ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์นานทีปีหนจะมีสักครั้ง แต่สำหรับดาวหางเลิฟจอย (ชื่อน่ารักมุ้งมิ้งฟรุ้งฟริ้งมาก) ยิ่งกว่าคำว่านาน เพราะถ้าพลาดการชมคราวนี้ เจอกันอีกที 8 พันปีข้างหน้าเลยทีเดียว ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงขอชวนน้องๆ มาดูดาวหางชื่อน่ารักนี้กันตลอดเดือนมกราคม 2558

            ถือว่ายังพอมีเวลาสำหรับการดู "ดาวหางเลิฟจอย" ค่ะ เพราะเดือนมกราคม ถือเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการสังเกตดาวหางเลิฟจอย (เหลือเวลาอีก 5 วัน) ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนมากๆ เพราะอยู่ใกล้โลกและมีความสว่างมาก ความจริงแล้ว ดาวหางดวงนี้ได้เคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดไปตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. ที่ระยะห่าง 70 ล้านกิโลเมตร และจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 30 ม.ค.นี้ค่ะ อย่างไรก็ตามน้องๆ ก็ยังสามารถสังเกตเห็นดางหางเลิฟจอยได้จนถึงสิ้นเดือน ม.ค. นี้
 

           ซึ่ง นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ ได้แนะนำวิธีการสังเกตดาวหางเลิฟจอยว่า สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในพื้นที่ที่ไม่มีแสงรบกวน และฟ้าเปิด หรือถ้าใช้กล้องสองตากำลังขยายตั้งแต่ 7 เท่า หรือ กล้องโทรทรรศน์ก็จะยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นค่ะ

           ตลอดทั้งเดือนมกราคม จะเริ่มสังเกตดาวหางได้ตั้งแต่ 19.00 น. ทางทิศตะวันออก ในแต่ละวันดาวหางจะเปลี่ยนแปลงระยะทางเพียงเล็กน้อย โดยจะเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาววัว กลุ่มดาวแกะ และกลุ่มดาวสามเหลี่ยม และหลังจากดาวหางโคจรผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 30 ม.ค. ความสว่างของดาวหางจะจางลงเล็กน้อยค่ะ มีผลทำให้สังเกตดางหางได้ยากขึ้น ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ดาวหางเลิฟจอย จะอยู่ระหว่างกาแล็กซีแอนโดรเมดากับกลุ่มดาวเพอร์เซอุส และจะค่อยๆ หายไปในปลายเดือนพฤษภาคม
 

 

           ความน่าสนใจของดาวหางดวงนี้ คือ น้องๆ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมีระยะเวลาให้ดูกันเป็นเดือนเลยทีเดียว พลาดวันนี้ก็ยังดูพรุ่งนี้ได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ จะเห็นได้ชัดแค่เดือนมกราคมนี้เท่านั้นแล้วจะค่อยๆ จางลง หากพลาดครั้งนี้ ต้องรอไปถึง 8,000 ปี จึงจะโคจรกลับมาใกล้โลกอีกครั้ง ซึ่ง 8,000 ปีข้างหน้า เราอยู่ไหนกันก็ไม่รู้ ฮ่าๆ
 
           ก่อนที่เตรียมตัวออกไปดูดาวหาง มีเกร็ดความรู้เรื่องดาวหางมาฝากน้องๆ อีกสักเล็กน้อย

          ดาวหางนั้นเป็นวัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีลักษณะเป็นก้อนน้ำแข็ง มีน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย ฝุ่นและหินเป็นองค์ประกอบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร ถ้าดาวหางอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์จะเป็นเพียงก้อนน้ำแข็งที่ไม่มีหาง แต่พอเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ น้ำแข็งเหล่านั้นจะระเหิดเป็นแก๊ส ด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะมีแก๊สปะทุลอยออกมาและห่อหุ้มนิวเคลียส เรียกว่า "โคมา" ซึ่งลมสุริยะจากดวงอาทิตย์จะปะทะโคมาให้ปลิวไปด้านหลังกลายเป็น "หาง" ยาวนับล้านกิโลเมตร
 

 

          สำหรับหางของดาวหาง จะมีอยู่ 2 ชนิดค่ะ คือ หางแก๊สและหางฝุ่น
           "หางแก๊ส" จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงชี้ไปทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ มีสีฟ้าเกิดจากแก๊สของดาวหางที่ได้รับพลังงานดวงอาทิตย์แล้วคายประจุออกมา
           "หางฝุ่น" เกิดจากมวลของดาวหางที่พ่นออกมาจากนิวเคลียส มวลเหล่านี้จะเคลื่อนที่โค้งไปตามทิศทางที่ดาวหางโคจร ถ้าโคจรรอบดวงอาทิตย์ก็จะสูญเสียมวลไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหมดดวงไปเอง
    

                                    ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
                                สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) www.narit.or.th

 
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

chompoo_thanida Member 27 ม.ค. 58 19:05 น. 4

อยากเห็น ดาวหางLovejoy ว้ายอ่ะ

อยากเห็น ..... ไม่อยากรออีก 8,000 ปี ชิถ้ารออีกนี่เค้าคงไป

เกิดใหม่เป็น 1,000 รอบแล้วมั้งเหอะเหอะ

1
กำลังโหลด
zeriesxyeol Member 28 ม.ค. 58 12:11 น. 15

อยากเห็นดาวหางบ้างจังเลยค่ะ กว่าจะได้เห็นก็ตั้ง 8000 ปี 5555555. เกิดกันมาใหม่กี่ชาติแล้วเนี่ย ดาวหางจะสามารถเห็นได้ยังไงคะ? เห็นด้วยตาเปล่าได้ใช่ไหม แล้วเกิดขึ้นได้ยังไงคะ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ กระทู้ดีมีสาระมากๆเลย ขอบคุณสำหรับสาระดีๆนะคะ 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

37 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
chompoo_thanida Member 27 ม.ค. 58 19:05 น. 4

อยากเห็น ดาวหางLovejoy ว้ายอ่ะ

อยากเห็น ..... ไม่อยากรออีก 8,000 ปี ชิถ้ารออีกนี่เค้าคงไป

เกิดใหม่เป็น 1,000 รอบแล้วมั้งเหอะเหอะ

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
TawNaruk Member 27 ม.ค. 58 19:43 น. 6

ไม่ยอมพลาดแน่นอน ขอให้ฟ้าเปิดเถอะค่ะ

ถ้าต้องรออีก 8 พันปี 

ขี่จรวดในยุคนั้นไปดูล่วงหน้าเลยดีกว่า ให้มันมาเยือนโลกอีกรอบ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
zeriesxyeol Member 28 ม.ค. 58 12:11 น. 15

อยากเห็นดาวหางบ้างจังเลยค่ะ กว่าจะได้เห็นก็ตั้ง 8000 ปี 5555555. เกิดกันมาใหม่กี่ชาติแล้วเนี่ย ดาวหางจะสามารถเห็นได้ยังไงคะ? เห็นด้วยตาเปล่าได้ใช่ไหม แล้วเกิดขึ้นได้ยังไงคะ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ กระทู้ดีมีสาระมากๆเลย ขอบคุณสำหรับสาระดีๆนะคะ 

0
กำลังโหลด
MyMusic_Hana1 Member 29 ม.ค. 58 09:19 น. 16

เขาบอกว่าอีก 8,000 ปี ดาวหางเลิฟจอย จึงจะโคจรกลับมาใกล้โลกอีกครั้ง อยากดูมาก ขอให้ฟ้าเปิดด้วย ที่ จ.ร้อยเอ็ด ดีนะ ทางบ้านมีลานกว้าง ทำให้เห็นชัด แต่อยู่ที่ว่าฟ้าจะเปิดมั้ยนี่สิ -/\-

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด