ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รีวิวนิยาย By my Icy

    ลำดับตอนที่ #3 : รีวิว....เด็กน้อยโตเข้าหาแสง /มิลินทร์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 785
      2
      25 ก.ย. 58




    เด็กน้อยโตเข้าหาแสง 


    (ประสบการณ์ คบเด็ก (เป็น) สร้างบ้าน (ได้)      ของ 'ป้ามล' (ทิชา ณ นคร)

    เขียน: มิลินทร์      ภาพ: กุลธวัช เจริญผล  

    สนพ.สวนเงินมีมา     ราคา 210 บาท

    พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2555  

    พิมพ์ครั้งที่ 2 : มกราคม 2556 



    ความรู้สึกหลังอ่าน...

    พอดีอยากอ่านหนังสือรับพ.ศ.ใหม่ 2558 ตั้งใจว่าอยากเริ่มปีใหม่ด้วยการอ่านหนังสือดีๆสักเล่ม และแล้วก็ไปเจอหนังสือเล่มนี้ที่ร้านขายหนังสือเล็กแสนเล็กแถวบ้าน  จำได้ว่าเคยอ่านรีวิวในเวปพันทิพเลยรีบซื้อมาและอ่านจบในวันเด็กพอดีค่ะ

     เด็กน้อยโตเข้าหาแสง เป็นการเล่าเรื่องโดยคุณมิลินทร์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของ "ป้ามล หรือ ทิชา ณ นคร" เกี่ยวกับเด็กในบ้านกาญจนาภิเษก  ซึ่งเด็กที่เข้าบ้านนี้เป็นเพราะได้กระทำความผิดร้ายแรงเช่น ฆ่าคน รุมโทรม เป็นต้น  ป้ามลซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกาญจนาภิเษก  เป็นผู้มีแนวคิดที่ว่า 

    บ้านกาญจนาภิเษก ไม่ใช่ คุก

    เยาวชน ไม่ใช่ นักโทษ อาชญากร

    เจ้าหน้าที่ ไม่ใช่ ผู้คุม

    แต่... บ้านกาญจนาภิเกษ คือ บ้านทดแทนชั่วคราวของวัยรุ่นที่ก้าวพลาด

    ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ จะรวบรวมแง่มุมความคิดนอกกรอบ ความกล้าที่จะชนกับคนที่เป็นปัญหา ความศรัทธาและเชื่อมันว่าทุกคนมีเมล็ดพันธุ์ความดีในตัวเอง หากเพียงแต่มีแสงสว่างให้เมล็ดนั้นสามารถเติบโต งอกงามได้  

    "เราไม่ต้องไปกังวลว่า เขาจะไม่รู้ว่าอะไรดีไม่ดี 
    เด็กก็เหมือนต้นไม้ พวกเขาโตเข้าหาแสงเสมอ 
    ขอให้เราแน่ใจว่าจะทำตัวเป็นแหล่งกำเนิดแสง 
    อย่าเป็นหลุมดำก็แล้วกัน" บทที่ 11

     หนังสือเล่มนี้ อ่านแล้วต้องบอกว่าไม่ผิดหวังเลยค่ะ มันดีมากกกกกกกก การกระทำที่ป้ามลตั้งใจต่อสู้เพื่อเด็กๆที่มีแต่คนตราหน้าว่าเลว ระยำ ชั่ว แต่ป้ามลกลับมองในสิ่งที่ลึกไปกว่านั้น ด้วยความตั้งใจว่าเมื่อเด็กทั้งหลายเมื่อพ้นโทษออกไป เขาจะเป็นคนใหม่ แม้อยู่ภายใต้ความมืดมิด หากแต่เขาก็สามารถเปล่งแสงได้ เพราะเขาแสงที่เปล่งประกายมาจากตัวเอง สามารถเป็นแหล่งกำเนิดแสงได้เอง แต่จะมีวันนั้นได้ก็ต้องมีความเข้าใจในตัวเด็ก และหาทางแก้ไขปัญหาในช่วงที่เขามีจิตใจดำมืดและยังคงมองหาแสงสว่างไม่เจอ

    "การไปด่าไปว่าเขาซ้ำๆ ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น
    การพูดถึงด้านมืดยิ่งบ่อย ก็ยิ่งเหมือนการหยิบมันมาปรุงแต่งลูบคลำเล่นจนมันทนมือทนตีน แข็งแรง 
    จนด้านสว่าง ไม่สามารถทอแสงส่องประกายได้อีกต่อไป

    ผลก็คือ เด็กคนนั้นจะจำไม่ได้อีกต่อไป
    ว่าตัวเองก็มีด้านดีอยู่ด้วย
     เมื่อเชื่อเช่นนั้นเสียแล้วก็จบ" บทที่ 19

     

     หนังสือเล่มนี้ไม่ได้บอกให้สปอยล์คนที่กระทำความผิด หรือละเว้นโทษให้ แต่บอกเล่าวิธีเยียวยา  (ต้องลองอ่านวิธีเยียวยาที่มองเห็นความเป็นมนุษย์ของป้ามลดูนะคะ จะอึ้งและทึ่ง ซาบซึ้งมากเลย) ไม่ตัดสินความดีเลวของเด็กจากพฤติกรมที่เขาแสดงออกเพียงอย่างเดียว แต่หันไปมองที่ต้นเหตุของพฤติกรรมนั้น ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาที่มีในตัวเด็ก ทำให้เกิดความตั้งมั่นในการต่อสู้เพื่อให้เด็กไม่ถูกผู้ใหญ่กระทำและยังหลงเหลือความเป็นมนุษย์ที่มีค่า สามารถรักตัวเองและยังชื่นชมตัวเองได้  

     หากได้อ่านแล้ว จะทึ่งกับวิธีคิดของป้ามลมากๆๆๆๆค่ะ บางช่วงบางตอนอ่านแล้วรู้สึกตื้อในอก เรื่องจะพีคขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงพีคที่สุดคือเรื่องราวของตำนานแห่งบ้านกาญจนาภิเษก เมื่อเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งเข้าบ้านกาญนาภิเษก พ่อของเด็กคนนี้ถูกฆ่าตายและเขาก็รู้ว่าคนที่ฆ่าพ่อของเขาก็อยู่ในบ้านกาญจนาภิเษกนี้ด้วย  ความต้องการล้างแค้นจึงเกิดขึ้น 

    นอกจากนั้นที่น่าสะเทือนใจอีกเรื่องนอกจากตำนานแห่งบ้านกาญจนาภิเษกยังมีคดีปาหินที่เป็นข่าวดังอันน่าสะเทือนใจ ครอบครัวของเหยื่อต้องตกระกำลำบากเพราะผลแห่งการกระทำนั้น

     หากแต่ท้ายสุดก็มีวันสันติภาพ วันแห่งการให้อภัยกัน อ่านแล้วสะเทือนใจและนับถือผู้ที่สามารถให้อภัยได้จริงๆ หนังสือเล่มนี้ดีมากกกกก ชอบมากกกกค่ะ คำสอนของป้ามลนี่มาปรับใช้ในชีวิตสอนลูกสอนหลานได้เป็นอย่างดี รวมถึงมุมมองวิธีคิดที่แตกต่าง ก็สามารถจุดประกายแสงสว่างในใจเราให้ส่องสว่างมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่ชอบมากคือการมองเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ ซึ่งเราเองก็ศรัทธาในคุณค่านี้มาก เป็นหนังสือเล่มแรกรับปีใหม่ที่ดีมาก เรื่องราวในหนังสือมีมากมายกว่าที่ยกมาเป็นตัวอย่างค่ะ รีวิวของเราก็เป็นแค่ข้อคิดข้อเขียนแค่เสี้ยวๆ อยากให้ลองซื้อมาอ่านกันเอง เป็นหนังสือที่ดีมากๆ แนะนำเลยค่ะ

    ปล.จริงๆตอนอ่าน อยากให้ขยายวิธีเยียวยาบุคคลในตำนานแห่งบ้านกาญจนาภิเษก ที่เกี่ยวกับการวางแผนจัดการกับปัจจัยภายในใจ ด้วยการหาประเด็นข่าวที่เชื่อมโยงกับพลังการให้อภัย จนทำให้เด็กคนที่พ่อโดนฆ่า ตัดสินใจไม่ฆ่าเพื่อนคนที่ฆ่าพ่อตัวเอง (หน้า 243) ส่วนตัวคิดว่ามันยากมากๆเลยที่จะเปลี่ยนแนวคิดนี้ ก็เลยอยากอ่านแบบละเอียดกว่านี้ค่ะ แฮ่ๆๆๆๆ

    "เด็กทุกคนต้องการความรักจากพ่อแม่ในปริมาณมาก
    และจะต้องการมากที่สุด ในวันที่เขาน่ารังเกียจที่สุด
    ทำเรื่องไม่ดีที่สุด เลวร้ายที่สุด อภัยให้ยากที่สุด....."

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×