เรื่องการเรียนต่อของน้องๆ  ม.3 และ ม.6 เป็นเรื่องเลือกยากเนอะ สมัยพี่เกียรติก็เหมือนกัน นั่งคิดนอนคิดอยู่ตั้งนานว่าจะเรียนสายไหนดี กลัวว่าเลือกไปแล้วจะเรียนต่อได้จนจบไม่ไหว แต่ตอนนี้ยิ่งกว่า! เพราะน้องๆ ชาว Dek-D รุ่นใหม่กำลังจะก้าวสู่ยุคประชาคมอาเซียน และกำลังจะเข้าสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งยิ่งทำให้เราต้องมองอนาคตไปให้ไกลมากอีกยิ่งขึ้น 

อย่ามองแค่ว่า "เรียนอะไรดี" แต่ต้องมองเลยว่า "อยากทำหรือควรทำอาชีพอะไรดี" ด้วยเลยค่ะ 


         ซึ่งประเด็นว่าจะทำอาชีพอะไร ไปเรียนสายไหนนี่แหละที่เป็นปัญหาโลกแตก! เราต้องการทำอาชีพอะไร และสายไหนเรียนไปทำอะไรได้บ้าง ในยุคนี้ควรเลือกเรียนอะไรดี พี่เกียรติมีประเด็นเล่าสู่กันฟังค่ะ ก้าวสู่ยุคประชาคมอาเซียน สายสามัญหรือสายอาชีพ สายไหนจะไปรุ่ง! 

       
___________________________________________________
      


 
        อย่างที่เราทราบกันว่ามี 7 อาชีพ ที่จะทำงานได้อย่างเสรีในประชาคมอาเซียน คือ วิศวกร สถาปนิก การสำรวจ บัญชี พยาบาล ทันตแพทย์ แพทย์ และกลุ่มอาชีพที่ 8 การท่องเที่ยวและโรงแรม ที่ติดข้อกฎหมายไทย แต่เป็นอีกกลุ่มอาชีพที่มี MRAs ว่าสามารถเคลื่อนย้ายได้เสรีค่ะ         
            
              ใน 8 อาชีพนี้มีเพียง 3 อาชีพคือ พยาบาล ทันตแพทย์ และแพทย์ ที่ต้องเรียน สายสามัญเท่านั้น ในขณะที่สาขางานอื่นๆ สามารถเรียนสายอาชีพได้ และสามารถเลือกออกไปทำงาน หรือเรียนแบบทำงานไปเรียนไปได้ก็ได้ทันทีตั้งแต่ยังเรียน ปวช. ด้วยค่ะ แต่ ณ ตอนนี้ พ.ศ. 2557 ค่านิยมในการต่อสายอาชีพยังถูกมองไปด้านลบ และยังมีข้อจำกัดในการต่อปริญญาตรีอยู่บ้างค่ะ  




        แต่เราต้องพิจารณาว่า ลักษณะการเรียนรู้แต่ละคนต่างกัน บางคนเก่งคำนวณแต่ไม่ชอบงานปฏิบัติเลย บางคนเป็นกลุ่มชอบวางแผน แต่ไม่ชอบลงมือเอง บางคนเก่งคำนวณดุจผู้วางแผน แต่จริงๆ ไม่ชอบอยู่กับที่ ดังนั้นต้องเลือกเรียนให้เข้ากับตัวเองจะมีความสุข และไปได้ดีกว่าค่ะ อย่างงานบัญชีเป็นงานคำนวณก็จริง แต่ในความเป็นจริงนักบัญชีไม่ได้คิดเลขในใจ หรือใช้ตรีโกณในการคำนวณงบดุลนะ เขาก็ใช้สูตรทางบัญชี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเครื่องคิดเลขในการคำนวณค่ะ ดังนั้นไม่ได้หมายความว่า ตกเลขแล้วจะไม่เข้าใจบัญชีนะคะ (แต่มันเป็นศาสตร์ใกล้เคียงกัน ต้องพิจารณาดีๆ ไม่งั้นจะทนทำงานกับตัวเลขได้อย่างไรเนอะ) อย่างพี่เกียรติก็ไม่ชอบเลข แต่พี่ชอบสถิติและเลขาคณิตนะ ซึ่งมันก็คือบทย่อยในวิชาคณิตศาสตร์ใช่ไหมล่ะ 

ในเมื่อคนเรามีลักษณะการเรียนรู้ต่างกัน ความชอบต่างกัน
เราก็ควรดูว่าเรียนแบบไหนจะเหมาะกับเรา 

         อย่างวิศวกรก็ มี 2 แบบ (1)วิศวกรภาคสนาม อยู่กับไซต์งาน ดูแลช่างทำงาน ต้องทำงานเป็น มีทักษะทำแบบช่างได้ กลุ่มนี้ถ้าจบมาทางสายอาชีพ จะทำงานได้คล่องมากกว่า และเริ่มต้นงานได้ดี  (2)วิศวกรหลังฉาก แบบที่ค่อยดูแลกระบวนการงานควบคุม คอยคำนวณ ดูโครงสร้าง งานวางแผนแต่ไม่ถนัดลงสนามคุมช่าง หรือลงมือทำเอง จบจากสายสามัญมากกว่า สองกลุ่มนี้ มีทักษะและรูปแบบการทำงานที่ต่างกัน แต่ก็เป็นวิศวกรเหมือนกัน (ความต่างนี้พิจารณาโดยรวมนะคะ จริงๆ เนื้องานหรือความชอบ และทักษะแต่ละคนอาจต่างกัน เพียงสรุปภาพให้ชัดเจนค่ะ) 


แต่ไม่ได้หมายความว่า ถ้าไม่ได้เรียน 8 อาชีพนี้ อนาคตจะดับวูบ!




          แม้จะเข้าสู่ยุค AEC แล้ว แต่อาชีพในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้มีแค่ 8 อาชีพเท่านั้น น้องๆ ต้องเข้าใจด้วยว่าทุกอาชีพมีความสำคัญในสังคม อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารและงานสวยงานสู่โลกอยู่นะคะ ดังนั้น ชาวไร่ ชาวนา แม่บ้านแปรรูปผลผลิต งานศิลปะหัตถกรรม ออกแบบอัญมณี เครื่องแต่งกาย อะไรเหล่านี้ก็ยังมีความสำคัญอยู่ทั้งนั้น ชอบด้านไหน ทำให้ตัวเองเป็นผู้เชี่ยญชาญในด้านนั้นค่ะ 
             
               เช่น อยากเป็นดีไซเนอร์ระดับโลก ส่งนางแบบใส่ชุดเราเดินในงานแฟชันวีค เขาไม่มานั่งถามหรอกค่ะว่าจบปริญญาตรีมาหรือยัง ฝีมือต่างหากที่ช่วยการันตีจริง เรื่องออกแบบและเย็บปักถักร้อย ไม่ได้เป็นวิชาหลักที่โรงเรียนทั่วไปค่ะ ถ้าชอบจริงๆ กล้าจริงๆ มั่นใจจริงๆ สายอาชีพมีให้เรียนค่ะ พอจบบ ม.3  ก็เลือกเรียน ปวช. คหกรรม กลุ่มงานผ้าและเครื่องแต่งกายได้เลยค่ะ ไม่ต้องเรียนฟิสิกส์ เคมี หรือนั่งท่อง นั่งสอบ นั่งเรียนพิเศษวิชาที่เรา(อาจ)ไม่ชอบนะคะ เราจะมีเวลาและได้ฝึกด้านนั้นเลยจริงๆ 
 
         
      ในยุค AEC นี้ สิ่งที่ต้องการคือ วิชาชีพและความสามารถเฉพาะทางค่ะ ไม่ต้องฉลาดที่สุด ไม่ต้องรู้ทุกเรื่องเป็นพหูสูต (ศัพท์เก่าไปไหม ฮ่าๆ) แต่ให้เก่งในด้านใดด้านหนึ่งไปเลยค่ะ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การเรียนสายอาชีพเป็นที่นิยมกว่ามากค่ะ เพราะไม่ต้องเสียเวลาเรียนนาน เยาวชนทำงานได้เลย เงินเดือนก็ดี เท่าเทียมกันทุกอาชีพ เพราะเขาถือว่าจบวิชาเทคนิคเชี่ยวชาญค่ะ 
 
   
ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ 
1. ทำความรู้จักอาชีพต่างๆ ในด้านที่เราสนใจให้มากที่สุด ถ้าอาชีพที่อยากเป็นคือสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เชิญช่องสายสามัญโลดค่ะ แต่ถ้าเป็นอาชีพอื่นๆ ขอให้เปิดตาเปิดใจให้กว้างๆ  มองสายอาชีพที่มีสาขาหลากหลายบ้าง
2. หาข้อมูลต่อไปว่า อาชีพนั้นๆ เรียนสายอะไรจะเหมาะกับตัวเรามากกว่า จะเรียนต่ออย่างไร อย่างวิศวะ เป็นสาขาที่เรียนได้ทั้งสายอาชีพ (จบ ปวช. ต่อปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์) และสายสามัญ แต่โดยเนื้อหาวิชาที่เรียน วิธีการเรียน การเรียนต่อ ตัวงาน และสังคมที่เรียนแตกต่างกัน แบบไหนที่เข้ากับตัวเรามากกว่า 
3. โรงเรียนสายอาชีพมีหลากหลายมากกว่าที่เราคิด ไม่ได้มีแค่ช่างไฟ บัญชี การขาย คอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมี...งานโรงแรม พาณิชย์นาวี เตรียมวิศวะ เตรียมสถาปัตย์ ปิโตรเลียม ดีไซน์เนอร์ ศิลปะ งานเชฟ นาฏศิลป์ ทำเครื่องทอง ฯลฯ ปีหน้าจะมีสาขาระบบรางและรถไฟฟ้าความเร็วสูงอีกด้วย มีทั้งสายอาชีพแบบเรียนฟรี มีทุนการศึกษา มีทั้งสายอาชีพแบบที่ทำงานไปด้วยได้ตามข้อตกลง (ทวิภาคี) มีทั้งสายอาชีพแบบฐานวิทยาศาสตร์ที่เรียนกึ่งสายสามัญ มีทั้งสายอาชีพอินเตอร์ เรียน English Program อีกด้วย 
4. กล้าต่อสู้กับสิ่งที่คิดว่าเหมาะสมกับเราอย่างตั้งใจจริงๆ ค่ะ  เพราะบางคนรู้สึกว่าตัวเองอยากเรียนสายอาชีพมากกว่า แต่เพื่อนๆ ไม่เรียนด้วย ไม่อยากจากเพื่อน บางคนก็กลัวใจตัวเอง กลัวสังคมสายอาชีพพาตัวเองเสียคน ข้อนี้ต้องใช้จิตใจตัวเราในการตัดสินใจล้วนๆ เลยค่ะ และเมื่อตัดสินใจแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เลือก และทำให้ดีค่ะ 


              พี่เกียรติอาจจะอวยสายอาชีพมากหน่อย ก็เพราะนี่เป็นคอลัมน์สายอาชีพ ฮ่าๆๆ แต่จริงๆ แล้วพี่เกียรติก็ไม่ได้มองว่าสายสามัญไม่ดีนะคะ เพียงแต่เราต้องรู้จักสายอาชีพให้มากขึ้นด้วยค่ะ ส่วนหนึ่งที่เราไม่สนใจสายอาชีพกัน ไม่ใช่เพราะภาพลักษณ์ด้านลบอย่างเดียวหรอกค่ะ แต่เพราะเราแทบไม่รู้จักว่า จริงๆ แล้ว "สายอาชีพ/อาชีวะ" มีอะไรบ้าง จบไปทำอะไรบ้าง มีรุ่นพี่อนาคตสดใดแค่ไหนต่างหากค่ะ  


                
                เราต้องคิดดีๆ นะ เพราะถ้าคิดแค่ว่า "เรียนสายวิทย์ไปก่อน สอบอะไรก็ได้" แต่ระหว่างที่เรียนสามปีในสายวิทย์นี้ เราอาจเรียนตกระนาว อึดอัด จนเกรดมีปัญหา สอบอะไรลำบากก็ได้นะคะ ไม่เรียนต่อก็ไม่ได้ (พี่ไม่ได้แช่งใครนะเออ แต่เรื่องความถนัดมันเป็นเรื่องแต่ละคนจริงๆ) ถ้าแบบนั้นสู้มาเรียนอะไรที่เป็นทักษะเฉพาะทาง เอาดีด้านที่ชอบไปเลยดีกว่าไหม? แนวโน้มอาชีพในอนาคต คือ อาชีพเชี่ยวชาญเฉพาะทางค่ะ ซึ่งตราบใดที่เรามีความสามารถเชี่ยวชาญจริงๆ ค่ะ ก็ตอบโจทย์ทั้งตลาดแรงงานและอาเซียนอยู่แล้ว แน่นอนว่าอย่าลืมฝึกภาษาอังกฤษให้พอใช้งานได้ควบคู่กันไว้ด้วยค่ะ 

       
___________________________________________________
      

           พี่เกียรติขึ้นบทความนี้ ในเวลาที่กำลังจะเปิดเทอมใหม่  เพื่อที่น้องๆ ชาว Dek-D ที่ยังไม่ได้เลือกสายการเรียน จะได้มีโอกาสวางแผนกันตลอดทั้งปีค่ะ แต่ถ้ากำลังเรียนอยู่สายใดสายหนึ่งแล้ว หรือรู้สึกว่าอาจจะเลือกสายผิด ก็ลองพิจารณาดีๆ ได้ค่ะ   ขอย้ำอีกครั้งว่า อนาคตของเรา เราต้องพิจารณาดีๆ มองให้ไกลมากขึ้น   ไม่ว่าจะเลือกสายอาชีพ และสายสามัญนะคะ  เพราะทั้งสองสายที่เลือกเรียนยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นค่ะ เรายังต้องเดินต่อไปข้างหน้าอีกค่ะ
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

เสน่ห์จันทร์ Member 18 พ.ค. 57 15:01 น. 14

ขอแย้งเรื่องวิศวกรหน่อยนะคะ  เพราะคิดว่าคุณจขกท.คงกำลังเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาชีพนี้อยู่ค่ะ  เสียใจ  เสียใจ


ส่วนใหญ่คนที่จบสายอาชีพมาจะเป็นวิศวกรได้ต้องเรียนต่อปริญญาค่ะ
ไม่ใช่จบปวส.แล้วเป็นวิศวกรได้เลย  เพราะว่าบางสถาบันสภาวิศวกรยังไม่รองรับค่ะ  ยิ่งเรื่อง AEC  ถ้าไม่สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพของไทยได้ก็ไม่มีสิทธิ์ยื่นสอบของต่างชาติได้อยู่แล้วค่ะ  เพราะต้องใช้มาตรฐานในแต่ละวิชาชีพ (Mutual  Recognition  Arrangement : MRA) ซึ่งกำหนดไว้ว่าวิศวกรต้องมีใบประกอบวิชาชีพและมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 7 ปีค่ะ


ส่วนใหญ่คนที่จบปวส.มาจะได้เป็นโฟร์แมนค่ะ  ยกเว้นคนที่มีประสบการณ์การทำงานหรือเก่งจริงๆทางบริษัทอาจให้เป็นวิศวกรได้ (แบบไม่มีใบอนุญาต)  เข้า AEC ไม่ได้  เซ็นแบบไม่ได้ค่ะ


มีน้องสายอาชีพมาฝึกงานเป็นโฟร์แมน2คน  เลยบอกให้น้องไปเรียนต่อเป็นวิศวกรเลยดีกว่าค่ะ  ในเมื่อเราลงมือปฏิบัติมาแล้ว  การเข้าใจในทฤษฎีคงไม่ยากเกินไปนัก
ครอยากเรียนวิศวกรรมก็ลองตรวจสอบการรองรับของทางสภาก่อนนะคะ  ว่าสถาบันที่เราจะเรียนทางสภารองรับรึเปล่า
http://www.coe.or.th/coe/main/coeHome.php?aMenu=301


ไม่อยากให้น้องๆที่จะเรียนวิศวกรรมที่อ่านกระทู้นี้แล้วเข้าใจผิดค่ะว่าเรียนที่ไหนก็เป็นวิศวกรได้
ในเมื่อเลือกจะเรียนแล้วก็อยากให้ทุกคนได้ไปสู่จุดสูงสุดของอาชีพค่ะ

2
karin<f>e Community 18 พ.ค. 57 18:43 น. 14-1
ขอบคุณค่ะ ขออนุญาตปักหมุดไว้เลยนะคะ นี่แหละแบบอย่างของคนที่รู้เพราะศึกษาและหาข้อมูลอาชีพที่สนใจ ^ ^ อย่างไรก็ตามที่บอกว่า จบสายอาชีพ เป็นวิศวะ ได้ คือ จบ ปวช. สายช่างอุตสาหกรรม และต่อปริญญาตรีเลยค่ะ (มีตัวอย่างของน้องสายอาชีพที่ จบ ปวช. ต่อคณะวิศวะค่ะ กำลังรอสัมภาษณ์ รอติดตามกันนะคะ อิอิ) สำหรับน้องๆ ที่จะเลือกเรียนทางใด จึงต้องศึกษาให้ครบถ้วน ทั้งอาชีพ และแนวทางการเรียนต่อค่ะ
0
กำลังโหลด

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
Deva Deardie Member 18 พ.ค. 57 14:10 น. 3

ช่วยได้เยอะเลยอ่านแล้วอยากทำตาม แต่ผมถูกกำหนดไว้ว่าต้องเป็นหมออย่างเดียว ทั้งที่ไม่ชอบวิทย์คณิตเลย 555  ไม่ชอบแต่ก็ทำไรไม่ได้นอกจากทน

2
กำลังโหลด
Nam 18 พ.ค. 57 21:53 น. 29
ตอนนี้จบ ปวส.คอมพิวเตอร์ธุรกิจมาค่ะ ตอนปวช. ก็เรียนคอมมาเหมือนกันค่ะ ตอนแรกที่ยังไม่เข้ามาเรียนสายอาชีพ ก็มองสายอาชีพในแง่ลบค่ะ แต่พอได้เข้ามาเรียนจริงๆ มันทำให้รู้ว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเลยค่ะ ไม่ได้มีแค่เด็กผู้หญิงที่เอะอะใส่กระโปรงสั้น ทาปากแดง แก้มแดง หน้าขาวๆ(คอดำด้วยบางคน) มันไม่ได้มีแค่นั้นค่ะ คนที่ทำตัวดีๆก็มีค่ะ ขอยกตัวอย่างหน่อยนะคะ ไม่ได้อวยตัวเองนะ อย่างเราเรื่องกระโปรงสั้นเนี่ย เราไม่เคยเลยค่ะ เพราะมันดูเขินๆไงไม่รู้ ใส่สั้นไปก็เดินนั่งไม่ถนัด แถมเราต้องนั่งรถไปเรียนเองด้วยค่ะ ทำให้แบบเด็กช่างฯผิวปากแซวกันเราก็ไม่ปลื้มเท่าไหร่ -_- .... เพื่อนในกลุ่มในคลาสเรียน หรือในสถาบันไม่ว่าจะเป็นุร่นน้องรุ่นพี่ก็ใส่กระโปรงสั้นกันเยอะนะคะ แต่เราคิดว่า เราไม่จำเป็นต้องตามใครเลยค่ะ เราอยู่แบบนี้ของเราไม่จำเป็นต้องตามค่ะ มันก็ทำให้เราเรียนสายอาชีพแบบมีความสุขได้ค่ะ แต่ภาพที่คนส่วนใหญ่เห็นจะมองว่า เด็กสายอาชีพนั้นแรงปี๊ดป๊าดไป จริงๆแล้วไม่เลยค่ะ อยากให้คนที่มีความคิดแบบนี้ หรือมองแบบนี้ อยากให้เปลี่ยนทัศนะคติใหม่ค่ะลองเข้ามาสัมผัสหรือ ทำความรู้จัก จะรู้่ค่ะว่าเด็กสายอาชีพไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกคนค่ะ
3
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Econ. 18 พ.ค. 57 14:16 น. 6
ขอบคุณมากๆนะครับสำหรับข้อมูลดีๆที่เอามาแบ่งปัน แต่ผมอยากรบกวนอยากให้ทางทีมงานทำข้อกำหนด กฏหมายของการเปิดเสรีของทั้ง 8 อาชีพด้วยครับ ว่าแต่ละประเทศในอาเซียน มีข้อจำกัด กีดกัน กันอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ทราบว่าการปกป้องสิทธิขแรงงานไทยบ้างหรือเปล่าครับ
0
กำลังโหลด

67 ความคิดเห็น

Patt_manaw 16 พ.ค. 57 19:25 น. 1
ถ้าอย่างหนู เรียน ศิลป์คำนวณ แล้วจบ ม.6 หนูจะไปเรียนสายอาชีพต่อได้ไหมคะ แล้วเรียนอีกกี่ปีคะ? //ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ ตั้งใจเย้
6
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Deva Deardie Member 18 พ.ค. 57 14:10 น. 3

ช่วยได้เยอะเลยอ่านแล้วอยากทำตาม แต่ผมถูกกำหนดไว้ว่าต้องเป็นหมออย่างเดียว ทั้งที่ไม่ชอบวิทย์คณิตเลย 555  ไม่ชอบแต่ก็ทำไรไม่ได้นอกจากทน

2
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Econ. 18 พ.ค. 57 14:16 น. 6
ขอบคุณมากๆนะครับสำหรับข้อมูลดีๆที่เอามาแบ่งปัน แต่ผมอยากรบกวนอยากให้ทางทีมงานทำข้อกำหนด กฏหมายของการเปิดเสรีของทั้ง 8 อาชีพด้วยครับ ว่าแต่ละประเทศในอาเซียน มีข้อจำกัด กีดกัน กันอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ทราบว่าการปกป้องสิทธิขแรงงานไทยบ้างหรือเปล่าครับ
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
เหอะๆ 18 พ.ค. 57 14:17 น. 8
ส่วนใหญ่เห็นพูดกันซะสวยหรู ว่าเปิดอาเซียนแล้วอาชีพพวกนี้จะเสรีเลยนะ จะเป็นอิสระโบยบินได้ทุกประเทศในอาเซียน... ถุ้ยยย ใครจะอยากไป ไทยเนี้ยแหละดีสุดละ มีดีกว่าหน่อยก็สิงคโปร์ซึ่งบุคลากรแต่ละสาขาพอเพียงอยู่แล้วคงจะได้เข้าไปทำหรอก ไทยมีแต่จะเสียเปรียบเพราะเค้าเข้ามาแย่งงานมากกว่า
0
กำลังโหลด
Riferdia 18 พ.ค. 57 14:18 น. 9
เราเป็นคนหนึ่งนะที่เข้าเรียนต่อสายอาชีพ สนุกมากเลย ได้เรียนทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน เราเรียนสาขาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรฯ ได้เรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ ในความคิดเรา เราว่าอาจจะเน้นไปทางกิจกรรมไปหน่อย แต่ดีกว่านั่งเรียนต่อสายสามัญนะ ได้ผจญโลกมากขึ้น เราได้เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น สนุกมากกกเลยจริงๆ ยังมีอีกหลายคณะหลายสาขาให้เลือกเรียน และแน่นอนว่าจบมามีงานหรือบริษัทมารอแน่นอน #ผู้สื่อข่าวอกท. หน่วยสุโขทัย
1
กำลังโหลด
ปลื้มมม 18 พ.ค. 57 14:19 น. 10
ตรงกะผมจังเลย 55 อยากเรียนสิ่งที่เราชอบ พ่อผมอยากให้ไปเรียนช่าง ปวช จบมามันมีงานทำได้งานไว พ่อบอกเรียนมาไม่ตกงาน ทางพ่ออยากให้เรียน สายอาชีพครับ เพราะพ่อจบด้านนี้มา ทั้งครอบครัวทางพ่อ แต่ ทางคุณแม่ ไม่ให้เรียน กลัวไปตีกัน ตามข่าว กลัวเสียคน เพราะมีแต่ข่าวทางลบเยอะ แต่ในใจผม ผมก็อยากเรียน ที่ผมชอบ เพราะตอนนี้ ผม อยู่ ม.6 แล้ว แม่ไม่ให้เรียน ปวช ผมก็เสียดายนะครับ เพราะ ผมอยู่ ม.6 นี้ ผมอึดอัดมาก กลัวไม่มีมหาลัยเข้า เพราะ เกรด 2ปลายๆ เราไม่ค่อยเข้าใจว่า ต้องเรียนทุกวิชา เลยหรอ ถ้าผมชอบ ไปบริหารธุรกิจ ผมต้องมานั่งจำ สูตรเคมี ไปด้วยรึเปล่า แต่ส่วนหนึ่งที่ มา ม.ปลายด้วย ก็เพราะว่า เพื่อนอยู่เยอะ กลัวต้องไปหาเพื่อนใหม่ ณ วันนี้ ผมเสียดายนะครับ ที่ไม่ได้เรียน ปวช เพราะผมนั่งเครียด กะการเรียน สามัญทุกวันนี้ เรียนเยอะมาก แต่เท่าที่จะได้เจอ ทำงาน มันไม่เยอะเท่าที่เรอเจอในบทเรียน มันเหมือนเสียเวลาเปล่า ในความคิดส่วนตัวผมนะครับ เสียดายนะครับ เรียนช่าง ประสบการณ์ตรง งานลงมือทำ แน่นอน คล่องแคล้ว กว่า สายสามัญ อย่างแน่ เสียใจ
1
Kwangep Iwantwilldie Member 20 พ.ค. 57 15:13 น. 10-1
น่าเสียดายแทนน้องจัง สายช่าง สนุกกว่าที่ใครคิด เพื่อนมาก แต่เลือกที่จะคบจะตามได้ เฮ้อ
0
กำลังโหลด
wickedgirl09 Member 18 พ.ค. 57 14:25 น. 11

เรียน ปวช.บัญชี ต่อ ปวส.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ จบมาทำงาน ตอนนี้เรียนต่อปริญญาตรี ศศบ.ภาษาอังกฤษ น้องบางคนจะจบ ม.ต้น สนใจสายอาชีพบ้างแต่ยังลังเลว่า เรียนไปแล้วมันจะรอดมั้ย? มันจะใช่มั้ย? พี่จะยกตัวอย่างทั้งเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้องให้ดูนะคะ ว่าแต่ละคนเปลี่ยนสายหรือเรียนต่อกันอะไรยังไงบ้าง แต่ไม่แน่ใจว่าตอนนี้กฏการรับสมัครยังเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า มีข้อมูลก็มาเพิ่มได้ค่ะ สายอาชีพบางทีก็กว้างอยู่นะคะ

1. เพื่อนรุ่นเดียวกัน จบม.ปลาย วิทย์-คอม มาต่อ ปวส.บริหารฯ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ อีกคนจบมาด้วยกันต่อ ต่อศิลปกรรม คอมพิวเตอร์กราฟฟิค

2. รุ่นน้องเรียน ปวช.คอมฯธุรกิจ จบไปเรียน ป.ตรี นิเทศฯ

3. รุ่นน้องเรียน ปวช.คหกรรม จบไปเรียนครู คหกรรม กับรุ่นพี่อีกคน จบ บัญชี ไปต่อป.ตรี ครูบัญชี

4.รุ่นน้อง เรียนเทคโนโลยีศิลปกรรม ไปต่อ นิเทศฯ

5.เพื่อนร่วมชั้น จบ คอมฯธุรกิจ ไปต่อ Business English ได้ข่าวว่านางได้ไปแลกเปลี่ยนตอนเรียนต่อ ป.ตรีด้วยอ่ะ 

ุ6.เพื่อนสนิท เรียนบัญชีด้วยกันมา ไปต่อ ป.ตรี การจัดการ ป.โท การจัดการธุรกิจเกษตร เพิ่งบินไปไต้หวันเรียนต่ออีกใบ จำไม่ได้ว่าเรียนสาขาอะไร

7.อ้อ มีเพื่อนสนิทตอนเด็ก เรียน วิทย์-คณิตฯ มาต่อบัญชี 4 ปี ตอนนี้ไปนอกอ่ะ ทำร้านสปาไทยหรืออะไรสักอย่างใน CA (จำไม่ได้ค่อยได้)

8.หัวหน้า (เกี่ยวมั้ย ไม่รู้นึกได้) จบม.ปลาย เรียนต่อวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพิ่มบัญชีอีกใบ นับถืออ่ะ คนละทางเลยยังเรียนจบทั้งสองใบ งว้อออ

นึกไม่ออกแล้วค่ะ ตัน นึกได้จะมาเพิ่มให้นะคะ 

เย้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ครูช่าง 18 พ.ค. 57 14:55 น. 13
สาขาสำรวจ เป็นสาขาที่มีคนรู้จักน้อย แต่ดีใจที่ได้เป็น 1 ในอาชีพเสรีของอาเซียน คือปกติแล้วเนี้ย นักศึกษาจบมา สถานประกอบการณ์ก็จะมาติดต่องานที่วิทยาลัยเลย เป็นอาชีพที่ขาดแคลนมากเพราะ 1 มีวิทยาลัยที่เปิดสอนน้อยมาก 2 คนยังไม่ค่อยคุ้นกับชื่อสาขาว่าเรียนไปทำไม เรียนเกี่ยวกับอะไร 3 ลักษณะงานจะเป็นงานกลางแจ้ง งานแบบบุกเบิกพื้นที่ ที่ไม่ค่อยมีใครเข้าไป คนที่ติดความสะดวกสบายมักจะไม่ค่อยนิยมเรียน ช่างสำรวจจะเรียนคล้ายกับช่างโยธา แต่จะมีความชำนาญเฉพาะทางด้านงานวัดที่ งานบุกเบิกเก็บรายละเอียด วางผังวางตำแหน่งมากกว่าช่างโยธา และสิ่งสำคัญที่ช่างสำรวจต้องเรียนแต่ช่างโยธาไม่มีเรียนก็คือ วิชาด้านแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ รวมไปถึงวิชา GIS ที่นักภูมิศาสตร์เรียน ช่างสำรวจก็ได้เรียนเหมือนกัน เยี่ยม
2
ครูช่าง 18 พ.ค. 57 15:01 น. 13-1
น้องๆ คนไหนสนใจ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ยินดีต้อนรับนะคะ ปีนี้มีหลักสูตรใหม่รับนักศึกษา ม.6 เข้าศึกษาระดับปวส.ด้วย หลักสูตร 3 ปี การันตรีด้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งการแข่งขันสำรวจเพื่อวางผัง ระดับประเทศ ประจำปีการศึกษา 2556 หมายเหตุ ช่างรังวัดของกรมที่ดิน รับเฉพาะปวส.สำรวจ สาขาเดียวนะคะ
0
กำลังโหลด
เสน่ห์จันทร์ Member 18 พ.ค. 57 15:01 น. 14

ขอแย้งเรื่องวิศวกรหน่อยนะคะ  เพราะคิดว่าคุณจขกท.คงกำลังเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาชีพนี้อยู่ค่ะ  เสียใจ  เสียใจ


ส่วนใหญ่คนที่จบสายอาชีพมาจะเป็นวิศวกรได้ต้องเรียนต่อปริญญาค่ะ
ไม่ใช่จบปวส.แล้วเป็นวิศวกรได้เลย  เพราะว่าบางสถาบันสภาวิศวกรยังไม่รองรับค่ะ  ยิ่งเรื่อง AEC  ถ้าไม่สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพของไทยได้ก็ไม่มีสิทธิ์ยื่นสอบของต่างชาติได้อยู่แล้วค่ะ  เพราะต้องใช้มาตรฐานในแต่ละวิชาชีพ (Mutual  Recognition  Arrangement : MRA) ซึ่งกำหนดไว้ว่าวิศวกรต้องมีใบประกอบวิชาชีพและมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 7 ปีค่ะ


ส่วนใหญ่คนที่จบปวส.มาจะได้เป็นโฟร์แมนค่ะ  ยกเว้นคนที่มีประสบการณ์การทำงานหรือเก่งจริงๆทางบริษัทอาจให้เป็นวิศวกรได้ (แบบไม่มีใบอนุญาต)  เข้า AEC ไม่ได้  เซ็นแบบไม่ได้ค่ะ


มีน้องสายอาชีพมาฝึกงานเป็นโฟร์แมน2คน  เลยบอกให้น้องไปเรียนต่อเป็นวิศวกรเลยดีกว่าค่ะ  ในเมื่อเราลงมือปฏิบัติมาแล้ว  การเข้าใจในทฤษฎีคงไม่ยากเกินไปนัก
ครอยากเรียนวิศวกรรมก็ลองตรวจสอบการรองรับของทางสภาก่อนนะคะ  ว่าสถาบันที่เราจะเรียนทางสภารองรับรึเปล่า
http://www.coe.or.th/coe/main/coeHome.php?aMenu=301


ไม่อยากให้น้องๆที่จะเรียนวิศวกรรมที่อ่านกระทู้นี้แล้วเข้าใจผิดค่ะว่าเรียนที่ไหนก็เป็นวิศวกรได้
ในเมื่อเลือกจะเรียนแล้วก็อยากให้ทุกคนได้ไปสู่จุดสูงสุดของอาชีพค่ะ

2
karin<f>e Community 18 พ.ค. 57 18:43 น. 14-1
ขอบคุณค่ะ ขออนุญาตปักหมุดไว้เลยนะคะ นี่แหละแบบอย่างของคนที่รู้เพราะศึกษาและหาข้อมูลอาชีพที่สนใจ ^ ^ อย่างไรก็ตามที่บอกว่า จบสายอาชีพ เป็นวิศวะ ได้ คือ จบ ปวช. สายช่างอุตสาหกรรม และต่อปริญญาตรีเลยค่ะ (มีตัวอย่างของน้องสายอาชีพที่ จบ ปวช. ต่อคณะวิศวะค่ะ กำลังรอสัมภาษณ์ รอติดตามกันนะคะ อิอิ) สำหรับน้องๆ ที่จะเลือกเรียนทางใด จึงต้องศึกษาให้ครบถ้วน ทั้งอาชีพ และแนวทางการเรียนต่อค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
deenthanaphat Member 18 พ.ค. 57 15:21 น. 16

เอ่อ ตอนแรกเราจะเรียน สายวิทย์-คณิต ของ รร อำเภอแห่งหนึ่งสอบเข้าได้แล้ว แต่ก็ไม่ได้เรียน มาเรียน อาชีว สาขา บัญชี สนุกดีนะ ได้เพื่อน ได้ประสบการณ์อะไรหลาย ๆ อย่าง บัญชีก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด แค่รู้หลักการณ์ รู้สูตร รู้ความน่าจะเป็นไปได้ วิเคราะห์เหตุการณ์เป็นก็รุ่งแล้ว ตอนนี้อยู่ ปวช.2 เมื่อซัมเมอร์ที่ผ่านมาก็ไปฝึกงานที่ธนาคาร ได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่างประสบการณ์เยอะมากกก จบ ปวช ก็น่าจะ ต่อ ป.ตรี บัญชี เลย แล้วก็เสริมภาษานิดหน่อย น่าจะรุ่งแล้วหล่ะ

0
กำลังโหลด
Met Kung 18 พ.ค. 57 15:24 น. 17
ตอนนี้ผมก็ อยู่ ม.3 ผมก็คิดหนักเรื่อง จะต่อ สายอาชีพ หรือ สามัญ ดีนี่ละ ผมเป็นพวกไม่[ค่อย]เก่งคณิต วิทย์
2
AMTEDDY Member 18 พ.ค. 57 16:20 น. 17-1
สายอาชีพก็มีคำนวณค่ะ ถึึงจะไม่แม่นเท่าสายสามัญก็เถอะ เพื่อนพี่หลายคนค่ะที่หนีการคำนวณจากสายสามัญ แต่พอมาเรียนจริงๆ คำนวณเยอะพอสมควรค่ะ
0
กำลังโหลด
นินจาจอมแสบซูยายะ เซน Member 18 พ.ค. 57 15:42 น. 18

พวกเรื่องคนจะตัดสินใจไปเรียนดีมั้ยอันนี้โลกแตกพอกัน

เพราะ่ส่วนใหญ่จะติดตรงกลัวสังคมพาเสียบ้าง ติดเพื่อนเก่าบ้าง ไม่มีคนไปเรียนด้วยบ้าง

อยากบอกว่าให้เลิกความคิดเหล่านั่นซะ

เพราะเราเป็นคนนึงที่เรียน ม.4 สายวิทย์-คณิตมาก่อนปีนึงแล้วไม่ไหว

เปลี่ยนสายไปเรียน ปวช.ปี 1 ใหม่เลย(สายออกแบบ) แถมเรียนไกลในกรุงเทพ อยู่คนเดียว เรื่องจะเสียไม่เสียไม่ใช่อยู่แค่ที่เพื่อน อยู่ที่ใจเราต้องหนักแน่นที่จะไม่หลุดออกนอกกรอบ

เพื่อนไม่มีก็หาใหม่เอาดาบหน้าก้ได้ ทุกที่ไม่ได้มีแค่คนเลว ตอนแรกเราก็คิดแง่ลบเหมือนกันว่าเรียนสายอาชีพนี่ดูไม่ค่อยดีเลย

จนมาเรียนเองถึงได้รู้ว่ามันดีกว่าสายสามัญซะอีก เพราะเรียนเน้นไปที่สาขาวิชาที่เราเลือกนั้นๆเน้นๆ

ฉะนั้นใครจะเรียนสายอาชีพเรื่องเพื่อนไม่ต้องแคร์หรอก เพราะจบไปคงไม่ได้ไปทำงานที่เดียวกันหรอกใช่มั้ย?

เป็นกำลังใจให้คนที่กำลังตัดสินใจอยู่เน่อ!เยี่ยม

0
กำลังโหลด
AMTEDDY Member 18 พ.ค. 57 16:15 น. 19

เราเรียนสาอาชีพค่ะ ตอนนี้ปวส. แล้วเรียนสาขาช่างก่อสร้าง ภูมิใจนะคะได้เรียนสาขานี้ ด้วยความชอบทางด้านนี้อยู่แล้ จึงไม่ค่อยมีปัญหากับการเรียนคะ ความจริงจะเรียนสายไหนมันก็ไม่ต่างกันนะคะ แต่มันต่างกันที่ตัวของเราค่ะ ว่าตัวคุณมีความพยายาม อดทน มุ่งมั่น ขนาดไหน ถ้าคุณมีความตั้งใจสูงไม่ยอมแพ้อะไรง่ายซะก่อน จะเรียนสาขาไหนอาชีพอะไร ก็ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน เราเชื่อแบบนั้น เราอยากให้น้องๆที่ยังไม่รู้จะเรียนอะไร เชื่อในตัวเองก่อน แล้วเลือกเรียนในสิ่งที่อยากเรียน จะได้ไม่มานั่งเสียดายหรือเสียเวลาภายหลังน่ะค่ะ

0
กำลังโหลด
huang 18 พ.ค. 57 16:33 น. 20
จริงมันต้องรู้ตั้งนานตั้งแต่ประถมแล้ว ไม่ใช่มาคิดเอาตอนจบ ม.3 ว่าจะไปสายไหน เคยถามเด็กๆแถวบ้าน จบอยากทำอาขีพอะไรยังบอกไม่ได้ ส่วนมากที่เรียนกันก็เรียนตามเพื่อน ถ้าถามคนสายสามีัญ ก็ยังตอบไม่ได้เรียนไปแล้วทำไร
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด