วิธีบรรยายให้นิยายอกมาแล้วอ่านได้

             เจออีกแล้วจ๊ะ เจอบทความที่ดีมีประโยชน์กับน้องๆ นักเขียนชาว Dek-D อีกแล้วจ๊ะ บทความนี้เป็นของน้องpeecee เขียนถึงวิธีการบรรยายและการเล่าเรื่องของนิยายแฟนตาซีให้ผู้อ่านแล้วเข้าใจไม่สับสนสิ่งที่ผู้แต่งเขียนออกมา แต่ขอบอกก่อนนะจ๊ะว่านี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเท่านั่น อาจจะตรงหรือไม่ตรงกับวิธีเขียนของน้องๆ ก็ได้

 

ที่มา : peecee < My.iD >

ในบอร์ดนี้ผมจะกล่าวถึงเรื่องการบรรยายและเล่าเรื่องยังไงให้นิยาย(แฟนตาซี)ออกมาดูดี(อย่างน้อยก็อ่านได้) เราต้องทำความเข้าใจในหลักต้นๆก่อนเลยว่า...


การเล่าเรื่อง คือ การบอกว่าตอนนั้นๆ เรื่องดำนินอยู่ในเหตุการณ์ไหน ที่ไหน ฉากไหน โดยจะไม่มีการพรรณนาถึงรายละเอียดที่ลึกกว่านี้


การบรรยาย คือ การเพิ่มเติมรายละเอียดลงไปในการเล่าเรื่อง เป็นการพรรณนาถึงสิ่งต่างๆในฉากและเหตุการณ์ในเรื่องตรงนั้น


การเล่าเรื่อง:

เราต้องรู้ก่อนว่าพล็อตเรื่องของเรานั้นเป็นอย่างไร(อย่างน้อยต้องกำหนดแล้วว่าเริ่มเรื่องเป็นยังไง ตอนจบเป็นยังไง) เมื่อเรากำหนดพล็อตเรื่องแล้วแบ่งเป็นพล็อตย่อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงเหตุการณ์และฉากย่อยต่างๆ เราก็ต้องกำหนดว่าฉากนั้นเป็นเช่นไร เกิดอะไรขึ้น โดยยังไม่มีการพรรณนาถึงรายละเอียด


*ในบอร์ดนี้นั้นจะเน้นไปในเรื่องของการบรรยายมากกว่านะครับ*


การบรรยาย:

เมื่อเรารู้แล้วว่าในฉากที่เรากำลังจะเขียนนั้นเป็นอย่างไร ก็ถึงเวลาที่จะต้องแต่งเติมรายละเอียด พรรณนาถึงสิ่งนั้นเพิ่มขึ้น


เช่น โครงเรื่องมีอยู่ว่า

"เด็กชายไปเดินชายหาด เกิดลมพัด"

การเล่าเรื่อง-"เด็กชายคนหนึ่งเดินเล่นบนชายหาดแห่งหนึ่ง สักครู่ก็เกิดลมพัด"

การบรรยาย-"เด็กชายร่างเล็กคนหนึ่งเดินเล่นตามชายหาดที่หนึ่ง เม็ดทรายสีทองส่องประกายยามกระทบแสง เมื่อเด็กน้อยเดินมาได้ไม่นาน ก็เกิดลมพัดอ่อนๆพากลิ่นเกลือในทะเลเข้าหาฝั่ง"

จะเห็นว่าเมื่อเติมคำบรรยายเพิ่มเข้าไปแล้ว ก็จะทำให้เนื้อเรื่องน่าอ่านยิ่งขึ้นไปอีก


การบรรยายสามารถบรรยายได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรากำลังบรรยายอยู่


1.สถานที่

การบรรยายสถานที่ เราจะต้องนึกก่อนว่าสถานที่นั้นๆมีลักษณะเป็นอย่างไร ถ้าเป็นสถานที่ยืมมาจากของจริงจะทำให้แต่งง่ายขึ้น

การบรรยายลักษณะสถานที่ที่เป็นป่า-"...ปรากฏชายป่าแห่งหนึ่งบนผืนดินอันแห้งแล้ง ดูเหมือนว่านี่จะเป็นเพียงส่วนเดียวที่อุดมสมบูรณ์ของบริเวณนี้ เสียงธรรมชาติต่างขับร้องผสานกันราวกับเสียงเพลง มีทั้งเสียงนกร้อง เสียงน้ำตกใสที่กระทบกับแหล่งน้ำ..."

แค่ป่าๆเดียวก็สามารถทำให้เนื้อเรื่องน่าสนยิ่งขึ้น เพียงเติมคำบรรยายลงไป ข้อควรระมัดระวังคือ ถ้าจะบรรยายลักษณะมีการเปรียบเทียบอย่าให้มันมาก เช่น

การบรรยายอาคารหินอ่อน-"...อาคารทรงลูกบาสก์ขนาดใหญ่หลังหนึ่งตั้งเด่นอยู่ตรงหน้า สีงาช้างนวลของตัวอาคารบ่งบอกว่าทำมาจากหินอ่อนที่ได้รับการขัดให้ผิวเรียบอย่างดี หากมองเผินๆแล้วราวกับพระราชวังหรือคฤหาสน์ซํกหลังเป็นแน่ ซุ้มประตูหินอ่อนขนาดใหญ่หน้าตัวอาคารถูกตกแต่งอย่างดี เหมือนกับเตรียมการต้อนรับใครซักคน..."(การบรรยายสถานที่อันนี้ควรเพิ่มเติมอีกนิด)

ถ้าเปรียบเทียบมากจนเกินไปจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อซักก่อน ดังนั้นใส่รายละเอียดอย่าให้ยาวมากเป็นจะดี ให้ผู้อ่านอ่านแล้วรู้ลักษณะคร่าวๆของตัวอาคารนั้นเป็นพอ


2.สิ่งของ

การบรรยายสิ่งของนั้นง่ายกว่าสถานที่มาก ความยาก-ง่ายขึ้นอยู่กับลักษณะของๆนั้น


เช่น


-เก้าอี้อย่างหรู “…เก้าอี้ตัวหนึ่งวางอยู่เบื้องหน้าเขา รูปร่างเหมือนเก้าอี้ทั่วไปทุกประการ แต่มันมีอะไรมากกว่านั้น ฝุ่นและหยากไย้เกาะเต็มตัวเก้าอี้ หากแต่ตัวเก้าอี้นั้นยังคงสภาพไว้อย่างดีราวกับเพิ่งซื้อมันมา ต่างจากสภาพโดยรอบ บ่งบอกเจ้าของเก้าอี้ตัวนี้ต้องเป็นคนที่มีฐานะพอดู...”


ประมาณนี้ล่ะครับ ถ้าใครอยากใส่อะไรที่หรูกว่านี้ก็ใส่ไป แต่ไม่ควรที่จะให้เยอะเกินไป ควรทำแบบรวบรัดจะดีที่สุด



3.บุคคล


การบรรยายลักษณะรูปร่างของคนนั้นง่ายที่สุดแล้ว เพราะไม่มีอะไรมาก


เช่น


-ผู้หญิงผมเหลือง ตาสีเขียว หน้าตาสะสวย “...ผู้หญิงคนนั้นดูเป็นจุดเด่นอย่างประหลาดสำหรับที่สวยงามเช่นนี้ เรือนผมงามสลวยยาวสีอำพันของเจ้าหล่อนลู่กับแผ่นหลังเรียว นัยน์ตาสีมรกตแฝงด้วยแววมุ่งมั่นและอำนาจ ใบหน้ารูปไข่รับกับริมฝีปากบางสีแดงระเรื่อ เจ้าหล่อนถือเป็นคนสวยคนหนึ่งเลยทีเดียว หากแต่ชายใดก็คงไม่กล้าเข้าไปยุ่ง เพราะรังสีกระหายอำนาจอย่างเหลือล้นที่แผ่ออกมา...”



การบรรยายเมื่อตัวละครพูด:


ปัญหาเรื่องนี้มีไม่มากนักแต่เราก็ควรรู้ไว้ หลังจากเขียนบทพูดเสร็จ เราอาจตามด้วยประโยค “…(ชื่อตัวละคร)เอ่ย พูด กระซิบ ถาม ตะโกน ตอบกลับ ฯลฯ หรือ ท่าทางต่างๆ และบางทีถ้าประโยครัวจัดล่ะก็ อาจเอาแค่บทพูดเปล่าๆไป เพราะผู้อ่านก็พอจะนึกออกว่าใครพูด(ถ้า 2 คนจะง่าย) แต่อย่าให้ถี่มากนัก


เช่น


- “นี่ คุณเอดูอะไรนั่นซิครับ” หนุ่มร่างสูงนาม ซี เอ่ยเรียกเพื่อนข้างตัว ผู้กำลังสาละวนกับงานของจนอยู่


“ไหน มีอะไร” เอเงยหน้ามาจากกองเอกสารงาน แล้วมองตามที่นิ้วเรียวของผู้เป็นเพื่อนชี้ไป


“มีอะไรกันหรอ” บี หญิงสาวผู้มีกิจวัตรประจำวันคือแส่ไปทุกเรื่อง เดินมาทางคนทั้งสอง


“เธอไม่เกี่ยว” เอเอ่ยขึ้น หากแต่ยังไม่ละสายตาไปจากภาพตรงหน้า


“ใช่ เห็นด้วย”



จบแล้วล่ะครับ เพราะนึกอะไรไม่ออกแล้ว ใครมีข้อคิดเห็นอะรก็ช่วยกันเม้นเพิ่มนะครับ ลาก่อนครับ ว่างๆก็ไปอ่านนิยายผมได้นะ



ปล.ควรอย่างยิ่ง อย่าเล่นคำ สำนวนให้มันเยอะมากนะครับ เพราะมันไม่ได้ทำให้เรื่องน่าสนใจขึ้นเลย พานจะทำให้ผู้อ่านเหนื่อยใจ จนขี้เกียจอ่านมากกว่านะครับ





               รู้วิธีที่จะทำให้การบรรยายฉากและการเล่าเรื่องเกิดความเข้าใจไม่สับสนกันไปแล้วนะจ๊ะ อย่าลืมลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานเขียนของตนเองดูนะจ๊ะ ถ้าน้องๆ ชาวDek-Dคนไหนมีเคล็ด(ไม่)ลับเกี่ยวกับงานเขียนที่อยากจะแนะนำอีก ก็ส่งมาให้พี่ปัดอ่านได้นะจ๊ะ


พี่ปัดขอขอบคุณบทความของน้องpeeceeค่ะ

 

 

 

พี่ปัด
พี่ปัด - Columnist คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์นักเขียน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

61 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด