นักเขียนมีอยู่ 9 ประเภท คุณเป็นแบบไหน
ลองมาดูกันว่านักเขียนมีกี่ประเภท อะไรบ้าง และเราจัดอยู่ในกลุ่มไหน
 
น้องๆ หลายคนเห็นหัวข้อของเราแล้ว คงสงสัยมากว่าพี่ตินแบ่งประเภทนักเขียนยังไงเหรอ อ้างอิงจากอะไร อันนี้ก็แอบบอกว่าจากบทความที่พี่ตินอ่านมา เขาบอกว่าแบ่งตามแรงบันดาลใจและแรงขับในการเขียนน่ะจ้ะ หลายคนก็คงสงสัยต่อว่า... นักเขียนมันมีกี่ประเภท มันแบ่งได้ด้วยเหรอ คำตอบก็คือแบ่งได้นะ และแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันด้วย ถ้าหากน้องๆ รู้ได้ว่าตัวเองจัดอยู่ในกลุ่มไหน ก็จะสามารถนำมาปรับใช้กับการเขียนของตัวเองได้ และจะเขียนได้ดีขึ้นแน่นอน
 
ไหนลองมาดูกันว่านักเขียนที่เขาแบ่งๆ ไว้มีกี่ประเภท ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร และเราเหมือนประเภทไหนกันแน่ 
 

 
นักเขียนอาชีพ
ถ้าหากคุณชอบอ่านชอบเขียน และฝันอยากมีหนังสือเป็นของตัวเองสม่ำเสมอ มีผลงานออกมาแล้ว เราเรียกคุณว่านักเขียนอาชีพแล้วกัน
ข้อดี คุณเป็นคนทุ่มเทอย่างหนัก การอ่านเยอะๆ ทำให้คุณพอจะเข้าใจแนวทางการตลาด และได้รู้ว่าหนังสือที่ควรเขียน น่าจะออกมาสไตล์ไหน อย่างไร ถึงจะเหมาะสมกับตัวคุณเอง
ข้อเสีย นักเขียนอาชีพไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เศรษฐกิจปัจจุบันเลวร้ายแค่ไหนก็รู้ๆ กันอยู่ การเขียนอย่างเดียวอาจไม่พอค่าใช้จ่ายต่างๆ นานาและทำให้ชีวิตของคุณลำบาก
 
นักเขียนอินดี้
ถ้าคุณอยากเขียนงานแปลกใหม่ เป็นสไตล์ของคุณเอง ไม่ทำตามตลาด ไม่เขียนพล็อตซ้ำกับคนอื่นๆ และไม่แคร์เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของนักอ่าน นั่นแหละ คุณคือนักเขียนอินดี้
ข้อดี : งานเขียนของคุณจะมีเสน่ห์น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นตัวของตัวเอง
ข้อเสีย : โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จมีน้อยมาก ถ้ามัวแต่จะสร้างความแปลกใหม่ ไม่สนใจตลาด สำนักพิมพ์อาจจะกังวลและไม่อยากตีพิมพ์เรื่องของคุณ ยิ่งถ้าเรื่องของคุณอ่านยากมากเท่าไหร่ สำนักพิมพ์ก็ไม่อยากเสี่ยงมากเท่านั้น เพราะไม่มีทางที่พวกเขาจะรู้ได้เลยว่าเรื่องของคุณจะได้รับความนิยมหรือไม่
 
นักเขียนสายการตลาด
ถ้าคุณได้รับพล็อตจากบรรณาธิการหรือสำนักพิมพ์ แล้วเขียนตามใบสั่ง นั่นแหละ คุณจัดอยู่ในกลุ่มนักเขียนสายการตลาด
ข้อดี : การทำงานเป็นทีมร่วมกับบรรณาธิการและสำนักพิมพ์ จะทำให้คุณมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ง่าย เพราะทุกคนในทีมก็ต้องศึกษาตลาดมาแล้ว ว่านิยายแบบไหนขายได้ขายดี งานของคุณจึงถือว่ามีโอกาสที่จะขายได้มากกว่างานแบบอื่นๆ
ข้อเสีย : งานของคุณขาดรสชาติใหม่ๆ ขาดความแปลกใหม่ การที่คนอื่นคิดพล็อตให้แทน ก็จะจำกัดจินตนาการ คุณภาพในการทำงานจะลดลงด้วยเช่นกัน
 
นักเขียนทั่วไป
ถ้าคุณไม่ได้สนใจพวกการเขียนนิยายเป็นเล่มๆ แต่สนใจพวกเรื่องงานอดิเรก ท่องเที่ยว ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว แล้วเขียนออกมาเป็นเล่มๆ เราขอเรียกคุณว่านักเขียนทั่วไปนะ
ข้อดี : คุณจะมีประสบการณ์ที่ดีในการเขียนอย่างแน่นอน ระหว่างที่เขียนงาน คุณก็ได้นำประสบการณ์เก่าๆ ออกมาบอกเล่าให้คนอื่นๆ รู้ ยิ่งเรื่องราวของคุณน่าสนใจมากเท่าไหร่ คนอ่านก็ยิ่งชอบมากเท่านั้น
ข้อเสีย : เป็นงานที่เข้มข้น ก่อนเขียนคุณอาจต้องศึกษาหลายๆ อย่าง และต้องค้นหาข้อมูล ทำให้การเขียนกลายเป็นงานยาก ต้องทำการบ้านมากกว่างานแนวอื่นๆ
 
นักเขียนแฟนฟิค
หัวข้อนี้คิดว่าโดนใจหลายๆ คน ถ้าหากว่าคุณเป็นพวกที่สนใจดารา นักร้อง ศิลปิน ภาพยนตร์ ประเภทดูจบแล้วไม่อยากให้จบ ก็เลยเอามาเขียนเรื่องต่อ อ่านเองฟินเอง คุณน่ะนักเขียนแฟนฟิคเลย
ข้อดี : คุณจะมีความอินหนักมาก มากกว่านักเขียนทั่วไปคนอื่น และคุณโชคดีที่มีข้อมูลต่างๆ อยู่แล้ว ไม่ต้องค้นหาขึ้นมาใหม่ เพียงแค่ปรับนิดๆ หน่อยๆ ก็กลาเยป็นผลงานของคุณแล้ว
ข้อเสีย : การเขียนแนวแฟนฟิค แน่ละว่าหาสำนักพิมพ์ที่รับตีพิมพ์ได้ยาก และงานเขียนของคุณ จะว่าไปแล้ว มันก็ขาดความเป็นตัวเอง เพราะคุณเขียนโดยอ้างอิงจากเรื่องของคนอื่นเป็นหลัก ถ้าหากคุณไม่สบายใจหรือเป็นคนคิดมาก ก็ไม่ควรที่จะเขียนแนวนี้
 

 
นักเขียนสายปฏิวัติ
ถ้างานเขียนของคุณแปลกใหม่ แตกต่าง ต้องการส่งสารหรือข้อมูลใดๆ ก็ตามถึงผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัย หรือว่าการให้แนวคิดหรือมุมมองใหม่ๆ ที่ไม่มีใครนึกถึง สร้างข้อคิดให้ผู้อ่านได้ คุณเป็นนักเขียนสายปฏิวัตินะ
ข้อดี : งานเขียนของคุณจะมีคุณค่ามาก และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูง ทั้งนี้เพราะคุณเขียนอย่างเข้าใจคนอ่านนั่นเอง 
ข้อเสีย : เป็นเรื่องยากมากนะที่จะเขียนให้เข้าถึงใจคนอ่านได้ งานนี้ละเอียดและประณีตมาก การส่งสารต้องแนบเนียนและไม่โจ่งแจ้ง หรือว่าบังคับใจมากเกินไป ถ้าพลาดไป คนอ่านอาจจะเกลียดเรื่องของคุณได้เลย
 
นักเขียนเฉพาะทาง
ถ้าหากคุณมีแนวการเขียนชัดเจน คือกี่เล่มๆ ก็เขียนแบบเดิม เช่น ชอบเขียนแต่แฟนตาซี ชอบเขียนแต่แนวรักดราม่า หรือชอบเขียนแต่แนวหวาน คุณน่ะเป็นนักเขียนเฉพาะทาง
ข้อดี : กลุ่มผู้อ่านของคุณจะชัดเจน พวกเขาจะมีความสนใจที่แน่นอน และเมื่อใดที่งานของคุณออก พวกเขาก็จะรอเข้าคิวซื้ออยู่เสมอ
ข้อเสีย : คุณก็ได้กลุ่มผู้อ่านแค่วงแคบๆ ถ้าใครไม่ชอบงานแนวคุณ เขาไม่มีทางจะซื้ออ่านเลย
 
นักเขียนที่เล่าเรื่องตัวเอง
ในกรณีนี้ เท่ากับการที่คุณพูดถึงตัวเอง เล่าประสบการณ์ชีวิตต่างๆ งานเขียนแนวนี้มักให้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ชวนคนอ่านคุยอย่างเป็นกันเอง คุณจะสร้างเรื่องราวจากตัวคุณเอง
ข้อดี : งานเขียนของคุณมีเหตุผลสมบูรณ์ในตัวเอง เพราะคุณผ่านประสบการณ์นั้นๆ มาแล้ว และเพราะมันเป็นเรื่องของคุณเอง คุณก็เลยมีแรงกระตุ้นที่จะเขียนออกมาให้คนอื่นๆ ได้อ่านต่อ งานของคุณจะเต็มไปด้วยอารมณ์และความรู้สึก
ข้อเสีย : คุณก็คงจะเล่าเรื่องเก่าๆ ตลอดไปไม่ได้ เพราะประสบการณ์ย่อมมีวันหมดอยู่แล้ว ดังนั้น ก็ต้องหามุมมองใหม่ๆ เรื่องราวใหม่ๆ มาเขียนต่อเนื่อง
 
นักเขียนสายวรรณกรรม
ฟังดูแล้วอาจจะยิ่งใหญ่ แต่ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มนี้ บอกได้เลยคุณชอบอ่านวรรณกรรม วรรณคดีมาก และเวลาเขียนงานอะไร คุณมักจัดอย่างยิงใหญ่เสมอ
ข้อดี : การเล่าของคุณแตกต่างจากคนอื่นๆ นะ จะเต็มไปด้วยการวิเคราะห์และข้อมูลสมจริงอัดแน่น ทำให้น่าอ่าน อ่านแล้วได้ความรู้
ข้อเสีย : แน่นอนว่างานนี้เขียนยาก เพราะว่ามันต้องกลั่นจากความคิดของคุณ ทุกอย่างเป็นการวางแผน สร้างพล็อต คุณต้องทำด้วยตัวเอง และทำคนเดียวด้วย ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับคุณเลย จะเกิดจะดับ คุณเท่านั้นที่เป็นคนกำหนด
 
เป็นไงบ้าง อ่านจบครบ 9 แบบแล้ว เลือกได้หรือยังว่าเราเหมาะกับกลุ่มไหน พี่ตินตอบเลยไม่ต้องคิด เป็นนักเขียนเฉพาะทางแน่นอนจ้ะ ชอบเขียนแต่ดราม่า อิอิ
 
น้องๆ ล่ะ เข้าข่ายกลุ่มไหน บอกเล่าได้นะ ^ ^
 
อตินเอง   
 
ขอบคุณข้อมูล http://josephblakeparker.deviantart.com
 
พี่อติน
พี่อติน - Writer Editor ผู้ดูแลหมวดนักเขียนที่หลงใหลการอ่านแบบสุดๆ และไม่เคยพลาดทุกข่าวสารในวงการวรรณกรรม!

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
fatymi Member 25 ก.ย. 58 16:44 น. 21
ตลกอะ เคยอ่านฟิคไหมคะ อะไรคือปรับนิดๆหน่อยก็ได้ฟิค? ขาดความเป็นตัวเอง? จะเขียนบทความอะไรไปศึกษามาให้ดีก่อนนะคะ ไม่ใช่มโนเองหรืออ่านมาจากที่อื่นแล้วปรับนิดๆหน่อยมาเป็นบทความกระทู้ตัวเอง ตลกกกก ว้ายยยยย แหกแย่เลย
0
กำลังโหลด
Sopimzize Member 26 ก.ย. 58 20:48 น. 32

จริงๆ เขียนฟิคมันก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คุณคิดนะคะ

เพราะเป็นฟิคเนี้ยแหละค่ะเลยยาก ใครๆเขาก็แต่งกันได้

ด้วยเพราะชื่อศิลปินเหมือกัน ชื่นชอบคู่เดียวกัน

ความยากของมันคือจะทำยังไงไม่ให้มันซ้ำกับนักเขียนท่านอื่น

แค่อยากบอกให้รับรู้ไว้เฉยๆ ว่าการเขียนฟิคไม่ได้ง่ายขนาดนั้นเนอะ :)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Colorful lady Member 24 ก.ย. 58 18:10 น. 9

นักเขียนแนวแฟนฟิคไม่ได้อ้างอิงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเสมอไปนะ ปัญหาที่หายไปหลักๆก็คือชื่อตัวละครเท่านั้นเอง...

0
กำลังโหลด

77 ความคิดเห็น

I am ink Member 24 ก.ย. 58 16:13 น. 1

หนูเป็นนักเขียนอินดี้

บทจะอัพก็อัพ บทจะดองก็ดอง

เขียนนิยายตามใจฉัน (ตามใจGU) 

ลงเรื่องใหม่โดยไม่ยอมบอกกล่าว นี่เเหละ #แมวเอ๋ยแมวเหมียวสไตล์ 5555555เย้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Colorful lady Member 24 ก.ย. 58 18:10 น. 9

นักเขียนแนวแฟนฟิคไม่ได้อ้างอิงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเสมอไปนะ ปัญหาที่หายไปหลักๆก็คือชื่อตัวละครเท่านั้นเอง...

0
กำลังโหลด
Coffee Princess [คาปูชิโน่ร้อน] Member 24 ก.ย. 58 18:36 น. 10

ก่อนหน้านี้เป็นสายแฟนฟิค แต่ก็เพราะเขียนแฟนฟิค เลยเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนของตัวเอง จนตอนนี้หันมาเขียนนิยายเป็นของตัวเองแล้วค่ะตั้งใจ

0
กำลังโหลด
lb'skLyrmN Member 24 ก.ย. 58 19:17 น. 11

เป็นทั้งสายอินดี้กับสายปฏิวัติครับ

...เป็นพวกชอบหาเรื่องลำบากเข้าตัวอยู่เสมอๆ อย่างนี้แหละครับเย้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Patty Galaxy Style Member 24 ก.ย. 58 20:02 น. 14

ต้องเพิ่มสายนักเขียนขี้ก็อปด้วยนะคะ 55  เพิ่งเจอมากับตัวเอง เรื่องหนึ่งโดนสามสี่รอบ  

บอกเลยเพลียจิตใจ T^Tเสียใจ

1
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
somoloho Member 25 ก.ย. 58 10:42 น. 17

นักเขียนแฟนฟิค กับนักเขียนทั่วไปคะ

อยากเป็นนักเขียนวรรณกรรมนะค่ะ แต่จบมาทำงานไม่ใช่สายงานนี้เลยยากหน่อย

เสียใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด