รักเลย แบบได้รู้ว่าต่างประเทศก็มีบางอย่างคล้ายๆกันแต่ชอบที่ให้เราดูแลตัวเองแล้วเป็นตัวของตัวเองอ่ะ คือที่เราเห็นๆก็คือ ( คหสต น่ะ ) พ่อแม่ต่างประเทศจะปล่อยให้ลูกทำอะไรเองไม่รู้ก็ถามหรือถ้าทำผิดก็ตักเตือน แต่ต่างกับไทยที่พ่อแม่จะดูแลลูกจนลูกโตมากๆแล้วอ่ะ หลายคนอาจจะบอกว่าพ่อแม่เป็นห่วงแต่จริงๆแล้วพ่อแม่ควรที่จะให้ลูกทำอะไรเองได้แล้วเราต้องคิดว่าถ้าเขาไม่มีเราจะเป็นยังไง แล้วเด็กต่างประเทศเขากล้าถามกล้าอะไรกับครูเพราะว่าพ่อแม่เขาสอนให้ถามด้วยการแสดงออกว่าถ้าเธอไม่รู้เธอต้องมาถามฉันที่เป็นพ่อแม่เธอนะ มันเลยทำให้เด็กกล้าอ่ะครับ ส่วนพ่อแม่ไทยจะบอกทุกอย่างโดยที่เด็กแทบไม่ถามแต่ถ้าเด็กถามมากๆก็จะรำคาญ แล้วเรื่องที่ถ้ามีคนบอกว่าเด็กไทยเรียนแบบ 3-5 คาบต่อวันหรือเรียนน้อยๆต่อวันไม่ได้ ทำไมจะไม่ได้ โกรธ มันอยู่ที่การสอนครับว่าเนื้อหามันแน่นขนาดนั้นไม่ใช่สอนแบบส่งๆวันละ 1-10 หน้าหนังสือไรงี้ ถ้าเนื้อหาคุณแน่นเข้าใจง่ายแล้วคุณบอกเด็กว่าจดๆไว้แล้วจะได้ใช้ตอนสั่งงานหรือขู่เล็กๆน้อยๆ แล้วเด็กก็จะไม่เบื่อเพราะว่าคาบเรียนน้อยเดี๋ยวก็จบ อ่านหนังสือ แต่เนื้อหาที่ได้มันก็จะเยอะมากกว่าการที่เรียนวันละหลายๆคาบอีก การบ้านต่อวันก็น้อยถึงจะสั่งงานใหญ่แต่ก็มีเวลาทำตั้งหลายชั่วโมงอีกด้วย แล้วงานพาททามมันทำให้เด็กมีรายได้เป็นของตัวเองด้วยหลายๆร้านในไทยน่าจะทำบ้าง (หรือผมอาจจะไม่รู้ว่าร้านไหนเปิดให้ทำก็ได้) เด็กก็ไม่ต้องขอตังพ่อแม่ได้เรียนรู้ว่าในสังคมแบบที่เราต้องทำงานแทนการเรียนต้องทำยังไงด้วย (มันน่าสนุกด้วยแหละได้ลองประสบการใหม่ๆ ร้องเพลง) แล้วการแต่งตัวยังจำได้อยู่เลยว่ามีคนบอกว่า 'ระเบียบมันฝึกกันได้ แต่ความเป็นตัวของตัวเองมันฝึกกันไม่ได้' เยี่ยม คือเค้าแต่งตัวสไตล์เค้าส่วนเราเหมือนกันไปหมดไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง แล้วคือถ้าบอกว่าต้องการให้มีระเบียบวินัยวันนี้จะได้เอาไปใช้ตอนทำงาน อยากถามว่าคนบ้าอะไรแยกแยะไม่ได้ว่าทำงานกับใส่เล่นมันอันไหน แล้ววินัยเราฝึกจากอย่างอื่นก็ได้ไม่จำเป็นว่าต้องจากเครื่องแต่งกายหรือทรงผม!!!!!!! โกรธโกรธ (คหสต ใครไม่ชอบว่าได้แต่อย่าขวางโลกมากไปนะครับ เปิดโลกมากๆแล้วถ้าคุณไม่พอใจ คหนี้ข้ามไปเลยครับบบ)

0
กำลังโหลด
ttt 20 พ.ค. 57 19:33 น. 12
สมัยก่อนประเทศไทยก็ใช้หนังสือยืมเรียนนะ ช่วงรัฐบาลอภิสิทธิ์ ทัศนศึกษาฟรี หนังสือฟรี ดี๊ดี สมัยนี้ ไม่มีแล้วหนิ
1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
นัท 20 พ.ค. 57 20:15 น. 13
ก็ไม่มีไรมากค่ะ อ่านแล้วอยากไปอ่ะอยากเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนดูบ้างแต่คงไม่ทันแล้ว ฮ่ะฮ่ะ ทำไมพึ่งมาเจอตอนนี้ แง่ ไม่เข้าใจตัวเองจิง จิง ปล.อยากไปค่ะ ก่อนเข้ามหาลัยจะลองไปดู แล้วช่วงปิดเทอมมหาลัย ข้าจะไป ข้าจะหาเพื่อนเป็นชาวต่างชาติซึ้ง
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
aomori1998 Member 21 พ.ค. 57 21:58 น. 17

อยากไปบ้าง เราเคยไปออสเตรเลียนะแต่ไปเรียน 15 วัน อยากไปนานๆเป็นปีๆ ญาติเราสอบได้ทุนเรียนฟรี เลือกไปฝรั่งเศษ อยากไปปปปปปปปปป 

เขิลจุงเย้แน่นอนเสียใจ

0
กำลังโหลด
อาเฮียเฟิร์ส Member 22 พ.ค. 57 19:29 น. 18

ห้องเรามีแค่ 43 คน (มากสุดในสายชั้นเรา 46 ในโรงเรียน 46 น้อยสุด 23

ครูที่ปรึกษา ปรึกษาได้แม้กระทั้งตัง !!

ครูแนะแนวยันเรื่องแฟน 55555555555555555

ค่าใช้จ่ายทั่วๆไป (ไม่รวมค่าข้าว) 40 - 60 บาท ไม่เกินนี้ 555

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด