รู้มั้ย? ชุดนักเรียนญี่ปุ่นที่เราเห็นในอนิเมะและซีรีส์ มีต้นกำเนิดมาจากไหน

        พี่น้องเชื่อว่าชาวเด็กดีทุกคนคงคุ้นหูคุ้นตากันดีกับเครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายจากภาพติดตาในมังงะ อนิเมะ หรือซีรี่ส์ญี่ปุ่นต่างๆ วันนี้พี่น้องจะมาเล่าถึงต้นกำเนิดของเครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่น และวิวัฒนาการของมันจากอดีตจนถึงปัจจุบันค่ะ
 

เครื่องแบบนักเรียน สัญลักษณ์แห่งยุคใหม่

        ญี่ปุ่นเริ่มมีการใช้เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นในช่วงปี 1873 ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวญี่ปุ่นบางส่วนเห็นด้วยกับการรับวัฒนธรรมตะวันตกเพื่อให้ญี่ปุ่นเดินหน้าสู่ยุคใหม่ สถาบันแรกที่ใช้เครื่องแบบคือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว และได้ไอเดียเครื่องแบบมาจากเครื่องแบบทหารชาวปรัสเซียในสมัยนั้น ว่ากันว่าที่ใช้เครื่องแบบทหารเพราะอยากให้ชาติตะวันตกเห็นว่าคนญี่ปุ่นนั้นเข้มแข็งและรักชาติ เพราะทหารญี่ปุ่นในสมัยนั้นก็เปลี่ยนมาใช้เครื่องแบบแบบเดียวกัน
 
japanpowered.com
 
        ส่วนเครื่องแบบนักเรียนหญิงมาหลังจากนั้น น่าจะราวปี 1900 ไปแล้ว นักเรียนหญิงได้มีเครื่องแบบเป็นของตัวเองเป็นครั้งแรกหลังจากต้องสวมเครื่องแบบประจำชาติอย่างกิโมโนมานาน โดยเครื่องแบบนักเรียนหญิงนี้ก็ได้ไอเดียจากเครื่องแบบกองทัพทหารเรือของสหราชอาณาจักร ผู้บริหารของบริษัทที่ผลิตเครื่องแบบนักเรียนหญิงเคยให้สัมภาษณ์ว่า คงมีคนเห็นเด็กฝรั่งสวมเครื่องแบบกองทัพเรือแล้วดูน่ารักดี ก็เลยเอามาใช้กับนักเรียนหญิงซะเลย เหตุผลอีกอย่างคือการตัดเย็บชุดกะลาสีนั้นง่ายกว่าแบบอื่นและมีเทคนิคคล้ายกับการตัดเย็บกิโมโนของญี่ปุ่นอยู่แล้ว
 

japanpowered.com
 

เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นตามมาตรฐาน

        พอสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ดูเหมือนจะมีหลายโรงเรียนรับเอาไอเดียเครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นนี้ไปใช้จนแพร่หลายไปทั่วประเทศและกลายเป็นเครื่องแบบประจำชาติที่เราเห็นในปัจจุบัน
        สำหรับนักเรียนประถมนั้นส่วนใหญ่จะไม่มีเครื่องแบบประจำ แต่ถ้าโรงเรียนใดมีเครื่องแบบ จะให้เด็กชายสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวกับกางเกงขาสั้น เด็กผู้หญิงจะสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวหรือเสื้อปกกะลาสี กับกระโปรงพลีท และเด็กๆ ต้องสวมหมวกแก๊ปสีสันสดใสเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเวลาข้ามถนนหนทางด้วย
 

renzoreggiani via pixabay.com
 
        ส่วนนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายนั้นจะสวมเครื่องแบบที่เราคุ้นตากันดี
        นักเรียนมัธยมชาย จะสวมชุดนักเรียนที่ได้ไอเดียมาจากเครื่องแบบทหาร เรียกว่า "กักคุรัน" เป็นชุดเสื้อคอตั้งติดกระดุมตั้งแต่เม็ดแรกยันเม็ดสุดท้ายและสวมเชิ้ตสีขาวไว้ด้านใน กางเกงขายาวทรงกระบอก เครื่องแบบส่วนใหญ่มักเป็นสีดำ อาจมีสีกรมท่าหรือน้ำเงินเข้มโผล่มาบ้าง
 

wordpress.com / pinterest.com
 
        ที่กระดุมเสื้อของนักเรียนชายอาจมีตราโรงเรียนปั๊มนูนติดอยู่ บางโรงเรียนอาจให้มีเข็มติดคอเสื้อเพื่อแสดงตราโรงเรียนหรือระดับชั้นของนักเรียนคนนั้น
        ในสมัยก่อนยังนิยมใส่หมวกแก๊ปคู่กับชุดนักเรียนชายอีกด้วย แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว
 

pinterest.com
 
        ส่วนนักเรียนมัธยมหญิง จะสวมชุดนักเรียนปกกะลาสี ที่เรียกว่า "เซล่าฟุคุ" (เป็นการออกเสียงแบบญี่ปุ่นของคำว่า sailor) เสื้อปกกะลาสีจะมีเนื้อผ้าและความขาวแขนเปลี่ยนไปตามฤดูกาล สวมคู่กับกระโปรงพลีทตาหมากรุก มีโบว์ หรือเนกไทผูกที่อกเสื้อ ส่วนสีก็มีตั้งแต่สีกรมท่า ขาว เทา เขียวสว่าง หรือสีดำ บางโรงเรียนอาจกำหนดให้ใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่ถูกต้อง เช่น ต้องมีความยาวถุงเท้าตามที่กำหนด สีกรมท่าหรือสีขาวเท่านั้น และรองเท้าหนังสีดำหรือสีน้ำตาล

kotaku.com
 
        สำหรับกระเป๋านักเรียนประถมจะเป็นกระเป๋าทรงตั้งคล้ายขนมปัง และมีราคาสูงมาก ส่วนกระเป๋าของนักเรียนมัธยมจะเป็นกระเป๋าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าใบใหญ่คล้ายๆ กัน บางโรงเรียนอาจให้นักเรียนซื้อกระเป๋าข้างนอกเอง และบางโรงเรียนก็บังคับให้ใช่กระเป๋าของโรงเรียนเท่านั้น
 

ebay.com
 

การแหกกฎการแต่งเครื่องแบบ

        ไม่ว่าที่ไหนก็เป็นเหมือนกันค่ะ ถ้ามี "กฎ" ก็ต้องมีคนแหก เพราะเครื่องแบบมีเพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกัน แสดงความเท่าเทียมกัน มันก็ต้องมีคนอยากแสดงความเป็นปัจเจกออกมา สำหรับนักเรียนญี่ปุ่น ถ้าใครดูอนิเมะหรือซีรี่ส์บ่อยๆ จะเห็นคนที่สวมเครื่องแบบตามนี้
 
  • ไม่ติดกระดุมเสื้อ: นักเรียนชายจะทำบ่อย อารมณ์ขี้เกียจติดกระดุม เผยให้เห็นเสื้อยืดสีขาวหรือเสื้อเชิ้ตที่ใส่ไว้ข้างใน เท่ดี
  • ไม่เอาเสื้อใส่ไว้ในกางเกง: อันนี้หมายถึงเสื้อเชิ้ตข้างในนะคะ นี่ก็นักเรียนชายทำบ่อยเช่นกัน
  • สวมลูซซ็อกส์ (loose socks): ถุงเท้าแบบนี้ก็คือถุงเท้าที่ย้วยๆ ยานๆ ดึงขึ้นมาสูงแค่ไหนก็ยังย้วยอยู่ พวกนักเรียนหญิงจะชอบสวมกัน
     
tokyofashion.com
 
  • กระโปรงสั้น: แหม่...ปัญหาระดับชาติ
  • ไม่สวมโบว์หรือไท: นักเรียนหญิงบางคนก็ไม่ใส่โบว์หรือผูกคอซอง (ของเราก็มีเนอะ แต่ส่วนใหญ่จะลืมมากกว่าตั้งใจ)
     
        นอกจากนี้ยังมีแฟชั่นอีกแบบที่ฮิตอยู่ช่วงหนึ่ง เรียกว่า ซุเคะบัน หรือแยงกี้ เป็นแฟชั่นนักเรียนหญิงที่อยากเป็นฮิปสเตอร์ ก็เลยแหกกฎด้วยการสวมกระโปรงยาวลากพื้น พับแขนเสื้อขึ้น บางทีก็คาดผ้าไว้ที่หน้าผาก ถือไม้เบสบอลหรือไม้เคนโด้ และมีท่านั่งที่เป็นซิกเนเจอร์ของตัวเอง
 

tumblr.com
 
        ฝั่งผู้ชายก็มีเหมือนกันค่ะ เรียกว่าบันโจ เรียกว่าเป็นแก๊งค์เจ้าถิ่นประจำโรงเรียนของตนเองและชอบมีเรื่องกับเด็กโรงเรียนอื่นบ่อยๆ มีอยู่ยุคหนึ่งก็จะทำผมทรงปอมปาดัวร์กันเป็นแถวด้วย
 

การเข้ามาของเครื่องแบบคาทอลิก

        ปลายศตวรรษที่ 20 บางโรงเรียนเริ่มรับเอาเครื่องแบบแบบคาทอลิกเข้ามาบ้าง เพื่อต้านกลุ่มนักเรียนที่ใช้เครื่องแบบกะลาสีแบบผิดๆ เครื่องแบบคาทอลิกก็ได้แนวคิดมาจากเครื่องแบบไฮสกูลของอเมริกัน โดยเปลี่ยนจากเสื้อกะลาสีเป็นเสื้อเชิ้ตธรรมดา สวมทับด้วยเบลเซอร์ ส่วนนักเรียนชายก็เปลี่ยนจากเสื้อแนวกักคุรันเป็นเสื้อเชิ้ตสวมทับด้วยเบลเซอร์เช่นกัน
 

wordpress.com
 
        ในปัจจุบันนี้มีโรงเรียนในญี่ปุ่นราว 50% ที่ยังให้นักเรียนม.ต้นสวมเครื่องแบบกะลาสีกับกักคุรันแบบดั้งเดิมอยู่ ส่วนนักเรียนม.ปลายเหลือแค่ 20% แล้ว นอกนั้นเป็นเครื่องแบบตามอเมริกัน
        บางโรงเรียนที่ไม่ได้ดังมาก แต่อยากให้มีนักเรียนมาเข้าเรียนก็อาจใช้เครื่องแบบล่อ เช่น โฆษณาว่านักเรียนที่เรียนที่นี่จะได้สวมเครื่องแบบที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ชั้นนำ จะเห็นว่าเครื่องแบบเองก็มีอิทธิพลต่อเด็กๆ ไม่ใช่น้อย
 

ความเชื่อหรือตำนานที่มาพร้อมกับเครื่องแบบ

       หลายคนคงเคยได้ยินธรรมเนียมการให้ "กระดุมเม็ดที่ 2" ของนักเรียนชายที่สวมเครื่องแบบกักคุรันและกำลังจะจบการศึกษา กระดุมเม็ดที่ 2 จากบนนี้ถือเป็นการสารภาพรัก หรือเป็นเครื่องหมายแทนใจ เพราะมันอยู่ใกล้อกของฝ่ายชายที่สุด

        บางครั้งนักเรียนชายก็เป็นฝ่ายถอดกระดุมไปให้หญิงสาวเพื่อสารภาพรัก แต่บางครั้งนักเรียนหญิงก็เป็นฝ่ายเข้าไปขอเอง ถ้าเกิดนักเรียนชายคนนั้นไม่ได้คิดจะให้ใคร

        นอกจากนี้ เครื่องแบบกะลาสีของนักเรียนหญิงเองก็ผันตัวเองไปเป็นสัญลักษณ์แห่งความไร้เดียงสา และกลายเป็นวัตถุทางเพศที่ผู้ชายบางคนอดเห็นไม่ได้ เป็นต้องของขึ้น เรียกว่าในอุตสาหกรรมหนังผู้ใหญ่ของญี่ปุ่นกว่าครึ่งชอบให้นักแสดงหญิงสวมเครื่องแบบนักเรียนเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
 
        จริงๆ แล้วชุดนักเรียนหญิงม.ต้นโรงเรียนรัฐบาลของเราก็ใกล้เคียงกับชุดนักเรียนของญี่ปุ่นที่เป็นชุดกะลาสี กระโปรงพลีท เหมือนกันนะ ถ้าเปลี่ยนชุดนักเรียนชายเป็นแบบกักคุรันแล้วไปยืนใต้ต้นชมพูพิงค์นี่คงได้บรรยากาศเหมือนอยู่ในญี่ปุ่นดีเหมือนกัน
 
ขอบคุณข้อมูลจาก
en.wikipedia.org
jp.learnoutlive.com
japanpowered.com
miccostumes.com
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
FUEY Member 29 พ.ค. 59 02:45 น. 6

เอาชุดแยงกี้ที่แหวกแนวมาให้ดูค่ะ wink

(Majisuka Teppen Blues) เพลงประกอบละคร Majisuka Gakuen นำแสดงโดย AKB48

เกร็ดเพิ่มเติม
หนึ่งในความโดดเด่นของ AKB48 คือชุดที่หลากหลายและสวยงาม ออกแบบโดย
Kayano Shinobu ถือเป็นดีไซเนอร์ที่มีชื่อเหมือนกันในญี่ปุ่น
และยังได้รับเชิญให้ออกแบบชุดนักเรียนของโรงเรียนใหม่ในฟุกุชิมะ
ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตภัยพิบัติ 2011

ชุดที่ว่าค่ะ

ที่ได้รับเกียรติให้ออกแบบชุดนักเรียน ก็มาจากที่กลุ่ม 48 ไปช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ครั้งนั้นนั่นเองค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

9 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
FUEY Member 29 พ.ค. 59 02:45 น. 6

เอาชุดแยงกี้ที่แหวกแนวมาให้ดูค่ะ wink

(Majisuka Teppen Blues) เพลงประกอบละคร Majisuka Gakuen นำแสดงโดย AKB48

เกร็ดเพิ่มเติม
หนึ่งในความโดดเด่นของ AKB48 คือชุดที่หลากหลายและสวยงาม ออกแบบโดย
Kayano Shinobu ถือเป็นดีไซเนอร์ที่มีชื่อเหมือนกันในญี่ปุ่น
และยังได้รับเชิญให้ออกแบบชุดนักเรียนของโรงเรียนใหม่ในฟุกุชิมะ
ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตภัยพิบัติ 2011

ชุดที่ว่าค่ะ

ที่ได้รับเกียรติให้ออกแบบชุดนักเรียน ก็มาจากที่กลุ่ม 48 ไปช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ครั้งนั้นนั่นเองค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด