สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com เมื่อพูดถึงวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ตีคู่มาเสมอคือ การวิจัยหรือการทดลอง เพื่อพิสูจน์สิ่งต่างๆ เพราะวิทยาศาสตร์สอนให้เราอย่าเชื่อจนกว่าจะมีหลักฐานมายืนยันว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งขั้นตอนกว่าจะได้ผลลัพธ์แต่ละเรื่องให้เราได้รู้ เราแทบจะไม่มีทางรู้เลยว่า เขาค้นพบกันยังไง มีการทดลองกันแบบไหน บางเรื่องใช้เวลาไม่มาก แต่บางเรื่องอาจต้องใช้เวลาเป็นปีๆ สิบปี ยี่สิบปีเลยทีเดียว
         น้องๆ เรียนวิทยาศาสตร์มาก็คงเคยทำการทดลองกันไปแล้ว แต่เชื่อเถอะว่า ไม่มีการทดลองในชั้นเรียนไหนพิศดารเท่านักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการหาคำตอบด้วยตัวเอง ไปดูกันว่าตัวอย่างที่นักวิทยาศาสตร์ทดลอง เขาทุ่มเทขนาดไหน บอกเลยว่าเห็นแล้ว น้องๆ คงส่ายหน้า ขอไม่ทำแบบนี้แน่นอน
 

 
    
   1. ทดลองโดยการกิน
           ขึ้นชื่อว่าเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์แล้ว คงไม่ได้มานั่งกินอะไรอร่อยๆ แน่นอนค่ะ นักวิทยาศาสตร์ต้องทดสอบกินอะไรบางอย่างที่อาจไม่ถูกสุขลักษณะเพื่อให้ได้คำตอบทางวิทยาศาสตร์ เช่น
                - ลาซซาโร สปาลลันซานี ชาวอิตาลี ได้เกิดความสงสัยเรื่องการย่อยอาหาร จึงทุ่มสุดตัว โดยการกลืนกระดูกและเปลือกหอยเข้าไป เพื่อดูว่ากระเพาะย่อยได้หรือไม่
                - นายแพทย์แบร์รี่ เจ. มาร์แชลล์ ต้องการหาสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ก็เลยพิสูจน์จากแหล่งที่มาของมัน โดยการดื่มน้ำผสมเชื้อโรคที่ออกมาจากกระเพาะของคนไข้รายนั้น นายแพทย์รายนี้ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์และสรีรวิทยา เมื่อปี ค.ศ.2005 ด้วยค่ะ
                - นายแพทย์สตับบินส์ เฟิร์ธ นายแพทย์ฝึกหัดชาวอเมริกัน ต้องการพิสูจน์โรคไข้เหลือง ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ระบาดครั้งใหญ่ในทวีปแอฟริกาและอเมริกา ด้วยการกินเลือดและปัสสาวะ รวมถึงของเสียต่างๆ ที่คนไข้อาเจียนออกมา อึ๋ยย~~~
    
     2. ทดลองโดยเป็นเหยื่อซะเอง    
           เรียกว่าเป็นการเสียสละตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ แม้ว่าการกินอาจจะสยองไปหน่อย แต่โอกาสรอดชีวิตก็มีมากกว่า ไม่เหมือนการทดลองที่ใช้ตัวเองเป็นเครื่องพิสูจน์ หรือทดลองผลงาน ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น
               - โรเบิร์ต โลเปซ ได้ทดลองเอาเห็บแมวใส่เข้าไปในหูตัวเอง เพราะต้องการรู้ว่าเห็บจะยังมีชีวิตอยู่ได้มั้ย ถ้าต้องเข้ามาอยู่ในร่างกายมนุษย์
               - พอล โรโซลี นักธรรมชาติวิทยาที่มีแนวคิดสุดระห่ำ อยากทดลองการถูกงูยักษ์เขมือบทั้งเป็น เพิ่งเป็นข่าวเมื่อไม่นานมานี้ มีการลงทุนทำชุดพิเศษขึ้นมาที่ให้คำมั่นว่าจะไม่เป็นอันตรายต่ออนาคอนด้าและตัวเองก็ปลอดภัยด้วย แต่ถึงเวลาจริงงูกำลังจะเขมือบ นายพอล โรโซลี ก็ตะโกนบอกทีมงานว่าโดนรัดเหมือนแขนจะหัก สุดท้ายทีมงานที่เหลือก็ต้องมาจับแยกงูกับคนออกจากกัน สรุปการทดลองนี้ไม่มีใครเสียชีวิต แต่คนดูทั่วโลกก็ผิดหวังเหมือนกัน
              - มารี กูว์รี และปิแยร์ กูว์รี่ สองสามีภรรยานักเคมีที่ค้นพบรังสีเรเดียมที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง เริ่มต้นมาจากการเริ่มค้นคว้าวิธีการแยกเรเดียมอย่างจริงจัง แต่ระหว่างที่ทำการทดลอง บังเอิญว่ารังสีไปโดนผิวหนังของปิแยร์เข้า ทำให้ปวดแสบปวดร้อน และยังมีรอยแดง นาทีนั้นปิแยร์ก็ตกใจ แต่ความอยากรู้ที่มีมากกว่า จึงค้นคว้าเกี่ยวกับเรเดียมที่มีผลกระทบต่อผิวหนัง ค้นคว้าจนได้ข้อสรุปว่าเรเดียมสามารถรักษาโรคผิวหนังและมะเร็งได้นั่นเอง
             - ฟรองซ์ แรเชลต์ ชาวออสเตรีย ได้ประดิษฐ์ชุดที่เหมือนร่มชูชีพ เขาบอกว่าชุดนี้ หากใส่แล้วกระโดดลงมาจากที่สูงจะไม่ตาย เพราะมันจะกางเหมือนร่มชูชีพนั่นเอง แต่ปรากฏว่าโดนผู้คนดูถูก จึงต้องออกมาทดลองกระโดดจากหอไอเฟลต่อหน้าประชาชนให้ดู แต่สุดท้ายเขาก็เสียชีวิตไปพร้อมกับชุดนั้นค่ะ

     3. ทดลองแต่ของเน่า
           ของเน่า ของเสีย เป็นใครใครก็ไม่อยากจะยุ่ง เพราะทั้งสกปรกและเต็มไปด้วยเชื้อโรค แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว ถ้าทำแล้วได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ น่าจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากทีเดียว เหมือนที่นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ได้ทำการทดลอง
                 - หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นผู้ค้นพบสาเหตุของการบูดเน่า เขาใช้เวลาเป็นปี กับการอยู่กับของเน่าๆ เพื่อวิจัยพวกเชื้อรา จนพบสาเหตุของการเน่าเสียว่าเป็นเพราะจุลินทรีย์ในอากาศเข้าไปในอาหารและเพิ่มจำนวนขึ้นนั่นเอง
                 - ปาร์ค วันซอล เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่วิจัยเรื่องอุจจาระ ในทุกๆ วันของเขาจะต้องดมท่อน้ำทิ้ง ของเสีย และอุจจาระ จนได้สมญานามว่าเป็นด็อคเตอร์อุจจาระเลยทีเดียว ใครจะหาว่าบ้าก็ตาม แต่ทั่วโลกชื่นชมเขา และงานวิจัยเรื่องการบำบัดและกำจัดของเสียและสิ่งปฏิกูลของเขาก็ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอีกด้วย
    
           เป็นยังไงบ้างคะน้องๆ เป็นนักวิทยาศาสตร์ ต้องทดลอง อันนี้พอเข้าใจเนอะ แต่ถ้าต้องทดลองถึงขนาดมาดม มากิน หรือทำอะไรที่สุ่มเสี่ยงต่อชีวิตแบบนี้ ก็ต้องทำใจกันนานหน่อย หรือไม่ก็ทำใจไม่ได้เลยก็ได้ น้องๆ คงเห็นแล้วว่านักวิทยาศาสตร์ที่ดีในด้านต่างๆ เขาทุ่มเทกันมากจริงๆ ถึงขนาดที่ว่าให้ทำอะไรก็ยอม ถ้าทำแล้วมีประโยชน์ต่อโลกใบนี้ แล้วน้องๆ ล่ะคะ อ่านแล้วได้แรงบันดาลใจ อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์กันบ้างมั้ย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือวิทยาศาสตร์ฉลาดรู้ เรื่องวิทยาศาสตร์สุดยี้, อมรินทร์คอมมิกส์, อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง,
http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Madam%20Marie%20Curie.html,
 
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

24 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
RD Nop Member 2 ก.ค. 58 11:27 น. 5

จะว่าไปที่เค้าเขียนว่าหมอสมัยก่อนไม่รู้คนไข้เป็นโรคอะไรถึงกับทดลองเป็นโรคนั้นเองเพื่อรักษาหวาาคงเป็นความจริงสินะ!!!!

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด