คุณรู้จริงในสิ่งที่เขียนหรือเปล่า ?

 

เขียนในสิ่งที่รู้ และรู้ในสิ่งที่เขียน

 

 

 

          นักเขียนนวนิยายที่เขียนงานจากรายละเอียดประสบการณ์ชีวิตล้วนๆ ย่อมไม่ประสบความสำเร็จ ใช่เราควรจะเขียนในสิ่งที่เรารู้ แต่เราต้องเคี่ยวมันออกมาในรูปของนวนิยายให้ได้ แล้วน้องๆนักเขียนชาว Dek-D.com ควรทำอย่างไรมาติดตามกันเลยจ้า

 

 

 

หลายครั้งที่เรามันพบเห็นผู้ที่มีความคิดดี แต่ไม่สามารถเขียนออกมาได้ดีเหมือนกับความคิด หากงานเขียนของเรา เป็นงานเขียนที่ไม่ใช้ประสบการณ์ของตัวเอง เรื่องราวที่เขียนจะไม่หนักแน่นเพียงพอ และไม่สมจริงสมจังมากพอที่จะเข้าถึงผู้อ่าน แต่ในขณะเดียวกันหากเราเขียนจากประสบการณ์ล้วนๆ ก็อาจเรียกได้ว่าขาดศิลปะ ดังนั้นทั้งประสบการณ์และหัวทางศิลปะของผู้เขียนจะต้องเดินไปพร้อมๆ กัน


 {pic-desc}

 

 

 

          ขาดลักษณะมองภาพกว้าง

 

 

 

เนื่องจากผู้เขียนมีความผูกพันหรือใกล้ชิดกับเหตุการณ์ที่จะถ่ายทอดออกมามากจนเกินไป จนไม่สามารถตัดขาดหรือแยกตัวออกมาจากเหตุการณ์นั้นๆได้ ซึ่งนั่นจะเป็นกับดักที่เรามักจะดิ้นไม่หลุด สิ่นนี้ทำให้เรามองได้ไม่ไกลและสร้างเรื่องราวเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ไม่ได้

 

 

 

          ขาดเอกภาพทางศิลปะ

 

 

 

          นักเขียนที่ดีต้องคำนึงถึงความกลมกลืนของเรื่องราวที่เขียนให้มากๆ ไม่ใช่ว่าใส่อะไรลงไปในทุกๆเรื่องพร่ำเพรื่อ โดยเฉพาะรื่องสั้นควรมีแก่นเรื่องเพียบประเด็นเดียว การเขียนกระชับและตีกรอบความจริงให้กลายเป็นเรื่องเดียว มีจุดเริ่ม ตอนกลาง และจุดจบที่เด่นชัด ต้องคำนึงถึงทุกคำที่จะเขียน

 

 

 

          ขาดความเป็นเหตุเป็นผล

 

 

 

          ในการเขียนนวนิยายความเกี่ยวพันของเหตุและผลที่ต้องเขียนออกมาให้มองเห็นได้ จะต้องให้ชัดกว่าในชีวิตจริง เราจะพรรณนาถึงอารมณ์ความรู้สึกสภาวการณ์ที่เกี่ยวพันนี้ได้อย่างไร เหตุผลหนึ่งที่คนชอบอ่านนิยายก็เพราะเหตุนี้ เพราะบางครั้งอารมณ์ความรู้สึกอาจไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ง่ายๆ เป็นความท้าทายของนักเขียนอีกอย่างหนึ่ง

 

 

 

          เขียนในสิ่งที่รู้ และรู้ในสิ่งที่เขียน คือจงรู้ก่อนแล้วจึงลงมือเขียน แต่อย่าปล่อยให้ประสบการณ์ที่จะนำมาเขียนมาควบคุมเรื่องราวที่เขียน เพราะนวนิยายไม่ใช่อัตชีวประวัติ และไม่ใช่เป็นเพียงการถ่ายทอดประสบการณ์สู่ผู้อ่าน นำศิลปะและประสบการ์มาสร้างสรรค์ร้อยเรียงเรื่องราวให้กลมกลืนกัน

 

 

 

 

 

 

 

คำคมนักเขียน

 

 

 

นักเขียนเป็นเสมือนจิตรกร ไม่ใช่การถ่ายรูปที่เพียงเล็งแล้วกดชัตเตอร์

 

นักเขียนต้องเลือกเศษเสี้ยวประสบการณ์ที่แตกต่าง

มาบรรจงสร้างสรรค์ความหลากหลาย

 


 {pic-desc}

 

 

 

 

 

น้องๆนักเขียนชาว Dek-D.com สัปดาห์หน้าอยากให้พี่นัทลงเรื่องอะไร หรือมีเคล็ดลับอะไรดีๆอยากบอกต่อเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ นักเขียนชาว Dek-D.com  ก็แวะเข้ามาฝากไว้ใน My.iD พี่นัทนะจ๊ะ น้องๆ นักเขียนชาว Dek-D.com สู้ๆ ต่อไปนะจ๊ะ


 {pic-desc}

 

 

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง: หนังสือโรงเรียนนักเขียน โดย เพลินตา และ ภาพประกอบ: nipic.com

 



พี่นัท

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

21 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
MeawZa!!! Member 20 มิ.ย. 53 18:04 น. 4

เป็นบทความที่อ่านแล้ว อืม ดีมากเลยค่ะ ฮะๆๆ สู้ๆ เราต้องรู้ในสิ่งที่เขียนสิเนอะ งานเขียนจึงจะออกมาดี

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
วารีช Member 21 มิ.ย. 53 09:01 น. 6
การรู้ในสิ่งที่ตนเองเขียนเราว่าทำให้เรื่องดูสมจริงขึ้นมาก อ่านแล้วอินง่ายขึ้นหน่อย ตอนนี้ก็พยายามหาข้อมูลเต็มที่เลยค่ะ สู้ตายๆๆ

ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ ^^
0
กำลังโหลด
สีกลางวัน Member 22 มิ.ย. 53 10:41 น. 7

ช่างภาพเค้าก็ไม่ได้แค่เล็ง แล้วกดชัตเตอร์นะครับ เค้าต้องดูความเข้มข้นของแสง ดูทิศทางแสง หามุมกล้องดีๆ ต้องปรับโฟกัส ต้องปรับ Aperture ต้องปรับ Shutter Speed เปลี่ยนเลนส์อีก(เลนส์ไวด์ เลนส์ซูม เลนส์สี ) ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ การที่จะปรับเปลี่ยน Option หลายๆ Option พวกนี้เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่ลงตัวที่สุด ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ ไม่ใช่แค่ว่าจะเล็งแล้วกดเฉยๆ อันนั้นไม่ได้เรียกว่าช่างภาพแล้วครับ



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 22 มิถุนายน 2553 / 10:38
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 22 มิถุนายน 2553 / 10:40
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เกิดมาเพื่อหายใจ Member 23 มิ.ย. 53 09:55 น. 10

จะจำเเล้วทำตามนะขรับ  มีเรื่องเรียบร้อยเเล้วเเต่ไม่มั่นใจเท่าไหร่ ไคอยากเเนะนำเเอดเอ็มมาละกาน chang2538@hotmail.com

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด