ประเภท (Genre) หมวดนิยายนั้นสำคัญไฉน   

ค้นหาความรู้และทำความรู้จักหมวดนิยายต่างๆ กัน

สวัสดีชาวไรเตอร์ทุกคน วันนี้ พี่ตินเลือกหยิบยกหัวข้อเกี่ยวกับGenre” หรือ “ประเภท” ของนิยาย มาเล่าสู่กันฟัง เพราะเห็นว่าน่าจะสำคัญและเป็นประโยชน์กับชาวนักเขียนไม่มากก็น้อย ไม่ว่าน้องๆ จะมีหมวดนิยายในดวงใจแล้วหรือยัง ก็ควรจะอ่านบทความนี้ เพื่อทำความรู้จักนิยายประเภทต่างๆ ให้มากขึ้น 
 

 

Genre หลักๆ มีอะไรบ้าง

ไม่รอช้า เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า Genre” หมายถึงประเภทนิยายที่เราเขียน อย่างที่ได้บอกไปแล้ว และ Genre ดังๆ ก็ได้แก่
 
  • รักโรแมนติก (Romance)
  • ลึกลับ (Mystery)
  • วิทยาศาสตร์ (Science Fiction)
  • แฟนตาซี (Fantasy)
  • ระทึกขวัญ (Thriller)
  • สืบสวนสอบสวน (Suspense)
  • อิงประวัติศาสตร์ (Historical)
     

Genre สำคัญอย่างไร

สำหรับสำนักพิมพ์หรือบรรณาธิการ : ในส่วนของสำนักพิมพ์และบรรณาธิการ เวลาพวกเขาจะเลือกนิยายสักเรื่องไปตีพิมพ์ ก็จะต้องดูก่อนว่า นิยายเรื่องนั้นจัดอยู่ในหมวดไหน และนักเขียนรู้จักหมวดที่ตัวเองเขียนหรือไม่ ถ้าหากว่าอ่านนิยายของเราแล้วพบว่า หาหมวดไม่ได้ สับสน ไม่ชัดเจน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่นิยายของเราจะถูกมองข้ามไป แน่ละ สำนักพิมพ์มองหาผลงานที่ชัดเจน ที่จะเข้ากับคนอ่านของเขาได้ ถ้าคนเขียนเองยังไม่เข้าใจประเภทนิยายของตัวเอง คงเป็นเรื่องยากที่จะหนังสือของคุณจะถูกเลือกไปตีพิมพ์  
 
สำหรับคนอ่าน : คนอ่านส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนอ่านผู้เชี่ยวชาญ อ่านหนังสือเยอะๆ พวกเขามักมีหมวดหนังสือในใจอยู่แล้ว และรู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร เพราะฉะนั้น ถ้าคุณระบุหมวดนิยายได้ถูกต้อง ก็ง่ายต่อพวกเขาที่จะคลิกเข้ามาอ่านนิยายของคุณ หรือแม้แต่จะซื้อหนังสือ (ถ้าได้รับการตีพิมพ์) ก็แนวคิดเดียวกัน สมมติเราบอกว่านิยายของเราเป็นแนวรักผสมลึกลับ ถ้านักอ่านชอบแนวนี้ เขาก็จะพุ่งตรงมา แล้วอ่านงานของคุณทันที Genre ที่ใช่และชัดเจน จะช่วยดึงดูดนักอ่านที่ใช่ให้กับเรา และส่วนใหญ่ ถ้านักอ่านชอบนักเขียนคนไหน เขาก็จะซื้อต่อเนื่อง หรือคลิกเข้ามาอ่านต่อเนื่อง ทำให้เราได้นักอ่าน ได้คอมเมนต์ อย่างที่ต้องการ
 

แล้วจะเลือก Genre อย่างไรดี

เรามีเคล็ดลับการเลือก Genre มาฝากด้วย ง่ายๆ สั้นๆ แค่ 4 ข้อเอง ลองเอาไปทำดูนะ เผื่อว่าจะได้ประโยชน์
 
1 ทำความรู้จัก Genre
ถามว่าทำอย่างไร คำตอบคือง่ายมาก เข้าไปดูหมวดนิยายท็อป 10 โดยเลือก “ทุกหมวด” ของเว็บเด็กดี จากนั้นก็คลิกเข้าไปอ่านดูว่า แต่ละเรื่องจัดอยู่ในหมวดไหน อย่างไร เช่น รักหวานแหวว แฟนตาซี ซึ้งกินใจ เป็นต้น ลองอ่านคำโปรยดู ถ้าโดนใจกับเรื่องไหน หรือชอบเรื่องไหนมากที่สุด Genre ของเรื่องนั้นแหละ คือ Genre ที่ใช่สำหรับเรา
 

 
2 พิจารณานิยายของเราเองอย่างละเอียด  
แนะนำให้อ่านนิยายของตัวเองอีกสักครั้ง และครั้งนี้อ่านอย่างละเอียด อ่านจบ ก็สรุปออกมาว่า... นิยายของเราเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง เช่น นิยายเรามีเรื่องรัก มีเรื่องสืบสวน มีเรื่องเหนือธรรมชาติ พูดถึงอดีต ปัจจุบัน หรือว่าอนาคต อายุของตัวละครเท่าไหร่ พล็อตเป็นอย่างไร โดยสิ่งที่เราจดลงไป หรือสิ่งที่วิเคราะห์นี้ ควรจะช่วยให้โฟกัสของเราชัดเจนขึ้น ถามตัวเองว่า... อะไร สำคัญที่สุด ในนิยายของเรา อ่านแล้ว ชอบตรงไหนมากที่สุด ภูมิใจอะไรมากที่สุด ซึ่งเมื่อเขียนออกมาได้แล้ว ก็ยังไม่ต้องรีบตัดสินใจในทันทีก็ได้ ค่อยๆ อ่านเนื้อเรื่องต่อก่อน แล้วถามตัวเองจริงๆ จังๆ ว่าเนื้อเรื่องของเราเกี่ยวข้องกับอะไร เมื่อได้คำตอบแล้ว ค่อยไปขั้นต่อไป
 
3 หาข้อสรุปนักอ่าน
ขาจร หลังจากสวมบทบาทคนเขียนแล้ว ต่อไป อยากให้ลองสวมบทบาทของคนอ่าน ถามตัวเองว่า... ถ้าคุณเป็นคนอ่าน จะชอบอะไรในนิยายเรื่องนี้ ให้คิดถึงคนอ่านทั้งแบบประจำและขาจร เพราะใครก็มีโอกาสคลิกเข้ามาอ่านผลงานเรื่องนี้ได้ เริ่มแรกนี้ พยายามจินตนาการว่า เราเป็นคนอ่านขาจรก่อน คิดว่าขาจรน่าจะคิดอย่างไรกับนิยายเรื่องนี้ เขียนออกมาให้หมด ก็จะเริ่มมองเห็นกลุ่มคนอ่านของเราได้ชัดเจนขึ้น
ขาประจำ เมื่อกี้ เราให้คิดถึงขาจร ข้อนี้ เราให้คิดถึงขาประจำ สมมติว่า... จะมีใครสักคนอ่านนิยายของเราแล้วรีวิว คิดว่าเขาจะพูดถึงอะไรเป็นพิเศษ นอกจากคำว่า นิยายดีจัง สนุกจัง คิดว่าคนอ่านประจำ จะจดจำอะไรได้จากนิยายของเรา มีสารอะไรที่เราอยากส่งถึงคนอ่าน ใช่พล็อตที่ซับซ้อนหรือไม่ หรือโลกใหม่ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน หรือว่าการเมืองที่พลิกไปพลิกมา อ่านแล้วได้ใช้สมองตลอดเรื่อง       
 
4 Genre หลัก Genre รอง
ฟังแล้วอย่าเพิ่งงง มันก็คล้ายๆ รัก + สืบสวน หรือ แฟนตาซี + ออนไลน์ ประมาณนี้แหละ ก่อนอื่นหา Genre หลักให้ได้เสียก่อน คิดให้ดีว่า นิยายของเราต้องการนำเสนออะไรเป็นหลัก และมีอะไรเป็น Genre เสริม ถ้าหากทำตามครบทั้ง 4 ข้อที่เราแนะนำมา เราคิดว่า คุณน่าจะเข้าใจ Genre ของตัวเองมากขึ้น และรู้ว่านิยายของตัวเองควรจัดอยู่ในหมวดไหนของเว็บเด็กดี
 

บาง Genre ที่อยากแนะนำ

รักโรแมนติก (Romance) : หมวดนิยายที่น่าจะใหญ่เป็นอันดับต้นๆ นักอ่านส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง นิยายรักโรแมนติก ขายได้หลายอย่าง บ้างก็เขียนแบบแฟนตาซี บ้างก็ใส่ประวัติศาสตร์เข้าไป บ้างก็ผสมการผจญภัย แล้วแต่ว่านักเขียนจะชอบแบบไหน และส่วนใหญ่ ตัวเอก ไม่ว่าจะเป็นพระเอกหรือนางเอก จะอยู่ในกระบวนการตามหารักแท้ หมวดเสริม ก็ได้แก่ อิงประวัติศาสตร์ (อย่างที่บอกไปแล้ว) โรแมนติกผสมสืบสวน หรือที่เรียกว่า Romantic Suspense หรือโรแมนติกผสมลึกลับ เป็นต้น นักเขียนดังๆ มีอยู่มากมาย เช่น จูดิธ แม็คนอธ หรือว่าแซนดร้า บราวน์
 
วิทยาศาสตร์ / แฟนตาซี (Science Fiction / Fantasy) : บางที คนก็เรียกนิยายแนวนี้ว่าไซไฟ ส่วนใหญ่จะพูดถึงเรื่องอนาคต เทคโนโลยีต่างๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ก็คือ นิยายแนวแบบหนังสตาร์วอร์ส ที่กำลังโด่งดัง ณ ตอนนี้ หมวดเสริม ก็ได้แก่ วิทยาศาสตร์ รัก หรือว่าแนวคุณธรรม นักเขียนดังๆ ก็ได้แก่ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนแฮรี่ พ็อตเตอร์นั่นเอง หรือแม้แต่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คนเขียนลอร์ดออฟเดอะริง เป็นต้น
 
ลึกลับ (Mystery) : หมวดนี้เป็นหมวดที่ฮอตพอสมควร นักอ่านจำนวนมากหลงใหลในแนวนี้ นิยายลึกลับส่วนใหญ่แล้ว จะต้องพูดถึงสองอย่างคือ “ฆาตกรรม” และ “ฆาตกร” ลักษณะการเขียน ก็มักจะเป็นเรื่องการค่อยๆ สืบ เพื่อไขคดี ไคลแม็กซ์จะคลี่คลายตอนท้ายๆ เรื่อง นักเขียนเก่งๆ จะค่อยๆ เล่า ค่อยๆ เผยความลับออกมาทีละนิด เพื่อให้นักอ่านได้เก็บข้อมูลระหว่างทาง และเมื่อถึงจุดเฉลย นักอ่านก็จะปลาบปลื้มสุดๆ หมวดเสริมของนิยายลึกลับ คือสืบสวน ฆาตกรรม นักเขียนดังๆ ก็เช่น เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์
 
สืบสวน / ระทึกขวัญ (Suspense / Thriller) : นิยายแนวนี้ ค่อนข้างเข้มข้น ตื่นเต้น กดดัน และควรจะเขียนอย่างมีเหตุมีผล พล็อตต้องแน่น การดำเนินเรื่องต้องเร็ว และสร้างความสงสัยให้คนอ่านได้ตลอดเวลา นักเขียนเก่งๆ จะทำให้คนอ่านรู้สึกกดดัน ประหลาดใจ และได้ข้อมูลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา แนวนี้ต่างจากลึกลับตรงที่จะกดดันจิตใจมากกว่า นักเขียนดังๆ ก็สตีเฟ่น คิง, จอห์น กริชซัม หรือของไทยก็ ปองวุฒิ
 
วรรณกรรมแนว YA (Young Adult) : หรือที่เราใช้คำว่า วรรณกรรมสำหรับเด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เชิง ตัวละครเอกของวรรณกรรมแนวนี้ มักอยู่ในช่วง 12-16 ปี ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแฮรี่ พ็อตเตอร์ หรือว่าฮังเกอร์ เกม เป็นต้น จุดเด่นคือ การตามหาตัวตนของตัวละคร การเจริญเติบโต ก้าวเป็นผู้ใหญ่ เป็นวรรณกรรมที่เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านก็ดี ใครสนใจก็ลองไปอ่านบทความของเราได้ พี่น้องได้ทำเอาไว้อย่างละเอียดน่าสนใจทีเดียว ส่วนตัว พี่ตินอยากรณรงค์ให้นักเขียนเด็กดี เขียนวรรณกรรมแนว YA กันเยอะๆ เพราะคิดว่ามีประโยชน์ และน่าสนใจมากๆ ^ ^
 
บรรดานิยายแนว YA ที่ได้รับความนิยมมากๆ ณ ตอนนี้ 
 
อตินเอง
 
ขอบคุณข้อมูลจาก

พี่อติน
พี่อติน - Writer Editor ผู้ดูแลหมวดนักเขียนที่หลงใหลการอ่านแบบสุดๆ และไม่เคยพลาดทุกข่าวสารในวงการวรรณกรรม!

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

11 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
Narumi Tsukiko Member 21 ธ.ค. 58 19:31 น. 3

เป็นบทความที่ดีมากเลยครับ เพราะนักเขียนหลายคนมีปัญหาในการเลือกหมวดนิยายซึ่งไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Jerdjeerang Member 30 ธ.ค. 58 09:13 น. 5

ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆค่ะ ตอนนี้สนใจอยากเขียน Historical Fantasy แนวตะวันออก แต่ยังอ่านข้อมูลไม่รอบด้าน โปรเจคนี้คงใช้เวลายาวนานมากค่ะ สู้สู้

0
กำลังโหลด
Hell-Marry Member 2 ก.ค. 59 18:05 น. 6

แน่นอนเยี่ยมปิ้งปิ้งดีมากๆค่ะ พอดีเรากำลังจะเริ่มเขียนรางแลกอยู่พอดี ยังได้ได้ลงเลย

มีประ โยชน์ มากมายค่ะ

0
กำลังโหลด
immienmk27 Member 15 ก.พ. 60 16:33 น. 7

ตอนแรกเขียนแนวรักวัยรุ่น แต่กลับไม่ปังซะงั้น เลยเปลี่ยนแนวมาเขียนสืบสวน แต่ก็ไม่ปังอีกอยู่ดี เลยคิดว่า ในเมื่อแนวที่เราชอบอ่านไม่ใช่แนวเดียวกับเราก็ไม่เป็นไร ลองใหม่ ต้องมีสักแนวที่ใช่เรา ตอนนี้ก็กำลังเขียนแนวแฟนตาซีอยู่ แต่ไม่รู้จะดับอีกไหม

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Snookey1 Member 29 ก.ย. 62 10:45 น. 10

ได้ความรู้มากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ อ่านนิยายมายี่สิบกว่าปี แต่ไม่มีความรู้เรื่องสไตล์และหมวดหมู่ของนิยาย แย่จังค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด