ใครว่า...สารคดีไม่น่าเขียน

 

ใครมีแผลการอยากเขียนสารคดียกมือขึ้น...น้องๆนักเขียนชาว Dek-d.comเป็นยังไงกันบ้างจ๊ะ งานเขียนใกล้จะเป็นความจริงกันหรือยังเอ่ย วันนี้พี่นัทมีเคล็ดลับ สำหรับน้องๆนักเขียนชาว Dek-d.com ที่กำลังอยากจะเขียนสารคดีมาฝากกันจ้า

 

 

 

สารคดี ใครว่าไม่น่าเขียน

 

 

          ผลงานเขียนที่เห็นๆอยู่น่าจะเป็นสองแนว คือ พวกเรื่องสั้น และนิยาย พวกนี้ดูจะเป็นบันเทิงคดี แล้วก็อีกประเภทหนึ่งคือสารคดี มีนักเขียนหลายคนยึดแนวสารคดีก็สามารถมีเรื่องเขียนมากมายก่ายกองเช่นเดียวกัน


 

          เท่าที่นึกได้สารคดีมีหลายแนว เป็นต้นว่าสารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ สารคดีความรู้ต่างๆ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การทำมาหากินและเหตุการณ์เรื่องราวที่เกิดขึ้นใครที่จะเขียนสารคดีก็น่าจะเป็นแนวทางที่ดี บันเทิงคดีเรื่องสั้น นิยายนั้น ต้องมีการผูกตัวละครขึ้นมา มีพระเอก นางเอก ตัวประกอบผู้ร้าย แต่สารคดีไม่ต้องมีตัวละคร ถึงจะเขียนให้มีตัวละครบ้างแต่ก็ไม่เด่นชัดมากนัก เนื้อเรื่องความเป็นไปของสารคดีจะถูกเน้นความสำคัญมากกว่าตัวละคร


 

          พอจะกล่าวได้ว่าเขียนประโยคสั้นๆกะทัดรัด อย่าให้เยิ่นเย้อ เป็นคำบอกเล่า เราต้องการจะเล่าเรื่องอะไร จุดใดให้คนเค้าอ่าน ให้เค้าฟังก็บอกเค้าอย่างนั้น


 

          มีอยู่คนหนึ่งนั่งรถตู้ไปเที่ยวที่แห่งหนึ่งกับเพื่อนๆคนคนนี้เคยไปที่นั่นมาแล้ว จึงเล่าเรื่องบอกกล่าวสถานที่จะไป ให้เพื่อนฟังล่วงหน้า ตอนนั้นเล่าได้ดีมากเป็นคำพูดสั้น กะทัดรัดและเข้าใจ น่าสนใจชวนติดตามดี แต่พอให้เขียนกลับเขียนไม่ได้ นี่ถ้าถอดเทปไว้คงจะดี คนที่กล่าวถึงนี้ เข้าทำนอง มีเรื่องมากเขียนได้น้อย




 

          นี้ถ้าเป็นคนเขียนหนังสือมานานๆ มีเรื่องน้อยแต่เขียนได้มาก ต้องฝึกเขียนให้คล่องมือ พอหยิบปากกาขึ้นมาจะได้ไม่จิ้มแห้งคิดอะไรไม่ออก เรื่องราวทื่นึกได้หดหายไปหมด ก็ไม่แปลกใจอะไรเลยที่พอหยิบปากกาขึ้นมา ลืมเรื่องดีๆไปเสียหมด คนที่เขียนมานานแล้วก็อาจจะมีอาการนี้เช่นเดียวกัน อาศัยที่เขียนมานานนั่นแหละ จึงเอาตัวรอดมาได้


 

          อยากเขียนหนังสือ อยากเขียนสารคดี ก็ต้องลงมือเขียน ลงมือฝึก ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด มาฝึกปรือเอาภายหลังทั้งนั้น แม้แต่เรื่องการเขียนหนังสือก็ตาม


 

          อาจจะมีปัญญาหาอยู่ว่า จะมองเรื่องอะไรมาเขียน ข้อนี้นับว่าสำคัญ คนเขียนหนังสือต้องตาคมซักหน่อยหมั่นเสาะแสวงหาเรื่องมาเขียน และมีคนแนะนำว่าเขียนเรื่องใกล้ตัว สารคดีใกล้ตัว ใครทำอาชีพอะไร ก็รู้เรื่องนั้นมาก พอนำมาเขียนได้ และถ้าเสาะหาความรู้เพื่อเติมขึ้นอีก ข้อเขียนก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


 

          สมมุติว่าถ้าเราเป็นคนสอนหนังสือ เรื่องใกล้ตัวของเราก็คือโรงเรียน นักเรียน แม้กระทั่ง ยางลบ ดินสอ สมุด ไม้บรรทัด หยิบจับมาเขียนทั้งนั้น ไม่ยุ่งยากอะไร


 

          ใครที่มีอาชีพอื่นๆเช่น นักการบัญชี ผู้จัดการ ช่าง พ่อค้า ฯลฯ สามารถหยิบฉวยเรื่องใกล้ตัวมาเขียนได้ แม้กระทั่งแม่บ้านก็มีสารคดีมาเขียนทุกวัน ในขณะที่เราอยู่บ้าน มีใครกี่คน มีใครบ้างมาเคาะประตูบ้าน เพื่อขอบริจาค เพื่อเสนอขายสินค้าและบริการ


 

นักบัญชี นักการธนาคาร อาจสามารถเขียนสารคดี เกี่ยวกับประวัติการเงิน ประวัติธนบัตร หรือเหรียญต่างๆ ฯลฯ


 

          พ่อค้า มีเรื่องราวอีกมากมายเหมือนกันในสินค้าที่ตนขายอยู่ จับมาเขียนเป็นสารคดีส่งไปตามหนังสือต่างๆ เราก็จะได้อาชีพๆใหม่ เป็นพ่อค้าและคนเขียนหนังสือด้วย


 

          นักเกษตร เขียนเรื่องอาชีพ การทำการเกษตร ต้นไม้ สัตว์บก สัตว์น้ำ นำมา เขียนเป็นสารคดีได้ทั้งนั้น


 

          เซลแมน มีคนนำเรื่องราวเซลแมนมาเขียนแล้ว สนใจกันมากทีเดียว เรานำมาเขียนบ้างคนละประสบการณ์ คนละแบบอาจดังได้เหมือนกัน คนเรามีสายตาสั้นยาวต่างกัน แง่มุมมองก็ไม่เหมือนกัน เรื่องราวเขียนจึงแตกต่างกัน ออกไปด้วย

 

          ถ้าจะถามว่าเขียนเรื่องอะไร ต้องรู้จริงเรื่องนั้นหรือไม่


 

          อันนี้ถ้ารู้จริงได้ก็ดี แค่โดยสามัญสำนักก็สามารถเขียนได้ รู้แค่ไหนก็บอกเล่าเขาไป สิ่งที่คาดว่ามีคนกล่าวว่า ก็อาจจะนำมาเขียนบอกเล่าได้ แม้ในบางครั้งอาจบอกไปเลยก็ได้ว่า เรื่องนี้ยังค้นคว้าศึกษาอยู่ยังไม่รู้ชัดเจนมากนัก ซึ่งก็ไม่น่าจะผิดพลาดแต่ประการใด


 

          แต่มีส่วนประกอบของคนเขียนหนังสืออยู่สักหน่อย คือ การอ่านมามาก ฟังมาก รับรู้มาก ช่างซัก ช่างถาม นี่เป็นหัวใจของคนเขียนหนังสือเช่นเดียวกัน


 

          ตัวอย่างสารคดีแบบธรรมดา ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไปนัก เป็นต้นว่า จะเขียนสารดีเรื่องดินสอ ซึ่งพอจะเสนอแนะเค้าโครงย่อๆ ไว้ได้บ้าง ท่านอาจจะนำไปประยุกต์ได้ดีกว่านี้ เช่น

 

·      สารคดีเรื่องดินสอ สำหรับผู้อ่านทั่วไป

 

·      แต่เดิมดินสอยังมีน้อย หายาก

 

·      มีการใช้กระดานชนวน ดินสอจากหินที่พอนำมาเขียนได้

 

·      ต่อมามีดินสอที่ทำจากหินชนวน

 

·      เป็นแท่งเล็ก ยาวเกือบคืบ

 

·      เขียนไปหักไป กดแรงไม่ได้

 

ต่อมามีดินสอดำ มีไส้ เป็นแท่งไม้

 

·      มีมากขึ้นเรื่องๆ สีสันแปลกตาสวยงามขึ้น

 

·      มีดินสอแบบแปลกๆ ไม่ต้องเหลาก็มี

 

·      ดินสอแต่ดั้งเดิมใช้ประหยัดกันมาก เมื่อสั้นลงต้องนำมาสวมที่ไม้ไผ่เล็กๆใช้จนหมด

 

·      สรุปจบ ดินสอมากขึ้น แปลกๆมากขึ้น แต่ยังคงใช้สำหรับเขียนอยู่นั่นเองไม่เคยใช้เป็น อย่างอื่น

 

·      ฯลฯ

 

นี่เป็นตัวอย่างแนวทางหนึ่งของการเขียนสารคดี ตัวอย่างอาจจะไม่งาม ไม่ชัดเจนนัก แค่ใครที่สนใจ คงพอได้เป็นแนวทางไว้บ้าง

 

 

คำคมนักเขียน

 

“การเขียนจะออกมาอย่างง่ายดายยิ่งขึ้น หากรามีบางอย่างที่จะเล่า

 

ความลับของการเขียนที่ดีอยู่ที่การตัดสินใจ

 

นิยายที่ซื่อสัตย์ (ตรงต่อความเป็นจริง) จะถูกเล่าออกมาอย่างรวดเร็ว”

 

(เช็กสเปียร์)

 

 

 

น้องๆนักเขียนชาวDek-d.com อย่าลืมนำเคล็ดลับดีๆไปปรับใช้กับงานเขียนของตัวเองนะจ๊ะ แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้าจ้า แวะเข้าไปทักทายกันใน My Id พี่นัทได้จ้า 

 

 


 


 

ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือเขียนหนังสือให้ได้สักเล่ม โดย ส.พุ่มสุวรรณ คำคมดีๆจาก A world of Proverbs by Partricia Houghton ,Blanford Press 1981

 

ภาพประกอบจาก nipic.com

 

 



พี่นัท

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

5 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด