Facebook Depression เครื่องมือ "บาด" อารมณ์ยุคออนไลน์ แค่เห็นสเตตัสก็เจ็บจี๊ด!

            ช่วงนี้มีกระแสเรื่องโรคซึมเศร้า การเลี้ยงลูกไม่ให้ลำบาก และการใช้งานโชเชียลให้เหมาะสมเต็มเลยค่ะ ผู้เขียนเลยนึกได้ว่าเมื่อปีก่อนก็มีกระแสภาวะซึมกับโชเชียลมีเดียเหมือนกัน เลยนำมาเล่ากันอีกครั้งกับ facebook depression ค่ะ

             
            facebook depression เกิดจากการสะสมความรู้สึกด้านลบที่มันบาดอารมณ์ เมื่อตัวเราเจอรูปข้อความ ข้อมูลใน facebook ค่ะ

          เจ้าความรู้สึกบาดอารมณ์ที่เกิดจาก facebook ที่พูดถึงนี้ก็เช่น พอการอ่านสเตตัสคนอื่นแล้วรู้สึกว่าตัวเองไม่ประสบความสำเร็จเหมือนเขาเลย อ่านความคิดเห็นคนอื่นแล้วเกิดโมโหแบบ "ทำไมคิดแบบนี้ได้(วะ)" แล้วก็อยากจะ reply ว่ากล่าวกลับแรงๆ เกิดอาการสงสัยว่าทำไมคนนั้นถึงกล้าโพสต์ภาพที่แต่งเติมจนแทบไม่เหมือนตัวเองเพื่อเรียกยอดไลก์ ฯลฯ เหล่านี้คือเป็นความรู้สึกด้านลบที่นับวันค่อยๆ ก่อตัวคืบคลานเข้ามาในจิตใจของเราค่ะ แล้วเจ้าความรู้สึกเหล่านี้มันจะทำอะไรกับตัวเราล่ะ

 
บาดที่ 1 รู้สึกอิจฉา
 
           จริงๆ ความรู้สึกบาดอารมณ์เหล่านี้ไม่เฉพาะแต่ facebook เท่านั้น โชเชียลอื่นๆ ก็เช่นกัน เพียงแต่เวทีบนเฟชบุคมันเปิดกว้าง เติมแต่งได้มากกว่า ยิ่งมีคนสนใจก็ยิ่งมีคนเห็นมากด้วยค่ะ แต่ในทางกลับกัน ถ้าสเตตัสหรือความคิดเห็นของเราไม่ได้รับความสนใจล่ะ?  ตั้งสเตตัสดีๆ มากเท่าไหร่ โพสต์รูปสวยๆ แค่ไหน คำคมเด็ดสุดๆ อย่างไร แต่ทำไมกลับไม่มีคนสนใจเลยล่ะ ทำไมเพื่อนคนนั้นยอดไลก์เยอะจัง ไม่เห็นจะทำอะไรเลย! ซึ่งพอเราอิจฉา ก็จะเริ่มพฤติกรรมอื่นๆ ต่อไป เช่น อิจฉาแล้วก็ต้องขุดเรื่องแย่ๆ หรือด้านไม่เหมาะสมของคนอื่นมาโพสต์ตอบ 


บาดที่ 2 ขี้โมโห ขี้จิกกัด

                 เคยสังเกตกันไหมคะ เรามักโมโหฉุนเฉียวไปกับข้อความในจอได้ง่ายกว่าคนจริงๆ เสียอีก ในสถานการณ์จริงๆ เราอาจจะอดทนได้ เราอาจไม่กล้าเผชิญหน้าตรงๆ กันก็ได้ แต่พอเป็นข้อความเฉในจอเรากลับโมโห แล้วต้องตอบโต้กลับด้วยข้อความแรงๆ กลับทันที ซึ่งมักทำเป็นโพสต์ลอยๆ ไม่ระบุคนเสียด้วย (แต่อีกฝ่ายมักรู้ตัว และโมโหไปใหญ่อีกทุกที ฮ่าๆ) ซึ่งมันแปลกมากที่ความรู้สึกขี้โมโหจากข้อความลอยๆ เหล่านี้ ยิ่งสะสมในตัวเรา ทำให้เรายิ่งกลายเป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้น ปล่อยวางกันไม่ได้มากขึ้นอีกต่างหากค่ะ การขังตัวเองและรับแต่ความรู้สึกบาดอารมณ์เหล่านี้นำพาไปสู่สถานการณ์ร้ายแรงอื่นๆ ได้ เพียงการโพสต์ตอบโต้ด้วยอารมณ์ไม่ว่าจะฉุนเฉียวหรือแค่เล่นสนุก อย่างกรณี cyber bullying ด้วยค่ะ



บาดที่ 3 รู้สึกไร้ค่า 

            รู้สึกว่าทำไมเราเป็นแบบที่คนอื่นๆ โพสต์ไม่ได้ล่ะ ทำไมไม่มีคนไลก์ ไม่มีคนเมนต์ล่ะ? จากความรู้สึกที่มันสั่งสมจากสองข้อข้างต้น แต่แทนที่จะไประบายอารมณ์กับคนอื่น ก็มารู้สึกด้อยค่าที่ตัวเองแทนนี่แหละ!

          เจ้าความรู้สึกบาดอารมณ์จาก facebook นี้เป็นดาบคมๆ ต่อเด็กและวัยรุ่นอย่างมาก เพราะวัยรุ่นกำลังอยุ่ในช่วงการ "ค้นหาตัวตนของตนเอง และต้องการการยอมรับจากสังคม" การอยู่ในโลกโชเชียลทำให้วัยรุ่นสามารถสร้างสังคมอุดมคติของตัวเองได้ ไม่เพียงแต่ระบายอารมณเท่านั้น จะแต่งเติมเรื่องราวของตัวเองให้สวยงามก็ได้ และในทางกลับกันก็สามารถรับรู้เรื่องราวของคนอื่นได้เช่นกัน เมื่อรับรู้มากๆ ก็นำมาเปรียบเทียบกับตัวเอง ยิ่งเห็นคนอื่นดีกว่า ก็ยิ่งรู้สึกว่าตัวเราเล็กและไร้ค่าจริงๆ 


           facebook กำลังทำให้เราเป็นคนไร้ค่า เป็นคนขี้โมโห ขี้จิกกัด ขี้อิจฉาโดยไม่รู้ตัว! ดังนั้นจึงต้องลด ละ หลีกเลี่ยงการหมกมุ่นกับโชเชียลมีเดียค่ะ โลกออนไลน์ไม่ใช่ทุกสิ่งในชีวิต ตกข่าวบ้างก็ได้ ฮา 
           อย่างไรก็ตาม เราต้องแยกประเด็นให้ชัดเจนนะคะ facebook depression มันเป็นแค่คำจำกัดความของปรากฏการณ์การใช้งานโชเชียลมีเดียรูปแบบหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุให้คนเกิดภาวะซึมเศร้าได้เท่านั้น เป็นเพียงสมมติฐานอย่างมีนัยสำคัญจากงานวิจัย-เท่านั้น กล่าวสรุปคือ "ยิ่งติด facebook มากเท่าไหร่ ยิ่งรู้สึกหดหู่ รู้สึกด้านลบมากเท่านั้น" แต่ไม่ได้ระบุว่า facebook จะทำให้เป็นโรคทางจิตนะคะ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ facebook เท่านั้น instagram twitter และอื่นๆ เหล่านี้ก็มีโอกาสเป็นสาเหตุของความหดหู่ทางจิตใจได้ทั้งนั้นค่ะ 




            ดังนั้น ในมุมผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองหรือครู ต้องแนะนำให้ลูกหลานใช้โชเชียลให้เป็นค่ะ มีคำแนะนำผู้รู้บอกว่า เด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปีไม่ควรมีเฟคบุค เด็กๆ ควรได้เรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากชีวิตออนไลน์ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการใช้งานอินเทอร์เน็ตลงข้อมุลที่ไม่เหมาะสมด้วย อย่างการเผลอแจกเบอร์ แจกที่อยู่ หรือไปเล่นเกมชิงรางวัลกับมิจจฉาชีพที่ไหนด้วยค่ะ แน่นอนว่า ถ้าจะห้ามเด็ก ผู้ใหญ่ก็ต้องห้ามตัวเองให้ได้ด้วยนะคะ และชักชวนกันไปทำงานอดิเรกอื่นๆ ร่วมกันแทนการนั่งไถฟีดเฟซบุคไปๆ มาๆ ค่ะ 
 

           
            ส่วนในมุมของวัยรุ่นเอง ก็ต้องหารู้จัก
ใช้เวลาไปกับงานอดิเรกแบบอื่นๆ ดีกว่า ถ้าชอบอินเทอร์เน็ต ก้ใช้เน็ตทำอย่างอื่น ดูซีรีส์ แต่งนิยาย แต่งเพลง ประกอบคอม เขียนโปรแกรม แต่ไม่ใช่การฝังตัวกับ facebook หรือโชเชียลอื่นๆ ออกไปเล่นกีฬา ทำสวน ทำอาหาร และกิจกรรมอื่นๆ ก็ยังได้ค่ะ ชีวิตวัยรุ่นต้องใช้ให้คุ้ม ให้รู้จักแบ่งเวลาในการใช้งาน และไปใช้ชีวิตทำกิจกรรมแบบอื่นบ้างดีกว่าค่





แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ
    - ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4386284/
    - medicalnewstoday.com/articles/292081.php
    - parenting.com/blogs/screen-play/jeana-lee-tahnk/social-networking-among-teens-can-lead-facebook-depression
    - psychologytoday.com/blog/media-spotlight/201505/exploring-facebook-depression
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

doordeow Member 8 ก.ค. 59 18:05 น. 1
ผมเป็นคนนึงนะที่เป็นแบบนี้ บางทีก็เกลียดตัวเองเหมือนกันที่ต้องมารู้สึกอะไรไม่ดี ๆ แบบนี้กับเพื่อน ๆ เราด้วย
1
karin<f>e Community 8 ก.ค. 59 21:41 น. 1-1
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้จ้าา พี่ก็เคยรู้สึก แต่เราต้องรู้ตัวเรา และรู้จักตัวเราด้วย เราควรรู้ว่าเรากำลังแค่ไม่พอใจ เพราะอิจธรรมดา หรือไม่พอใจเพราะเรากำลังเปรียบเทียบและลดคุณค่าตัวเอง แต่ทางที่ดีกว่าคือ ลดละที่จะสนใจคนอื่นในเฟซบุค มากกว่าตัวตนของคนนั้นจริงๆ มากกว่า ยิ่งถ้าไม่รู้จัก ยิ่งไม่ต้องสนใจ 555555
0
กำลังโหลด

1 ความคิดเห็น

doordeow Member 8 ก.ค. 59 18:05 น. 1
ผมเป็นคนนึงนะที่เป็นแบบนี้ บางทีก็เกลียดตัวเองเหมือนกันที่ต้องมารู้สึกอะไรไม่ดี ๆ แบบนี้กับเพื่อน ๆ เราด้วย
1
karin<f>e Community 8 ก.ค. 59 21:41 น. 1-1
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้จ้าา พี่ก็เคยรู้สึก แต่เราต้องรู้ตัวเรา และรู้จักตัวเราด้วย เราควรรู้ว่าเรากำลังแค่ไม่พอใจ เพราะอิจธรรมดา หรือไม่พอใจเพราะเรากำลังเปรียบเทียบและลดคุณค่าตัวเอง แต่ทางที่ดีกว่าคือ ลดละที่จะสนใจคนอื่นในเฟซบุค มากกว่าตัวตนของคนนั้นจริงๆ มากกว่า ยิ่งถ้าไม่รู้จัก ยิ่งไม่ต้องสนใจ 555555
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด