แบบทดสอบความเครียด  กับวิธีดูแลหากเริ่มซึมเศร้า  
         
                                                  ภาพ: Melancholy (1891), Edvard Munch
        เมื่อครั้งที่แล้วผู้เขียนนำเสนอสัญญาณนำไปสู่โรคทางสุขภาพจิตของวัยรุ่น พร้อมแนบแบบทดสอบภาวะซึมเศร้าจากกรมสุขภาพจิตไว้ด้วย และเพื่อต่อยอดในเรื่องเดียวกัน ผู้เขียนขอเสนอวิธีการดูแล และความแตกต่างของโรคทางสุขภาพจิตที่เกิดกับวัยรุ่น  เพราะในโรคเดียวกันเกิดในผู้ใหญ่ หรือกับเด็กหรือวัยรุ่น ก็อาจมีลักษณะอาการและการรักษาก็แตกต่างกันได้ค่ะ
    + โดยปกติโรคซึมเศร้าในคนทั่วไป จะมีอาการในกลุ่มเศร้า เบื่อ เหนื่อย เพลีย จะไม่ค่อยมีอารมณ์หุนหันฉุนเฉียวปรากฏ แต่ถ้าในวัยรุ่นอาการหงุดหงิดหุนหันเหล่านี้ กลับเป็นสัญญาณเริ่มต้นภาวะซึมเศร้าได้
 
     + โรคซึมเศร้า เป็นภาวะทางจิต ในเบื้องต้นจะไม่มีความเกี่ยวข้องการความเจ็บป่วยทางร่างกายใดๆ ไม่ปวดหัว ไม่ปวดท้อง ปวดแข้งปวดขา แต่ในวัยรุ่นความรู้สึกเจ้บปวดร่างกายอย่างไม่ม่สาเหตุ ก็กลายเป็นอาการเริ่มต้นของโรคทางสุขภาพจิตได้
     + ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นหากไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม ก็มักเกิดจากความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ความล้มเหลว ทำอะไรไม่สำเร็จ ที่ส่วนมากก็เป็นเรื่องการเรียน การถูกปฏิเสธ เพื่อนกีดกันไม่ให้เข้ากลุ่ม เป็นต้น (ซึ่งสำหรับผู้ใหญ่แล้ว เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติ และเป็นเรื่องเล็กน้อย)
     + ผู้ใหญ่ที่มีภาวะซึมเศร้ามักแยกตัวออกจากสังคมไปเลย แต่วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้ากลับพยายามหาที่อยู่ใหม่ คือจะพยายามเข้าสังคมอยู่บ้าง เพียงแต่เป็นการแยกตัวออกจากสังคมเดิม โดยเฉพาะพ่อแม่หรือเพื่อนกลุ่มเดิมๆ  
                                        
   
  
 เมื่อมีอาการภาวะซึมเศร้า (ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์แล้ว) ก็ไม่ใช่เวลามานั่งโทษว่าเป็นความผิดตนเองหรือใคร ไม่จำเป็นต้องมุ่งมั่นสุดๆ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง บางทีอาจไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดในชีวิตเราเลยก็ได้  โรคซึมเศร้าเป็นเพียงความเจ็บป่วย เหมือนคนเป็นหวัดธรรมดา แต่อาการก็ต่างไปเพราะเป็นคนละโรค แต่ผู้มีอาการ ครอบครัว เพื่อน และคนรอบข้างก็ต้องยอมรับและเข้าใจ และควบคุมอารมณ์ตนเองให้ดี ใช้ชีวิตให้มีความสุขเท่าที่จะทำได้ อยู่กับผู้คน รักษาสุขภาพกาย คิดให้แง่บวกไว้ ที่สำคัญคือ ถ้าเรารู้สึกเครียด อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือใครหรือมัวแต่กังวลว่าตัวเองจะเป็นภาระผู้อื่น ถ้าเรารู้สึกเครียด หากยังไม่กล้าพูดกับพ่อแม่ ให้ปรึกษาครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว ผู้ใหญ่สักคนที่เราวางใจก่อนค่ะ  
     หากยังไม่ได้รับการวินัจฉัยจากจิตแพทย์โดยตรง อย่าเพิ่งตกใจไปก่อน  อาจจะแค่เหนื่อยล้าเพราะงานหรือปัญหาช่วงนี้ หรือหากไม่แน่ใจว่าเครียดจริงอยู่หรือไม่ ก็ลองทำแบบทดสอบด้านข้างนี้ค่ะ และต้องหาวิธีคลายเครียดตามที่คุณถนัด ทำบุญ ปล่อยนก ปล่อยปลา และปล่อยวางสักนิด 
     นั่งนิ่งๆ ในที่อากาศโปร่งๆ มองฟ้า มองก้อนเมฆ โดยไม่ต้องคิดอะไรสักครู่ ถอนหายใจยาวๆ สักสองสามที เหมือนให้เอาเรื่องเครียดออกไปตามลมหายใจนั้นทีละเรื่อง ทีละเรื่อง ทีละเรื่อง แล้วค่อยเริ่มต้นใหม่
                                   
   หากรู้สึกว่ามีอาการมาก ต้องไปหาหมอเพื่อความชัดเจน 
ห้ามเดาเองหรือซื้อยากินเองค่ะ
              

การปฏิบัติของครอบครัว
 
      + พ่อแม่และคนใกล้ชิดต้องทำให้วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับรู้ว่ายังมีคนอยู่ข้างเขา พร้อมให้กำลังใจเสมอ ถามสารทุกข์สุกดิบบ้าง เมื่อยามเขาแจ่มใส แต่ก็ไม่ตั้งคำถามซะจนลูกคิดว่ามองตัวเองว่าเป็นเด็ก (เป็นเรื่องปกติของวัยรุ่นที่แม้ไม่มีภาวะซึมเศร้าหรือโรคใดๆ ก็ไม่ชอบให้ผู้ใหญ่มาถามจุกจิก)
      + ตอนแรกลูกอาจไม่ค่อยอยากพูดด้วย อย่าชิงน้อยใจไป ก่อน หรือโมโหไปเอง อย่ายอมแพ้ที่จะอยู่เคียงข้างแม้ลูกวัยรุ่นจะไม่ยอมเปิดปากพูดด้วยก็ตาม ให้ทำตัวพร้อมที่จะเป็นผู้ฟังของลูกตลอดเวลา
      + เมื่อลูกเริ่มเปิดใจพูด ต้องหลีกเลี่ยงการสอนหรือตัดสินการกระทำและความคิดใดๆ ของลูก สิ่งสำคัญค่อการเป็นผู้รับฟังที่ดี เพื่อให้ลูกวางใจที่จะพูดกับผุ้ใหญ่ในบ้านก่อน ต้องใส่ใจทุกคำพูดของลูกและ ระมัดระวังคำสั่งเสียสั่งลา
      + หลีกเลี่ยงการพูดถึงความรู้สึกเศร้า อารมณ์หดหู่ใดๆ หรือแสดงตนว่ากำลังเหนื่อยกับภาวะบ้านอึมครึมนี้ไม่ได้ เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเครียดไปตามๆ กันมากยิ่งขึ้น 
      + รับฟังอย่างตัดใจ ตอบรับว่าคุณกำลังรับรู้และเข้าใจรู้ เช่น ลูกคิดแบบนี้นี่เอง แม่ก็เคยคิดแบบนั้นนะ ลูกรู้สึกแบบไหนล่ะ แบบรู้สึกแบบนี้... เดี่ยวเรามาหาอะไรทำกันดีกว่าดีไหม
      + อย่าพูดบางคำที่ลักษณะเหมือนบอกปัด เช่น อย่าคิดมาก อย่าไปกังวลให้มาก เลิกคิดได้แล้ว ปล่อยวางเสียบ้าง ฯลฯ ในทำนองเดียวกันนี้ เพราะเหมือนเป็นการพูดตัดรำคาญ ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าอาจคิด(หนักกว่าเดิม)ว่าเขากำลังรบกวนคุณ ทำให้คุณลำบาก 




แบบประเมินความเครียดตนเอง





คู่มือคลายเครียดสำหรับวัยรุ่น





ข้อมูลโรคซึมเศร้า
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี






The Scream (1893),
Edvard Munch
     Edvard Munch ศิลปินชาวนอร์เวย์ ผู้มีชีวิตขมขื่นและสุขภาพไม่ค่อยดีนักมาแต่แต่เด็ก เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มก็มีชีวิตรักที่ตึงเครียด ติดเหล้า ชีวิตมีแต่การเดินทางจากแห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่ง ภาพวาดของเขาในยุคต้นสะท้อนถึงความทุกข์ความปวดร้าวต่างๆ เมื่ออายุประมาณ 45ปี ก็มีอาการซึมเศร้า ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อศิลปะแบบเอ็กเพรสชั่นนิสซึมในปัจจุบัน - คลังภาพของMunch
ครอบครัวเป็นทั้งพลังและเกราะในการคุ้มภัยจิตใจของวัยรุ่นค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง:
 


แหล่งข้อมูล, ภาพประกอบ:
    http://helpguide.org/mental/depression_teen.htm
    http://helpguide.org/mental/depression_teen_teenagers.htm
    http://www.teen-depression.info/overview/preventing/
    กรมสุขภาพจิต http://www.dmh.go.th/main.asp
    ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  http://www.ra.mahidol.ac.th/mental/depression/
    http://www.edvard-munch.com/gallery/love/melancoly.htm
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

21 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
Rolla Member 20 มี.ค. 55 09:33 น. 3
 เมื่อก่อนเราเป็นๆ เหมือนไม่มีอะไรใหม่ๆ ในชีวิตอ่ะ
ลองคบเพื่อนใหม่ๆ ดูบ้าง ลองทำกิจกรรมกับเพื่อนแปลกๆ ดู
มันก็คลายเครียดได้เยอะขึ้นนะ ระหว่างปิดเทอมเราก็คบกับเพื่อนข้างบ้านเอา ^ ^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
BRM 20 มี.ค. 55 11:13 น. 5
ตอนแรกก็ลังเลเหมือนกันว่าตัวเองจะเป็นมั้ย
คือพอทำแบบทดสอบก็รู้สึกว่า เราก็ไม่ได้นั่งน้ำตาซึมตลอดเวลานี่นา..
แต่พอมาอ่านบทความนี้แล้วชักเริ่มแปลก ๆ สงสัยต้องไปพบจิตแพทย์ดูแล้ว
อาการที่รู้สึกชัดเจนเลยก็คือ
-อารมณ์เปลี่ยนง่าย อยากวีน โวยวายบ่อย ๆ
-ท้อแท้ง่าย บ่อน้ำตาตื้น =[]=
-ปวดท้องบ่อยมากกก เป็นอิด ๆ ออด ๆ จนซี้กับอ.ห้องพยาบาลแล้ว..
-อยากย้ายไปเรียนที่อื่น ไม่อยากอยู่กับอะไรเดิม ๆ
(ตั้งความหวังไว้ว่า ม.5 เราจะไปเรียนแลกเปลี่ยนด้วยล่ะ กำลังพยายามฝึกภาษา ^^)

ตอนนี้เราอยู่ม.3 ตัดสินใจจะย้ายโรงเรียนแล้วค่ะ ตอนแรกอยากไปอยู่จังหวัดอื่นด้วยซ้ำ
แต่คุณพ่อไม่ยอม เลยได้แค่ย้ายไปอีกโรงเรียนที่ไกลกว่าเดิมนิดหน่อย :)

ปล.เราเป็นคนเก็บอารมณ์เก่ง แต่ไม่รู้เรียกว่าเก็บกดมั้ย 55555 ><
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ซ่อนนาม Member 20 มี.ค. 55 14:39 น. 7
ตรงนี้ต้องเข้าใจสักเล็กน้อย
โรคซึมเศร้า มันคือโรค ไม่ใช่อาการทางอารมณ์ เขาถึงใช้คำว่าโรคกำกับนำหน้า
ดังนั้นจะให้เปลี่ยนอารมณ์อย่างรวดเร็วเหมือนการดีใจเสียใจแบบนี้ ขอบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้

ซึ่งโรคซึมเศร้ามันสามารถนำพาการฆ่าตัวตายได้
ด้วยเหตุนี้หากพบเห็นคนที่พยายามฆ่าตัวตาย มันไม่ได้แปลว่าเขาโง่หรือเขาคิดสั้น
หากให้คิดว่าเพราะเขามีอาการป่วยอยู่ เหมือนกับเป็นไข้ไม่สบายอะไรพวกนี้
ด้วยเหตุนี้ การจะไม่สนใจ ต่อว่า หรือไม่ดูแล ก็ยิ่งผลักให้เขาเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากขึ้น

โดยการช่วยเหลือพวกเขา ไม่จำเป็นต้องพาไปหาหมอรักษา หรือพาไปกินยา
ขอแค่อยู่เฉย ๆ แล้วรับฟังเขา (รับฟังอย่างเดียวไม่ต้องไปพูดแนะนำหรือค้านอะไร)
ก็สามารถทำให้อาการของพวกเขาทุเลาลง และลดโอกาสที่จะคิดฆ่าตัวตายได้แล้ว
นอกจากนี้การให้ทานอาหารจนอิ่มท้องก็เป็นวิธีหนึ่งที่หลีกเลี่ยงการฆ่าตัวตายได้
เนื่องจากสมองต้องการสารอาหารที่พอเพียง หากขาดไปจะทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่
ซึ่งคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะไม่อยากอาหาร ทำให้สมองขาดสารอาหารที่สมควร
และทำให้ไตร่ตรองอะไรได้ไม่ดีเท่าตอนที่สภาพร่างกายสมบูรณ์

ดังนั้นถ้าเจอคนที่ซึมเศร้าคิดอยากจะฆ่าตัวตายให้
1 รับฟังพวกเขาโดยไม่ขัดไม่ค้านหรือไปแนะนำอะไรที่ไม่จำเป็น
2 ให้พวกเขาทานอาหารที่ทานง่ายจนอิ่มท้อง
ถ้าทำสองอย่างนี้ได้ก็เพียงพอต่อการฉุดเขาออกมาไม่ให้คิดฆ่าตัวตายได้แล้วล่ะ


0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
[B]iTter_Swe[E]t Member 22 มี.ค. 55 21:03 น. 11

ตัวเองน่าจะเป็นนะ แหะๆ ไม่รู้สิ
รู้สึกเหมือนไม่เป็นที่ต้องการ ไม่เป็นที่ยอมรับ
อยากปรับเปลีย่นหากลุ่มเพื่อนใหม่ๆตลอด

ตอนม.ต้นน่าจะอาการหนักมากอะ ตอนนี้ย้ายรร.มาหนึ่งปีก็ยังอยากหากลุ่มใหม่ๆอยู่
ความรู้สึกคืออยากอยู่แบบเรื่อยๆ อยากเจอเพื่อนสไตล์เดียวกันประมาณนั้น - -
เหมือนร่อนๆไป ผูกพันกันด้วยใจไม่ใช่ระยะทางอะไรประมาณนั้น 555

0
กำลังโหลด
†I PO PO† Member 25 มี.ค. 55 18:12 น. 12
 นั่งนิ่งๆ ในที่อากาศโปร่งๆ มองฟ้า มองก้อนเมฆ โดยไม่ต้องคิดอะไรสักครู่ ถอนหายใจยาวๆ สักสองสามที เหมือนให้เอาเรื่องเครียดออกไปตามลมหายใจนั้นทีละเรื่อง ทีละเรื่อง ทีละเรื่อง แล้วค่อยเริ่มต้นใหม่
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ผู้ไร้วิญญาณ Member 26 มี.ค. 55 23:30 น. 16

เพื่อนเราตรงแบบนี้ทุกข้อ
อาการหนักมาเลย
ไม่รุ้ว่าจะเป็นจริงไหม
แต่ไม่ชอบเข้ากลุ่มกับใครเลย
เวลาอยู่ในห้องแทบไม่รุ้ด้วยซ้ำว่าอยู่ไหน
มีไม่มาเรียนแต่เห็นอยู่ร.ร.
ชอบทำตัวเก็บกดม๊ากก ชอบทำอะไรคนเดียวเสมอ><
มีโอกาสจะเป็นโรคนี้สูงไหมอ่ะ??

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Trick_Art Member 25 เม.ย. 55 20:24 น. 19
แล้วถ้า...
-ปวดหัว ปวดตาแบบไร้สาเหตุบ่อยๆ แบบที่ไปหาหมอก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
- เกิดอารมณ์อยากเหวี่ยงแบบสุดๆ
- ร้องไห้ง่ายมาก นิดๆหน่อยๆขอบตาเริ่มร้อนละ
- ไม่ค่อยอยากคุยกับใคร

แบบนี้...นับมั้ย?
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด