ไปยาลน้อย (ฯ)

       ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย เป็นเครื่องหมายวรรคตอนอย่างหนึ่ง ในการเขียนภาษาไทย มีรูปเช่นนี้ "ฯ" ใช้ย่อคำ เพื่อให้เขียนสั้นลง โดยเขียนแต่ส่วนหน้า ละส่วนหลังเอาไว้ แล้วใส่เครื่องหมาย "ฯ" แทน

       คำว่า "ไปยาล" มาจาก คำว่า "เปยฺยาล" ในภาษาบาลี มีด้วยกัน 2 แบบ คือ ไปยาลน้อย "ฯ" และไปยาลใหญ่ "ฯลฯ" ยังไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน

การใช้ไปยาลน้อย
       เครื่องหมายไปยาลน้อย นิยมใช้ใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

1.ใช้กับคำพิเศษบางคำที่นิยมใช้ย่อโดยทั่วไป เช่น

    • ข้าฯ คำเต็มคือ ข้าพเจ้า
    • ฯพณฯ คำเค็มคือ พะณะท่าน หรือ พะณะหัวเจ้าท่าน

2.ใช้ย่อคำที่ยาวให้สั้นลง

    • กรุงเทพฯ คำเต็มคือ "กรุงเทพมหานคร"
    • โปรดเกล้าฯ คำเต็มคือ "โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม"
    • วัดพระเชตุพนฯ คำเต็มคือ "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร"

       นอกจากนี้อาจใช้ในกรณีอื่น ๆ เพื่อย่อคำให้สั้น แต่เมื่ออ่าน ต้องอ่านคำเต็ม


:: ( S O U R C E : สารานุกรมเสรี วิกิพีเดีย )* ::

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

7 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด