พูดคุยกับอธิบดี พช. ที่จะมาชวนเที่ยว ‘ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี’ อันน่าหลงไหลผ่านผู้คน สถานที่ และอัตลักษณ์ท้องถิ่น

 
พูดคุยกับอธิบดี พช. ที่จะมาชวนเที่ยว‘ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี’
อันน่าหลงไหลผ่านผู้คน สถานที่ และอัตลักษณ์ท้องถิ่น
 
        บทสนทนาข้างชาวบ้านของอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ถึงการชวนเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ที่บอกเรื่องราวความสวยงามของธรรมชาติผ่านผู้คน สถานที่ และความเป็นตัวตนอัตลักษณ์ท้องถิ่น

        “เรามีนักท่องเที่ยวมากกว่า 35 ล้านคน รายได้มากกว่า 3 ล้านล้านบาท คำถามคือทุกวันนี้... ชุมชนชาวบ้านได้ประโยชน์อะไร” ท่านนิสิต จันทร์สมวงศ์อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ตั้งคำถามขึ้น ในฐานะอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน แน่นอนว่าบทบาทหน้าที่สำคัญก็คือ การพัฒนาชุมชน แต่ในขณะที่ประเทศไทยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว แบ่งเป็นชาวต่างชาติมากกว่า 35 ล้านคน ส่วนคนไทยอยู่ที่ราว 60 ล้านคน ซึ่งกระจุกอยู่แหล่งท่องเที่ยวเมืองหลัก
 
        เราเห็นคนโพสต์รูปสถานที่สวยงามมากมายลงบนโซเชียลมีเดีย เราทะเลหมอกสีขาวที่ยากจะจับต้อง เราเห็นท้องทะเลสีฟ้ากลางอันดามัน การสร้างจิตภาพรูปแบบโรมานซ์ โดยลืมไปแล้วว่า ยังมีความสวยงามของชุมชนโดยรอบโอบล้อมเบื้องหลังภาพถ่ายเหล่านั้น
 
        ทั้งหมดนั้นกลายเป็นโจทย์ที่ตามมาก็คือ จะทำอย่างไรให้เกิดการกระจายรายได้ขยายการท่องเที่ยวไปสู่เมืองรอง สู่หมู่บ้าน สู่ชุมชน เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในท้องถิ่นตำบลต่างๆ 
 
        ‘คำตอบคือ การท่องเที่ยวเชิงOTOP นวัตวิถี’

บทเรียนจากอ่าวมาหย่า สู่โจทย์สุดท้าทายแก้ปัญหากระจายรายได้ฐานราก ด้วยการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

        วันนี้เรามีนัดพูดคุยกับหัวเรือใหญ่ของโครงการOTOP นวัตวิถีท่านนิสิต จันทร์สมวงศ์อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของเหรียญที่สวยงาม แต่ยังไม่มีใครได้สัมผัส เมื่อเบื้องหลังธรรมชาติยอดนิยมยังมีวิถีชุมชนที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่า วัฒนธรรม โดยเฉพาะความเป็นธรรมชาติที่ไม่เคยถูกถ่ายทอด 
 
ปัญหาที่ผ่านมาคืออะไร?
 
        “เมืองไทยมีสิ่งที่สวยงามทั้งทางธรรมชาติ ทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ที่เป็นจุดเด่น (อยู่มาก)แต่ยังไม่มีใครรู้” ท่านอธิบดีบอกถึงปัญหาจากการท่องเที่ยวที่ผ่านมาจากการที่ทางรัฐบาลเจอ แน่นอนว่าที่ผ่านมา เรามักเห็นนักท่องเที่ยวแห่ไปที่อ่าวมาหยาหรือหาดป่าตองการท่องเที่ยวอันแออัด เกินกว่ากำลังชุมชนและธรรมชาติจะรับไหว 


 
        ทางแก้ปัญหาจากการท่องเที่ยวจึงไม่ใช่การไล่นักท่องเที่ยวเสียทีเดียว แต่ต้องสร้างการรับรู้ให้พวกเขาเข้าใจ รู้จัก เราเรียกสถานที่เหล่านั้นกันว่า ‘แอ่งเล็ก’ ไม่ได้หมายถึงสถานที่เล็ก แต่เป็นสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จัก ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเราเรียก ‘แอ่งใหญ่’

        ประเทศไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่ารักธรรมชาติอันสมบูรณ์ อย่างชุมชนท่องเที่ยวเขาผิงกันทางรัฐบาลก็อาศัยการท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้การท่องเที่ยวแอ่งใหญ่มานำเสนอ ความงามและกระจายสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ให้คนได้รู้จักมากขึ้น

การท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรมและต้นทุนทางวิถีชีวิต?

        “แน่นอนว่า แหล่งท่องเที่ยวพวกนี้ยังไม่เคยถูกพบ บางพื้นที่มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น บ้านบ่อเจ็ดลูก บ้านตะโล๊ะใส จังหวัดสตูล บางพื้นที่มีอุทยานธรณีวิทยาโลก เช่น บ้านพระบาทห้วยต้ม บางพื้นที่มีสะพานข้ามการเวลา อย่างชาวเผ่าปกาเกอะญอ” หากหาข้อมูลเพิ่มเติมจะพบว่า เผ่า ‘ปกาเกอะญอ’ เป็นคนท้องถิ่นที่อยู่กับธรรมชาติกลางหุบเขาสลับซับซ้อนในสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พวกซ่อนตัวอย่างสันโดษแต่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณแห่งการรักษาป่าไม้ทั้งหมดเป็นความงามทางวัฒนธรรมของไทยที่รอทุกคนไปเรียนรู้ 

        ชุมชนทั้งหมดมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ชุมชน นอกจากนี้บางชุมชนก็เป็นตลาด เช่น ชุมชนนวัตวิถีที่พุแค ตลาดหัวปลี เป็นตลาดแห่งการท่องเที่ยวค้าขาย “เห็นไหมว่า ชุมชนมีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางเศษฐกิจ ทุนทางวิถีชีวิต นักท่องเที่ยวก็ได้วิถีการท่องเที่ยวแห่งใหม่”


 
เปลี่ยนจากคำว่าสินค้าชุมชน OTOP ธรรมดา มาเป็นการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี?

        ใช่ครับ เราพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนนวัตวิถี จากคำว่าสินค้าชุมชนOTOP ธรรมดา มาเป็นโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีโดยสินค้าOTOP เป็นตัวส่งเสริมให้การท่องเที่ยวชุมชนมีเสน่ห์มากขึ้น ซึ่งเป็นการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำของคนในท้องถิ่นทำให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยว

        รัฐบาลพยายามขับเคลื่อนการท่องเที่ยวผ่านภูมิปัญญาวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ชุมชนเพื่อให้คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าขาย ผลิตภัณฑ์ชุมชน การนอนพักโฮมสเตย์ การจำหน่ายอาหาร การแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆ เป็นแพ็คเก็จทัวร์ครบวงจรในชุมชนโดยก่อนหน้านั้นจะมีการส่งเสริมให้คนในชุมชน มีความรู้ทักษะดูแลนักท่องเที่ยว ในการที่จะจัดการการชุมชนเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว พร้อมแผนการท่องเที่ยวมีข้อปฏิบัติจะพัฒนาชุมชนได้อย่างไร อีกทั้งยังสร้างความร่วมมือกับทั้งราชการและเอกชนให้ความรู้ชุมชนที่ไม่เคยมีความรู้ในการท่องเที่ยวให้มีความรู้ในการรับมือได้ และทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมาแล้วสะดวกสบายและปลอดภัย
 
“รัฐบาลจะช่วยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของแหล่งท่องเที่ยววันนี้เราต้องเชื่อมโยงเป็นมิติการท่องเที่ยวพื้นที่ใหญ่ไปสู่การท่องเที่ยวพื้นที่เล็ก อย่างเช่น จังหวัดเชียงรายไปวัดร่องขุนแล้วก็ไปแวะดื่มกาแฟ ของหมู่บ้านชาวอาข่าที่ปลูกกันบนดอย เราต้องเชื่อมโยงกันแบบนี้ หรือแม้แต่ไปเที่ยวอุทยานทางธรณีวิทยาโลกก่อนลงเรือเราก็ไปแวะที่บ้านตะโล๊ะใส เป็นชุมชนที่ทำแบรนด์ปาลิโอ เป็นลายฟอสซิล สร้างการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวแอ่งเล็กไปแอ่งใหญ่หรือแอ่งใหญ่ไปแอ่งเล็ก” จะเชื่อมโยงได้นักท่องเที่ยวต้องรู้จัก 

        กรมพัฒนาชุมชนจึงมานั่งคุยกับทุกคนอยู่ตรงนี้ มาประชาสัมพันธ์เผยความงามของชุมชนว่าแต่ละชุมชนทั้ง 3,273 แห่ง มีเสน่ห์อย่างไร โดยคนที่อยู่ในชุมชนต้องมีความสุขมากขึ้น
 
โครงการ OTOP นวัตวิถีเชื่อมโยงภูมิปัญญา วิถีชุมชน
 
        ถูกขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” จากการที่รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งสร้างรายได้และความเจริญความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างแท้จริง เพื่อสร้างรอยยิ้ม คืนความสุข เพื่อคนไทยทุกคนโดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกันภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๔
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ - Columnist ข่าวประชาสัมพันธ์ภายในเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

1 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด