เคล็ดลับเขียนหนังสือให้...คนชอบอ่าน (ภาค จบ)

 

 

 

 

       เขียนหนังสืออย่างไรผู้อ่านจึงจะชอบในตอนที่แล้วพี่นัทได้เผยเคล็ดลับทั้ง 6 ข้อไปแล้ว ไม่รู้ว่าน้องๆ นักเขียนชาว Dek-d.com ยังจำกันได้หรือเปล่า ถ้าอย่างงั้นเรามาทบทวนพร้อมๆ กันเลยจ้า

 

 

 

       1. เขียนเพื่อให้อ่านง่าย

 

       2.คิดก่อน...แล้วจึงเขียน

 

       3.เขียนให้ถูกเป้าหมาย

 

       4.ใช้คำชินหู

 

       5.คำที่ใช้ต้องเหมาะสม

 

       6.ใช้คำคุณศัพท์ให้น้อยเข้าไว้

 

 

            สำหรับน้องๆ นักเขียนชาว Dek-d.com ที่อยากอ่านรายละเอียด ก็สามารถแวะเข้าไปอ่านย้อนหลังกันได้ที่ http://www.dek-d.com/content/previewContent.php?id=3756

 

       ว่าแล้วก็อย่ารอช้า มาเริ่มกันเลย….

 

 

       7. พยายามเขียนให้เป็นประโยคสั้นๆแต่ได้ใจความ

 

 

  การเขียนที่ดีจะต้องให้ประโยคสั้น แต่กินความมาก นักเขียนที่ดีต้องหัดแต่งหนังสือตนด้วยวิธีการตัดวลีและคำที่ไม่จำเป็นออก

 

 

  ผู้อ่านหนังสือชอบประโยคสั้นๆมากกว่าประโยคยาวๆ ในประโยคหนึ่งๆควรให้ใช้คำ “ซึ่ง”  “อัน” ฯลฯ ให้น้อยที่สุด

 

         

 

            การเขียนหนังสือไทยให้มี“ช่องไฟ” เพื่อเป็น การแสดงการเว้นวรรคตอนว่าถูกต้องแล้วยังไม่พอ เพราะเมื่อพิมพ์เรื่องไปแล้ว อาจจะพิมพ์คำติดกันไป หรือข้อความที่ควรจะพิมพ์ให้ติดกันกลับพิมพ์เว้นวรรคไปซะ และอีกสิ่งหนึ่งคือ การเว้นวรรคใหญ่เพื่อแสดงถึงการจบประโยค และการเว้นวรรคน้อยเพื่อแสดงถึงการจบวลีนั้น เป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นผู้เขียนควรฝึกหัดใช้เครื่องหมายมหัพภาคหรือจุด.เมื่อจบประโยคหนึ่งๆเสมอ ส่วนเครื่องหมายวรรคตอนอื่นๆก็ควรหัดไปพร้อมๆกันด้วย ทั้งนี้ความเรียงที่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนนั้นจะชัดเจนยิ่งขึ้น หากว่าความเรียงประโยคใดๆ มีเครื่องหมายวรรคตอนถูกต้องแล้ว มันยังไม่ได้ความดี ให้ผู้เขียนจงรู้เอาไว้ว่าจะต้องเขียนความเรียงประโยคใหม่

 

 

 

 

          8.เขียนวรรคสั้นดีกว่าเขียนวรรคยาว

 

 

   วรรคที่สั้นๆ นั้นทำให้ผู้อ่านไม่ต้องเพ่งหนังสือ เป็นการช่วยให้สายตาไม่เพลียทำให้สามารถกวาดดูตัวหนังสือได้ดีด้วย วรรคยาวย่อมมีข้อความมากเป็นก้อนใหญ่ ทำให้ผู้อ่านข้ามไป ทำให้เข้าใจเรื่องราวในหนังสือนั้นไม่ทั่ว เลยทำให้ผู้อ่านเบื่อและไม่อยากอ่านหนังสือนั้นต่ออีก นักหนังสือพิมพ์จึงบอกว่าเขียนวรรคยาวทำให้เสียลูกค้า ไม่ควรคิดว่าผู้อ่านจะอ่านหนังสือได้เร็ว และข้ามวรรคนั่งอ่านเข้าใจเป็นกันทุกคน

 

 

   เดี๋ยวนี้นักเขียนและนักแปลหนังสือ นิยมใช้วรรคสั้นๆ เป็นสัญญาณให้ผู้อ่านเข้าใจวิธีการเขียนของผู้เขียนว่าพยายามช่วยผู้อ่าน วรรคสั้นช่วยผู้อ่านจดจำความสำคัญได้มาก

 

 

   ตามหลักแล้ว ประโยคแรกหรือประโยคที่สองของวรรคใหม่ ควรจะเป็นสัญญาณสำคัญแก่วรรคใหม่ ควรจะเป็นสัญญาณแก่ผู้อ่านว่า วรรคใหม่นี้เริ่มหัวข้อใหม่ๆ วรรคหนึ่งๆควรจะบอกแต่ความคิดข้อหนึ่งๆของผู้เขียน เมื่อเขียนจบวรรคหนึ่งๆแล้ว ผู้เขียนควรจะตรวจดูว่า ควรจะแบ่งออกเป็นสองวรรคจะเหมาะกว่าหรือไม่

 

 

          9.เขียนหนังสือให้อ่านง่าย และเว้นการเขียนลีลาซับซ้อน

 

 

   หนังสือที่อ่านเข้าใจยากนั้นเป็นความบกพร่องของนั้นเขียน ไม่ใช่ความบกพร่องของผู้อ่าน

 

   นักเขียนจึงพึงเขียนเพื่อตนเองเข้าใจได้ง่ายด้วยเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนข้อความซับซ้อนพัลวัน นักเขียนจึงเลือกใช้คำง่าย และ โปรดระลึกไว้เสมอว่า ผู้อ่านจะไม่ชอบเสียเวลาตีความเรื่องที่อ่านอยู่ก็ได้ เพราะไม่มีเวลามาแคะความคิดที่สลับซับซ้อนของผู้เขียน



 

 

 

         10.เขียนให้แจ่มแจ้งตรงกับความที่คิดไว้

 

 

   ผู้เขียนจงเขียนให้ตรงกับความคิด นักเขียนที่เก่งมักเข้าใจดีว่า คนเราเขียนเกินข้อเท็จจริงได้ ดังนั้นคนที่เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จะต้องให้นักข่าวเล่าเรื่องที่ได้ฟังมาซะก่อน แล้วจึงให้นักข่าวเขียนเรื่องตามที่เล่าเพราะข่าวที่เล่านั้นย่อมเป็นประโยคสั้นๆ

 

             ได้ข้อเท็จจริงที่สำคัญ เรียกว่าเขียนเรื่องตามภาษาพูด เขียนเช่นนี้จะตรงเป้าหมาย งานเขียนที่มีสำเนียงการพูดด้วยจะทำให้เรื่องน่าอ่าน ทำให้เกิดความสนใจ และช่วยใหเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย

 

 

   ในการเขียนหนังสือ ต้องพยายามให้ได้ความแจ่มแจ้งถึงขั้นที่รับรองได้ว่าไม่มีปัญหาถามได้อีก ดังนั้นนักเขียนจึงผูกประโยคให้ได้ความตรงไปสู่เป้าหมายไม่ต้องอ้อมค้อม วิธีการก็คือผูกประโยคให้มีประธาน กิริยา และกรรม หัดพูดเป็นประโยคไว้เสมอ จะช่วยในการเขียนด้วย

 

 

   การฝึกพูดและเขียนประโยคเป็นนิสัยแล้ว จะทำให้งานเขียนของนักเขียนผู้นั้นมีชีวิตชีวา ประโยคเช่นนี้จะเป็นประโยคที่สั้นและน่าฟัง

 

 

          11. รู้จักแก้หนังสือ

 

 

   การแก้หนังสือที่เขียนแล้วเป็นส่วนหนึ่งของการเขียนหนังสือที่ดี นักเขียนไม่ค่อยจะสละเวลาในการตรวจแก้ไขงานเขียนของตัวเองมากเท่าที่ควร มักจะคิดว่าเขียนเสร็จก็จบเรื่องแล้ว เนื่องจากเราไม่มีบรรณาธิการส่วนตัวมาคอยตรวจแก้งานเขียนของเรา เรื่องที่เขียนเพื่อเผยแพร่ความรู้ต่างๆ จึงมักจะไม่ได้รับคำชม หรือการตอบรับที่ดีนัก

 

 

             วิธีการแก้หนังสือนั้นแบบง่ายๆ คือ ให้อ่านร่างนั้นดังๆ วิธีเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เขียนร่างนั้น “จับ” คำและประโยคที่ควรแก้ไข เมื่อเขียนร่างเสร็จครั้งแรกและอ่านอย่างจริงจัง ก็จะพบว่าความหมายอันไหนยังไม่แจ่มแจ้งก็แก้ไขข้อความให้ชัดเจนขึ้น โดยดูวรรคตอน และการใช้เครื่องหมายวรรคตอน เปลี่ยนคำใหม่หรือตัดคำนั้นคำนี้ออกบ้าง บางทีเราก็จะพบว่าในร่างนั้นมีบางประโยค บางวลี และบางคำหายไป บางทีก็อาจจะหายไปเป็นวรรคเลย ดังนั้นเราก็จะแก้ไขได้อย่างทันท่วงที บางทีก็ต้องแบ่งบางวรรคออกเป็นสองวรรคขีดเส้นใต้คำสำคัญและความคิดที่แสดงออกนั้นด้วย

 

 

             ต้องตรวจดูว่ามีคำที่ทำให้บทความ“อ้วน” และเปล่าประโยชน์ ตรวจดูว่าประโยคไหนที่ล้าสมัย ไม่จำเป็น ใส่แล้วไม่มีความหมาย ก็ตัดออกไปซะ

 

 

             สุดท้ายก็ต้องถามตัวเองว่า ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องที่เขียนหรือไม่ ถ้าเห็นว่าผู้อ่านคงจะไม่เข้าใจ ผู้เขียนก็ต้องรู้ตัวว่าต้องแก้ไขจนกว่าจะดีพอ ถ้าสามารถหัดทำเช่นนี้ได้ในไม่ช้าผู้เขียนก็แทบจะไม่มีอะไรที่จะต้องแก้ไขเลยในที่สุด

 

 

          12. พยายามแสดงความคิดของตน

 

 

   นักเขียนที่ดีจะต้องแสดงความคิดของตัวเองให้ประจักษ์แก่ผู้อ่าน นักเขียนผู้แสดงตนว่าเขียนประโยตยาวๆได้ และวรรคใหญ่ๆได้ เพื่อแสดงว่าตนเป็นเอกในการประพันธ์นั้น ก็นับว่าเป็นการเชื่อตนเองมากเกินไป ความจริงแล้วผู้เขียนจะต้องทำสำนึกไว้เสมอว่า เขียนเพื่อบอกเล่าให้กับผู้อ่าน เพื่อได้เป็นสื่อ ส่งข้อมูลหรือข้อเท็จจริงจากจิตใจของเขาไปสู่จิตใจของผู้อ่าน นักเขียนที่สามารถแสดงความเห็นของตนให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย ย่อมจะได้รับการยกย่องจากผู้อ่านเสมอว่าเป็นผู้ให้ความคิดที่มีคุณค่า

 

 

        เป็นยังไงกันบ้างจ๊ะ น้องๆนักเขียนชาว Dek-d.com พอจะมีไอเดียดีๆไปแก้ไขงานเขียนของเราให้ดีขึ้นแล้วใช่ไหมจ๊ะ ไม่เป็นไรๆ ค่อยๆทำไปไม่ต้องรีบก็ได้จ้า ถ้าคิดไม่ออก  คิดถึงพี่นัทแทนก็ได้นะ อิอิ  แวะเข้าไปใน My id พี่นัทได้จ๊ะ ทุกข้อความที่น้องๆโพสไว้ พี่นัทได้อ่านหมดทุกข้อความจ๊ะ ไม่ต้องห่วง ขอบคุณ ทุกกำลังใจที่น้องๆ ชาว Dek-d.com โพสเอาไว้ให้นะจ๊ะ

 

 


 

                                                       


พี่นัทขอขอบคุณข้อมูลจาก ศาสตราจารย์ ดร. บุญ อินทรัมพรรย์

และภาพประกอบจาก nipic.com

 

 




พี่นัท

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

18 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
พระจันทร์อมยิ้ม Member 27 มิ.ย. 52 23:54 น. 8

ที่สุดของนักเขียน ก็คือคนอ่านชอบงานของเรา 

เคล็ดลับดีๆ แบบนี้ต้องนำไปฝึกฝน จะได้เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์  ขอบคุณค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด