วันนี้พี่มิ้นท์ขอทักทายน้องๆ ชาว Dek-D.com ด้วยบทความเสริมทักษะอีก 1 ด้าน นั่นก็คือ "ทักษะการอ่าน" หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วได้เจอบทความฝึกทักษะฟัง-พูด กันจนคล่องแคล่วไปแล้ว

          "การอ่าน" ดูเป็นเรื่องธรรมดา เรียนมาจนโตได้ก็ต้องอ่านหนังสือออกอยู่แล้ว แต่น้องๆ รู้มั้ยว่า การอ่านไม่ได้มีเพียงอ่านออก-อ่านไม่ออกเท่านั้น แต่ยังต้องประเมินตนเองด้วยว่าอ่านมีประสิทธิภาพหรือไม่ สิ่งที่จะยืนยันได้ว่าอ่านมีประสิทธิภาพจริงก็คือ จับใจความได้ เข้าใจความหมายของผู้เขียนที่ต้องการจะสื่อได้
          น้องๆ คงเคยเห็นแล้วว่าในโซเชียลมีเดียสมัยนี้เจอคนจับใจความไม่ได้เต็มไปหมด อ่านแล้วก็ตีความไปอีกแบบ จับประเด็นไปอีกทาง หรือประเภทอ่านแต่หัวข้อแล้วสรุปเลยก็มี พี่มิ้นท์ไม่อยากให้น้องๆ เป็นแบบนั้นค่ะ นอกจากนี้หากเรามีทักษะการอ่านที่ดียังช่วยประหยัดเวลาในการอ่านอีกด้วย

 


 
         จุดเริ่มก่อนลงมืออ่าน น้องๆ ต้องอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะอ่าน ประเภทที่ว่ากำลังง่วง เหนื่อย เมื่อย เพลีย ขอให้ข้ามไปนอนพักผ่อนก่อนได้เลย หรือจะเปลี่ยนไปอาบน้ำให้ร่างกายสดชื่น กลับมาอ่านหัวแล่นกว่าหลายเท่าค่ะ นอกจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมแล้ว อย่าลืมเตรียมเรื่องสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการอ่านหนังสือด้วย แสงไฟพอเหมาะ อากาศถ่ายเท เครื่องเขียนวางไว้บนโต๊ะให้เป็นระเบียบใช้งานง่าย เพียงเท่านี้ก็เริ่มต้นอ่านหนังสือกันได้แล้ว
 
         ทักษะการอ่านที่พี่มิ้นท์นำมาฝากน้องๆ ในวันนี้เป็นทักษะกลางๆ ใช้สำหรับการอ่านได้หลายประเภท ทั้งอ่านเพื่อสอบ อ่านเพื่อทบทวน หรืออ่านจับใจความทั่วๆ ไป
 
        เทคนิคที่ 1 : อย่าลืมอ่านเพื่อดูภาพรวม
         สำหรับบางคน เมื่อรู้ว่าต้องอ่านหนังสือ ก็จะพุ่งตรงไปอ่านหน้าหรือบทที่ต้องการทันที แบบไม่สนใจอย่างอื่นภายในเล่มเลย การอ่านแบบนี้เราอาจจะได้ความรู้ใหม่ที่ตรงจุด แต่ขาดการเติมเต็มจากส่วนอื่นๆ ที่จะทำให้เข้าใจในภาพรวมค่ะ
         อ่านเพื่อดูภาพรวม คือ การอ่านผ่านๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนั้น โดยดูชื่อเรื่อง สารบัญ หัวเรื่องใหญ่ต่างๆ ในเล่ม เพื่อดูคร่าวๆ ว่าเล่มนั้นให้ความรู้เกี่ยวกับอะไร เหมือนกับเวลาเราไปเดินเลือกซื้อหนังสือสักเล่มนึง ก็ต้องไล่ดูหน้าปก ดูสารบัญ องค์ประกอบของเล่มต่างๆ ก่อนซื้อนั่นแหละค่ะ ขั้นที่ 1 นี้จะทำให้เรามองเห็นภาพรวมของหนังสือหรือเรื่องที่เรากำลังจะอ่าน เราเองก็จะได้รู้ว่าหลังจากอ่านเล่มนี้ไป จะได้รู้อะไรบ้าง

 
       เทคนิคที่ 2 : เรียงลำดับความสำคัญ
          หากมีเวลาในการอ่านน้อย ขอแนะนำวิธีการอ่านสเต็ป "สรุป-บทนำ-เนื้อหา"  แต่ถ้ามีเวลาค่อนข้างเยอะให้อ่าน "บทนำ-เนื้อหา-สรุป"
          ลำดับการอ่านทั้งสองแบบมีข้อดีแตกต่างกัน ในแบบแรก "สรุป-บทนำ-เนื้อหา" สำหรับคนมีเวลาน้อยก็ยังเก็บใจความได้ครบ โดยให้ความสำคัญกับส่วนสรุป ซึ่งเป็นส่วนที่สังเคราะห์เนื้อหามาแล้วจนสั้นกะทัดรัด ทำให้เราเข้าใจจุดประสงค์ของเนื้อหาทั้งหมดและไม่พลาดประเด็นสำคัญ และถ้ามีเวลาว่างก็ค่อยเข้าไปเก็บรายละเอียดส่วนอื่นเพื่อขยายใจความที่เราได้มา
         แต่ถ้าประเมินแล้วว่ามีเวลามากพอ ก็อ่านตามปกติ โดยเริ่มที่บทนำเพื่อดูภาพรวมและความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะอ่าน แล้วค่อยอ่านเก็บรายละเอียดเนื้อหาที่เหลือ อ่านช้าๆ ไม่ต้องรีบ เทคนิคการอ่านในขั้นนี้ที่ต้องเสริมเพิ่มคือ ไม่ควรหยุดอ่านกลางคัน เพราะจะงงตอนกลับมาอ่านอีกครั้ง หากต้องการจะหยุดหรือพักเบรกจริงๆ ควรอ่านให้จบย่อหน้าหรือจบตอนก่อนนะคะ แล้วทำเครื่องหมายไว้ว่าอ่านถึงตรงนี้แล้ว กลับมาอ่านอีกครั้งจะได้เริ่มย่อหน้าใหม่หรือตอนใหม่ได้แบบสวยๆ

 

 
       เทคนิคที่ 3 : อ่านแล้วเชื่อมโยงความคิด
       หนังสือที่ดี คือ หนังสือที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ข้อมูลถูกต้อง แต่หนังสือหลายๆ เล่มน่าปลื้มกว่านั้น เพราะจะมีข้อความหรือประโยคบางอย่างที่อ่านครั้งเดียวแล้วปิ๊งไอเดีย เหมือนเป็นคีย์เวิร์ดสรุปใจความสำคัญเชื่อมประเด็นต่างๆ ไว้ด้วยกัน หน้าที่ของน้องๆ ไม่ได้มองผ่านเลยไปค่ะ แนะนำให้ขีดเส้นใต้หรือไฮไลท์ไว้ และฝึกเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เคยเรียนๆ มาเมื่อเทอมที่แล้ว ปีที่แล้ว หรือจะย้อนไปความรู้ตั้งแต่เด็กๆ เลยก็ได้ หรือจะเชื่อมโยงกับประสบการณ์ความรู้ที่ตัวเองเคยเจอมา ถ้าทำทั้งหมดนี้ได้ รับรองว่าความรู้เก่าจะยิ่งฝังแน่น ความรู้ใหม่ก็จะจำได้ง่ายขึ้นด้วย ดีๆ ทั้งนั้นค่ะ^^
    
         3 เทคนิคง่ายๆ แบบนี้ น้องๆ ลองไปฝึกฝนให้เป็นนิสัยนะคะ บางคนคิดว่า 2 เทคนิคแรกไม่ยากหรอก แต่เทคนิคสุดท้ายจะทำได้จริงหรอ? พี่มิ้นท์กล้ารับประกันเลยว่าทำได้จริงๆ ค่ะ แถมยังเป็นการฝึกวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจินตนาการอีกด้วย อ้อ! แต่มีข้อแม้อยู่อย่างนึงนะคะ ควรมีความรู้เดิมติดตัวอยู่บ้างค่ะ ฮ่าๆ.. เอาล่ะค่ะ นำมาให้พร้อมใช้แบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมนำไปใช้กันล่ะ เริ่มต้นสำหรับการอ่านหนังสือเทอมนี้ก็ยังไม่สายน้า^^
    
ขอขอบคุณรูปภาพประกอบจาก
www.modi.monash.edu.au/obesity-facts-figures/further-reading/,
www.canberratimes.com.au
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

12 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
Meiw 11 มิ.ย. 57 13:25 น. 6
เราชอบอ่านไปด้วย แช้วก้สรุปไปด้วย แล้วก้เอาอันที่เราสรุปมาอ่านๆ แล้ว เขียนๆ ใช้ได้ดีเลยแหละ จำแม่น เข้าใจง่ายด้วย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Realemma Member 16 มิ.ย. 57 18:14 น. 8

อ่านไปด้วยฟังเพลงเบาๆไปด้วย เปิดเบาๆนะคะ แล้วก็ เป็นเพลง เบาๆ ไม่ได้หมายถึงชื่อเพลงเบาๆนะ = = คือเป็นเพลง เบาๆ 

.....

ข้ามความเห็นนี้ไปเถอะ เสียใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Kero_ro Member 28 ก.ค. 57 21:23 น. 11

เยี่ยม เราว่าทำเป็น มายแมพปิ้ง ดีมากๆเลยนะ ลองทำดู คือออกแบบมายแมพปิ้ง ด้วยตัวเอง และนำเนื้อหาสรุปลงไป เราว่าใช้ได้ผลนะ ลองดูจ้าว้าว

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด