รู้ไว้เผื่อไปเมืองนอก 10 ภาษาที่ยากที่สุดในโลก

        จะไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ พี่น้องเชื่อว่าปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการตัดสินใจของน้องๆ คือ "ภาษา" จริงมั้ยคะ? บางคนไม่กล้าไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศแปลกๆ เพราะกลัวพูดภาษานั้นไม่ได้แล้วจะใช้ชีวิตลำบาก บางคนยอมทิ้งทุนเพราะดันได้ประเทศที่พูดภาษาแปลกๆ ก็มี

        "พี่น้อง" จะบอกว่านี่คือข้อดีของการแลกเปลี่ยนค่ะ เราไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ไม่ได้ไปเรียนเอาปริญญา การได้ใช้ภาษาใหม่ๆ ถือเป็นผลพลอยได้เท่านั้น อย่าไปจริงจังกับมันมาก การไปประเทศที่ใช้ภาษาแปลกๆ นี่สิดี เราจะได้ใช้ทั้งภาษาอังกฤษที่เป็นภาษากลางและภาษาของประเทศนั้นๆ ด้วย ยิงปืนนัดเดียวได้นกตั้งสองตัว

        แต่ก่อนที่เราจะตีตนไปก่อนไข้นั้น เรารู้หรือเปล่าว่าภาษาไหนที่ถูกจัดอันดับให้เป็นภาษาที่เรียนรู้ยากที่สุด พี่น้องขอบอกเลยว่า อ่านไปแล้วจะตกใจ เพราะที่ว่ากันว่า "ย้ากยาก" พอได้เรียนจริงๆ อาจไม่ยากอย่างที่คิดก็ได้
 

1. ภาษาแดนิช (เดนมาร์ก)

ต้นตระกูล: เจอร์มานิก (สายเหนือ กลุ่มเดียวกับพวกภาษาสแกนดิเนเวีย)
คนใช้: 6 ล้านคน ในเดนมาร์กและตอนเหนือของเยอรมนีที่ติดกับเดนมาร์ก


Tomasz Sienicki via en.wikipedia.org
 

        ภาษาแดนิช มีต้นกำเนิดมาทางเดียวกับภาษาเยอรมัน คือสายเจอร์มานิก (ถ้าใครเรียนเยอรมันคงเริ่มเดาแล้วว่ามันจะเหมือนกันยังไง) มีตัวอักษรทั้งหมด 29 ตัว (ได้มาจากภาษาละติน 26 ตัว ที่เหลือคิดขึ้นใหม่)

        ความยากของมันอยู่ตรงที่มีการแบ่งกลุ่มคำนามเป็นเพศทั่วไป และเพศกลาง (มักเป็นสิ่งของ) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วต้องจำว่าคำไหนเพศอะไร ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว
        นอกจากนี้เวลาขยายคำนาม มันก็จะเขียนติดๆ กัน (เอกลักษณ์ของภาษาสายเจอร์มานิกเขาล่ะ) เช่นแบบนี้
        speciallægepraksisplanlægningsstabiliseringsperiode
        แถมการออกเสียง ก็ไม่ค่อยตรงกับตัวเขียนอีกด้วย ทำให้มือใหม่เกิดความสับสนได้ง่าย
 

2. อัมฮาริก (เอธิโอเปีย)

ต้นตระกูล: เซมิติก
คนใช้: 22 ล้านคน


Andro96 via en.wikipedia.org
 
        ภาษาอัมฮาริก เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีคนใช้มากที่สุดรองจากภาษาอาหรับซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน ใช้ตัวอักษรคล้ายกับภาษาอาหรับ และเขียนจากขวาไปซ้ายแบบลากต่อกัน

        ภาษานี้ยากเสียจนชาวเอธิโอเปียเองยังยอมรับและแอบภูมิใจนิดๆ ที่คนต่างบ้านต่างเมืองน้อยคนจะพูดภาษานี้ได้
 

3. นาวาโจ (อเมริกา)

ต้นตระกูล: อธาบาสคาน
คนใช้: 170,000 คน (ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ตอนใต้ ติดกับชายแดนเม็กซิโก)

jclarson via en.wikipedia.org
 
        นาวาโจเป็นภาษาพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวอินเดียนแดง มีลักษณะที่ต่างจากภาษาอื่นๆ ที่เรารู้จักค่อนข้างมาก เช่น มีการออกเสียงบางคำที่ไม่มีในภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นๆ มีการออกเสียงสั้น-ยาว มีศักดินาในคำนามอีกด้วย

        ปกติแล้วเวลาเรียนภาษา เรามักจะมีภาษาอื่นที่มาจากตระกูลเดียวกันให้เปรียบเทียบ ทำความเข้าใจ เช่นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนอย่างอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ก็จะมีไวยากรณ์คล้ายๆ กันบ้าง คำศัพท์คล้ายๆ กันบ้าง แต่นาวาโจไม่มีภาษาอื่นให้เปรียบเทียบ เหมือนต้องเรียนภาษาใหม่แบบเด็กทารกเลย

        ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของภาษานี้ทำให้กองทัพอเมริกาใช้ภาษานี้สร้างโค้ดลับเพื่อสื่อสารกันช่วงสงครามแปซิฟิก (เกิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่โฟกัสแค่อเมริกากับญี่ปุ่น) และทหารของญี่ปุ่นก็ไม่เคยถอดรหัสภาษานาวาโจนี้ได้เลย
 

4. ญี่ปุ่น

ต้นตระกูล: แจโปนิก (ได้อิทธิพลตัวอักษรจากจีน)
คนใช้: 125 ล้านคน


LERK via en.wikipedia.org
 
        มาถึงภาษาที่น้องๆ ชาวเด็กดีหลายคนน่าจะเรียนอยู่ หรือรู้จักประโยคเด็ดๆ ที่เรียนรู้เอาจากในอนิเมหรือมังงะ

        ความดีงามของภาษาญี่ปุ่นมีอยู่สองอย่างคือ เสียงน้อย และไม่มีการเชื่อมเสียง ภาษาญี่ปุ่นจึงฟังค่อนข้างง่าย เพราะแต่ละคำแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ยกเว้นตัว ん) นอกนั้นคือความโหดมันฮาค่ะ

        อย่างแรกคือการใช้อักษรถึง 3 รูปแบบในภาษาเขียน ทั้งคันจิ ฮิรางานะ และคาตากานะ แถมคันจิที่ยืมมาจากจีนบางตัวเส้นเยอะกว่าต้นฉบับอีกนะ

        อย่างที่สองคือไวยากรณ์ที่ค่อนข้างประหลาด เช่น เอากริยาไปไว้ท้ายประโยค หรือไวยากรณ์ที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมของเขา อย่างกริยารูปยกย่อง ถ่อมตน อันนี้เป็นอะไรที่คนชาติตะวันตกเขาจะไม่ค่อยเข้าใจ เพราะวัฒนธรรมบ้านเขาเป็นอีกแบบ

        ข่าวดีก็คือคนญี่ปุ่นชอบใช้คำยืมจากภาษาอังกฤษ แต่ข่าวร้ายก็คือ เอามาใช้ออกเสียงแบบญี่ปุ่นนะ

5. แมนดาริน (จีน)

ต้นตระกูล: ซีโน-ทิเบตัน
คนใช้: 960 ล้านคน (ตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน)


Mi Fu via en.wikipedia.org
 
        แมนดารินหรือจีนกลาง เป็นภาษาที่มีคนใช้มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก (ก็คนจีนเขาเยอะนะ) ความยากของภาษานี้อยู่ที่การจำตัวอักษรซึ่งมีมากกว่า 50,000 ตัว แต่ละตัวก็เส้นยุบยับไปหมด และเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ ถ้าออกเสียงผิดไปนิดเดียวความหมายเปลี่ยนเลย

        แต่ข้อดีของภาษานี้ก็คือไวยากรณ์ง่ายมาก แค่เอาคำมาเรียงต่อกันเรื่อยๆ เหมือนภาษาไทยของเราเอง

        ถ้าถามพี่ว่าระหว่าง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ภาษาไหนยากกว่ากัน พี่ก็คงต้องบอกว่า มันยากคนละแบบนะ ภาษาจีนยากตรงต้องจำหนักมาก ภาษาเกาหลีตัวอักษรจำง่ายคล้ายการผสมคำของภาษาไทย แต่ไวยากรณ์คลุมเครือมาก (ก.ไก่อินฟินิตี้) ส่วนภาษาญี่ปุ่นยากพอดีๆ ทั้งตัวอักษรและไวยากรณ์
        อยากทรมานแบบไหนเลือกเลยจ้า
 

6. ฮังกาเรียน (ฮังการี)

ต้นตระกูล: อูราลิก
คนใช้: 13 ล้านคน


Benedek Komjáti via en.wikipedia.org
 
        เป็นหนึ่งในภาษาราชการของกลุ่มสหภาพยุโรป แต่ดันมีต้นตระกูลที่ต่างจากชาวบ้านเขานิดนึง ทำให้ภาษานี้จัดว่าเป็นภาษาที่ยากอยู่เหมือนกัน

        ภาษานี้จะคล้ายกับภาษาตระกูลเจอร์มานิกตรงที่สามารถเอารากคำมาเรียงต่อกันให้กลายเป็นคำยาวๆ คำเดียวได้ โดยที่คนอ่านหรือคนฟังรู้ว่าหมายถึงอะไร คำที่ยาวที่สุดของภาษานี้คือ
        legeslegmegszentségteleníttethetetlenebbjeitekként
        ซึ่งมาจากการรวมกันระหว่างคำ 15 คำ แปลว่า "เช่นท่านทั้งหลายที่มีความเป็นไปได้น้อยที่สุดที่จะถูกดูแคลน"
 

7. บาสก์ (สเปน)

ต้นตระกูล: โปรโต-บาสก์
คนใช้: 720,000 คน (ตอนเหนือของสเปนและทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส)


Cenobio via en.wikipedia.org
 
        ในขณะที่ภาษาของประเทศยุโรปส่วนใหญ่จะมาจากตระกูลอินโด-ยูโรเปียน อาจแตกเป็นลาตินบ้าง เจอร์มานิกบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกันในทางใดทางหนึ่ง
        แต่บาสก์เป็นภาษาเดียวที่ผ่าเหล่า ไม่มีลักษณะใดเหมือนภาษาอังกฤษเลย จนสำนักงานภาษาต่างประเทศของอังกฤษเขาวิจัยออกมาเลยว่าบาสก์เป็นภาษาที่ยากที่สุดในการเรียนรู้

        ความยากของภาษานี้คือเป็นภาษาที่เอารากคำมาเรียงต่อกันได้แบบภาษาเจอร์มานิก (อีกแล้ว) ยังไม่พอ ยังมีวิธีการแสดงความสัมพันธ์ของแต่ละคำด้วยการเติมนู่นเติมนี่ทั้งหมด 11 กรณี กรณีละ 4 รูป (คูณเข้าไปค่ะ)

        แต่ภาษานี้ก็ยังปรานีต่อเราตรงที่ใช้ตัวอักษรแบบโรมัน และการออกเสียงค่อนข้างง่ายค่ะ
 

8. อาหรับ (ตะวันออกกลาง)

ต้นตระกูล: เซมิติก
คนใช้: 290 ล้านคน


'Ali Ra'if Efendi via en.wikipedia.org
 
        ภาษาอาหรับพี่เคยเรียนไปหนึ่งคอร์สตอนอยู่มหาวิทยาลัย ทุกวันนี้จำได้แค่คำว่า "ฮัมม้าม-อิสซายีด้าต" ที่แปลว่า "ห้องน้ำสุภาพสตรี"

        ความยากของภาษานี้ เอาแบบซอฟท์ๆ ก่อนก็คือตัวอักษรค่ะ อักษรในภาษาอาหรับนั้นจะมีหน้าตาเหมือนๆ กัน ทำให้แยกยากในตอนเริ่มต้น และจะเขียนจากขวาไปซ้าย (ใครถนัดซ้ายนี่ยิ้มเลย) ความดีงามของภาษานี้คือมันมีสัญลักษณ์ที่ช่วยบอก "สระ" ทำให้เรารู้ว่าจะอ่านคำนี้ยังไง แต่ปัญหาคือเขาไม่ค่อยใส่เจ้าสัญลักษณ์ที่ว่านี้กัน ดังนั้น สำหรับผู้เริ่มเรียน พอไปเจอของจริงอาจจะอึ้งไปเลยได้

        อย่าแปลกใจถ้าแม้แต่คนอาหรับด้วยกันเองก็ยังคุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะภาษานี้เป็นภาษากลุ่มเซมิติกที่ใช้มากที่สุด และใช้กันในกลุ่มประเทศแถวตะวันออกกลางซึ่งกว้างมาก ดังนั้นแต่ละประเทศก็อาจพูดต่างกันไปจนบางทีก็ฟังกันไม่รู้เรื่อง (เหมือนภาษาจีนนั่นเอง)
 

9. จอร์เจียน (จอร์เจีย)

ต้นตระกูล: คาร์ตเวเลียน
คนใช้: 4.3 ล้านคน


manuscript.ge via en.wikipedia.org
 
        อ๊ะๆ ไม่ใช่รัฐจอร์เจียของอเมริกา แต่นี่คือประเทศที่อยู่ทางใต้ของรัสเซีย และเหนือตุรกี ทางซ้ายคือ Black Sea เป็นประเทศที่ไม่เล็กไม่ใหญ่ และเคยอยู่ใต้เงาของรัสเซียมาก่อน

        กลับมาที่ภาษานี้กันบ้าง ต้องบอกเลยว่าใครที่ชอบพวกเวทมนตร์ แฟนตาซีต้องรักภาษานี้ เพราะตัวเขียนมีหน้าตาเหมือนภาษาเอลวิชใน Lord of the Rings เลย แน่นอนว่าความยากของมันอยู่ตรงนี้ และรวมไปถึงการออกเสียงตัวอักษรที่มีหลายตัวคล้ายกันจนแทบแยกไม่ออก ไม่นับไวยากรณ์ที่เราไม่เคยพบมาก่อนด้วย

        แต่แหม...น่าฝึกเขียนตัวอักษรแบบนี้จังเนอะ
 

10. ภาษาไทย (ไทย)

ต้นตระกูล: ไท-กะได
คนใช้: 40 ล้านคน (ที่เหลือพูดภาษาถิ่นของตัวเองและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง)

        ดีใจไหมคะ ที่ภาษาไทยเราติดอันดับด้วย สำหรับเราก็ว่ามันไม่ค่อยยากเท่าไรนะ แต่สำหรับคนต่างชาติ เช่น ชาวตะวันตก มองว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ "จำเยอะมาก" ทั้งพยัญชนะ 44 ตัว สระ 15 ตัว วรรณยุกต์ การงการันต์ และเครื่องหมายอีกสารพัด แถมตัวอักษรแต่ละตัวก็รูปร่างชมดชม้อยงดงามจนต้องคัดกันเป็นวันๆ เลยทีเดียว

        โชคดีที่ไวยากรณ์ของเราง่ายค่ะ แค่วางคำต่อกันไปเรื่อยๆ แบบภาษาจีน แต่อาจารย์ชาวอังกฤษของพี่เคยบอกว่า ไม่รู้คนไทยอ่านได้ยังไง เวลาเจอตัวอักษรเรียงติดกันเป็นพรืดแบบนั้น
 
        เห็นไหมคะ ภาษาที่หลายคนมองว่ายาก แต่เราบางคนก็เคยเรียนหรือยังเรียนอยู่เลยด้วยซ้ำ จริงๆ แล้วแต่ละภาษาก็มีความยากและเอกลักษณ์ในแบบของมัน พี่น้องว่าสนุกดีออก ที่เราได้เรียนภาษาหลายภาษา ได้รู้ศัพท์แปลกๆ เห็นไวยากรณ์แบบใหม่ๆ เหมือนได้ไขปริศนาแบบโคนันทุกวัน

        ใครกำลังลังเลอยู่ว่าจะไปแลกเปลี่ยนประเทศแปลกๆ ดีไหม พี่น้องบอกเลยว่าไปเถอะค่ะ อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย เด็กไทยไปกันเป็นล้าน เราลองไปประเทศแปลกๆ บ้าง แล้วกลับมาเล่าให้เพื่อนฟังเป็นประสบการณ์ดีกว่าเนอะ!
 
ข้อมูลจาก
theculturetrip.com
beforeitnews.com
matadornetwork.com
lifehack.org
denmark.dk

en.wikipedia.org
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

มัณทนา Member 6 ม.ค. 59 16:30 น. 1

ภาษาไทยยากจริงๆสำหรับคนไทยบางคน

คำง่ายๆอย่าง "คะ" "ค่ะ" "นะคะ" "ครับ" ยังเขียนไม่ถูกเลย

4
minfin (เริ่มแก่) Member 7 ก.พ. 59 14:42 น. 1-1
นั่นน่ะสิค่ะ เห็นหลายคนเขียนผิดกันมากเลยคะ เห็รแล้วรู้สึกรำคาญมากคะ ผู้ใหญ่หลายคนยังใช่ผิด เลยนะค่ะ 5555 แบบนี้ใช่มั้ยค่ะ เฮ้ย คะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
นิรนาม 7 ม.ค. 59 01:05 น. 10
นอกจาก คะ ค่ะ นะคะ ก็ยังมีที่คนไทย "ส่วนใหญ่" ใช้ผิดอีก...คำว่า "เหรอ" ไงครับ เอาตามตรงคนไทย "ส่วนใหญ่" นี่ชอบใช้คำนี้ผิดเป็น "หรอ" กันหมดเลย เห็นแล้วก็รำคาญอยู่นะ เหอะๆ เยี่ยม
3
นิรนาม 7 ม.ค. 59 01:08 น. 10-1
เอ้อ ลืมไป เหรอ กับ หรือ น่ะถูก แต่ที่แน่ๆ ไม่มีคำว่า "หรอ" แน่นอนครับ นอกจากจะเป็นคำว่า สึกหรอ อะไรแบบนี้
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Novalist Member 8 ม.ค. 59 18:44 น. 18

ภาษาไทยถือว่ายากสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยแต่แรกล่ะครับ ส่วนภาษาอังกฤษถือว่าง่ายที่สุดแล้ว

2
Bratislava Member 8 ม.ค. 59 19:46 น. 18-1
คนไทยเองคิดว่าภาษาอังกฤษยากมาก แต่สื่อการสอนภาษาอังกฤษเข้าถึงโดยง่ายกว่าภาษาอื่น ๆ และเรียนกันมาตั้งแต่เล็กจนโต ก็ต้องมีซึมซับเข้าไปในสมองบ้างแหละครับเลยง่าย คนที่พูดว่าภาษาอังกฤษเรียนยากมาก ก็ให้เขาลองเรียนภาษา รัสเซีย สโลวาเกีย เช็ก โปแลนด์ เซอร์เบีย ยูเครน ดูครับ... เขาจะรักภาษาอังกฤษขึ้นมาโดยทันใดเยี่ยม
0
กำลังโหลด

48 ความคิดเห็น

มัณทนา Member 6 ม.ค. 59 16:30 น. 1

ภาษาไทยยากจริงๆสำหรับคนไทยบางคน

คำง่ายๆอย่าง "คะ" "ค่ะ" "นะคะ" "ครับ" ยังเขียนไม่ถูกเลย

4
minfin (เริ่มแก่) Member 7 ก.พ. 59 14:42 น. 1-1
นั่นน่ะสิค่ะ เห็นหลายคนเขียนผิดกันมากเลยคะ เห็รแล้วรู้สึกรำคาญมากคะ ผู้ใหญ่หลายคนยังใช่ผิด เลยนะค่ะ 5555 แบบนี้ใช่มั้ยค่ะ เฮ้ย คะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
itsreal1926 Member 6 ม.ค. 59 22:28 น. 4

นอกจากสระ พยัญชนะเราจะเยอะแล้ว เรายังมีพ้องรูปพ้องเสียง คำนึงเขียนได้หลายอย่างความเหมายเหมือนกันอีก อย่างน้ำ นที ธาร ธารา บลาๆๆๆอีกมากมาย พี่ติดเนี้ยแหละถูกแล้ว555

0
กำลังโหลด
Honda 6 ม.ค. 59 22:30 น. 5
ภาษาไทยมันไม่ได้ยากตรงการเขียน หรือพูด แต่มันยากตรงการอ่านครับ บางคำประโยคมันสามารถออกเสียงได้แบบ เอิ่ม..... อย่างเช่น สามารถ คุณคิดว่าคนเรียนไทยแบบผ่านๆเขาอ่านว่าไง ถ้าไม่ใช่ สา-มา-รด -*- ปล.คนไทยเราก็ยังผิดเลยมันไม่แปลกหรอกทุกคนทุกอย่างมันก็มีผิดบ้างแหละ อ้ออีกอย่าง พยัญชนะ44ตัว ที่เรียนตั้งแต่อนุบาล ให้เรียงหรอ จำไม่ได้แล้วละ ถึงจำได้แต่ก็กว่าจะแกะออกมาทีละตัวแทบเสียใจ...........
1
JeSuisNeth Member 9 มิ.ย. 59 20:07 น. 5-1
ใครว่าเขียนไม่ยากครับ... ผมว่าเขียนกับอ่านนี่ยากมากเลยนะ ลองให้ต่างชาติอ่านร้อยกรองดูสิ ขนาดพวก professional ยังอ่านกันไม่รู้เรื่องเลย
0
กำลังโหลด
....... 6 ม.ค. 59 22:53 น. 6
จริงๆภาษาไทยนี่ยากนะ อย่างที่คห.บนบอกว่าคนบางคนใช้ คะ ค่ะ ผิด ตอนนี้เรากำลังเริ่มเรียนอินโดฯ เรียนไปก็เทียบกับไทยเล่นๆ ตัวอักษรเค้าก็ใช้ตัว a-z คำศัพท์บางคำคล้ายอิ้ง เสียงจะออกสั้นยาวก็ได้ ออกเสียงพูดไม่มีวรรณยุกต์ แล้วดูภาษาไทยสิ 55555 แค่ก-ฮ ก็คงแล้วอะ แถมเขียนง่ายซะที่ไหน ชื่นชมคนต่างชาติที่เรียนไทยจริงๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ซีร่า Member 6 ม.ค. 59 23:23 น. 8

ภาษาอาหรับเรียนแบบปกติยังพอโอเคค่ะ เเต่พอมันเขียนเเบบศิลป์(สามารถไปดูตามป้ายหน้ามัสยิดได้) เมื่อไรนี่ หัวเเทบคะมำ นอกจากนี้ใครที่เคยเรียนภาษาอังกฤษ แล้วเจอเอกพจน์ พหุพจน์หลบไป อาหรับมีทวิพจน์จ้าาา นอกจากนี้ตัวอักษรต่างๆ เมื่อเขียนในตำแหน่งต่างกัน เช่น ต้นคำ กลางคำ หรือท้ายคำ(เรานี่คัดเป็นวันๆ กว่าจะจำได้) รูปแบบการเขียนจะแตกต่างกันไป ส่วนการออกเสียงนั้น ถ้าเจอคำที่เคยเจอบ่อยๆ จะรู้ค่ะว่า มันควรออกเสียงยังไง เเต่ถ้าเป็นคำที่คล้ายกัน ก็ต้องใช้การสังเกดนิดหน่อย เช่น มันอาจใส่สัญลักษณ์เพื่อบอกว่า ตรงไหนเป็นตัวสะกด // ที่เราจำได้คือ ประมาณนี้นะคะ  เราเรียนคอร์สเดียว ตอนสอบ pat อาหรับ 555

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
นิรนาม 7 ม.ค. 59 01:05 น. 10
นอกจาก คะ ค่ะ นะคะ ก็ยังมีที่คนไทย "ส่วนใหญ่" ใช้ผิดอีก...คำว่า "เหรอ" ไงครับ เอาตามตรงคนไทย "ส่วนใหญ่" นี่ชอบใช้คำนี้ผิดเป็น "หรอ" กันหมดเลย เห็นแล้วก็รำคาญอยู่นะ เหอะๆ เยี่ยม
3
นิรนาม 7 ม.ค. 59 01:08 น. 10-1
เอ้อ ลืมไป เหรอ กับ หรือ น่ะถูก แต่ที่แน่ๆ ไม่มีคำว่า "หรอ" แน่นอนครับ นอกจากจะเป็นคำว่า สึกหรอ อะไรแบบนี้
0
กำลังโหลด
Nonthakan 7 ม.ค. 59 01:15 น. 11
ผมเรียนอยู่อเมริกาภาษาอังกฤษก็ง่ายมากๆแต่เวลาให้เพื่อนชาวต่างชาติ(ฝรั่ง)เขียนตามเราเขาก็บอกว่ามันยากมากๆยิ้ม
0
กำลังโหลด
pinnn18 Member 7 ม.ค. 59 13:39 น. 12

ภาษาไทยยากจริงๆค่ะ จำพยัญชนะ สระ ไม่พอ มีคำพ้องต่างๆ มีคำที่ยืมมา โอยย บางทีคนไทยยังอ่านผิดเขียนผิดอยู่เลย

0
กำลังโหลด
sukritfour Member 7 ม.ค. 59 13:52 น. 13

จีนนี่ไม่ยากมากถ้าจำแม่นๆนะ ส่วนไทยถ้าเรียนแบบไม่ลงลึกมากเรียนแค่อ่านออกเขียนได้พูดได้ก็คงไม่ยากเท่าไหร่(มั้ง?) แต่อาหรับนี่สิ เราแค่ดูเฉยๆยังขอบายเลย ไม่ไหวๆ55555555555555

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เด็กน้อยในวันฤดูใบไม้ร่วง Member 8 ม.ค. 59 17:40 น. 17

ภาษาไทยยากจริง ๆ นะ มีหลายความหมาย เขียนก็ยาก แถมคนไทยก็เข้าใจยาก

ภาษาจีนจะยากแค่การเขียนการอ่านนะ ยิ่งถ้าเป็นตัวจีนหมดคือ จะต้องจำจำศัพท์หลายหมื่นคำอะ ไม่เหมือนอังกฤษ แต่นอกนั้นจะง่ายมาก พินยิน พูด ฟัง อะไรทำนองนี้ จีนเป็นภาษาน่ารัก และผู้ชายก็น่ารัก อิอิ

ญี่ปุ่นยากจริง กราบเลย จะเขียน จะอ่าน จะพูด จะฟัง ยาก ๆ เคยพยายามจะเรียนแต่ไม่รอด ฮื่อ

0
กำลังโหลด
Novalist Member 8 ม.ค. 59 18:44 น. 18

ภาษาไทยถือว่ายากสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยแต่แรกล่ะครับ ส่วนภาษาอังกฤษถือว่าง่ายที่สุดแล้ว

2
Bratislava Member 8 ม.ค. 59 19:46 น. 18-1
คนไทยเองคิดว่าภาษาอังกฤษยากมาก แต่สื่อการสอนภาษาอังกฤษเข้าถึงโดยง่ายกว่าภาษาอื่น ๆ และเรียนกันมาตั้งแต่เล็กจนโต ก็ต้องมีซึมซับเข้าไปในสมองบ้างแหละครับเลยง่าย คนที่พูดว่าภาษาอังกฤษเรียนยากมาก ก็ให้เขาลองเรียนภาษา รัสเซีย สโลวาเกีย เช็ก โปแลนด์ เซอร์เบีย ยูเครน ดูครับ... เขาจะรักภาษาอังกฤษขึ้นมาโดยทันใดเยี่ยม
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
neaoi 8 ม.ค. 59 19:15 น. 20
ภาษาจีนเราได้แต่ พินอิน อ่ะ 555 ส่วนภาจีนแบบตัวเขียนเลยอะได้แต่ตัว wo ที่แปลว่า ฉัน อะ กับภาษาไทย เย้
1
กำลังโหลด
กำลังโหลด