เขียนนิยายยังไงให้เด็กอ่านรู้เรื่อง

        พอดีว่าเมื่อไม่นานมานี้พี่น้องเพิ่งจะอ่านวรรณกรรมสำหรับเด็กเรื่อง "เด็กชายในชุดนอนลายทาง" ของจอห์น บอยน์ จบ และคิดว่ามีเทคนิคการเขียนนิยายสำหรับเด็กหลายอย่างทีเดียวให้เราได้ศึกษา พี่น้องก็เลยเอาเทคนิคที่ว่ามาแจกแจงให้ชาว Dek-D ได้อ่านกัน เผื่อมีใครสนใจอยากเป็นเยาวชนที่เขียนวรรณกรรมให้เยาวชนอ่านอย่างแท้จริงบ้าง
        ก่อนที่เราจะเขียนนิยายสักเรื่อง เราต้องรู้ก่อนใช่ไหมว่า 'กลุ่มเป้าหมาย' ของเราคือใคร คนแบบไหนที่จะอ่านนิยายของเรา คนวัยไหนที่จะชอบนิยายของเรา
        สำหรับกลุ่มผู้อ่านที่ยังอยู่ในวัยเด็ก (ไม่เกิน 15 ปี) สิ่งที่ต้องระวังคือการใช้ภาษา การวางพล็อตเรื่อง จะต้องไม่ซับซ้อน นึกภาพว่าเราจูงมือคนอ่านเดินไปในเขาวงกตเพื่อพาไปทางออก ตรงข้ามกับวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ ที่เราเลือกใช้ภาษาทั่วไปหรือภาษาสวยๆ ได้แล้ว และสามารถวางพล็อตได้ซับซ้อน หลอกล่อ ปล่อยให้หลงเองอยู่ในเขาวงกตได้สบาย
        อีกอย่างที่ต้องระวังถ้าจะเขียนนิยายให้เด็กอ่านก็คือ เด็กเป็นวัยที่เสียสมาธิง่าย มีความสนใจแค่ช่วงสั้นๆ ดังนั้นนิยายของเราจะต้องมีเหตุการณ์แปลกๆ เกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา หรือมีตัวละคร สถานที่ เวทมนตร์ อะไรที่พิเศษไปกว่าที่เด็กๆ เคยรู้ จึงไม่แปลกถ้าเราจะเห็นนิทานแต่ละเรื่องมีอะไรแบบนี้ปรากฏอยู่
        เมื่อเรารู้ธรรมชาติของวัยเด็กแล้ว ทีนี้ก็ได้เวลามาดูเทคนิคที่เราต้องใช้เพื่อคนอ่านกลุ่มนี้กัน
 

1. ใช้ศัพท์ง่ายๆ

        ต้องเป็นคำที่เด็กรู้ความหมาย เรียบง่าย ไม่วิลิศมาหรามากนัก เช่น
        - ปรารถนา >>> อยาก
        - โดยสารรถสาธารณะ >>> ขึ้นรถเมล์
        - ทำความเคารพ >>> ยกมือไหว้
        - เพ่งพิจพินิจดู >>> เพ่งตามอง
        - ตกระกำลำบาก >>> ลำบาก

        เราอาจใช้คำยากๆ พวกนี้ได้แต่ต้องนานๆ ที เพราะบางครั้งเด็กอาจถามพ่อแม่ถึงความหมายของคำเหล่านั้นระหว่างการอ่าน ถ้าหากเด็กต้องคอยตั้งคำถามทุกๆ สิบนาที นิยายเรื่องนั้นจะเริ่มไม่สนุก ไม่ต่อเนื่องแล้ว
        หรือหยิบคำหรูๆ พวกนี้ขึ้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องไปเลย อย่างที่เลโมนี สนิกเก็ตทำในนิยายชุด "อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย" ของเขา เขาจะชอบหยิบสำนวนขึ้นมาแล้วอธิบายว่าสำนวนนั้นมีความหมายอย่างไร เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่อไปที่เขาจะเล่าอย่างไร
 

2. ประโยคความเดียว ไม่ซับซ้อน

        เมื่อเลือกใช้คำง่ายๆ แล้ว ต่อไปก็ต้องเรียบเรียงให้เป็นประโยคสั้นๆ ประโยคความเดียว หรือประโยคความรวม พยายามเลี่ยงการใช้ประโยคความซ้อน (ที่, ซึ่่ง, อัน) เช่น
อลันเป็นเด็กขี้อายที่มีความฝันว่าวันหนึ่งเขาอาจจะออกไปผจญภัยและฆ่ามังกร
อย่างที่อัศวินในนิทานที่เขาเคยอ่านทำ

v
v

v
อลันเป็นเด็กขี้อาย เขามีความฝันว่าวันหนึ่งเขาจะออกไปผจญภัยอย่างในนิทาน
และอาจได้ฆ่ามังกรแบบอัศวินในเรื่องนั้นด้วย

 

3. มีลูกเล่นกับคำ

        อ๊ะๆ ข้อนี้ไม่ได้ขัดกับข้อแรกแต่อย่างใด ที่พี่น้องบอกว่าให้เล่นกับคำ หมายถึงให้ซ้ำคำ หรือเขียนให้มีการสัมผัสสระ เช่น
        - จุดที่กลายเป็นแต้ม แล้วกลายเป็นก้อน แล้วกลายเป็นร่าง แล้วกลายเป็นเด็กชาย
        - จอร์จเดินไปตัวเปล่า เล่าเรื่องราวให้แมรี่ฟัง

        การซ้ำคำหรือการเล่นสัมผัสแบบนี้สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราอาจจะรู้สึกเบื่อ แต่สำหรับเด็กแล้วจะรู้สึกสนุก ยิ่งถ้าไม่ได้อ่านเองแต่มีผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง จะดึงความสนใจเด็กได้ดีมาก
 

4. พล็อตเรื่องไม่ซับซ้อน

        แน่นอนอยู่แล้วว่าเด็กอ่านนิยายของแดน บราวน์ไม่ได้ ไม่ใช่แค่เพราะศัพท์ยากๆ และมีศัพท์เทคนิคประหลาดๆ อยู่เยอะ แต่รวมถึงพล็อตเรื่องที่ซับซ้อน เนื้อหาบางส่วนต้องอาศัยการวิเคราะห์เกินกว่าที่เด็กจะทำเข้าใจได้ แม้ว่าจะมีผู้ใหญ่นั่งอธิบายอยู่ข้างๆ แล้ว
        เวลาจะเขียนนิยายให้เด็ก เราจึงไม่ควรเขียนเรื่องซับซ้อนมากนัก ขอให้มีปมของเรื่องไม่เกิน 2-3 ปม ลำดับเรื่องไปอย่างปกติ ไม่เน้นเทคนิคแพรวพราว ไม่มีการใส่ตัวหลอกให้เด็กเชื่อเป็นอย่างอื่น ไม่มีการหักมุม แต่เล่าอย่างตรงไปตรงมา
 

5. ให้ข้อคิดอย่างตรงไปตรงมา

        หนังสือสำหรับเด็กต้องมีข้อคิดสอนใจตอนท้าย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสอนโต้งๆ แบบนิทานอีสป (นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...) แต่ให้ตัวละครเป็นผู้สรุปแทนว่าได้บทเรียนอะไรจากการผจญภัยครั้งนี้ เช่น
        สุดท้ายแล้วบอร์นก็ได้รู้ว่าการมีเพื่อนนั้นสำคัญกว่าการมีของวิเศษ เพราะยามสุขเขาก็เล่นกับเพื่อนได้ ยามทุกข์เขาก็คุยกับเพื่อนได้ ไม่เหมือนของวิเศษที่ได้แต่ตั้งอยู่กับที่
        แต่ก็มีหนังสือสำหรับเด็กบางเรื่องที่ต้องอาศัยพ่อแม่ช่วยในการชี้แจงแถลงไข อธิบายเพิ่มเติมให้เด็กรู้ว่านิยายเรื่องนี้สอนอะไรกับเด็กบ้าง
 

จะเขียนนิยายให้เด็กอ่านนั้น พี่น้องว่ายากยิ่งกว่าเขียนให้ผู้ใหญ่อ่านเสียอีก
ในขณะที่นิยายสำหรับผู้ใหญ่นั้นจะเขียนวกวนซับซ้อนยังไงก็ได้
แต่นิยายสำหรับเด็กนั้น ซับซ้อนไปก็ไม่ดี แต่ธรรมดาไปเด็กก็ไม่สนใจอีก
ถึงอย่างนั้นงานเขียนประเภทนี้ก็ถือว่ามีคุณค่าต่อวงการวรรณกรรม
ในฐานะสื่อที่จะช่วยสร้างเสริมความรู้และคุณธรรมให้กับเด็กตั้งแต่ต้นนั่นเอง


อ่านบทความวิจารณ์หนังสือเรื่อง "เด็กชายในชุดนอนลายทาง"
ได้ที่นี่
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Seesor [K : Viceroy] Member 18 ก.ค. 57 20:58 น. 1

น่าสนใจมากเลยค่ะ การจะเขียนให้เด็กอ่านได้คือยากกว่าเขียนให้ผู้ใหญ่อ่านได้ซะอีก เราต้องสมมติตัวเองว่าเป็นเด็ก เด็กคิดยังไงถ้าเจอแบบนี้ เด็กจะพูดอะไรถ้าโดนแบบนี้ คือต้องสมมติตัวเองและสวมบทบาทตลอดเวลา

แถมภาษาก็แบบตรงๆ กันไปเลย อะไรเป็นอะไรไม่ต้องแปลให้ลำบาก เช่น ถ้านิยายผู้ใหญ่จะเป็น แก้มสีระเรื่อ แต่ถ้าของเด็กก็เป็น แก้มสีชมพู แก้มสีแดง ใสๆ แบ๊วๆ ไปเลย

พล็อตเรื่องก็ไม่ต้องผูกปมอะไร ไหลไปเรื่อยๆ มันยากที่จะทำให้สนุกนะ ยากที่จะทำให้น่าสนใจได้

ยาก เสียใจ

0
กำลังโหลด
apblocdy Member 20 ก.ค. 57 20:39 น. 4

เด็กอ่านนิยายของแดน บราวน์ไม่ได้

ขนาดเราโตๆ แล้ว ผ่านหนังสือมาหลายรูปแบบ ยังอ่านของแดน บราวน์ไม่ได้เลย

เยี่ยม

0
กำลังโหลด
ชานมเย็น Member 13 มี.ค. 58 16:59 น. 10

อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย เป็นเรื่องโปรดมาก อ่านซ้ำกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ 55+ (ผืดประเด็นกับกระทู้)

ถึงใครจะบอกว่าเลโมนีใช้สำนวนการเขียนแปลก ๆ งง ๆ ก็ไม่สน เพราะชอบที่การผจญภัยความชั่วร้ายของเด็กโบดแลร์ ชอบความฉลาดของเด็ก ๆ โบดแลร์ที่พาตัวเองหนีอันตรายไปได้ถึง 13 ตอน (ถึงจะดูเว่อร์ ๆ หน่อย เป็นผมตกม้าตายตั้งแต่เจอเคาต์โอลาฟแล้ว) 555++

0
กำลังโหลด

11 ความคิดเห็น

Seesor [K : Viceroy] Member 18 ก.ค. 57 20:58 น. 1

น่าสนใจมากเลยค่ะ การจะเขียนให้เด็กอ่านได้คือยากกว่าเขียนให้ผู้ใหญ่อ่านได้ซะอีก เราต้องสมมติตัวเองว่าเป็นเด็ก เด็กคิดยังไงถ้าเจอแบบนี้ เด็กจะพูดอะไรถ้าโดนแบบนี้ คือต้องสมมติตัวเองและสวมบทบาทตลอดเวลา

แถมภาษาก็แบบตรงๆ กันไปเลย อะไรเป็นอะไรไม่ต้องแปลให้ลำบาก เช่น ถ้านิยายผู้ใหญ่จะเป็น แก้มสีระเรื่อ แต่ถ้าของเด็กก็เป็น แก้มสีชมพู แก้มสีแดง ใสๆ แบ๊วๆ ไปเลย

พล็อตเรื่องก็ไม่ต้องผูกปมอะไร ไหลไปเรื่อยๆ มันยากที่จะทำให้สนุกนะ ยากที่จะทำให้น่าสนใจได้

ยาก เสียใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Ari_Pretty Member 20 ก.ค. 57 17:50 น. 3

นิยายเรื่องนี้เคยอ่านเหมือนกันค่ะ เรื่องสนุกมากๆ เลย ไม่คิดว่าเด็กคนนี้จะอายุแค่ 9 ขวบ ฉลาดเกิน 555 แต่ไม่ค่อยชอบตอนจบเท่าไหร่อ่ะ +_+ แงๆ >~<

0
กำลังโหลด
apblocdy Member 20 ก.ค. 57 20:39 น. 4

เด็กอ่านนิยายของแดน บราวน์ไม่ได้

ขนาดเราโตๆ แล้ว ผ่านหนังสือมาหลายรูปแบบ ยังอ่านของแดน บราวน์ไม่ได้เลย

เยี่ยม

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
gilberlez Member 23 ก.ค. 57 21:04 น. 7

ไม่เคยอ่านแบบที่เป็นนิยาย เคยดูแต่หนังค่ะ สะอึกกับตอนจบ ม่ายยยยเสียใจ

หนังดีจริงๆค่ะ ดูแล้วรู้สึกถึงความโหดร้ายจริงๆ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ชานมเย็น Member 13 มี.ค. 58 16:59 น. 10

อยากให้เรื่องนี้ไม่มีโชคร้าย เป็นเรื่องโปรดมาก อ่านซ้ำกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ 55+ (ผืดประเด็นกับกระทู้)

ถึงใครจะบอกว่าเลโมนีใช้สำนวนการเขียนแปลก ๆ งง ๆ ก็ไม่สน เพราะชอบที่การผจญภัยความชั่วร้ายของเด็กโบดแลร์ ชอบความฉลาดของเด็ก ๆ โบดแลร์ที่พาตัวเองหนีอันตรายไปได้ถึง 13 ตอน (ถึงจะดูเว่อร์ ๆ หน่อย เป็นผมตกม้าตายตั้งแต่เจอเคาต์โอลาฟแล้ว) 555++

0
กำลังโหลด
Greentea_cafe Member 27 มี.ค. 61 13:55 น. 11

ไม่เคยอ่านเรื่องนี้ค่ะ เคยดูแต่ที่เขาเอามาทำเป็นภาพยนตร์ เนื้อเรื่องหดหู่ตั้งแต่ต้นจนจบ ขนาดดูจบไปหลายชั่วโมงแล้ว พอนึกขึ้นได้ก็ยังมีอารมณ์หดหู่ค้างอีก เนื้อเรื่องดีมากค่ะ แต่ดูรอบที่สองไม่ได้ ทำร้ายจิตใจเกินไป แง๊งงงงง

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/jj-10.png

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด