9 ปีที่รอคอย! นาซ่าส่งยานอวกาศไปถึง "พลูโต" แล้ว (มาดูภาพดาวพลูโตใกล้ๆ กัน)

         สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com เมื่อวานนี้ 14 ก.ค.58 เป็นวันที่คนทั่วทั้งโลกรอคอย และนับเป็นวันประวัติศาสตร์ด้านดาราศาสตร์โลกเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นวันที่ยานนิวฮอไรซันส์ (New Horizons) ของนาซ่าบินเข้าใกล้พลูโตมากที่สุดที่ระยะ 12,500 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าใกล้แล้วถ้าเทียบกับระยะทางจากโลกไปดาวพลูโต หลังจากที่บินเพื่อทำภารกิจสำรวจดาวพลูโตและบริวาร ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่พวกเราจะได้เห็นภาพดาวพลูโตของจริงสักที
            
image source :
www.nasa.gov/press/2015/april/nasa-s-new-horizons-spacecraft-nears-historic-july-14-encounter-with-pluto

 

        แต่ก่อนอื่น ต้องบอกก่อนว่า การส่งยานสำรวจไปครั้งนี้ คงไม่เหมือนการสำรวจดาวอังคารหรือดาวเคราะห์อื่นๆ ที่นำยานลงจอด แต่ฮอไรซันส์จะบินไปเรื่อยๆ แต่จะมีช่วงเวลาที่บินเข้าใกล้พลูโตและดาวบริวารอื่นๆ ที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลใหม่ๆ ซึ่งเป็นโปรเจคที่ทางนาซ่าตั้งตารอคอยมากทีเดียว วันนี้พี่มิ้นท์ก็เลยมีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับความสำเร็จของการสำรวจ "พลูโต" ดาวเคราะห์แคระดวงนี้มาฝากกัน

  ทำไมคนถึงสนใจดาวพลูโตกันนัก
         น้องๆ ที่มีอายุเลย 10 ปีขึ้นไป ก็คงจะเคยได้ยินว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล แต่ด้วยความที่ดาวพลูโตมีลักษณะไม่เข้าเกณฑ์ "ดาวเคราะห์" หลายอย่าง จึงโดนถอดสถานะ "ดาวเคราะห์" ออกจากระบบสุริยะ เมื่อปี พ.ศ.2549 และมอบสถานะใหม่ให้เป็น "ดาวเคราะห์แคระ"
         เหตุผลหนึ่งที่ดาวพลูโตต้องหลุดจากสถานะดาวเคราะห์ เพราะดาวเคราะห์จะต้องมีวงโคจรชัดเจนและสอดคล้องกับดาวข้างเคียง แต่พลูโตมีวงโคจรเป็นวงรีตัดกับดาวเนปจูน และมีโคจรแบบเอียงๆ ซึ่งเป็นระนาบที่แตกต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น และยังมีดวงจันทร์บริวาร(นอกเหนือจากแครอน) อีก 4 ดวง  คือ ไฮดรา (Hydra), นิกซ์ (Nix), เคอร์เบอรอส (Kerberos) และสติกซ์ (Styx) ที่โคจรใกล้ชิดกันมาก จึงเกิดคำถามสงสัยว่าทำไมระบบของดาวพลูโตถึงรักษาสมดุลได้นานขนาดนี้ นอกจากนี้ที่พูดถึงกันมากอีกเรื่อง คือ ดวงจันทร์แครอน ที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโต จนขนานนามกันว่าเป็นดาวเคราะห์คู่ แต่ก็ยังพิสูจน์ไม่ได้..
         ความน่าสนใจของดาวพลูโต ยังเป็นเรื่องของลักษณะทางกายภาพที่เรายังไม่เคยได้เห็นดาวพลูโตที่ชัดเจน เพราะอยู่ไกลมาก ดังนั้นการส่งยานอวกาศนิวฮอไรซันส์มาในครั้งนี้ก็นับเป็นความสำเร็จอีกขั้นของวงการดาราศาสตร์โลก ที่จะทำให้เห็นภาพพลูโตชัดเจนขึ้น และได้องค์ความรู้ใหม่ๆ ในระบบสุริยะมากขึ้นด้วย

   ยานอวกาศนิวฮอไรซันส์ ใช้เวลาสำรวจนับ 10 ปี
 

 
ภาพยานอวกาศ New Horizons ถูกปล่อยขึ้น ณ วันที่ 19 ม.ค. ปี 2549 (2006)
เวลา 14.00 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก
image source :
www.nasa.gov/image-feature/january-19-2006-new-horizons-launches-for-pluto

           หลายคนเพิ่งได้ยินข่าวการสำรวจคงคาดไม่ถึงว่า กว่าที่ยานอวกาศนิวฮอไรซันส์จะเข้าใกล้ดาวพลูโตได้ถึงจุดนี้ ต้องใช้เวลากว่า 9 ปี เพราะระยะทางนั้นไกลมาก คือ 5 พันล้านกิโลเมตร โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.2549 (อีกไม่กี่เดือนก็จะครบ 10 ปีเต็ม) จากนั้นก็ค่อยๆ ผ่านดาวเคราะห์ไปทีละดวงๆ ไม่มีหยุดจอดที่ใด จนกระทั่งต้นปี 2558 ยานเริ่มเข้าใกล้ดาวพลูโตมากขึ้นเรื่อยๆ และเข้าใกล้ที่สุดในวันที่ 14 ก.ค. 58 ที่ผ่านมา ด้วยความเร็วราวๆ 49,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถือว่าเป็นความเร็วที่เร็วมาก แต่นิวฮอไรซันส์ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง สามารถส่งถ่ายภาพดาวพลูโตกลับมายังโลกได้อย่างสวยงาม ด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่ติดไปกับยานอวกาศ 7 อย่าง เช่น กล้องถ่ายภาพสี ตัวส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ กล้องโทรทรรศน์ความละเอียดสูง เครื่องตรวจวัดฝุ่นอวกาศ ฯลฯ

   สำรวจครั้งนี้ได้อะไรบ้าง
          นับว่าเป็นการสำรวจที่คุ้มค่าสมการรอคอยของจริงๆ อย่างแรกคือ เราได้ภาพถ่ายดาวพลูโตที่เป็นของจริง ทำให้เห็นลักษณะทางกายภาพบนดาวเคราะห์แคระดวงนี้ ภาพบางภาพก็สร้างความประทับใจให้กับพวกเรามากๆ เลย
 

 
ภาพถ่ายดาวพลูโตที่ถ่ายจากยานฮอไรซันส์ เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 58 ที่ระยะห่าง 2,500,000 กิโลเมตร
เริ่มเห็นเค้ารูปหัวใจทางด้านซ้าย
image source :
www.nasa.gov/image-feature/recent-measurements-of-pluto-and-charon-obtained-by-new-horizons

 

 
พื้นผิวดาวพลูโตที่ถ่ายภาพออกมาได้ สามารถมองได้เป็นรูปหัวใจ ถูกพูดถึงมากเลยทีเดียว
ถ่ายขึ้นเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 58 ที่ระยะห่าง 768,000 กิโลเมตร
image source :
www.nasa.gov/image-feature/pluto-is-dominated-by-the-feature-informally-named-the-heart

 
 

          และอย่างที่สอง ยานอวกาศนิวฮอไรซันส์ ยังได้ถ่ายภาพแครอน ดวงจันทร์บริวารของดาวพลูโตมาด้วย ทำให้ได้ข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มเติม ทำให้รู้ว่า ถึงจะถูกขนานนามว่าเป็นดาวเคราะห์คู่แต่ก็มีหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น พลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระสีออกแดงๆ ส่วนดวงจันทร์แครอนมีสีออกเทาๆ  ดาวพลูโตมีพื้นผิวน้ำแข็งที่เกิดจากไนโตรเจน มีเทน และคาร์บอนมอนอกไซด์เย็นจัดจนแข็งกลายเป็นของแข็ง ส่วนพื้นผิวของดวงจันทร์ จะเป็นน้ำแข็งที่เกิดจากน้ำและแอมโมเนียเท่านั้น หากไม่มีการสำรวจในโครงการนี้ก็ยากที่จะเก็บภาพดวงจันทร์แครอนได้เพราะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,200 กิโลเมตรเท่านั้นและพื้นผิวมีความสว่างน้อย
 

 
ภาพถ่ายแครอนและพลูโต เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 58 ทำให้เห็นสีที่แตกต่างกันของดาวสองดวงนี้
image source :
www.nasa.gov/image-feature/a-portrait-from-the-final-approach-to-pluto-and-charon

          เรียกว่าเป็นอีกภารกิจที่จบลงอย่างสวยงาม แต่การสำรวจจะยังไม่หยุดแต่เพียงเท่านี้ค่ะ เพราะหลังจากนี้ยานนิวฮอไรซันส์จะเดินทางไปสำรวจในแถบไคเปอร์ต่อในช่วงปี 2559 - 2563 ยังไงก็รอติดตามกันนะคะ
   
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพประกอบจาก
www.nasa.gov,
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/2171-new-horizons-pluto-charon
 
พี่มิ้นท์
พี่มิ้นท์ - Columnist พี่สาวใจเย็น ผู้เกิดมาในแอดมิชชั่นยุคแรก แต่เข้าใจ TCAS มากกว่า

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

เด็กน้อยในวันฤดูใบไม้ผลิ Member 16 ก.ค. 58 17:11 น. 11

คือพอนึก ๆ แล้ว ขนาดนั่งเครื่องแค่ครึ่งวันถึงหนึ่งวันเรายังเบื่อ ขับรถนาน ๆ ยังเบื่อ แล้วนักบินองกาศเหล่านั้นเขาจะมีอารมณ?เบื่อไหม ตอนป่วยทำอย่างไร อะไรแบบนี้ คือมันแบบวิวัฒนการสมัยนั้นที่พกไปด้วย มันคือต้องล้ำกว่าตอนนี้อ่ะ แล้วที่สงสัยต้องกานคำตอบ ไปแถบไคเปอร์ มันคือนอกดาวพล฿โตไปอีกป่ะ ? และใช้พลังงานอพไรในการขับเคลื่อน ไม่มีหมดหรอ คือ จะไม่กลับมาแล้ว กราบนักบินอวกาศมนภารกิจนี้มาก การไม่ได้เจอครอบครัวเป็น 10 ปี และห่างสุดขอบฟ้าจักวาลนี่มันแบบเขาต้องแกร่งเอามาก ๆ แน่ ฮื่อ แต่ปริ่มจริง เกือบลืมไปละว่ามียานอวกาศไปดาวพลูตู เพราะช่วงหลัง ๆ ดาวอังคารมาแรงมากจริง ๆ

6
Kewin 16 ก.ค. 58 17:25 น. 11-1
ในระบบสุญญากาศ ยานอวกาศสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งแต่ออกจากโลกแล้ว เมื่อเร่งเครื่องยนต์จนสุด ความเร็วจะคงที่ตลอดไป ส่วนเรื่องคนขับ ไม่มีหรอก สมัยนี้ ใครเค้าส่งคนไปบังคับอีก จากโลกก้บังคับได้ล่ะ แน่นอน
0
กำลังโหลด
มัณทนา[กำลังตามหาดอพเพลแกงเกอร์] Member 15 ก.ค. 58 17:51 น. 2

เย้ ในที่สุด ดาวพลูโต อดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะก็กลับมาอีกครั้งหนึ่งว้าว

0
กำลังโหลด
ฮิจินะ Member 16 ก.ค. 58 18:40 น. 13

คือ พึ่งรู้ว่า ดาวพลูโตยังไม่ถูกสำรวจที แถมมันใช้เวลา 9 ปีอีกกว่าจะมาถึงดาวพลูโต ตอนนั้นเรายัง 6 ขวบ อยู่เล๊ยย  

ขอบคุณนาซ่านะคะ ที่ทำให้เราเห็นภาพสวยๆ ของดาวพลูโตสีแดงๆปิ้งปิ้ง

5
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

28 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
มัณทนา[กำลังตามหาดอพเพลแกงเกอร์] Member 15 ก.ค. 58 17:51 น. 2

เย้ ในที่สุด ดาวพลูโต อดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะก็กลับมาอีกครั้งหนึ่งว้าว

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
fujiwara Member 16 ก.ค. 58 16:24 น. 9

ปิ้งปิ้งปิ้งปิ้งปิ้งปิ้ง

เป็นดาวที่สวยดีเหมือนกันนะคะ ชอบบ>< แถมยังมีรูปหัวใจอีก นั้ลร้ากกกุ๋งกิ๋งเลยทีเดียว >w< อดีตดาวเคราะห์ดวงที่9ของระบบสุริยจักรวาล งดงามยิ่งงงง ว้าย

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เด็กน้อยในวันฤดูใบไม้ผลิ Member 16 ก.ค. 58 17:11 น. 11

คือพอนึก ๆ แล้ว ขนาดนั่งเครื่องแค่ครึ่งวันถึงหนึ่งวันเรายังเบื่อ ขับรถนาน ๆ ยังเบื่อ แล้วนักบินองกาศเหล่านั้นเขาจะมีอารมณ?เบื่อไหม ตอนป่วยทำอย่างไร อะไรแบบนี้ คือมันแบบวิวัฒนการสมัยนั้นที่พกไปด้วย มันคือต้องล้ำกว่าตอนนี้อ่ะ แล้วที่สงสัยต้องกานคำตอบ ไปแถบไคเปอร์ มันคือนอกดาวพล฿โตไปอีกป่ะ ? และใช้พลังงานอพไรในการขับเคลื่อน ไม่มีหมดหรอ คือ จะไม่กลับมาแล้ว กราบนักบินอวกาศมนภารกิจนี้มาก การไม่ได้เจอครอบครัวเป็น 10 ปี และห่างสุดขอบฟ้าจักวาลนี่มันแบบเขาต้องแกร่งเอามาก ๆ แน่ ฮื่อ แต่ปริ่มจริง เกือบลืมไปละว่ามียานอวกาศไปดาวพลูตู เพราะช่วงหลัง ๆ ดาวอังคารมาแรงมากจริง ๆ

6
Kewin 16 ก.ค. 58 17:25 น. 11-1
ในระบบสุญญากาศ ยานอวกาศสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งแต่ออกจากโลกแล้ว เมื่อเร่งเครื่องยนต์จนสุด ความเร็วจะคงที่ตลอดไป ส่วนเรื่องคนขับ ไม่มีหรอก สมัยนี้ ใครเค้าส่งคนไปบังคับอีก จากโลกก้บังคับได้ล่ะ แน่นอน
0
กำลังโหลด
Busbus 16 ก.ค. 58 17:26 น. 12
รีบน รู้สึกจะเข้าใจผิด บนยาน น่ะเป็นยานไร้คนขับนะ เยี่ยม เห็นจะมีแต่เถ้ากระดูของผู้ที่ค้นพบดาวดวงนี้แหละ เขาบอกว่าถ้าเทคโนโลยีถึง วันไหน ช่วยพาเขาไปด้วย เสียใจ
0
กำลังโหลด
ฮิจินะ Member 16 ก.ค. 58 18:40 น. 13

คือ พึ่งรู้ว่า ดาวพลูโตยังไม่ถูกสำรวจที แถมมันใช้เวลา 9 ปีอีกกว่าจะมาถึงดาวพลูโต ตอนนั้นเรายัง 6 ขวบ อยู่เล๊ยย  

ขอบคุณนาซ่านะคะ ที่ทำให้เราเห็นภาพสวยๆ ของดาวพลูโตสีแดงๆปิ้งปิ้ง

5
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Gonzalanz Member 16 ก.ค. 58 19:09 น. 17

อยากรู้จังว่ายานฮอไรซอนจะไปได้ไกลขนาดไหน ถ้าได้พบดาวดวงใหม่ๆที่อยู่ไกลโพ้นทะเลก็คงจะดีนะครับ แน่นอน

หวังว่าคงไม่พังไปก่อนล่ะ 55555 เย้

0
กำลังโหลด
ลูกคริสลู่ ฮุนฮาน Member 16 ก.ค. 58 19:16 น. 18

คิดวาพังซะแล้ว เห็นโดนดีดออกจากกลุ่มซะขนาดนั้น ในหมู่ดาวนี่ชอบพลูโตที่สุดแล้ว น้องเล็กจะกลับมาแล้วววววววว ซึ้งอ่าาาเย้ยิ้มเย้ปิ้งปิ้ง

0
กำลังโหลด
baiyokk Member 16 ก.ค. 58 20:27 น. 19

เราสงสัยอ่ะว่าถ้ายานลำนั้นเกิดหลุดออกไปนอกขอบเขตสัญญาณ หมายถึงไปไกลกว่าที่เค้ากำหนดแบบควบคุมไม่ได้อ่ะ ยานลำนั้นจะเกิดผลอะไร แล้วนาซ่าจะทำยังไงต่อไป

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด