มาดูคนต่างชาติวิเคราะห์ Grammar ภาษาไทย จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย

        พี่น้องเชื่อว่าในชีวิตการเรียนของน้องๆ ชาวเด็กดี ต้องมีสักครั้งที่บ่นว่า "ภาษาอังกฤษทำไมยากจัง" กฎนู่นนี่นั่นซับซ้อนไปหมด มีข้อยกเว้นแล้วก็ยังมีข้อยกเว้นของข้อยกเว้นอีก ทำไมคนอังกฤษเขาพูดภาษาตัวเองได้ปร๋อ ไม่ต้องคิดนานเหมือนเราเลย
        เอ้า! ย้อนกลับมาดูภาษาไทยของเรากันบ้างค่ะ จำได้มั้ยว่าที่โรงเรียนสอน
"ไวยากรณ์" ภาษาไทยไว้แบบไหน เท่าที่พี่น้องจำความได้ ตั้งแต่เริ่มเรียนภาษาไทยเราก็ฝึกแต่งประโยคเลย ไม่ได้เรียนไวยากรณ์เป็นชิ้นเป็นอันแบบภาษาอังกฤษ พอขึ้นมัธยมก็เรียนภาษาไทยจากวรรณคดีแล้วด้วยซ้ำ
        เอ...สงสัยกันมั้ยว่า จริงๆ แล้วภาษาไทยมีไวยากรณ์หรือเปล่า และถ้ามันมี มันเป็นแบบไหน ถ้าเราเรียนภาษาไทยแบบนี้เราจะโอเคมั้ย?
       
พี่น้องไปเจอบทความที่คนต่างชาติเขียนอธิบายไวยากรณ์ภาษาไทยเอาไว้ น่าสนใจมาก มาดูกันดีกว่าค่ะว่าคนอื่นเขามองภาษาบ้านเกิดเรายังไง
 

1. ภาษาไทยมีระดับเสียง

        ข้อนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับไวยากรณ์เท่าไร แต่เป็นอะไรที่คนอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นประสบปัญหามาก เพราะภาษาบ้านเขาไม่มี "วรรณยุกต์" ค่ะ
        ภาษาอังกฤษอาจจะมีทำเสียงสูงเสียงต่ำบ้าง ตามการเน้นเสียงและรูปประโยค แต่ภาษาไทย คำแต่ละคำต้องออกเสียงให้ถูกต้องตามวรรณยุกต์ของมันไม่งั้นผิดความหมาย เช่น
        จะดูข้าวหรือจะดูข่าว ออกเสียงผิดชีวิตเปลี่ยนทันที
        ถ้าใครมีเพื่อนเป็นคนต่างชาติ คงพอเข้าใจว่าเวลาสอนให้เพื่อนพูดภาษาไทยทีไร เพื่อนมักจะมีปัญหาออกเสียงวรรณยุกต์ผิดทุกที
 

2. ภาษาไทยตัวอักษรเยอะมาก

        ภาษาไทยมีพยัญชนะ 44 ตัว มีสระ 21 รูป ขนาดคนไทยยังจำไม่ได้เรียงไม่ถูก ต้องทำเพลงออกมาให้ร้องจะได้จำได้
        แต่เรื่องความเยอะนั้นยังไม่เท่าเสียงตัวอักษรบางตัวที่คนต่างชาติบอกว่าออกเสียงยาก เพราะบ้านเขาไม่มีเสียงนี้ (ก็เหมือนที่เราออกเสียงภาษาอังกฤษบางตัวไม่ได้) เช่น ง งู
        ภาษาอังกฤษมีเสียง "เงอะ" เป็นเสียงที่เกิดจากการเอาโคนลิ้นด้านในแตะเพดานปาก แต่ใช้เฉพาะท้ายคำเท่านั้น เช่น string (สตริง) ไม่มีการเอามาวางต้นคำแบบภาษาไทย
        ดังนั้น ลองแกล้งเพื่อนหรือครูฝรั่งของเราด้วยการบอกให้เขา/เธอพูดคำว่า "งงงวย" ดูค่ะ เขาจะมีปัญหากับการพยายามออกเสียงมาก
 

3. ภาษาไทยเขียนติดกันเป็นพรืด

        พี่น้องจำได้ว่าอาจารย์ชาวบริติชที่คณะเคยบ่นเรื่องภาษาไทย ว่าทำไมคนไทยถึงได้ทนอ่านตัวหนังสือที่เขียนติดกันเป็นพรืดแบบนั้นได้
        เอาจริงๆ ก็มีบ้างเหมือนกันที่เราแยกไม่ออกเวลาเขียนตัวติดกัน แต่เราอาศัยบริบทในการแยกคำเอา ยกตัวอย่างจากประโยคสุดพีคที่เคยเอามาล้อกันบ่อยๆ
        ถ้าดูจากบริบทเราก็คงรู้ว่ามันต้องเว้นวรรคระหว่างกางเกง กับ ใน จึงได้ความหมายว่าไม่ให้ใส่กางเกง แต่ให้ใส่กระโปรง แต่ก็คงมีคนนึกตลก แปลเป็น ไม่ให้ใส่กางเกงใน ระหว่างทำงาน คือถอดๆ ไปเลย เย็นสบายดี หรือไม่ให้ใส่กางเกง ในเวลาทำงาน ก็เดินเปลือยๆ กันไป
 

4. ลำดับคำที่เหมือนจะง่ายแต่ไม่ง่าย

        ในภาษาอังกฤษ ลำดับคำสำคัญมาก เราต้องเริ่มจาก ประธาน กริยา กรรม ถ้าจะขยายต้องขยายไปข้างหน้า ไม่อย่างนั้นคนฟังจะไม่เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคำต่างๆ
        แต่ภาษาไทยลำดับคำอาจฟังดูง่าย คือขยายไปข้างหลังเรื่อยๆ แต่ชอบมีการแทรกคำบางคำเข้ามาให้งงเล่น ทั้งๆ ที่จะไม่มีก็ได้ เช่น คำว่า "มัน"
        ถ้าเราแปลจากไทยเป็นอังกฤษ เราต้องเติม it แทนคำว่า "มัน" หลัง the dog ซึ่งผิดหลักไวยากรณ์อังกฤษค่ะ แต่ภาษาไทยกลับทำได้ และจริงๆ เราตัดคำว่า "มัน" ออกก็ไม่ได้ทำให้ผิดความหมาย แต่พอใส่ "มัน" แล้วรู้สึกเป็นธรรมชาติกว่าพูดว่า "หมาไม่ได้กัดคน" เฉยๆ
 

5. ภาษาไทยใช้การเติมคำเพื่อบอก Tense

        ความต่างข้อนี้เองที่ทำให้คนไทยมีปัญหาเรื่อง Tense ในภาษาอังกฤษมากที่สุด เพราะภาษาไทยไม่มีการผันกริยาเพื่อบอกกาลอดีต ปัจจุบัน อนาคต หรือแม้แต่ทำอยู่ ทำ ณ ตอนนั้น หรือได้ทำมาสักระยะ เราอาศัยการเติมคำเอาค่ะ
        อยากให้คนอื่นรู้ข้อมูลมากแค่ไหน เราอาศัยเติมคำเข้าไป ในขณะที่ภาษาอังกฤษต้องผันกริยาให้ถูกต้องตามลักษณะการกระทำและเวลา แถมบางครั้งยังต้องเติมคำเสริมเพื่อเน้นความหมายเข้าไปอีก
 

6. กริยา 4 ตัวติดกันก็มีด้วย

        ในภาษาอังกฤษ ถ้าจะวางกริยาหลายๆ ตัวติดกันต้องเปลี่ยนรูปกริยาค่ะ ไม่งั้นสับสนแน่ว่ากริยาตัวไหนเป็นกริยาหลัก และตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก็จะไม่มีการวางกริยาเกิน 2 ตัว
        แต่ภาษาไทยเรามาเหนือค่ะ วางกริยาติดกันเกิน 2 ตัวบ่อยมาก และก็น่าแปลกที่เราแยกออกว่ากริยาหลักของประโยคคืออะไร

7. คุณศัพท์วางหลังคำนามได้เลย

        กฎการใช้คำคุณศัพท์ในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษต่างกันค่ะ
        ในภาษาอังกฤษ ถ้าจะเอาคำคุณศัพท์ขยายคำนาม ต้องวางไว้ข้างหน้าเท่านั้น หรือถ้าจะแต่งเป็นประโยค ต้องใช้คู่กับ verb to be
        แต่ภาษาไทยง่ายกว่ามาก
        จะใช้แบบไหน ก็แค่วางคำคุณศัพท์ไว้ต่อจากคำนามได้เลย
 

8. คำนามในภาษาไทยมีลักษณนาม

        ในขณะที่ภาษาอังกฤษแบ่งคำนามเป็นนามนับได้ นามนับไม่ได้ ถ้าพูดถึงคำนามนับได้ในประโยคต้องบอกจำนวน จะ 1 หรือหลายอัน ยังไงก็ต้องบอก ไม่มีข้อยกเว้น แต่ภาษาไทย ถ้าพูดถึงคำนาม เรามักจะไม่บอกจำนวน แต่คนฟังก็จะเดาเอาเองว่าคงหมายถึง 1 จำนวน
        นอกจากนี้ ภาษาไทยยังมีลักษณนาม ซึ่งภาษาอังกฤษไม่มี
        เรารู้กันว่าลักษณนามในภาษาไทยจะมีอยู่เยอะ จนคนไทยเองก็ใช้ผิดๆ ถูกๆ เราเลยเลือกใช้คำว่า "อัน" เพื่อเอาตัวรอด คนต่างชาติก็รู้ทริคนี้เหมือนกันค่ะ
 

9. ประโยคคำถาม

        การสร้างประโยคคำถามในภาษาไทยจะเหมือนภาษาอื่นๆ ในฝั่งเอเชีย นั่นคือเติมคำๆ เดียวเข้าไปในประโยคบอกเล่า ก็เปลี่ยนให้ประโยคนั้นเป็นประโยคคำถาม "ใช่หรือไม่ใช่" ได้แล้ว ซึ่งตรงข้ามกับภาษาอังกฤษที่ต้องมีการสลับลำดับประธาน กริยาด้วย
        คนต่างชาติเขาเรียนรู้ว่าถ้าจะตั้งคำถามเป็นภาษาไทยให้เติม "ไหม" เข้าไปท้ายประโยคค่ะ
        ฟังดูง่าย แต่มันยากสำหรับคนต่างชาติตรงที่เรามีวิธีการลงท้ายประโยคคำถามที่หลากหลายว่าภาษาอังกฤษมาก ไม่ใช่แค่ "ไหม" อย่างเดียว เช่น
        วิธีการลงท้ายแต่ละแบบก็ให้ความหมาย ความรู้สึก และมีระดับทางการที่ต่างกันออกไป
 

10. สรรพนามเยอะไปไหน

        เนื่องจากวัฒนธรรมไทยเน้นเรื่องความอาวุโส เราจึงมีคำสรรพนามที่สะท้อนวัฒนธรรมนี้ เช่น ถ้าพูดกับผู้ใหญ่เราใช้สรรพนามอีกแบบ พูดกับเพื่อนเราก็ใช้สรรพนามอีกแบบ
        สังเกตว่า ภาษาอังกฤษใช้ you เหมือนกันหมดเลย แต่ภาษาไทยเปลี่ยนสรรพนามไปได้เรื่อยๆ นอกจากนี้ชาวต่างชาติยังแปลกใจที่คนไทยมักเรียกคนแปลกหน้าด้วยคำเรียกญาติสนิท เช่น
        ซึ่งการใช้คำเรียกเหล่านี้ ยังต้องอาศัยเทคนิคการคาดคะเนอายุ หรือแม้แต่วัฒนธรรมของสังคมว่า ลูกค้ามักเรียกพนักงานว่า "น้อง" แต่เรียกแม่ค้าว่า "ป้า" โดยไม่แคร์ว่าป้าจะอ่อนกว่าเรา หรือแก่คราวแม่ก็ตาม
        หากเรียกผิดขึ้นมาทีนี่อาจมีเคือง
 

11. ภาษาไทยชอบมีคำสร้อย

        เช่นเคยค่ะ ผลจากวัฒนธรรมการเคารพผู้อาวุโสกว่า ทำให้เรามีคำลงท้ายเช่น "ครับ" หรือ "ค่ะ" เอาไว้เพิ่มความสุภาพเวลาพูดกับผู้ใหญ่หรือคนที่มีอำนาจมากกว่าเรา และยังมีคำลงท้ายอื่นๆ ที่ชวนให้คนต่างชาติงงอีกมาก เช่น
        แต่ถึงจะยากอย่างไร คนต่างชาติหลายคนที่เรียนภาษาไทยก็สนุกกับการใช้คำที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน และหลายคนยังบอกว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่แสดงอารมณ์ได้ดีด้วยนะ

        เห็นแบบนี้แล้ว เริ่มรู้สึกเลยใช่มั้ยว่าภาษาไทยก็มีความยากไม่แพ้ภาษาอังกฤษ คนต่างชาติเองก็เรียนหนักไม่แพ้กัน เราเองก็ต้องอย่ายอมแพ้นะ!!!
 
ขอบคุณข้อมูลจาก
into-asia.com
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

10 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
พลอยใส 4 พ.ย. 59 22:00 น. 6
เวลาเขียนภาษาไทยมีตัวการันต์และคำราชาศัพท์คำพ้องไวพจน์อีกมากมายค่ะ ภูมืใจในภาษาไทย><
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Tekkudesu Member 20 ธ.ค. 59 05:55 น. 8

ภาษาไทยมีความหลากหลายในเรื่องของการเล่นคำและการใช้คำมาก
ทั้งคำผวน คำด่าทอ(ที่ปกติแล้วมันก็เป็นศัพท์ของมันเฉย ๆ) คำซ้อนเพื่อเสียง คำซ้อนเพื่อความหมาย พยัญชนะ เยอะอะ ละถ้าใช้คำผิดหรือสลับตำแหน่งความหมายประโยคก็เพี้ยนไปเลย 

เรื่องพยัญชนะอาจจะยังนึกไม่ออก เคยมีกระแสนึง ภาษาสก๊อยที่ต้องมีสกิลพิมพ์ระดับสูงมาก คนนี้ต้องมีความเซียนภาษาไทยอยู่ด้วยแหละ คงคุ้นตากันดีกับภาษาประมาณว่า "ซวัฎฎีฅ่ะฮ์ วัณเณ้ญ์ปัยตฬาดณ๊" ทั้งหมดนี้คือถ้าให้อธิบายทีละตัวก็คงยาว ว่าทำไมถึงใช้ตัวนั้นแทนตัวนี้ ยกตัวอย่างมุกนึง คำที่ลงท้าย ญ มันออกเสียงเป็น ย ก็จริงแต่ไม่อ่านเป็นแม่เกย มีที่เขาเล่นคำว่า ครวญ โดยตัวนี้อ่านเป็นแม่กน ไม่ได้อ่านเป็นแม่เกย มืดมน

0
กำลังโหลด
blue_99 Member 20 ธ.ค. 59 08:49 น. 9

คลิปนี้เลยฮามาก ฝรั่งทำออกมาว่าภาษาไทยเนี่ยแหละยากซับซ้อน 

เค้าอาจพูดเร็วไปนิดนึงถ้าใครอ่านไม่ทันมีซับไทยให้นะ 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด