นับถอยหลังเหลืออีกแค่ 2 อาทิตย์เท่านั้น น้องๆ ม.3 ตาดำๆ ก็ต้องเข้าสู่สนามสอบโอเน็ทกันแล้ว ตื่นเต้นกันบ้างมั้ยเอ่ย?? ขอย้ำกันอีกรอบว่าการสอบ O-NET ของ ม.3 ก็สำคัญไม่แพ้การสอบของพี่ๆ ม.6 เลย เพราะนอกจากจะวัดความรู้ของนักเรียนเพื่อบ่งบอกคุณภาพของโรงเรียนแล้ว การสอบเข้า ม.4 หลายๆ ที่ก็ใช้คะแนน O-NET ด้วยค่ะ

         ถึงวันนี้น้องๆ คงรู้แนวข้อสอบกันไปเยอะแล้ว พี่มิ้นท์เลยขอแนะนำการเตรียมตัวสอบอีกด้านนึง นั่นก็คือ ข้อควรระวังการสอบ ตรงไหนบ้างที่น้องๆ ต้องระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนปีก่อนๆ ตามมาอ่านกันเลยค่ะ
                    

 

   1. อ่านคำสั่งให้ดี หัวใจสำคัญการสอบ
         ไม่รู้ว่าน้องๆ เคยเจอข้อสอบแบบวาไรตี้ขนาดนี้หรือเปล่านะคะ เพราะเป็นการสอบที่มีรูปแบบการฝนคำตอบถึง 5 รูปแบบ คือ
              1. ปรนัย ( 4 ตัวเลือก 1 คำตอบ, 4 ตัวเลือก 2 คำตอบ)
              2. ปรนัย หลายตัวเลือก 1 คำตอบ
              3. ปรนัย หลายตัวเลือก มากกว่า 1 คำตอบ
              4. เลือกคำตอบจากแต่ละหมวดที่สัมพันธ์กัน
              5. ระบายคำตอบที่เป็นตัวเลข
        นี่คือ 5 รูปแบบข้อสอบที่ได้เจอแน่ๆ ซึ่งแต่ละวิชาก็จะคละหลายๆ รูปแบบมารวมกันด้วย ดังนั้นคำเตือนแรกคือ ไม่ว่าจะทำอะไร อ่านคำสั่งให้ดีเสียก่อน  ว่าให้ฝนกี่คำตอบ และดูวิธีการฝนที่มีอยู่บนหัวกระดาษด้วย จะได้ฝนถูกต้องตามคำสั่งเป๊ะๆ จะได้ไม่คะแนนไปฟรีๆ นะคะ เพราะปีก่อนๆ มีรุ่นพี่พลาดมาเยอะ คำสั่งให้ฝน 2 คำตอบ ก็ไปฝนคำตอบเดียว คะแนนหายไปเลยค่า T^T
           หมายเหตุ ดูรูปแบบและจำนวนข้อสอบ O-NET ม.3 ทุกวิชาที่
    
  
2. ข้อสอบมี 6 ชุด ลอกกันไม่ได้ ลอกปุ๊บตกปั๊บ

         รู้กันหรือยัง? ว่าในหนึ่งห้อง จะมีข้อสอบถึง 6 ชุด คือ ชุด 100, 200, 300, 400, 500, 600 นั่นหมายความว่า เพื่อนๆ ซ้ายขวาที่นั่งข้างน้องๆ จะได้ข้อสอบคนละชุดกับน้องค่ะ เพื่อไม่ให้น้องแอบชะโงกลอกกันนั่นเอง ดังนั้นใครคิดจะมาหาความรู้รอบโต๊ะ ทำไม่ได้นะคะ! ลอกปุ๊บตกทันที
        เมื่อข้อสอบได้ไม่เหมือนกัน สิ่งที่น้องๆ จะต้องทำเพิ่มอีก 1 อย่างคือ การฝนชุดข้อสอบที่หัวกระดาษด้วย  เพื่อให้ทาง สทศ. ตรวจให้คะแนนถูกชุดนั่นเอง

 


นี่คือส่วนที่ให้น้องๆ ฝนรหัสชุดข้อสอบค่ะ หน้าตาเป็นแบบนี้เลย

 
    3. เวลาพักมีน้อย จะทำอะไรให้รีบทำ
         น้องๆ สอบทั้งหมด 2 วัน 8 วิชา สอบวิชาละ 1 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนเวลาพัก ช่วงเช้าจะพักครึ่ง ชม. และตอนเที่ยงพัก 1  ชั่วโมง เวลาพักในคาบเช้าอยากให้น้องๆ ไปเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยค่ะ จะได้ไม่เป็นกังวลในวิชาถัดไป ดีกว่ามานั่งเถียงกันว่าตอบอะไรๆ แล้วมาปวดฉี่ตอนจะเข้าห้องสอบ ต้องวิ่งไปเข้าห้องน้ำอีก เสียเวลา เสียพลังงานด้วย
          ส่วนพักกินข้าวมีเวลาแค่ 1 ชั่วโมง ดูเหมือนจะนาน แต่เราต้องทานข้าวกลางวัน และเตรียมสอบวิชาถัดไปด้วยนะคะ บางโรงเรียน โรงอาหารอาจจะไม่เปิด ต้องออกมาทานข้างนอก ยิ่งเสียเวลาเข้าไปใหญ่ ดังนั้นถ้าเตรียมตัวได้ ให้เตรียมข้าวกล่องจากบ้านไปเลยค่ะ ไม่ต้องไปเสียเวลาต่อคิวกินข้าว

 

 
    4. สามวิชาสุดท้ายไม่มีพัก
          จากข้อสามที่บอกว่าเวลาพักมีน้อย แต่ต้องบอกเพิ่มอีกนิดนึงว่า 3 วิชาสุดท้าย คือ สุขศึกษาและพลศึกษา, ศิลปะ, การงานอาชีพ จะต้องสอบติดต่อกันต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง ตั้งแต่   13.00 - 15.00 น. โดยสอบวิชาละ 40 นาที ไม่มีพัก ตามนี้ค่ะ
              13.00 - 13.40 น.  วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
              13.40 - 14.20 น.  วิชาศิลปะ
              14.20 - 15.00 น.  วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
         เอาเป็นว่า ก่อนเริ่มสอบวิชาสุขศึกษา ก็เคลียร์ธุระส่วนตัว ดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ ให้เสร็จก่อนบ่ายโมง จะได้สอบแบบราบรื่นจ้า

 
    5. ดินสอที่เอาไปใช้ อย่าอ่อนจนเกินไป
        ในกฎระเบียบที่ สทศ. กำหนดไว้ ให้ใช้ดินสอ 2B ในการฝนข้อสอบ แต่ก็มีน้องๆ สงสัยกันตลอดว่า สามารถใช้ดินสอชนิดอื่นฝนได้มั้ย คำตอบคือ ถ้าปริมาณความเข้มสูงกว่า 2B สามารถใช้ได้ค่ะ แต่ถ้าตอบผิดจะลำบากตอนลบนั่นเอง แต่ความเข้มดินสอที่ไม่แนะนำ คือ ดินสอที่จางกว่า 2B เช่น HB เพราะจะต้องใช้แรงฝนค่อนข้างเยอะ เพื่อให้เข้มเท่า 2B ถ้ามือไม่หนักพอ ความเข้มค่อนข้างน้อยค่ะ อาจจะไม่ผ่านเครื่องตรวจค่ะ
        สรุปคือ ความเข้มของดินสอขั้นต่ำ คือ 2B ซึ่ง 2B เป็นความเข้มมาตรฐานกำลังดี ฝนง่าย ลบง่าย ถ้าเข้มมากกว่านี้ เช่น EE ก็ใช้ได้ แต่ลบเหนื่อยนั่นเอง

 

 
   6. เข้าห้องแล้ว อย่าลืมเช็คกระดาษคำตอบให้เป็นนิสัย
           ฝึกให้เป็นนิสัยกันตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่าจะเข้าห้องสอบอะไรก็ตาม เช็คกระดาษคำถาม กระดาษคำตอบให้เรียบร้อย ยิ่งเป็นการสอบ O-NET มีสอบหลายวิชา หลายระดับชั้น อาจมีความผิดพลาดได้ สิ่งที่น้องๆ ต้องดูคือ
             - ข้อสอบถูกวิชาไหม
             - กระดาษคำตอบถูกวิชาไหม (กระดาษคำตอบแต่ละวิชาไม่เหมือนกัน)
             - ข้อสอบและกระดาษคำตอบมีรอยขีดเขียนมาก่อนอยู่แล้วหรือไม่
             - กระดาษคำตอบมีรอยฉีกขาดไหม
             - ข้อสอบ มีหน้าไหนหมึกพิมพ์ไม่ชัดเจน ข้อสลับ ข้อหาย หรือเปล่า
          เช็คคร่าวๆ ประมาณนี้ค่ะ ถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ บอกอาจารย์คุมสอบด่วน เพื่อเปลี่ยนข้อสอบฉบับใหม่แทน อย่ามองว่านี่เรื่องมากเป็นมนุษย์เด็กนะคะ เพราะเป็นสิทธิ์ของเรา ทำผิดวิชา ฝนผิดข้อ คนเดือนร้อนคือตัวเราคนเดียวไม่มีน้องเหมียวมาผสมเลย ฉะนั้นตรวจสอบให้ดีก่อนลงมือทำข้อสอบ เพื่อความปลอดภัยของตัวเองน้า


 
    7. คะแนนอยู่กับเราไปตลอดชีวิต
          นี่ไม่ใช่คำขู่ค่ะ เป็นเรื่องจริงที่คนสอบ O-NET มาแล้วจะรู้ดีว่า O-NET แต่ละระดับชั้น มีสิทธิ์สอบได้แค่ครั้งเดียวในชีวิต พอได้คะแนนมา คะแนนนั้นก็จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิตเหมือนกันค่ะ ดังนั้นก่อนจะมั่วก็พยายามทำด้วยตัวเองให้เต็มที่ก่อนละกันนะ ถ้ามั่วตั้งแต่เริ่มแรก ได้ 20 คะแนนเต็มร้อยทุกวิชา จะกล้าเอาไปเล่าให้ลูกหลานฟังได้ไงล่ะ ฮ่าๆ
 

          อ่านครบ 7 ข้อก็จะเห็นว่ามีหลายข้อที่น้องๆ ไม่ทันนึกว่าจะอันตราย แต่พี่มิ้นท์อยากเตือนเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเมื่ออยู่ในห้องสอบจริง สถานการณ์จริง ตื่นเต้นหัวหดกันแน่นอน ฉะนั้นคิดถึง 7 ข้อนี้ไว้ การสอบราบรื่นขึ้น 70% อีก 30% ที่เหลือ น้องๆ ม.3 ต้องเตรียมตัวจากบ้านกันมาเองนะจ๊ะ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ อุปกรณ์การสอบ และความมั่นใจ!! ยังไงพี่มิ้นท์ก็ขอให้โชคดีทุกคนนะคะ :D
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

25 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
วา เคเค Member 20 ม.ค. 58 21:38 น. 5

อีก 2 อาทิตย์ก็สอบละวันนี้ที่โรงเรียนก็มีแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้เหมือนกัน เล่นคอมอยู่โชคดีได้เจอกระทู้นี้ ขอบคุณมากจริงๆค่ะ ชูสองนิ้ว

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
iChukaihun Member 25 ม.ค. 58 19:15 น. 14

เครียดกับคณิตสุดๆแล้ว วิทย์ด้วย เพราะตอนสอบพรีโอเน็ตเราทำไม่ทันอ่ะT_T คะแนนคณิตก็เน่ามาก 57.5 เต้มร้อย...วอทเดอะ.ฟ...เสียใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด