จากนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ถูกเพื่อนเหยียด สู่ 'นักเรียนทุนคิง' ในอเมริกา!

       
       สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com ... เจอกับ พี่เป้ และเล่าประสบการณ์เด็กนอกเช่นเดิม ^^ ตอนนี้ระเบียบการทุน ก.พ. 2560 ก็ออกมาแล้ว (ใครยังไม่ได้อ่าน คลิกที่นี่) วันนี้เลยมีประสบการณ์เด็กนอกของรุ่นพี่ที่ปีก่อนได้ทุน ก.พ. (ทุนคิง) มาฝากค่ะ บอกเลยว่าต้องอ่าน คือดีมากๆๆๆๆ


   
 
       สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวณพัฐธิกา สิโรตม์พิพัฒ แต่เพื่อนๆ และคนรู้จักเรียก “สาลี่สวยสุดศิลป์เยอฯ” (พูดจริงค่ะ 5555) ตื่นเต้นมากเลยยยย ปกติเป็นคนอ่านบทสัมภาษณ์ในเว็บเด็กดี ตอนนี้เป็นคนให้สัมภาษณ์เอง จบ ม.6 แผนการเรียนภาษา-เยอรมัน จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง (ทุนคิง) ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาค่ะ อยากเรียน Creative Writing กับ Philosophy and Religions ค่ะ (จริงๆ แล้วทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกไปศึกษาอะไร  ที่ประเทศไหนก็ได้ แต่เลือกไปสหรัฐอเมริกาค่ะ)

       ตอนอยู่ชั้น ม.5 หนูไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาค่ะ แล้วเป็นประสบการณ์เกือบ 1 ปีที่ไม่ดีเท่าไหร่ ตอนนั้นไปอยู่รัฐมิชิแกน  โฮสต์แฟมิลี่ครอบครัวแรก  Area coordinator และโรงเรียน ไม่มีอะไรน่าประทับใจเลยค่ะ  ที่บ้านถูกห้ามไม่ให้ใช้มือถือที่บ้าน โดนบังคับให้ซื้อของที่โฮสต์คิดว่าหนูควรจะมีทั้งๆ ที่ไม่อยากได้ ที่โรงเรียนหนูเป็นคนเอเชียเกือบคนเดียว เพื่อนๆ เหยียดผ่านทั้งทางสายตาและภาษา  หนูกินข้าวในห้องน้ำแบบในหนัง Mean Girl เลย  เมืองอยู่ในชนบทแบบไปไหนเองไม่ได้ ต้องมีรถ ยืนกลางถนนสายหลักหน้าบ้านได้นานถึง 15 นาทีกว่าจะมีรถคันนึงผ่านมา  สองข้างถนนเป็นป่า ไม่เคยเห็นคนเดินเลยค่ะ (อยากรู้เรื่องราวชีวิตแลกเปลี่ยนตอนนั้นให้ละเอียดกว่านี้ติดต่อมาคุยมาปรึกษาได้นะคะ 5555 จำได้ทุกอย่างเลยปีนั้น เขียนไดอารี่ทุกวัน #แค้นแรง 55555)


      ก่อนหนูไปสหรัฐอเมริกาครั้งนั้น หนูก็เคยเป็นคนนึงนะคะ ที่คิดว่าประเทศเค้าพัฒนาแล้วเจริญแล้ว แต่หลังจากแลกเปลี่ยน หนูก็รู้เลยค่ะว่าหลายคนที่คิดแบบนั้นยังไม่เคยไปสัมผัสส่วนที่ยังไม่พัฒนาของสหรัฐอเมริกา ทุกประเทศทุกที่ค่ะ มีส่วนดีส่วนด้อย อย่าเหมารวมว่าประเทศเราหรือประเทศเค้าไม่ดี หนูอยากเป็นหนึ่งในคนที่บอกเล่าเรื่องเหล่านี้ให้คนไทยได้รู้ เพราะหนูเจอสิ่งที่เรียกได้ว่าแย่มาแล้ว แต่นักเรียนทุนส่วนใหญ่ก็จะเจอชีวิตที่เรียบลื่นเลยเมื่อไปเรียนต่างประเทศครั้งแรก ไม่ใช่มุมของความยากลำบากในชีวิตจากการเรียน การปรับตัวนะคะ เพราะมุมนี้ก็ขรุขระสำหรับทุกคน แต่หมายถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ควบคุมได้ เพราะ ก.พ.ต้องมั่นใจแล้วว่าโรงเรียนและสิ่งต่างๆ ที่มอบให้นักเรียนทุนรัฐบาลไทยซึ่งจะกลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศนั้น ต้องคัดมาแล้วว่าดีพอ เหมาะสม ควรได้รับ
     
      และยิ่งกว่านั้น หนูก็ยังรู้สึกว่าโอกาสที่ได้จากปีแลกเปลี่ยนนั้นมันไม่คุ้มค่าเงินค่าโครงการที่พ่อทำงานหนักจ่ายไป หนูอยากไปสัมผัสส่วนที่ดีๆ ของสหรัฐอเมริกาบ้าง  หนู “จะกลับไปอีกครั้ง” แต่คราวนี้หนูจะต้องมีสิทธิ์เลือก หนูอยากอยู่เมืองที่ดีกว่าตอนนั้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เจอผู้คนคุณภาพ แล้วทางเดียวที่พอจะมองเห็นก็คือทุน ก.พ. ถ้าไปในฐานะนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ยังไงชีวิตก็ต้องดีกว่าก่อนค่ะ หรือถ้าไม่ดีก็ไม่มีทางแย่ไปมากกว่านั้นได้ หนูเลยกลับไปซ้ำชั้น ม.5 ที่ไทย แล้วเตรียมตัวสอบทุน

       
     ที่จริงแล้ว หนูจะเลือกสอบ 2 ทุนค่ะ คือทุนเล่าเรียนหลวงสายภาษา-ภาษา และทุนกระทรวงการต่างประเทศ แต่ปีที่แล้วไม่มีทุนกระทรวงการต่างประเทศ หนูเลยสอบแค่ทุนเล่าเรียนหลวงค่ะ ส่วนสาเหตุที่ไปสอบ นอกจากนั้นก็มีแรงบันดาลใจเสริมค่ะ ความชอบส่วนตัวนะ โปรดอย่าวิพากษ์วิจารณ์รุนแรง แค่อ่านผ่านๆ จำบ้างไม่จำบ้างเหมือนอ่านทะเบียนรถก็พอค่ะ 55555 หนูชอบคนเก่งค่ะ(หมายถึงปลื้ม) เก่งการเรียน ดนตรี กีฬา งานประดิษฐ์ อะไรก็ตาม ชื่นชอบชื่นชมหมดเลยค่ะ แล้วก็ตั้งแต่จำความได้หนูไม่กรี๊ดดารา นักร้อง วงดนตรีหรืออะไรทั้งสิ้น ส่วนใหญ่จะกรี๊ดแต่เด็กโอลิมปิกค่ะ เพราะเค้าจะใส่สูทตอนไปเป็นผู้แทน 55555 หนูแพ้สูทค่ะ อ๊ากกกกก 55555 (เพื่อความอินฟังเพลง “ติสท์รักวิทย์” ได้นะคะ เดี๋ยวนี้มีเวอร์ชั่นที่น้องเตรียมฯ ทำใหม่ น่ารักมากเลย)

      แล้วส่วนใหญ่คนที่เป็นผู้แทนหรือเข้าค่าย หรือมีส่วนร่วมกับอะไรแนวนี้ก็จะได้ทุนอะไรสักอย่าง หนูอยากไปอยู่ในสังคมที่มีคนเหล่านั้น อยากรู้จัก อยากทักทาย อยากรู้ว่ากินอะไร วันวันทำอะไรทำไมเก่งจัง 5555 เลยคิดว่าหนทางเดียวที่จะได้เข้าใกล้ก็คือทางนี้แหละค่ะ คือขยันหมั่นเรียนรู้ อ่านหนังสือ ตั้งคำถาม สอบทุน ก.พ. แล้วไปเป็น Thai Scholar

     
       สำหรับการเตรียมตัวไปสอบทุนนั้น ทุนเล่าเรียนหลวงสายภาษา-ภาษา สอบ 5 วิชา ใช้เวลาสอบทั้งสิ้น 3 วันค่ะ ภาษาอังกฤษแบบปรนัย 100 ข้อ สังคมศึกษาและภาษาไทยแบบอัตนัยวิชาละ 5 ข้อ 3 ชั่วโมงต่อวิชา การเขียนภาษาอังกฤษ(Essay) แล้วก็การแปล(ไทย-อังกฤษ, อังกฤษ-ไทย ทั้งแปลทั้งหมด และแปลแบบย่อความ) ที่มีเฉพาะข้อสอบของทุนนี้ค่ะ ขอเล่าไปทีละวิชาเลยนะคะ

วิชาแรก ภาษาอังกฤษแบบปรนัย 100 ข้อค่ะ ข้อสอบนี้สอบทุกทุนเหมือนกันหมดค่ะ หนูฝึกโจทย์จากหนังสือทั่วไปเลย เช่น TU-GET, CU-TEP คำศัพท์ข้อสอบทุนไม่ยากเท่า SAT แบบเก่า แต่ว่าตอนนั้นหนูฝึกจาก SATด้วย เพราะคิดว่าได้ฝึกความถึกตอนอ่านไปด้วยอะค่ะ 
วิชาสังคม หนูอ่านหนังสือกระทรวงของชั้น ม.ปลายทั้งหมด  ฝึกทำจากข้อสอบเก่า อ่านข่าว ตามข่าวให้เป็นนิสัยค่ะ วิชานี้กว้างมาก แต่ใน 5 ข้อ แต่ละข้อก็จะเป็น 5 ศาสตร์ที่ต่างกันออกไป
วิชาภาษาไทย ฝึกทำข้อสอบเก่าค่ะ อ่านหนังสือมากๆ หนูชอบวรรณคดีไทยอยู่แล้ว เลยชอบจำพวกร้อยกรองเพราะๆ อะค่ะ ได้ใช้ในข้อสอบทุนด้วย 
วิชาการเขียนภาษาอังกฤษ จะมีเขียนอธิบายกราฟเหมือน IELTS มี บทความยาวๆ 1 เรื่อง แล้วก็บทความสั้น 1 เรื่องค่ะ วิชานี้ไม่มีสอนในโรงเรียนเหมือนกันค่ะ แต่ว่าได้ พี่จ๊อบ กิตติประภา จิวะสันติการ ช่วยตรวจให้  หนูคิดว่าการเขียนจำเป็นมากๆ เลยนะคะที่ต้องมีคนตรวจความคิดและเกลาภาษา ถ้าพี่จ๊อบอ่านอยู่ ขอให้รู้ว่าคิดถึงนะคะ ขอบคุณมากค่ะที่เชื่อในตัวหนูเสมอว่าหนูจะทำได้!
วิชาการแปล หนูซื้อหนังสือการแปลจากศูนย์หนังสือจุฬามาอ่าน อ่านหนังสือที่แปลากภาษาอังกฤษ สังเกตสำนวนภาษาว่าถ้าเป็นภาษาอังกฤษแบบนี้ เป็นภาษาไทยจะเป็นแบบไหน  แล้วก็ขอคำแนะนำจากอาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยค่ะ วิชานี้ยากมากค่ะ ยากตรงที่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดีตอนแรก 

     
      ถ้าถามว่าข้อสอบยากมั้ย? ตอนทำข้อสอบหนูไม่ได้คิดว่ามันยากมั้ยอะค่ะ เลยจำไม่ได้ว่ามันยากแค่ไหน แล้วแต่ละวิชาก็ยากง่ายในแบบของตัวเอง 5555 แล้วก็… ตอนนั้นที่สำคัญ วินาทีที่นั่งสอบ ตอนที่ข้อสอบอยู่ตรงหน้า ปากกาอยู่ในมือ หนูคิดอย่างเดียวว่าจะตอบยังไง จะเขียนอะไร จะนำเสนอสิ่งที่มีในหัว/ความรู้ออกมายังไงให้ครบถ้วนและน่าสนใจที่สุด  ตรงนี้หนูขออนุญาตให้เครดิตครูป๊อป ณัทธนัท เลี่ยวไพโรจน์ จากโรงเรียนสังคมศึกษา ครูป๊อปนะคะ.. ไม่ใช่โฆษณาแฝงแน่นอนค่ะ 555 แต่คิดว่าคงจะดีถ้าได้ให้เครดิตผู้คนที่ทำให้หนูมีวันนี้ได้… ครูป๊อปสอนให้คิดเสมอว่าตอนอ่านหนังสือสอบไม่ต้องคิดว่าข้อสอบจะออกอะไร ตอนเจอข้อสอบอย่าตกใจ ให้คิดแค่ว่าเรามีอะไรแล้วจะตอบสิ่งที่มียังไงให้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นหนูเลยไม่กลัวข้อสอบและว่าไม่คิดว่ามันยากอะค่ะ ตราบใดที่ตอบไปดีที่สุดเท่าที่จะตอบได้ ไม่เสียดายถ้าหันกลับมามองก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะสุดท้าย… คนตัดสินว่าคำตอบของเราผ่านมั้ย ใช่หรือเปล่า ก็ไม่ใช่  “เรา” อยู่ดี แต่เป็น “เค้า” ผู้ตรวจข้อสอบค่ะ
     
      พอผ่านข้อเขียนแล้ว ก็มีสอบสัมภาษณ์ สัมภาษณ์เดี่ยวก็มีคำถามประมาณ ให้แนะนำตัวเองซิ บอก adjective ภาษาอังกฤษ 5 คำที่อธิบายตัวเรา จำไม่ได้ละค่ะว่าตอบอะไรบ้าง 5555  หนังสือที่ชอบและเหตุผลที่ชอบ ตอนนั้นตอบ 4 แผ่นดินค่ะ เพิ่งอ่านจบสดๆ ร้อนๆ  ถ้าได้ทุนจะไปเรียนที่ไหน เรียนอะไร คุยชิลล์ๆ ค่ะ ประมาณ เกือบ 25 นาที แต่ไม่ต้องกังวล สู้ๆ รอบข้อเขียนก่อน

     
      ก่อนออกเดินทาง นอกจากเก็บกระเป๋า ซื้อของใช้ที่จำเป็น ลาญาติผู้ใหญ่คนใกล้ชิดมิตรสหาย และครู หนูก็ไปตามแก้บนค่ะ (55555) กลับไปแก้บนพ่อขุนเม็งรายที่จังหวัดเชียงรายบ้านเกิด ไปแก้บนที่พะเยาบ้านแม่ แล้วก็ไปวัดใกล้ๆ อุทยานแห่งชาติหาดวนกรที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ค่ะ (ผ่านไปผ่านมาแวะเข้าไปพักรับประทานอาหาร รับลมทะเลที่อุทยานแห่งชาติหาดวนกรได้นะคะ ที่ทำงานพ่อหนูเองงงง อิอิ)  ส่วนอีกเรื่องที่สำคัญต้องเตรียมตัวก็คือเรื่องการเรียนและสอบเข้ามหาวิทยาลัยค่ะ หนูก็ก็อ่านหนังสือ เตรียมตัวสอบพวกที่จะต้องใช้ยื่นมหา'ลัยที่นี่ เพราะต้องยื่นภายในสิ้นปีนี้ ตื่นเต้น น่ากลัวมากเลยค่ะ  
     
      ส่วนชีวิตตอนนี้ ตนนี้ก็กำลังคิดถึงคนทางนู้นค่ะ คนๆ นั้นที่ไทย อยากบอกว่าคิดถึงน้า 55555 ผิดๆ มาถึงที่นี่ 3 เดือนแรกนักเรียนทุนต่างๆ (Thai Scholars เรียกง่ายๆ ว่า TS ค่ะ) จะมาอยู่ด้วยกันที่ Brewster Academy รัฐ New Hampshire เพื่อเตรียมความพร้อม ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม ภาษา และการใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกา ก่อนแยกย้ายกันไป prep schools (โรงเรียนที่เปิดให้เตรียมความพร้อมสำหรับการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย) ของแต่ละคน

   
      ตอนนี้เพิ่งผ่าน 3 เดือนนั้นไปหมาดๆ หนูย้ายมา prep school ของหนูได้ 1 อาทิตย์แล้วค่ะ ชื่อ Deerfield Academy รัฐ Massachusetts เป็นโรงเรียนประจำ โรงเรียนน่ารักมากค่ะ  อากาศดี  ติดกับเมืองเล็กๆ  มีนักเรียนต่างชาติต่างรัฐมากมาย โรงเรียนแจก Macbook air กับ ipad ด้วย 5555 มีวิชาน่าสนใจให้เลือก วิชาโปรดของหนูตอนนี้คือภาษาละตินกับศาสนาค่ะ ได้ลองเป็นพนักงานเสิร์ฟอาหาร คนจัดโต๊ะและเก็บโต๊ะ เพราะโรงเรียนมี  Sit-down meal ที่ต้องนั่งรับประทานอาหารเป็นโต๊ะๆ หรูๆ แบบในหนัง 5555 มีกิจกกรรม กีฬาที่ไม่มีที่ไทยให้ทำ  ตอนนี้หนูลง Crew หลังเลิกเรียน ซ้อมเหนื่อยมากเลยค่ะ 555
   
      3 เดือนแรกไม่ค่อยมี culture shock ค่ะ มาคราวนี้จะต่างกับเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ต้องเจออะไรๆ เองใช้ชีวิตเองกับครอบครัวที่ต่างๆ กันไป แต่ที่นี่อยู่หอที่โรงเรียน ก็จะมีกฎของโรงเรียน แล้วยิ่งนักเรียนต่างชาติมากมาย ก็จะไม่มีอะไรที่เป็น culture shock ขนาดนั้นอะค่ะ  ที่ต้องปรับตัวคือ ต้องปล่อยวางมากขึ้นค่ะ อย่างที่บอกไปทุกที่มีคนที่เข้ากันกับเราได้และเข้ากันไม่ได้ บางคนใจร้ายบางคนใจดี ถ้าเจอที่ร้ายๆ ก็ต้องปล่อยเค้าไปค่ะ 5555 เคยเก็บเอามาคิดแล้วร้องไห้ก็ไม่ได้อะไร เสียเวลาน่อวว 


      ยิ่งไปกว่านั้นค่ะ ปรับตัวสุดๆ คือการใช้ชีวิตที่นี่ โรงเรียนมี dress code คือต้องแต่งกายแบบที่โรงเรียนอนุญาตเท่านั้น เสื้อยืด กางเกงยีนส์ไม่ผ่าน 5555 ปกติหนูใส่แต่เสื้อยืดกางเกงสั้นเท่าเข่าอะค่ะ มาเจอแบบนี้ก็ตกใจหน่อยแต่ก็เริ่มชินแล้ว สนุกดีค่ะ ได้ลองทำอะไรที่ปกติไม่ได้ทำ 
   
       สำหรับน้องๆ ที่อยากสอบทุน มาค่ะ! เอาเลย! สอบๆๆ มาดูว่าตัวเราคนนี้จะทำได้แค่ไหน  สู้ให้สุดไปเลยค่ะน้องๆ มาเป็น TS60 มาเป็นครอบครัว TS แสนอบอุ่นด้วยกันนะคะ ^^


    
       อ่านแล้วอยากบอกว่า ชอบแรงบันดาลใจในการไปสอบทุนของน้องสาลี่มากๆๆๆ เลยค่ะ ทั้งการอยากกลับไปใหม่แต่ในเวอร์ชั่นที่ไฉไลกว่า รวมถึงอยากมีโอกาสเข้าไปอยู่ในสังคมที่มีแต่คนเก่ง ฟังแล้วรู้สึกเริดมากๆ เลย ยังไงก็ขอบคุณน้องสาลี่มากๆ ที่มาเล่าเรื่องสนุกๆ ให้พวกเราฟังจ้า ... ส่วนน้องๆ คนไหนมีประสบการณ์เด็กนอกสนุกๆ อยากแบ่งปันเพื่อนๆ บ้าง ก็เขียนส่งมาได้เลยที่ pay@dek-d.com เดี๋ยวนำมาลงให้จ้า
พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

16 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ยู. 16 ก.ย. 59 08:52 น. 9
อ่านแล้วอยากสอบบ้างเลยค่ะ T_T ตอนนี้หนูอยู่tuเหมือนกัน เพิ่งเข้ามาใหม่ ตอนแรกถอดใจตอนเจอข้อสอบกลางภาคแล้ว รู้สึกตัวเองโง่เกินจะไปสอบ
1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
meเองไง Member 17 ก.ย. 59 20:32 น. 12

อยากรู้อ่ะคะว่าทุนนี้มีคนไปสอบกี่คน ถ้าสอบติดเเล้วได้ไปเมกาจะต้องไปอยู่กับโฮสที่นู่นไหมคะไปอยู่กับคนอื่นนอกจากโฮสเช่นไปอยู่กับญาติที่อยู่ที่นู่นได้ไหมคะ

1
iamJinniiez Member 17 ก.ย. 59 21:00 น. 12-1
หลังการปิดรับสมัครสอบแต่ละปีจะมีแจ้งจำนวนผู้สมัครทั้งหมดค่ะ ก็ไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่แต่ก็หลักพันเลยแหละ แต่เราจะมีคู่แข่งแค่ตามหน่วยทุนที่เราสมัครนะคะ บางคนโชคดีมีคู่แข่งแค่ 7-10 คน ก็มี ส่วนถ้ามาเมกาแล้ว ต้องเป็นนักเรียนประจำค่ะ อยู่หอที่โรงเรียน ทางโรงเรียนจะหาโฮสให้ ถ้าเรายื่นคำขอไป แต่จะไปอยู่กับญาติก็ได้ค่ะ แต่เป็นช่วงที่โรงเรียนหยุดยาวนะคะ หอในจะปิด ก็ต้องไปหาที่อยู่เอา เยี่ยมเยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
พาร์เฟต์ 25 ก.ย. 59 03:01 น. 14
มา UC Berkeley ไหมคะ เด็กโอลิมปิก เด็กทุนเต็มไปหมด 55 ดีใจด้วยนะคะ เก่งมากๆ นานๆ ทีศิลป์เยอร์จะได้ทุนสักที 55 (พี่ศิลป์เยอร์ TU72 ) สมัครมหา'ลัย อย่าเครียดเยอะนะคะ ชิลๆ ~
0
กำลังโหลด
มะมะแม้วว 8 ม.ค. 60 11:59 น. 15
มีเยอะนะที่เด็กเอเชียที่ไปแลกเปลี่ยนที่เมกาแล้วโดนเหยียด บางคนที่ไม่เคยไปอาจจะไม่รู้ บางคนนี้เหยียดถึงขั้นถามว่าทีประเทศยูยูขายตัวกันรึเปล่าด้วยนะ คือแบบไม่ใช่ว่าเมกาเป็นประเทศที่ดีนัก แต่อะไรๆที่สื่อมันเสนอมันทำให้เราคิดไปไงว่ามันเจริญ คือมันเจริญก็จริง แต่บางจุดที่มันด้อยพัฒนามันก็ด้อยพัฒนาจริงๆ ส่วนใหญ่เด็กทุนมักจะไปเจออย่างไหน อันนี้ก็แล้วแต่บุญแต่กรรม(เศร้าแปป) แต่ยังไงส่วนที่ดีมันก็มีเช่นกันนะ อยากให้มองสองด้านว่าแต่ละประเทศมันก็มีดีไม่ดีต่างกันไป ขึ้นอยู่กับมุมมองและสถานที่ที่เราไปอยู่ไปเจอ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด